ในตามกฏหมาย ป.พ.พ.มาตรา 1546 ลูกที่ไม่ได้เกิดจากการสมรส หรือว่าฝ่ายชายไม่รับผิดชอบ ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฏหมายของฝ่ายหญิง ผู้เป็นมารดา ดังนั้นคุณแม่สามารถ แจ้งเกิดลูกโดยไม่มีพ่อ และสามารถเลือกได้ว่าจะใส่ชื่อพ่อของเด็กลงในสูติบัตร หรือไม่ใส่ก็ได้ โดยไม่ต้องกังวลถึงปัญหาที่จะตามมาในอนาคต แม่ท้องที่กำลังเตรียมตัวเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ไม่ต้องคิดมากไปค่ะ
แจ้งเกิดลูกโดยไม่มีพ่อ ทำอย่างไร?
หากต้องการระบุชื่อพ่อในใบเกิด
- คุณแม่สามารถแจ้งชื่อบิดา กับทางโรงพยาบาลได้ โดยใช้หลักฐานบัตรประชาชน หรือ ทะเบียนบ้านของสามีมาแสดง
- หากระบุชื่อพ่อไปแล้ว แต่ภายหลังฝ่ายชายต้องการปฏิเสธความเป็นพ่อ สามารถทำได้โดยการฟ้องร้องต่อศาล
- หากระบุชื่อพ่อในใบเกิด ลูกสามารถใช้นามสกุลของพ่อ หรือ แม่ก็ได้
- ในกรณีที่ใช้นามสกุลพ่อ ลูกมีสิทธิได้รับมรดกจากพ่อ
- ในกรณีที่ระบุชื่อพ่อของลูก แต่ไม่สามารถตามตัวได้ จะมีความยุ่งยากในการทำเอกสาร ที่ต้องมีการลงลายมือชื่อบิดา ทั้งตอนเข้าเรียน เรื่องเกี่ยวกับทะเบียนบ้าน การทำพาสปอร์ต หากเด็กอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์
- คุณแม่ควรไปทำใบ ปค.14 ให้อำนาจการดูแลลูกอยู่ที่แม่ฝ่ายเดียว จะช่วยให้จัดการเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับลูกได้ง่ายขึ้น (ใบปค. 14 เป็นใบรับรองว่า มีอำนาจปกครองบุตรแต่เพียงคนเดียว ซึ่งจะใช้เมื่อต้องการทำเอกสารแทนตัวเด็ก หรือ ผู้เยาว์นั้น เช่น การย้ายที่อยู่ ย้ายที่เรียน การทำพาสปอร์ต ทำวีซ่า หรือเอกสารรชการต่าง ๆ โดยใบ ปค. 14 จะเป็นเอกสารยืนยันว่า คนที่มาเซ็นเอกสารแทนเด็กนั้น เป็นผู้มีอำนาจปกครองเด็กแต่เพียงคนเดียว)
หากไม่ต้องการระบุชื่อพ่อในใบเกิด
- คุณแม่สามารถระบุได้ว่า ไม่ปรากฏบิดา โดยระบุชื่อมารดาเพียงคนเดียว
- การไม่ระบุชื่อบิดา คุณแม่มีสิทธิในตัวลูก 100% มีอำนาจในการปกครองเด็กแต่เพียงผู้เดียว
- การไม่ระบุชื่อบิดาในใบเกิด จะไม่ปัญหาในการทำเอกสารใด ๆ ของลูกเมื่อโตขึ้น ไม่ว่า การเข้าเรียน การทำงาน การรับราชการ หรือการเป็นทหาร
- หากต้องการเพิ่มชื่อพ่อในสูติบัตรในภายหลัง ต้องระบุชื่อพ่อจริง ๆ เท่านั้น ไม่สามารถระบุชื่อคนอื่นได้ ต้องมีหลักฐานการตรวจ DNA แสดงความเป็นพ่อ แม่ และลูก แนบไปกับคำขอเพิ่มชื่อในสูติบัตร โดยเขตจะพิมพ์สูติบัตรใบใหม่ที่มีชื่อบิดาด้วย
การแจ้งเกิดลูกนั้นจะต้องทำให้เสร็จภายในเวลา 15 วัน แต่หากมีเหตุให้ไม่สามารถมาแจ้งเกิดได้ทันที เช่นคลอดบนแท็กซี่ บนรถ บนเรือ ศาลาข้างทาง หรือ สถานที่อื่น ๆ ที่ไม่ใช่บ้าน หรือโรงพยาบาล เป็นต้น ก็สามารถที่จะแจ้งเกิดล่าช้าได้ ไม่เกิน 30 วัน หากเกินกว่านี้ จะมีโทษปรับตามกฎหมาย เอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อนำไปแจ้งเกิด เป็นสิ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อม มีดังนี้
- เอกสารที่ใช้ในโรงพยาบาล อย่างใบนัดหมอ บัตรโรงพยาบาล ที่สำคัญมาก ๆ คือ สมุดฝากครรภ์ เพราะในสมุดฝากครรภ์จะมีข้อมูลภาวะต่าง ๆ ที่ต้องระวังของคุณแม่หรือลูกน้อย จากรายละเอียดการฝากครรภ์
- เอกสารส่วนตัว บัตรประชาชนของแม่ อ้อ! เตรียมสำเนาบัตรประชาชน ติดตัวเอาไว้ด้วยก็ดีค่ะ (กรณีแจ้งเกิด โดยใส่ชื่อคุณพ่อ อย่าลืมเตรียมเอกสารของคุณพ่อไปด้วยนะคะ)
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแจ้งเกิด
- หนังสือรับรองการเกิด (ท.ร.๑/๑) ที่ทางโรงพยาบาลออกหรือใบรับรองการเกิด (ท.ร.๑/๑ส่วนหน้า) ที่ผู้ใหญ่บ้านออกให้ ไม่ใช่ใบเกิดหรือ สูติบัตร
- ทารกที่เกิดในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นลูกของคนไทยหรือคนต่างด้าว สามารถแจ้งเกิดและมีสิทธิ์ได้รับหลักฐานการเกิด
- การรับแจ้งเกิด การออกสูติบัตรหรือใบเกิดนั้น ไม่มีการเสียค่าธรรมเนียมใดๆ
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
ที่มา :
บทความใกล้เคียงที่น่าสนใจ :
หลังคลอดลูกต้อง แจ้งเกิดลูกภายในกี่วัน ทำสูติบัตรให้ลูกต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?
เชื้อชั่วๆ ท้องแล้วไม่รับ ฟ้องได้ไหม ทำอะไรได้บ้าง จัดการยังไงกับผู้ชายประเภทนี้
แม่เลี้ยงเดี่ยวสุดแกร่ง ผ่านมาตรงนี้ เจอเรื่องมากมาย แม่นิ้งคุณแม่สู้ชีวิต
อยากเลิกกับสามีมาก 5 เรื่องจริงเมื่อเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวแล้วต้องรับมือให้ไหว