น้ำหนักทารกในครรภ์ แบบไหนตัวใหญ่ตัวเล็ก ถ้าน้ำหนักลูกในครรภ์น้อยทำไงดี

น้ำหนักทารกในครรภ์ ตามเกณฑ์เป็นเท่าไร ถ้าน้ำหนักน้อยจะเพิ่มน้ำหนักให้ลูกในครรภ์ได้อย่างไร แล้วจะรู้ น้ำหนักทารกในครรภ์ ได้อย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำหนักทารกในครรภ์ แต่ละสัปดาห์ เป็นอย่างไร

เชื่อว่าแม่ท้องทุกคนล้วนแต่อยากรู้ว่าลูกน้อยที่นอนหลับสบายอยู่ในท้องของคุณแม่จะมีสุขภาพแข็งแรงดีไหม ตัวโตไปถึงไหนแล้ว อ้วนไป หรือผอมไปไหม แต่ปัญหาก็คือ จะรู้ได้อย่างไรกันล่ะว่า น้ำหนักทารกในครรภ์ ในแต่ละสัปดาห์ควรเป็นอย่างไร น้ำหนักเยอะตัวโต หรือน้ำหนักน้อยตัวเล็กหรือไม่ โดยคุณแม่สามารถดูได้คร่าวๆจากตารางด้านล่างนี้เลยครับ

แล้วจะรู้ น้ำหนักทารกในครรภ์ ได้อย่างไร

การที่จะรู้ว่าน้ำหนักทารกในครรภ์ เป็นอย่างไร ลูกจะตัวใหญ่หรือตัวเล็ก สามารถทำได้โดย

1.ตรวจร่างกาย

วัดความสูงของมดลูก ขนาดมดลูกที่สังเกตได้ง่าย คือช่วงอายุครรภ์ 5 เดือน หรือ 20 สัปดาห์ ซึ่งจะมีขนาดเท่ากับระดับสะดือของคุณแม่ แต่อายุครรภ์หลังจากนั้นแพทย์จะทำการวัด โดยใช้สายวัดซึ่งความสูงของมดลูกหน่วยเป็นเซนติเมตรจะมีค่าเท่ากับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์ เช่น วัดความสูงของมดลูกได้ 28 เซนติเมตร ก็จะเท่ากับขนาดมดลูกที่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2.อัลตราซาวนด์

ประเมินน้ำหนักลูกได้จากการคำนวณค่าที่วัดได้จากการอัลตราซาวนด์

3.ติดตามการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักคุณแม่

สำหรับการตั้งครรภ์ทารกคนเดียว น้ำหนักแม่จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังอายุครรภ์ 3 เดือน เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.2-0.5 กิโลกรัม แต่ในช่วง 3 เดือนแรก เนื่องจากมีอาการแพ้ท้อง ดังนั้น น้ำหนักอาจลดลงหรือไม่เพิ่มขึ้นได้ ยังไม่ต้องกังวลใจไปครับ

หลังจากนั้นคุณหมอก็จะประเมิน น้ำหนักทารกในครรภ์ แล้วดูว่าทารกตัวเล็กหรือตัวใหญ่จริงหรือไม่ แล้วคุณหมอก็จะทำการตรวจอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุและวางแผนการดูแลรักษาต่อไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

“ทารกตัวเล็ก” ไม่ใช่ “ทารกที่ผิดปกติ” เสมอไป

อย่างไรก็ตาม ทารกในครรภ์ที่ตัวเล็ก ก็ไม่ใช่ทารกที่ผิดปกติเสมอไปนะครับ โดยทารกในครรภ์ที่ตัวเล็ก ก็สามารถเป็นทารกที่ปกติ มีการพัฒานาของร่างกายและระบบประสาทและสมองที่ปกติได้ แต่สาเหตุที่ตัวเล็กนั้นอาจมาจากเรื่องพันธุกรรมของพ่อแม่ ที่มีขนาดของร่างกายที่เล็กเหมือนกัน  แต่ที่คุณหมอและพ่อแม่จะกังวลคือ ทารกตัวเล็ก เป็นทารกที่ผิดปกติ และจะส่งผลต่อสุขภาพของทารกเอง ซึ่งมีสาเหตุมากมายที่ทำให้เกิดภาวะนี้ เช่น

สาเหตุจากแม่

เนื่องจากแม่ท้องมีโรคประจำตัว เช่น โรคความดัน โรคไต โรคเบาหวาน มีการใช้ยาบางอย่าง ดื่มเหล้า สูบบุหรี่

สาเหตุจากลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกมีความพิการแต่กำเนิด มีการติดเชื้อในครรภ์ ทารกในภาวะครรภ์แฝด

สาเหตุจากรก

เช่น ภาวะรกเสื่อมก่อนกำหนด รกเกาะตำเหน่งที่ผิดปกติ มีการติดเชื้อที่รก

วิธีเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์ แก้ปัญหาลูกในท้องตัวเล็ก ทำได้อย่างไร ติดตามต่อหน้าถัดไป>>

วิธีเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์ แก้ปัญหาลูกในท้องตัวเล็ก

วิธีที่จะเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์ ตามคำแนะนำของคุณหมอ อดิศร อักษรภูษิตพงศ์ สูตินรีแพทย์ เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ประจำโรงพยาบาลพญาไท 3 คือ “การส่งเสริมสุขภาพทารกให้แข็งแรงตลอดการตั้งครรภ์ และคลอดเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม” ไม่ใช่เน้นการเพิ่มน้ำหนักตัวเด็กให้กลับมาเป็นปกติ โดยมีแนวทางดังนี้ครับ

  • รับประทานอาหารโดยการเน้น “สารอาหารที่มีประโยชน์ ( nutrition ) ไม่ใช่เน้น “พลังงาน (calories )” ทานอาหารที่หลากหลายเช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ โดยเน้นโปรตีน แต่ให้หลากหลายและมาจากธรรมชาติ เช่น ปลา ไก่ หมู ไม่ใช่ทานอาหารอย่างเดียวในปริมาณมาก เช่น ไข่ 10 ฟองต่อวัน นมวันละ 2 ลิตร เพราะอาจทำให้ ทารกคลอดออกมาเสี่ยงต่อการแพ้ไข่ แพ้นมได้
  • พักเยอะๆ นอนเยอะๆ เพื่อให้มีเลือดสูบฉีดไปเลี้ยงทารกมากขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์ควรนอนกลางคืนอย่างน้อย 8 ชม. และงีบหลับตอนกลางวัน 1-2 ชม. การพักผ่อนไม่พอ ความเครียด ความกังวล ก็ทำให้ลูกตัวเล็กได้เช่นกัน
  • งดการสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น
  • ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับอายุครรภ์
  • ดูแลรักษาโรคประจำตัวของแม่ท้อง
  • ตรวจติดตามกับคุณหมอที่ดูแลอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากทารกที่ตัวเล็ก คุณหมออาจนัดตรวจติดตามถี่กว่าปกติ เพื่อตรวจสุขภาพทารกอย่างละเอียดครับ

บทความโดย

P.Veerasedtakul