4 สัญญาณ!​ ลูกปวดเหงือก ฟันขึ้น พ่อแม่ช่วยได้อย่างไรบ้าง?

lead image

ลูกปวดเหงือก ฟันขึ้น ช่วงเวลานี้มักทำให้ลูกมีอาการไม่สบายตัวต่างๆ ตามมา ซึ่งเรามีวิธีสังเกต และวิธีบรรเทาความเจ็บปวดให้ลูกน้อยอย่างไรบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พ่อแม่หลายคนอาจเคยเจอช่วงเวลาที่ลูกน้อยเริ่มมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างกะทันหัน เช่น งอแงผิดปกติ กัดทุกอย่างที่ขวางหน้า น้ำลายไหลเยอะขึ้น หรือแม้แต่ตื่นกลางดึกบ่อยๆ โดยไม่รู้สาเหตุ อาการเหล่านี้อาจทำให้คุณสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับลูกกันแน่? หนึ่งในสาเหตุที่เป็นไปได้ก็คือ ลูกปวดเหงือก ฟันขึ้น นั่นเอง

ลูกฟันขึ้น เป็นพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กทุกคน ช่วงเวลานี้มักทำให้ลูกปวดเหงือก ฟันขึ้น หรือมีอาการคันเหงือก และอาการไม่สบายตัวต่างๆ ตามมา ซึ่งพ่อแม่สามารถเตรียมตัวรับมือและหาวิธีช่วยบรรเทาความเจ็บปวด เพื่อให้ลูกน้อยรู้สึกสบายตัวขึ้นได้ 

 

ฟันซี่แรกมาเมื่อไร ชวนหาคำตอบ “ฟันเด็กขึ้นกี่เดือน”

ฟันขึ้น ถือเป็นพัฒนาการทางร่างกายที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่งในการเจริญเติบโตของลูกน้อย คำว่าฟันขึ้น ในที่นี้ หมายถึงการที่ฟันโผล่พ้นเหงือขึ้นมานั่นเอง โดยฟันซี่แรก จะขึ้นในช่วงที่ลูกอายุประมาณ 4-8 เดือน แต่สัญญาณที่แสดงว่าฟันซี่แรกลูกกำลังขึ้นนั้นอาจเกิดล่วงหน้าเป็นเดือนๆ เช่น ลูกน้ำลายไหลมากกว่าปกติ ชอบหยิบจับสิ่งของเข้าปากแล้วกัดๆ ขบๆ เมื่อใกล้เวลาที่ฟันจะโผล่พ้นเหงือก ลูกอาจมีไข้และอาการไม่สบายเนื้อตัว งอแงผิดปกติ 

ฟันน้ำนมซี่แรกของลูกจะเริ่มจากฟันหน้าล่าง 2 ซี่ ตามมาด้วยฟันหน้าบน 4 ซี่ เมื่ออายุประมาณ 13-14 เดือน จะเริ่มมีฟันกรามซี่ที่ 1 ขึ้นทั้งบนและล่าง ขณะที่ฟันกรามซี่แรกขึ้น ก็เป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่ลูกอาจงอแงมากกว่าปกติ เพราะฟันกรามซี่ใหญ่ อาจทำให้เด็กๆ รู้สึกหงุดหงิดไม่สบายตัว จนกระทั่งอายุประมาณ 16-17 เดือน จะเริ่มมีฟันเขี้ยวบนและล่างขึ้น อายุ 23 – 25 เดือน เป็นเวลาของฟันกรามซี่ที่ 2 ทั้งบนและล่าง กระทั่งลูกอายุประมาณ 3 ปี ก็จะมีฟันน้ำนมครบ 20 ซี่

อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาที่ฟันขึ้นอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางคนอาจเริ่มเร็วหรือช้ากว่า 4 เดือน ก็ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ

4 สัญญาณ ลูกปวดเหงือก ฟันขึ้น พ่อแม่ช่วยอะไรได้บ้าง

บทความจาก British Dental Journal ระบุว่า พ่อแม่กว่า 70-80% พบว่าลูกน้อยมีอาการไม่สบายตัว หงุดหงิด งอแง น้ำลายไหล เบื่ออาหาร ฯลฯ เมื่อฟันขึ้น ต่อไปนี้เป็นอาการที่พบได้บ่อยเมื่อลูกฟันขึ้น พร้อมวิธีที่คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลให้ลูกน้อยรู้สึกสบายตัวขึ้นได้ 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. หงุดหงิดไม่สบายตัว

มักพบได้บ่อยเมื่อฟันซี่แรก และฟันกรามซี่แรกกำลังขึ้น ลูกอาจเจ็บเหงือก คันเหงือก แต่ไม่รู้จะสื่อสารอย่างไร จึงมีอาการหงุดหงิด รำคาญ และงอแงมากกว่าปกติ

พ่อแม่ช่วยได้: หากลูกอยู่ในวัยที่ฟันกำลังขึ้น และมีงอแงหงุดหงิดโดยไม่มีเหตุผล ให้เดาไว้ก่อนเลยว่าฟันของลูกอาจกำลังขึ้น สิ่งที่พ่อแม่ช่วยได้คือ กอด และใช้เวลากับลูกรัก ว่ากันว่าสัมผัสจากพ่อแม่ช่วยคลายความรู้สึกไม่สบายเนื้อตัวได้ การใช้เวลาอยู่กับลูกมากขึ้นสามารถช่วยบรรเทาความเจ็บปวดของพวกเขา เพราะทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่นใจและมั่นคงทางอารมณ์

 

2. น้ำลายไหล มีผื่นแดง

โดยทั่วไปทารกมักมีน้ำลายไหลเป็นปกติ แต่หากพบว่าลูกน้ำลายไหลเพิ่มขึ้น ทั้งยังมีผื่นขึ้น เพราะน้ำลายที่ไหลมากเกินไป อาจทำให้เกิดผื่นรอบปาก แก้ม คาง และลำคอ เนื่องจากแบคทีเรียจากน้ำลายที่สะสมบนผิวหนัง ก็อาจเป็นอีกหนึ่งสัญญาณว่าเจ้าตัวน้อยใกล้จะฟันขึ้นเต็มที

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พ่อแม่ช่วยได้: พ่อแม่ควรพกผ้าเช็ดหน้าผืนเล็กๆ ไว้ซับน้ำลายให้เจ้าตัวน้อย พยายามรักษาบริเวณรอบๆ ปากของลูกให้แห้งเท่าที่จะเป็นไปได้ หากเริ่มสังเกตว่าผิวมีการระคายเคือง มีผื่นขึ้น อาจใช้วาสลีนทาเพื่อปกป้องผิวจาก การระคายเคือง 

 

3. ชอบกัด แทะ

เห็นอะไรก็หยิบเข้าปากแล้วกัดๆ แทะๆ นั่นเป็นเพราะแรงกดจากการกัดหรือแทะสิ่งต่างๆ ช่วยลดความเจ็บปวด ตึงๆ คันๆ เหงือกขณะที่ฟันกำลังขึ้นได้นั่นเอง อาการกัดหรือแทะสิ่งต่างๆ จึงเป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บ่งบอกว่าฟันของลูกใกล้จะพ้นเหงือกออกมาแล้ว

พ่อแม่ช่วยได้: ความเย็นบรรเทาอาการไม่สบายเหงือกจากฟันขึ้นได้ คุณพ่อคุณแม่อาจลองใช้น้ำผลไม้แช่แข็งเป็นไอติมให้ลูกกัดๆ แทะๆ หรือนำยางกัดของลูกไปแช่เย็นให้แข็งๆ ก็ได้เช่นกัน สิ่งสำคัญคือเรื่องความสะอาด ควรทำความสะอาดยางกัดและของเล่นต่างๆ ที่ลูกมักหยิบเข้าปาก เพื่อป้องกันเชื้อโรคด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. ดึงหู ถูแก้ม

อาการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากลูกรู้สึกเจ็บเหงือกและความเจ็บนั่นลามมาถึงบริเวณหู หรือ แก้ม พบได้บ่อยเมื่อฟันกรามกำลังขึ้น อย่างไรก็ตาม อาการดึงหู ก็อาจมีสาเหตุจากหูติดเชื้อได้เช่นกัน หากไม่มั่นใจว่าเป็นเพราะฟันขึ้น หรือเพราะสาเหตุอื่น ควรปรึกษาแพทย์

พ่อแม่ช่วยได้: หากอาการดึงหู ถูแก้ม ของลูกมีสาเหตุจากฟันขึ้น สิ่งที่พ่อแม่ทำได้คือการนวดเหงือกให้ลูกเบาๆ ทำได้โดยล้างมือให้สะอาด ใช้นิ้วชี้คลึงเบาๆ บริเวณเหงือกตำแหน่งที่ฟันจะขึ้น ประมาณ 2-3 นาที ช่วยบรรเทาอาการเจ็บเหงือกได้ 

สัญญาณฟันขึ้นแบบไหน ที่ไม่ปกติ

ลูกปวดเหงือก ฟันขึ้น แบบไหนที่ควรพบแพทย์ อาการฟันขึ้นของเด็กส่วนใหญ่มักไม่รุนแรงและสามารถดูแลที่บ้านได้ แต่หากลูกมีอาการเหล่านี้ ควรพาไปพบแพทย์

  • มีไข้สูงเกิน 38.5°C ร่วมกับอาการซึม ไม่ร่าเริง
  • น้ำลายไหลมากผิดปกติ จนผื่นรอบปากลุกลาม ไม่สามารถควบคุมได้
  • เหงือกบวมแดงมาก หรือมีเลือดออก
  • ไม่กินนม ไม่กินอาหารต่อเนื่องเกิน 2-3 วัน
  • มีอาการท้องเสีย (อาจเกิดจากติดเชื้อเพราะนำสิ่งต่างๆ เข้าปาก) 

 

ฟันซี่แรกของหนู ดูแลอย่างไร

เมื่อฟันของลูกเริ่มขึ้นเกินครึ่งซี่ คุณพ่อคุณแม่ควรใช้แปรงสีฟันเด็กขนาดเล็กที่มีขนนุ่มและปลายขนกลมมนแปรงฟันให้ลูก สามารถใช้ยาสีฟันเด็กปริมาณเท่าเม็ดข้าวแตะแค่ปลายแปรงสีฟัน ทำความสะอาดฟันให้ลูก และหลังแปรงเสร็จให้เช็ดฟองออกพร้อมทำความสะอาดภายในช่องปากด้วยผ้าสะอาด

เมื่อลูกฟันขึ้นแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการให้ลูกดูดนมจนหลับคาขวด เพราะอาจทำให้ฟันผุ และเมื่ออายุครบ 1 ปี ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์เด็กเพื่อตรวจสุขภาพช่องปากเป็นครั้งแรก

ในช่วงฟันขึ้น เด็กๆ มักจะงอแงจากอาการระคายเคืองเหงือก คุณพ่อคุณแม่จึงต้องดูแลทั้งสุขภาพช่องปากและจิตใจของลูกเป็นพิเศษ เพื่อให้ลูกสบายตัว สบายใจ และมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขอนามัยในช่องปาก ทำให้ฟันของลูกแข็งแรงและอยู่กับลูกได้จนกว่าจะหลุดตามธรรมชาติ เพื่อให้ลูกมีรอยยิ้มที่สวยงามตลอดไป 

ที่มา: Children Hospital LA, โรงพยาบาลเชียงใหม่ 

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ทารกปากแห้ง อันตรายไหม? แนะวิธีดูแลริมฝีปากลูกน้อยให้กลับมาชุ่มชื้น สุขภาพดี

ลูกป่วยเพราะเขียง เตือน! พ่อแม่อย่ามองข้าม แหล่งก่อเชื้อโรคร้ายให้ลูกน้อย

15 วิธีกระตุ้นสมองทารก ช่วยให้ลูกฉลาด ทำได้ตั้งแต่แรกเกิด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team