พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กวัยแรกเกิด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับ พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเนื้อมัดเล็กว่าแต่ละส่วนอยู่ตรงไหนของร่างกายกันบ้าง เนื่องจากกล้ามเนื้อของลูกน้อยจะถูกพัฒนาไปตามวัยของเด็ก ๆ และนอกจากนี้เราก็มีวิธีสังเกตพัฒนาการของกล้ามเนื้อมาฝากกันด้วยค่ะ ว่ากล้ามเนื้อของลูกน้อยมีความผิดปกติหรือไม่ มาตามไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

 

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ได้จัดทำ คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอนวัยเด็กเล็ก 0-3 ปี โดยให้ข้อมูล พัฒนาการของเด็กอายุ 0-3 ปี พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก

 

 

ด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่

กล้ามเนื้อมัดใหญ่จะพัฒนาเป็นลำดับขั้นตอนต่อเนื่องกัน เช่น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ชันคอ (1-3 เดือน) ได้ก่อน
  • พลิกคว่ำ/หงาย (4-5 เดือน)
  • นั่งได้ (5-7 เดือน)
  • คลานและเกาะยืน (7-9 เดือน)
  • เกาะเดิน (10 เดือน)
  • ยืนเอง (12 เดือน)
  • เดินได้เอง (12-15 เดือน)
  • วิ่ง (18 เดือน)
  • เกาะราวขึ้นบันไดหรือเตะบอล (19-21 เดือน)
  • ก่อนเดินลงบันไดพร้อมเกาะราวหรือขว้างลูกบอล (2 ปี)

ซึ่งจะเห็นได้ว่ากล้ามเนื้อมัดใหญ่จะพัฒนาจากส่วนหัวไปสู่ส่วนขา ในขณะที่เด็กปกติบางรายอาจข้ามพัฒนาการบางขั้นตอนไปได้ เช่น หลังจากที่ลูกนั่งได้ลูกอาจไม่คลาน แต่จะเริ่มคุกเข่า แล้วเกาะยืนได้เลย เป็นต้น

 

พ่อแม่ที่ช่วยเหลือลูกมากจนเกินไป เช่น ไม่ค่อยให้ลูกนอนคว่ำเมื่อตื่นนอน อุ้มตลอดเวลา หรือไม่ให้โอกาสลูกในการเคลื่อนไหวอย่างเพียงพอ อาจทำให้ลูกมีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ และการเคลื่อนไหวล่าช้าได้ ดังนั้น พ่อแม่ควรส่งเสริมให้ลูกมีโอกาสเคลื่อนไหว และใช้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของตนเองตามวัย และหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกใช้รถหัดเดิน เพราะนอกจากไม่ได้ช่วยลูกให้เดินได้ด้วยตัวเอง แต่กลับยิ่งทำให้ มีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ล่าช้าได้ ลูกมักเดินด้วยปลายเท้า เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

 

วิธีสังเกตว่าพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ล่าช้าหรือเคลื่อนไหวผิดปกติ

  • อายุ 5 เดือน แล้วยังคอไม่แข็ง
  • หรือมีพัฒนาการไวเกินไป เช่น พลิกคว่ำ/หงายได้ก่อนอายุ 3 เดือน
  • หรือมีความตึงตัวของกล้ามเนื้อน้อย เช่น รู้สึกว่าลูกตัวอ่อน
  • หรือมีความตึงตัวของกล้ามเนื้อมากเกินไป เช่น ตัวเกร็ง อุ้ม จัดท่าได้ยาก เวลาจับยืนแล้วปลายเท้าชอบจิกพื้น
  • มีการถนัดของการใช้แขนขาข้างใดข้างหนึ่งก่อนอายุ 18 เดือน

ควรรีบพาลูกไปพบกุมารแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และวางแผนการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก

กล้ามเนื้อมัดเล็กจะพัฒนาได้ต้องอาศัยการมองเห็น เด็กใช้กล้ามเนื้อมือสำหรับการช่วยเหลือตนเองและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยทำงานประสานกับสายตา พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กจะเริ่มจากการเคลื่อนไหวของลูกตา เช่น

  • ลูกอายุ 1 เดือน สามารถจ้องมองวัตถุที่ห่างจากใบหน้าประมาณ 8 นิ้วได้
  • จะค่อย ๆ มองตามวัตถุผ่านแนวกึ่งกลางตัวที่อายุ 2 เดือน
  • จนมองตามในแนวราบ 180 องศา และคว้าจับกรุ๋งกริ๋งได้ที่อายุ 4 เดือน
  • ลูกจะเอื้อมมือหยิบของที่อายุ 6 เดือน
  • ถือก้อนไม้มือละก้อนที่อายุ 8 เดือน
  • ถือก้อนไม้ 2 ก้อนเคาะกันที่อายุ 10 เดือน
  • หยิบก้อนไม้ใส่ถ้วยที่อายุ 12 เดือน
  • ต่อก้อนไม้ 2 ก้อน ในแนวตั้ง และขีดเส้นยุ่ง ๆ ที่อายุ18 เดือน
  • ต่อก้อนไม้ 6 ก้อนในแนวตั้ง หรือ 4 ก้อนในแนวนอนเป็นรถไฟได้ที่อายุ 2 ปี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กล้ามเนื้อมัดเล็กจะพัฒนาจากส่วนต้นของลำตัวแขนขาไปสู่ส่วนปลาย เช่น นำก้อนไหมพรมมาไว้ที่ระดับสายตา โดยห่างจากใบหน้าสัก 8-12 นิ้ว ที่อายุก่อน 4 เดือน ลูกจะมองตามการเคลื่อนไหวของก้อนไหมพรมในแนวราบได้ แต่ยังไม่สามารถคว้าจับไหมพรมได้ แต่ที่พออายุ 4-6 เดือนถ้าวางก้อนไหมพรมไว้บนโต๊ะ เด็กจะพยายามยืดตัว ขยับหัวไหล่ และเอื้อมมือไปยังทิศทางที่ไหมพรมวางอยู่ได้ เป็นต้น

นอกจากนี้ กล้ามเนื้อมัดเล็กยังค่อย ๆ พัฒนาจากการทำงานที่หยาบไปสู่งานที่ละเอียดมากขึ้นตามลำดับ เช่น

  • อายุ 6-7 เดือน จะหยิบก้อนไม้โดยอุ้งมือทำงานร่วมกับนิ้วหัวแม่มือ
  • อายุ 7-9 เดือนจะหยิบก้อนไม้โดยใช้บริเวณของนิ้วหัวแม่มือและนิ้วมืออื่น ๆ ช่วยในการหยิบจับได้ เป็นต้น

การหยิบของชิ้นเล็กก็จะมีการพัฒนาอย่างเป็นลำดับขั้นตอนเช่นเดียวกัน ได้แก่

  • อายุ 6-7 เดือน จะพยายามเขี่ยของชิ้นเล็ก ๆ เข้ามาอยู่ในฝ่ามือ
  • อายุ 9-12 เดือน จะหยิบเม็ดยาด้วยปลายนิ้ว หัวแม่มือและปลายนิ้วชี้ได้เป็นต้น (ซึ่งพ่อแม่จำเป็นต้องป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากการหยิบของที่มีขนาด เล็กเข้าปากจนอาจทำให้ลูกเกิดการสำลักได้ในช่วงวัยนี้)

ทั้งนี้ การพัฒนาของกล้ามเนื้อมัดเล็กจากส่วนต้น ไปสู่ส่วนปลายได้อย่างละเอียดมากขึ้น จะทำให้ลูกสามารถสำรวจสิ่งต่าง ๆ ด้วยการใช้นิ้วมือได้อย่างแม่นยำ จนกระทั่งสามารถทดแทนการนำนิ้วมือเข้าปากได้ นอกจากนี้ พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กยังมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านสติปัญญาที่ไม่ใช้ทักษะด้านภาษาของลูกด้วย

 

วิธีสังเกตว่าพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กล่าช้าผิดปกติ

ลูกอายุ 3 เดือน แล้วยังกำมือตลอดเวลาอาจมีความผิดปกติทางระบบประสาท หรือลูกอายุ 6 เดือน แล้วยังไม่คว้าของหรือเอื้อมหยิบของ อาจบ่งถึงความผิดปกติของกล้ามเนื้อมัดเล็ก สายตา และ/หรือมีสติปัญญาบกพร่อง ดังนั้น พ่อแม่ควรรีบพาลูกไปพบกุมารแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และวางแผนการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป การพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก ของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ถ้าคุณแม่กลัวว่าลูกจะพัฒนาการช้า ให้ปรึกษากุมารแพทย์

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีเล่นกับลูกวัยทารก เสริมความฉลาด กระตุ้นพัฒนาการ ง่าย ๆ ไม่ต้องใช้เงิน!

พัฒนาการสมองทารก พ่อแม่กระตุ้นดี ลูกได้ความฉลาดติดตัว

เมื่อไหร่ที่ทารกจะเริ่มพูด ลูกจะพูดได้ตอนกี่ขวบ กันนะ?

ที่มา : thaipediatrics

บทความโดย

Tulya