ส่วนใหญ่แล้วฟันซี่แรกของลูกน้อย จะเริ่มขึ้นตอนที่ลูกมีอายุได้ประมาณ 6 เดือน แต่สำหรับทารกบางคน ก็อาจจะเกิดมาพร้อมกับฟัน 1 ซี่ หรือทารกบางคนอาจมีฟันน้ำนมขึ้นหลังจาก 1 ขวบไปแล้วก็มี โดยคุณพ่อ คุณแม่ สามารถสังเกตอาการเมื่อ ลูกฟันขึ้น ได้ดังนี้
ลูกฟันขึ้น เด็กฟันจะขึ้น จะมีอาการแบบไหนนะ
ฟันของลูกจะเริ่มงอกเมื่ออายุครบ 6 เดือน โดยจะเริ่มจากฟันหน้า 2 ซี่ล่างที่จะเริ่มงอกก่อน ตามด้วยฟันหน้าด้านบน 4 ซี่ และจากนั้นจึงเป็นฟันหน้าล่างด้านข้างอีก 2 ซี่ ส่วนฟันที่เหลือจะงอกครั้งละสองซี่ ซี่ละข้าง และฟันน้ำนมนี้จะขึ้นครบทั้งหมด 20 ซี่เมื่อเด็กอายุ 3 ขวบ ซึ่งเมื่อลูกเริ่มที่จะมีฟันขึ้น จะมีอาการที่สามารถสังเกตได้ดังนี้ค่ะ
- น้ำลายเยอะ : อาการแรกที่คุณพ่อ คุณแม่ สามารถสังเกตได้ง่าย ๆ เลยคือน้ำลายของลูกจะมีเยอะเป็นพิเศษ เพราะเมื่อเหงือกได้รับการกระตุ้นด้วยฟันที่เริ่มงอก ก็จะทำให้มีน้ำลายเพิ่มขึ้น
- ผื่นเริ่มขึ้น : ลูกอาจมีผื่นบริเวณใบหน้าและลำคอ จากการที่มีน้ำลายที่มากกว่าปกติไหลย้อยลงมา ทำให้มีผื่นแดง ๆ แห้ง ๆ และผิวของลูกก็อาจแตกได้ คุณพ่อ คุณแม่ควรเช็ดน้ำลายลูกบ่อย ๆ และใช้ครีมสำหรับเด็กทา เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวลูก
- ชอบกัด : เมื่อลูกฟันขึ้น เด็กจะรู้สึกรำคาญ และมักจะกัดทุกอย่างที่อยู่ใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นของเล่น มือหรือเท้าของตัวเอง แม้กระทั่งหัวนมแม่ก็ไม่เว้นนะคะ
- เหงือกบวมแดง และร้องไห้เจ็บเหงือก : คุณพ่อ คุณแม่ จะสังเกตได้ว่าเหงือกของลูกจะมีอาการแดงอมม่วง หรือบวมมากกว่าปกติ ช่วงนี้ลูกน้อยมักจะร้องไห้บ่อย ๆ งอแงด้วยความเจ็บเหงือก
- เป็นไข้ : เมื่อลูกฟันขึ้น บางครั้งอาจมีอาการไข้เกิดขึ้น แต่จะมีไข้ไม่มาก และมักเป็นไม่เกิน 3 วัน หากลูกมีไข้นานกว่านั้น แนะนำให้คุณพ่อ คุณแม่ ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อตรวจอาการนะคะ
- เอามือจับแก้มบ่อย ๆ : ลูกน้อยมักจะชอบเอามือจับแก้มอยู่บ่อย ๆ บางครั้งลูกอาจไม่ได้รำคาญที่เหงือกเพียงอย่างเดียว แต่อาจมีอาการเจ็บบริเวณช่วงหู เพราะฟันขึ้นบริเวณขากรรไกร หรืออาจเป็นอาการของการติดเชื้อในหูได้เหมือนกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : สัญญาณที่บอกว่าฟันลูกกำลังจะขึ้น ฟันซี่แรก วิธีดูแลรักษาฟันซี่แรก
อาการของเด็กฟันจะขึ้น ร้องไห้เจ็บเหงือก จะช่วยอย่างไรดี
เมื่อลูกฟันขึ้น เขาก็มักจะร้อง ไม่ยอมดูดนม หรือทานอาหารเสริม เพราะอาการเจ็บเหงือก หรือคันเหงือก เรามาดูวิธีบรรเทาอาการเจ็บปวดเมื่อลูกฟันขึ้นกันค่ะ
-
นวดเหงือกเบา ๆ
หากเหงือกของลูกไม่บวม หรือเจ็บมาก และลูกยอมให้คุณพ่อ คุณแม่ สอดนิ้วเข้าไปในปากได้ ให้ลองนวดเหงือกของลูกเบา ๆ เพราะการนวดจะช่วยให้ลูกผ่อนคลาย และช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี แต่ที่สำคัญมาก ๆ เลยคือ คุณพ่อ คุณแม่ ต้องอย่าลืมล้างมือให้สะอาดก่อนทุกครั้ง
-
หาของให้ลูกกัด
คุณพ่อคุณแม่ อาจใช้ยางกัด หรือของเล่นสำหรับเคี้ยวที่ปลอดสาร BPA (Bisphenol A) ให้ลูกเคี้ยวเล่นเพื่อบรรเทาอาการคันเหงือก อีกทั้งการเคี้ยวจะช่วยให้เนื้อเยื่อที่เหงือกแยกออกจากกัน ทำให้ฟันขึ้นมาได้ง่าย
-
ใช้ความเย็น
ความเย็นช่วยลดอาการบวมของเหงือก และทำให้รู้สึกชา โดยคุณพ่อ คุณแม่ อาจจะใช้ยางกัด จุกนมหลอก หรือผ้าสะอาดหมาด ๆ แช่ตู้เย็นเตรียมไว้ให้ลูก แต่ระวังอย่าให้เย็นจัดจนเกินไป เพราะแทนที่จะบรรเทาอาการปวด ก็อาจจะกลายเป็นเจ็บปวดกว่าเดิมได้
-
ใช้ยาลดปวดสำหรับเด็ก
คุณพ่อ คุณแม่ สามารถเลือกใช้ยาแก้ปวด – ลดไข้สำหรับเด็กได้ และควรใช้ตามคำแนะนำของคุณหมอ หรือเภสัชกร แต่หากอาการปวดไม่บรรเทาลง ควรพาลูกไปพบคุณหมอ เพื่อตรวจอาการอย่างละเอียด และให้แน่ใจว่าไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย
การเยียวยาที่บ้าน สำหรับอาการปวดฟันในทารก
วิธีบรรเทาอาการปวดฟันของทารก มีหลากหลายวิธี ที่จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดที่เกิดจากการงอกของฟัน และยังมีวิธีการรักษาที่บ้านอีกด้วย ซึ่งคุณพ่อ คุณแม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หากไม่ต้องการใช้ยาค่ะ
- ผ้าแช่แข็ง : คุณอาจให้ทารกเคี้ยวผ้าหลังจากวางไว้ในช่องแช่แข็ง
- ผลไม้ : ให้ทารกเคี้ยวผลไม้ หรือผักแช่แข็งด้วยช้อนเย็น เพื่อช่วยแก้ปวดฟัน
- นิ้ว : คุณสามารถใช้นิ้วสะอาด ๆ ถูบนเหงือกที่เจ็บของทารก เพื่อทำให้ชาและหายปวดได้ชั่วคราว ซึ่งเป็นวิธีการรักษาโดยทั่วไปที่มักได้ผลดี
- บิสกิต : บิสกิตฟันสามารถช่วยบรรเทาอาการทารกปวดฟันได้ง่ายขึ้น ทั้งยังไม่หวาน และเหมาะสำหรับเด็กที่ชอบแทะสิ่งของ
- ขวดนมเย็น : หากคุณแช่ขวดนมคว่ำลง น้ำแข็งที่ก่อตัวใกล้จุกนมจะทำให้จุกนมแข็งขึ้นเล็กน้อย ทำให้ลูกของคุณสามารถเคี้ยวจุกนมได้เรื่อย ๆ
- กล้วย : กล้วยเป็นผลดีต่อการงอกของฟันของทารกเนื่องจากมีลักษณะนิ่ม และไม่ติดอยู่ในลำคอของเด็ก
- แครอท : แครอทเป็นผักอีกชนิดหนึ่ง ที่สามารถให้ทารกเคี้ยวได้ เนื่องจากพวกมันเคี้ยวยาก และจะช่วยลูกของคุณเมื่อฟันของพวกเขากำลังงอก คุณพ่อ คุณแม่ควรตรวจสอบให้แน่ใจเสมอว่าคุณอยู่ใกล้ ๆ ขณะให้ลูกของคุณเคี้ยวแครอท เพราะทารกอาจกลืนมันลงไป และติดอยู่ในลำคอของเขาได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็กปวดฟัน ทำอย่างไรดี? 9 เคล็ดลับบรรเทาอาการปวดฟันของลูกน้อย
ฟันจะเริ่มขึ้นเมื่อไหร่?
กระบวนการงอกของฟันจะแตกต่างกันไปสำหรับทารกแต่ละคน ในขณะที่ในทารกบางคนฟันซี่แรกอาจมาเมื่ออายุ 6 เดือน หรือช้ากว่าวันเกิดปีแรกของทารก กระบวนการขึ้นของฟันนำ้นมทุกซี่อาจใช้เวลาประมาณ 3 ปี
ระยะเวลาการขึ้นของฟัน (โดยประมาณ)
- ฟันหน้ากลาง: อายุ 6 – 12 เดือน
- ฟันหน้าด้านข้าง: เมื่ออายุ 9 – 16 เดือน
- ฟันเขี้ยวเมื่ออายุ 16 – 23 เดือน
- ฟันกรามซี่แรก: อายุ 13 – 19 เดือน
- ฟันกรามซี่ที่สอง: อายุ 23 – 33 เดือน
การงอกของฟันจะใช้เวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์ต่อซี่ (4 วันก่อน และ 3 วันหลังจากที่ฟันโผล่พ้นขอบเหงือก) ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่ค่อนข้างยากสำหรับทารก และคุณพ่อ คุณแม่ แต่ก็เป็นระยะพัฒนาการที่สำคัญเช่นกัน การยอมรับว่าระยะนี้เป็นช่วงเวลาแค่ชั่วคราว จะช่วยบรรเทาความวิตกกังวลของคุณพ่อ คุณแม่ได้
สาเหตุของฟันน้ำนมขึ้นช้าในทารก
เด็กทุกคนมีความแตกต่างกัน ดังนั้นการที่ทารกบางคนมีการงอกของฟันน้ำนมที่ช้ากว่าทารกคนอื่น จึงถือว่าเป็นเรื่องปกติ นอกจากนั้นยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีก 2 – 3 ประการที่ทำให้เกิดการงอกของฟันช้าในทารก
-
ปัจจัยทางพันธุกรรม
หากมีประวัติการงอกของฟันล่าช้าเกิดขึ้นในครอบครัวทั้งทางฝั่งของคุณพ่อและคุณแม่ ก็ไม่น่าแปลกใจที่ลูกของคุณจะมีอาการเช่นเดียวกัน ลองถามพ่อ แม่ หรือญาติของคุณว่า คุณ หรือพวกเขาประสบปัญหาเดียวกันหรือไม่ และถ้าใช่นี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ลูกของคุณยังไม่เริ่มมีฟันขึ้น
-
ปัจจัยทางด้านโภชนาการ
หากลูกน้อยของคุณได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ หรือหากนมผงสูตรที่เขากินนั้นไม่มีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการทั้งหมดของเขาก็จะทำให้การงอกของฟันล่าช้า นมแม่มีแคลเซียมซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการเจริญเติบโตและเสริมสร้างพัฒนาการของฟันและกระดูก แคลเซียมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อฟันที่แข็งแรง และการมีสุขภาพที่ดี ส่วนนมผงสูตรสำหรับทารกมักมีสารอาหารต่าง ๆ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามิน A C และ D เพื่อพัฒนาการโดยรวมของพวกเขา
ภาวะแทรกซ้อนของการงอกของฟันที่ล่าช้า
- ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของการงอกของฟันล่าช้าคือ ฟันแท้ของเด็กอาจเกิดขึ้นในลักษณะคด หากฟันของเขาพัฒนาช้า เมื่อยังเป็นทารก
- เด็กต้องมีฟันน้ำนม เพื่อให้สามารถเคี้ยวอาหารได้อย่างถูกต้องการไม่สามารถเคี้ยวอาหารแข็งได้ เป็นอีกหนึ่งภาวะแทรกซ้อนของการงอกของฟันที่ล่าช้า
- บางครั้งชุดฟันแท้จะปรากฏขึ้นพร้อมกับฟันน้ำนม ที่เลื่อนออกไปทำให้ทารกมีฟันสองแถว
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ทารกฟันขึ้น งอแง ร้องไห้ มีไข้ มีวิธีลดอาการปวดของลูกอย่างไร
ทำยังไงให้ลูกแปรงฟัน? บอกลูกยังไงดีให้ลูกแปรงฟังทุกครั้งที่จำเป็น
ทำไมทารกนอนกัดฟัน ลูกฟันขึ้น ลูกเครียด ลูกป่วยไหม อันตรายหรือเปล่า