ฟันน้ำนมหัก ฟันแท้จะขึ้นเมื่อไหร่? ฟันน้ำนมต้องดูแลอย่างไร

ลูกฟันน้ำนมหักทำอย่างไรดี แล้วเมื่อไหร่ฟันแท้จะขึ้น หรือว่าลูกจะฟันหลอตลอดไป มาดูกัน!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ฟันน้ำนมหัก เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กหลาย ๆ คน บางคนอาจเกิดจากการดูแลสุขภาพช่องปากไม่เพียงพอ หรือเกิดจากอุบัติเหตุที่ทำให้ฟันหักก่อนถึงเวลาอันควร มาดูกันดีกว่า หากฟันน้ำนมหัก แล้วฟันแท้จะขึ้นเมื่อไหร่ และการดูแลฟันน้ำนมให้อยู่จนกว่าฟันแท้จะขึ้นมีวิธีอย่างไรบ้าง?

 

ฟันน้ำนม จะเริ่มขึ้นเมื่อไหร่?

โดยปกติแล้ว ฟันของลูกน้อยของเราจะเริ่มขึ้นเมื่อพวกเขาอายุประมาณ 6 เดือน ฟันซี่แรกที่ขึ้นมักจะเป็นฟันหน้าตรงกลางด้านบน และฟันหน้าด้านล่าง และจะเริ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยจะขึ้นเป็นแบบขึ้นต่อด้านข้างไปเรื่อย ๆ โดยฟันน้ำนมของเด็กจะมีทั้งหมด 20 ซี่ และจะขึ้นครบเมื่อทารกอายุประมาณ 2 ขวบครึ่ง

บทความที่น่าสนใจ : สัญญาณที่บอกว่าฟันลูกกำลังจะขึ้น ฟันซี่แรก วิธีดูแลรักษาฟันซี่แรก

 

 

ฟันน้ำนมกับฟันแท้ แตกต่างกันอย่างไร

ฟันน้ำนมคือฟันที่ขึ้นก่อน ทารกในช่วงวัย 6 เดือนถึงอายุ 6 ปี และฟันแท้จะเริ่มขึ้นตามมาหลังจากที่ฟันน้ำนมหลุดออกไป โดยฟันแท้นั้นจะมีลักษณธที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งฟันแท้กับฟันนั้นนมแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • ปริมาณ

วิธีที่ง่ายที่สุดในการแยกระหว่างฟันน้ำนมและฟันแท้คือจำนวนของฟัน โดยฟันน้ำนมจะมีทั้งหมด 20 ซี่ และจะเริ่มขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน แต่ฟันแท้มีทั้งหมด 32 ซี่

 

  • ขนาด และรูปร่าง

ฟันน้ำนมจะมีขนาดที่เล็กกว่าฟันแท้ โดยที่ฟันน้ำนมจะมีขอบกัดที่แบนกว่า และจะมีขนาดเล็ก เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมากกว่า ส่วนฟันแท้จะมีขนาดที่ใหญ่กว่า และมีขอบกัดที่โค้งมนมากกว่า นอกจากนี้ส่วนของฟันกรามแท้มักจะมีร่องลึก และมีพื้นที่สัมผัสในการเคี้ยวที่มากกว่า ส่วนของฟันน้ำนมจะมีร่องฟันที่ตื้นกว่านั่นเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • ความแข็งแรง

ฟันแท้จะแข็งแรง และทนทานกว่าฟันน้ำนม สาเหตุหลักมาจากฟันแท้มีชั้นเคลือบฟันที่หนากว่า ซึ่งทำให้ทนทานต่อฟันผุได้มากกว่าฟันน้ำนม ทั้งนี้ฟันน้ำนมนั้นจะมีชั้นเคลือบที่บางกว่าจึงมีความอ่อนไหวต่อการแตกสลายจากการสัมผัสกับกรด หรือแบคทีเรีย โดยชั้นเคลือบของฟันมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

    • ชั้นเคลือบฟัน (Enamel) เป็นชั้นเคลือบฟันชั้นนอกสีขาวที่สามารถมองเห็นได้ มีพื้นผิวที่แข็งแรงช่วยปกป้องชั้นฟันด้านในจากความเสียหายจากการที่ฟัน หรือการบาดเจ็บ
    • ชั้นเนื้อฟัน (Dentin) เป็นชั้นฟังที่อยู่ตรงกลาง มีลักษณะคล้ายกับเนื้อเยื่อของกระดูกมากที่สุด เนื้อฟันประกอบขึ้นเป็นโครงสร้างส่วนใหญ่ของฟัน มีท่อเล็ก ๆ หลายล้านท่อเชื่อมต่อกันกับระบบประสาทของฟัน
    • ชั้นประสาทฟัน (Pulp) เป็นชั้นแกนของฟันที่อยู่ด้านในสุด โดยเป็นแหล่งรวบรวมของเส้นประสาททั้งหลายในฟันแต่ละซีกมารวมกันไว้ ซึ่งถ้าหากได้รับความเสียหายอาจจะต้องใช้เวลารักษานานกว่าฟันชั้นอื่น หรืออาจจะต้องสูญเสียฟันไปในที่สุด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • สีของฟัน

โดยทั่วไปแล้ว ฟันน้ำนมจะมีสีที่ขาวกว่าฟันแท้ ซึ่งคุณสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ ในช่วงของที่ลูกน้อยของคุณมีฟันผุ หรือมีฟันแท้ขึ้นข้างกับฟันน้ำนมที่ยังคงอยู่รอการหลุด ซึ่งจะแสดงให้เห็นสีที่แตกต่างอย่างชัดเจน

 

  • วัตถุประสงค์

ฟันน้ำนมและฟันแท้นั้นมีจุดประสงค์ หรือหน้าที่ที่แตกต่างกันมาก แม้ว่าจะถูกใช้ในการบดเคี้ยวอาหารและช่วยให้ลูกน้อยของคุณเปล่งเสียได้อย่างชัดเจนก็ตาม แต่ฟันแต่ละชนิดนั้นก็มีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้

    • บทบาทของฟันน้ำนม

โดยพื้นฐานแล้วฟันน้ำนมจะทำหน้าที่เป็นตัวยึดโดยรักษาระยะห่างที่ถูกต้องในกรามของลูกน้อยของคุณ เพื่อให้ฟันแท้ที่จะขึ้นมานั้นสามารถขึ้นมาได้อย่างถูกตำแหน่ง และเมื่อฟันแท้กำลังจะขึ้น รากของฟันน้ำนมจะเริ่มสลายและทำให้ฟันน้ำนมหักหรือหลุดในที่สุด

    • บทบาทของฟันแท้

ฟันแท้มีบทบาทที่สำคัญคือทำให้ฟันแข็งแรงมากขึ้น และขนาดที่ใหญ่ขึ้น เพื่อช่วยให้การบดเคี้ยวอาหารของคุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีผลเชื่อมโยงต่อระบบการทำงานในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย อาทิ ระบบทางเดินอาหาร ระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย เป็นต้น

บทความที่น่าสนใจ : เลือดออกตามไรฟัน ต้องทำอย่างไรเมื่อ ลูกมีเลือดออกตามไรฟัน

 

 

ฟันน้ำนมหัก ควรทำอย่างไรดี?

อย่างแรกที่คุณต้องเช็กให้แน่ใจก่อนว่า ฟันของลูกน้อยของคุณที่หักนั้นเป็นฟันน้ำนม และจำไว้เสมอว่าฟันน้ำนมไม่ใช่ฟันแท้ ดังนั้นฟันของลูกของคุณจะงอกขึ้นมาใหม่หลังจากที่ฟันนั้นหายไป หากคุณไม่สบายใจสามารถพาลูกน้อยของคุณไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสอบให้มั่นใจว่าไม่มีความเสียหายเพิ่มเติม เพื่อที่จะได้เลือกรักษาอย่างเหมาะสมและอธิบายทางเลือกต่าง ๆ หลังจากได้ทำการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นฟันน้ำนม หรือฟันแท้หัก หรือหลุดหลายไป และพวกเขามีอาการปวดให้รีบพาไปพบทันตแพทย์ในทันที

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่น่าสนใจ : ฟันของลูกจะขึ้นตอนไหน ฟันน้ำนม ฟันกระต่าย ฟันกราม ซี่ไหนขึ้นเมื่อไหร่

 

ฟันน้ำนมหัก ฟันแท้จะขึ้นเมื่อไหร่?

จากที่กล่าวมาข้างต้นเกี่ยวกับฟันน้ำนม จะพบว่าฟันน้ำนมจะมีทั้งหมด 20 ซี่ และจะถูกแทนที่ด้วยฟันแท้ หรือฟันผู้ใหญ่ 32 ซี่ โดยลูกน้อยของคุณจะเริ่มสูญเสียฟันน้ำนมในช่วงอายุประมาณ 6 ขวบ ซึ่งฟันซี่แรกที่มักจะเป็นฟันซี่แรกที่หลุดออกคือ ฟันกรามตรงกลางนั่นเอง และฟันของพวกเขาจะเริ่มหลุดออกเรื่อย ๆ จนถึงซี่สุดท้ายที่จะเป็นฟันกรามด้านล่างตอนอายุประมาณ 12 ปี ทั้งนี้การหลุดของฟันน้ำนมของเด็กแต่ละคนก็ใช้ระยะเวลาที่แตกต่างกันออกไป เด็กบางคนอาจมีฟันน้ำนมจนถึงอายุ 20-30 กว่าปีหรือจนกว่าฟันน้ำนมจะหลุดเลยก็เป็นไปได้เช่นเดียวกัน

 

 

วิธีดูแลฟันน้ำนม ต้องทำอย่างไรบ้าง

ฟันน้ำนมนั้นไม่ได้มีความแข็งแรงเทียบเท่ากับฟันแท้ ดังนั้นฟันน้ำนมสามารถเริ่มผุได้ทันทีหลังจากที่เกิดปฏิกิริยาบางอย่างขึ้นภายในช่องปาก การที่ลูกน้อยของคุณดื่มน้ำหวานบ่อยครั้งก็สามารถทำลายฟันได้ โดยคุณสามารถดูแลฟันน้ำนมของลูกน้อยของคุณได้ดังต่อไปนี้

 

  • เด็กอายุน้อยกว่า 18 เดือน

ทารกที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือวัยเด็กเกินกว่าที่จะสามารถรับผิดชอบในการดูแลรักษาฟันของตนเองได้คุณพ่อคุณแม่จึงเป็นปัจจัยหลักในการช่วยดูแลฟันน้ำนมของพวกเขา คุณควรเช็ดเหงือกของทารกด้วยผ้าสะอาดชุบน้ำ หรือผ้าก๊อซที่สะอาดหลังป้อนอาหารทุกครั้ง และคุณสามารถเริ่มแปรงฟันให้พวกเขาได้เมื่อฟันของพวกเขาเริ่มขึ้น แต่ควรเลือกแปรงที่มีขนนุ่มและเหมาะสำหรับเด็กเล็ก

 

  • เด็กอายุมากกว่า 18 เดือน

วัยที่พวกเขาจะเริ่มเข้าใจและวิธีการในการดูแลช่องปาก และพวกเขาควรได้รับการดูแล และคำแนะนำจากผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลขณะทำความสะอาดฟัน โดยเด็ก ๆ สามารถเริ่มใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ต่ำ หรือในปริมาณที่เหมาะสมกับเด็กได้ในปริมาณเท่าเมล็ดถั่ว และถ้าเป็นไปได้ไม่ควรสอนให้เด็ก ๆ กลืนยาสีฟันนั้นเข้าไป ควรบอกให้พวกเขาบ้วนปากหลังจากแปรงฟันเสร็จทุกครั้ง

 

 

นอกจากที่คุณสามารถช่วยลูกน้อยของคุณในการทำความสะอาด หรือสอนให้พวกเขาแปรงฟันด้วยตนเองได้แล้ว การลดความเสี่ยงของฟันผุจากต้นเหตุนั้นก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นเดียว โดยคุณสามารถลดความเสี่ยงฟันผุของเด็ก ๆ ได้ ดังต่อไปนี้

  • อย่าให้ลูกน้อยของคุณหลับไปพร้อมกับขวดนมที่บรรจุนม น้ำผลไม้ หรือน้ำหวาน
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารรสหวาน ลูกอม ลูกกวาด
  • ทำความสะอาดจุกนม หรือจุกหลอกก่อนทุกครั้งที่จะส่งให้กับทารก
  • พาลูกน้อยของคุณไปพบทันตแพทย์ทุก ๆ 12 เดือน

 

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของฟันน้ำนมหรือฟันแท้กันไปแล้ว การที่ฟันน้ำนมของลูกน้อยของเราหักนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ถ้าสาเหตุการหักมาจากที่ฟันผุก็ควรที่จะไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษานะคะ เพราะว่าอาจส่งผลต่อการขึ้นของฟัน และการออกเสียงของทารกได้ ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเรื่องสุขภาพของลูกน้อยให้เป็นอย่างดี เพื่อให้ฟันของพวกเขาขึ้นตรงสวยงามและให้ไม่เกิดฟันผุนะคะ

 

บทความที่น่าสนใจ :

5 ยาสีฟันเด็ก ที่ดีที่สุด ปลอดภัยสำหรับลูกน้อยของคุณ

ฟันผุในเด็ก ฝันร้ายของเด็ก ๆ ที่ไม่อยากไปหาหมอฟันอีกเลย

ฝันว่าฟันหลุด ฝันว่าฟันหัก ฝันว่าฟันหลุดหมดปาก แปลว่าอะไร?

ที่มา : pmpediatrics, capitalcitypediatricdentistry, nhsinform, healthline

บทความโดย

Siriluck Chanakit