โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน หนึ่งในต้นเหตุที่น่ากลัวของอาการบ้านหมุน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการวิงเวียนศีรษะ และบ้านหมุนที่เคยเป็นอยู่ อาจมีความเกี่ยวข้องกับ โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน หากใครเคยเป็นคงทราบกันดีอยู่แล้ว ว่าเป็นแล้วทรมานเป็นอย่างมาก บทความนี้ จะพาไปหาความรู้เกี่ยวกับ โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน หนึ่งในต้นตอและสาเหตุ ของอาการวิงเวียนศีรษะ รวมถึงบ้านหมุน

 

โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน คืออะไร?

โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน หรือ โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด (Benign Paroxysmal Positional Vertigo : BPPV) เป็นโรคที่มักเกิดในวัยกลางคน หรือผู้สูงอายุ โดยภายในหูชั้นใน จะมีอวัยวะที่ใช้ควบคุมส่วนของการทรงตัว ที่เรีบกว่า Utricle, Saccule และ Semicircular canal ซึ่งจะมีตะกอนหินปูน ที่ทำหน้าที่ในการรับรู้การเคลื่อนไหว ของศีรษะเกาะอยู่ หากหินปูนมีการเคลื่อนที่ไปมา หรือ เกิดหลุดออก จะทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ แบบอาการบ้านหมุนได้

 

อาการบ้านหมุน เป็นอย่างไร?

ผู้ที่ป่วยเป็นอาการบ้านหมุน มักมีการเคลื่อนไหวของศีรษะในแนวดิ่ง เช่น เมื่อลุกจากที่นอน มีการก้มหยิบของ เป็นต้น โดยท่าใดก็ตาม ที่มีแรงดึงดูดของโลกมาเกี่ยว จะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของตะกอนหินปูน หรือแคลเซียม ซึ่งเป็นส่วนควบคุมการทรงตัว ที่อยู่บริเวณหูชั้นใน ทำให้เกิดอาการบ้านหมุนได้ ซึ่งอาการบ้านหมุน มักหายได้เองภายในเวลาไม่นาน แต่สามารถถูกกระตุ้น ให้เกิดขึ้นได้อีก เมื่อผู้ป่วยมีการขยับท่วงท่า ที่มีผลต่อตะกอนหินปูนในหู

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการของโรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน เป็นอย่างไร?

อาการเฉพาะของโรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน คือ การเวียนศีรษะ บ้านเหมุน เมื่ออยู่ในอิริยาบถเปลี่ยนท่า เช่น ก้มลงหยิบของ ลุกจากที่นอน พลิกตัวบนที่นอน ก้มหน้าเงยหน้า เป็นต้น อิริยาบถเหล่านี้ มักทำให้เกิดอาการบ้านหมุน ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ จากนั้นอาการจะต่อย ๆ หายไป

 

สัญญาณที่ควรระวังว่าอาจเป็นโรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน

มีอาการวิงเวียนศีรษะ รู้สึกโคลงเคลง ทรงตัวลำบาก มีความรู้สึกว่าโลกหมุน เคลื่อนไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการเคลื่อนไหวศีรษะอย่างรวดเร็ว ในบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย ซึ่งอาการต่าง ๆ เหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นไม่นาน และจะค่อย ๆ เบาลง อาจมีภาวะเป็น ๆ หาย ๆ ในบางรายมีอาการนานเป็นสัปดาห์ หรือ นานเป็นเดือน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน

  • มีความเครียด
  • มีอาการเมารถ เมาเรือ
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • อิริยาบถที่ต้องมีการเคลื่อนไหวศีรษะบ่อย ๆ
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล
  • การเปลี่ยนแปลงด้านความดันอากาศ

 

การวินิจฉัยโรค

  • ซักประวัติ

แพทย์จะทำการสอบถามประวัติ และลักษณะอาการเฉพาะต่าง ๆ ได้แก่ อาการวิงเวียนศีรษะ การได้ยิน ภาวะหู้อื้อ เป็นต้น

  • การตรวจร่างกาย

แพทย์จะทำการตรวจร่างกายให้กับผู้ป่วย โดยให้ผู้ป่วยทำท่าต่าง ๆ ตามแพทย์สั่ง แล้วสังเกตดูอาการ ว่ามีความผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นหรือไม่ โดยแพทย์จะตรวจตามส่วนต่าง ๆ เช่น ตรวจหู คอ จมูก และระบบประสาท

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม

แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติม เพื่อแยกสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดโรค ดังนี้

  • การตรวจการได้ยิน จะตรวจในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติด้านการได้ยินอยู่ก่อนแล้ว
  • การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะใช้การตรวจในรายที่อาจมีพยาธิสภาพ ของระบบประสาทส่วนกลาง เช่น สมอง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ

 

การรักษาโรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน

  • การรักษาตามอาการ

แพทย์จะทำการรักษาตามอาการ และให้คำแนะนำต่าง ๆ แก่ผู้ป่วย เช่น ให้หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมเสี่ยง ที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการ แพทย์อาจทำการจ่ายยาบรรเทาอาการ โดยปกติแล้ว อาการต่าง ๆ มักจะค่อย ๆ หายไป ภายหลังระยะเวลา  1 เดือน อย่างไรก็ตาม โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน ยังไม่มียาที่จำเพาะสำหรับการรักษา

 

  • การทำกายภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัด เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการรักษา เพราะทำให้เห็นผลได้ชัดเจน ดังนี้

  1. การทำกายภาพบำบัด เพื่อเคลื่อนตะกอนหินปูน
  2. การทำกายภาพบำบัด เพื่อปรับสภาพสมองให้เร็วขึ้น

 

  • การผ่าตัด

หากการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ไม่ได้ผล แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วย เข้ารับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด

 

โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน หนึ่งในสาเหตุหลักของอาการบ้านหมุน ที่ใคร ๆ ก็เคยเป็น สร้างความทรมานให้กับผู้ป่วยอยู่ไม่น้อย สำหรับใครที่มีอาการกำเริบ ให้รีบพบแพทย์ทันที หากปล่อยไว้อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ และอาจร้ายแรงถึงชีวิตได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ที่มาข้อมูล : chularat3 bumrungrad

บทความที่น่าสนใจ :

โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง มีโรคอะไรบ้าง มาเช็คอาการกัน!

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เสี่ยงแท้งลูก? คุณแม่ไม่ควรมองข้าม

คนท้องเวียนหัว หน้ามืด เกิดจากอะไร มีวิธีแก้อาการวูบบ่อยไหม

บทความโดย

Waristha Chaithongdee