สรรพคุณของ ใบตําลึง ตำลึง ตัวผู้ ตัวเมีย ต่างกันอย่างไร

ตำลึงอันตรายจากตำลึง รู้หรือไม่ว่าตำลึงมีสองเพศ และมีบางเพศที่กินแล้วอาจทำให้ท้องเสียได้ อยากรู้ไหมว่า ตำลึงเพศผู้ ตำลึงเพศเมียต่างกันอย่างไร แบบไหนให้โทษ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อันตรายจากตำลึง ไม่น่าเชื่อว่า ตำลึง หรือ ใบตำลึง ที่อยู่ในเมนูอาหารมากมายจะทำให้ลูกน้อยท้องเสียได้ หากนึกถึงเมนูอาหารเด็ก แกงจืดตำลึงต้องเป็นหนึ่งในเมนูที่หลายๆ บ้านชอบทำให้ลูกน้อยได้กินกัน แต่คุณแม่บ้านรู้ไหมว่าตำลึงมันแบ่งออกเป็น ตำลึงตัวผู้ และตำลังตัวเมีย โดยทั้งสองเพศนี้ให้คุณและโทษที่ต่างกัน ถ้านำมาทำอาหารให้ลูกไม่ระวังอาจทำให้ลูกท้องเสียได้นะคะ

 

ทำความรู้จัก ใบตำลึง หรือ ตําลึง ตำลึงตัวผู้

ก่อนอื่นเรามารู้จักตำลึง หรือ ใบตำลึง กันก่อนดีกว่า ตำลึง มีชื่อเรียกว่า แคเต๊าะ(แม่ฮ่องสอน) ผักแคบ(ภาคเหนือ)  ผักตำนิน(อีสาน) มีลักษณะเป็นไม้เลื้อย คลานตามรั้ว เป็นเถาเลื้อยที่มีมือจับ เพื่อเกาะยึดหลักต้นไม้อื่นๆ ป็นใบเดี่ยวสลับกันไปตามเถา ฐานใบรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักแบบฟันเลื้อยตื้นๆ หยักเว้า 5 แฉก เส้นใบแยกจากโคนใบที่จุดเดียวกัน 5-7 เส้น ใบกว้าง 3-4 เซนติเมตร ก้านใบยาว 3-5 เซนติเมตร ดอกตําลึงสีขาว เป็นดอกเดี่ยว มี 2 เพศ เพศผู้และเพศเมียจะอยู่คนละต้น หากสังเกตดูจะเห็นความแตกต่างกัน

ประโยชน์จากตำลึง ใบตําลึง สรรพคุณตำลึง หรือ ใบตำลึง

ประโยชน์ตำลึงตัวผู้ ใบตำลึง หรือ ตำลึง ในส่วนของยอดตำลึง ปริมาณ 100 กรัม จะประกอบไปโดยโปรตีน 3.3 กรัม วิตามินบี 1 0.17 กรัม แคลเซียม 126 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ใยอาหาร 2.2 กรัม และเบต้าแคโรทีนสูงถึง 699.88 ไมโครกรัม

 

นอกจากนี้ ใบของตำลึงยังมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยในการดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ตัวร้อน แก้อาการปวดแสบปวดร้อนช่วยขับสารพิษในลำไส้ ช่วยป้องกันอาการท้องผูก ช่วยป้องกันการเป็นตะคริว ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และช่วยบำรุงน้ำนมแม่ ถ้าเป็นเป็นแก่หน่อย จะช่วยลดน้ำตาลในเลือด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จะเห็นได้ว่า ตําลึง หรือ ใบตำลึง คุณค่าทางอาหารมากขนาดนี้ ตำลึงจึงเหมาะที่จะนำมาทำอาหารสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ แม่ให้นม รวมถึงอาหารสำหรับเด็กด้วย แต่อย่างที่บอกไว้ข้างต้นว่าใบตำลึงอาจทำให้ลูกน้อยท้องเสียได้ หากคุณแม่ไม่ระวัง เนื่องจากใบตำลึงที่มักนิยมนำมาทำเป็นอาหารนั้นจะเป็นตำลึงเพศเมีย ส่วนตำลึงเพศผู้เมื่อกินเข้าไปจะทำให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เกิดอาการท้องเสีย สำหรับผู้ใหญ่ท้องเสียยังไม่ค่อยน่าเป็นห่วงเท่าไหร่ แต่สำหรับเด็กเล็กๆ แล้วล่ะก็คงไม่ดีแน่ๆ เพราะว่าใบตำลึงเพศผู้มีฤทธิ์ทางยาที่สูงกว่านั่นเองค่ะ ดังนั้น ก่อนที่คุณแม่จะนำใบตำลึงหรือยอดอ่อนตำลึงมาทำอาหารให้ลูกกินควรสังเกตให้ดีๆ นะคะ

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : ผักผลไม้ 5 สี กินแล้วดีอย่างไร? เด็กกินได้ ผู้ใหญ่กินดี ประโยชน์เพียบ!!

 

ตำลึงเพศผู้ ตำลึงเพศเมียต่างกันยังไง

ตำลึงเพศผู้ ใบตำลึงแก่กินได้ไหม :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ใบตำลึงเพศผู้ จะมีลักษณะหยัก โค้งเว้ามาก ใบไม่เต็ม
  • ดอกตำลึงเพศผู้ขนาด 4-6 ซม. กลีบดอก 5 กลีบ เกสรผู้ 3 อัน อับเรณูขนาดใหญ่รูปขอบขนาน สีเหลืองเป็นก้อนอยู่ในคอดอก

 

ตำลึงเพศเมีย: 

  • ใบตำลังเพศเมีย จะมีลักษณะค่อนข้างมน ขอบใบไม่หยักมาก รูปร่างเกือบกลม
  • ดอกตำลึงเพศเมีย กลีบดอกเหมือนดอกเพศผู้ ยอดเกสรแยกเป็น 3-5 แฉก ผลเป็นผลสด รูปขอบขนานหรือรูปป้อม กว้างประมาณ 2.5 ซม. ยาวประมาณ 5 ซม. ผลแก่สีแดงส้ม เมล็ดแบนรี มีจำนวนมาก ขนาด 2-3 มม.

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตัวอย่างเมนู ตำลึง ใบตำลึงทำอะไรได้บ้าง

ตำลึง หลังจากที่รู้ข้อแตกต่างของใบตำลึงเพศผู้ และเพศเมียแล้ว คราวนี้มาดูกันว่า ตำลึง หรือ ใบตำลึง สามารถนำมาทำอาหารเมนูอะไรได้บ้างน้า

 

1. ข้าวบด ฟักทอง ตำลึง หรือ ใบตำลึง (สำหรับเด็ก 6 เดือนขึ้นไป)

วิธีทำ

  • นำข้าวสารไปต้มรอจนเม็ดบานเต็มที่
  • ระหว่างรอให้หั่นฟักทอง แล้วนำไปนึ่งประมาณ 15 นาที พอเหลือ อีก 2 นาทีใกล้หมดเวลา ให้ใส่ตำลึงลงไป แล้วนึ่งต่อจบครบ 15 นาที
  • นำทั้งหมดมาผสมให้เข้าด้วยกัน แล้วบดด้วยกระชอนที่ถี่น้อย 1 ครั้ง และที่ถี่มาก 1 ครั้ง
  • จากนั้นเสิร์ฟให้ลูกน้อยทาน

 

2. มันหวานตำลึง (สำหรับเด็ก 6 เดือนขึ้นไป)

วิธีทำ

  • นำมันหวานมาล้างให้สะอาด หันครึ่ง แล้วนำไปนึ่งโดยไม่ต้องปลอกเปลือก ประมาณ 15 นาที แต่ก่อนที่จะหมดเวลา 2 นาที ให้นำตำลึงใส่เข้าไป จากนั้นนึ่งต่อ
  • นำทั้งหมดมาบดด้วยกระชอนที่ถี่น้อย 1 ครั้ง และที่ถี่มาก 1 ครั้ง
  • จากนั้นเสิร์ฟให้ลูกน้อยทาน

 

3. ข้าวบดตำลึงไข่แดง (สำหรับเด็ก 8 เดือนขึ้นไป)

  • นำข้าวสวย 4 ช้อนโต๊ะ ไข่แดง และใบตำลึงมาบดรวมกันให้ละเอียด
  • เติมน้ำแกงจืดลงไปในถ้วย แล้วผสมให้เข้ากัน จากนั้นบดให้ละเอียดอีกครั้ง
  • พร้อมเสิร์ฟให้ลูกน้อยได้ทาน

 

ใบตำลึงพอกหน้า ใบตำนึงรักษาฝ้า

นอกจากการนำไปประกอบอาหาร และ สรรพคุณเรื่องสุขภาพต่าง ๆ แล้ว ใบตึงยังสามารถนำมาทำเสริมสวยได้ด้วยเช่นกัน ใบตำลึงมีแคลเซียม วิตามิน A และ วิตามิน C สามารพนำมาทาหน้า ทำให้ผิวหน้าของเรากระจ่างใสได้ นอกจากนั้นยังช่วยรักษาฝ้าได้ด้วยค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คนท้องกินผักตำลึงได้ไหม ?

แต่มีข้อห้ามที่คนโบราณเล่าต่อ ๆ กันมา ไม่ควรให้คนท้องกินผักตำลึง เพราะมีความเชื่อว่า ตำลึงเป็นผักที่เป็นเครือเป็นเถาที่คอยยึดเกาะพันกับสิ่งต่าง ๆ อย่างเหนียวแน่น หากแม่ท้องกินเข้าไปก็จะทำให้คลอดลูกยาก เด็กจะยึดติดอยู่ในท้องเหมือนตำลึงที่ยึดเกาะตามรั้วหรือต้นไม้ คนเฒ่าคนแก่สมัยก่อนก็เลยห้ามไม่ให้คนท้องกิน

 

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันตามการแพทย์นั้นคุณแม่สามารถรับประทานผักตำลึงได้ แต่อันตรายที่แม่ท้องไม่ควรมองข้ามไปก็คือ ในผักตำลึงนั้นมีสาร Purin สูงในยอดผัก รวมถึงบรรดาผักเครือเถาอื่น ๆ ด้วย เช่น ยอดฟักแม้ว ยอดฟักทอง ยอดมะระ หากแม่ท้องที่มีอาการของโรคเก๊าท์อยู่ก่อนรับประทาน ก็อาจส่งผลให้อาการปวดตามข้อกำเริบขึ้นมาได้

 

ดังนั้นยังมีผักผลไม้และอาหารชนิดอื่น ๆ ที่ให้สารอาหารเพียงพอต่อคุณแม่เลือกทานเพื่อบำรุงครรภ์ทดแทนได้ เช่น เนื้อปลา เป็ด ไก่  ไข่ นม ถั่ว เต้าหู้ ผักใบเขียว ไข่ เนื้อสัตว์ ซีเรียล ผักโขม ถั่วเขียว ถั่วลิสง ฯลฯ นะคะ

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :
ผักที่คนท้องไม่ควรกินดิบ 5 ชนิด ระวังกันหน่อยนะแม่ท้อง
อาหารเด็ก6เดือน ตัวอย่างอาหารตามวัย ลูก6เดือนแล้วให้กินอะไรดี
อาหาร 7 ชนิดที่แม่ต้องระวัง กินมากไปลูกน้อยท้องอืดแน่นอน!

ที่มา: health.kapook, qsbgpantipbaby.haijai

บทความโดย

Khunsiri