ทารกในครรภ์สะอึก อันตรายไหม แม่ท้องต้องทำอย่างไร ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่ เคยสัมผัสได้หรือไม่คะว่า ลูกน้อยในครรภ์ของคุณ ก็สามารถสะอึกได้เหมือนกันนะ ทารกในครรภ์สะอึก เป็นอาการที่อาจทำให้แม่ท้องหลาย ๆ คนเกิดความกังวลใจ การที่ลูกสะอึกในท้องแม่นั้นจะเป็นอันตรายหรือไม่ เราไปหาคำตอบกัน

 

ทำไม ลูกในครรภ์สะอึก ?

ลูกในครรภ์สะอึก เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการที่สำคัญของทารกในครรภ์ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกในครรภ์สะอึกนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากประสาทส่วนกลางของทารกมีความสมบูรณ์ และระบบประสาทส่วนกลางนี้เองที่ทำให้ทารกมีความสามารถหายใจในน้ำคร่ำได้  ดังนั้น  การสะอึกจึงเกิดจากการที่ของเหลวไหลเข้า และออกจากปอดของทารก ส่งผลให้กล้ามเนื้อกะบังลมมีการหดตัวอย่างรวดเร็ว

 

 

จะรู้สึกอย่างไรเมื่อ ลูกในครรภ์สะอึก

อาจจะเป็นเรื่องยากที่จะรู้ได้ว่า อาการที่เกิดขึ้นนั้น เป็นอาการสะอึกของลูกน้อยในครรภ์หรือไม่ คุณแม่อาจจะรู้สึกถึงการกระตุกเป็นจังหวะ หรืออาการเกร็งเล็กน้อยที่ท้อง  อาการเหล่านั้น อาจจะไม่ใช่การเตะ กลิ้ง หรือสะกิดของเจ้าตัวเล็กในท้องค่ะ เพราะมันอาจจะเป็นอาการสะอึกก็ได้เช่นกัน การสะอึกของทารกในครรภ์นั้นจะเกิดขึ้นไม่แน่นอน  ทารกอาจสะอึกทุกวัน ในช่วงไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์  อาจจะวันละครั้งหรือหลายครั้งก็ได้ อย่างไรก็ตาม การที่ทารกในครรภ์สะอึกนั้น ไม่ถือว่าเป็นการดิ้นของทารกนะครับ แม้ว่าอาจจะดูเหมือนการดิ้นก็ตาม

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : คนท้องปวดท้องน้อย เจ็บท้องน้อย เป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือไม่?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ลูกในครรภ์สะอึก อันตรายไหม?

การที่ลูกในครรภ์สะอึกนั้น ถือเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้กับทารกในครรภ์ทุกคน ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 ไปจนถึงช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งการสะอึกของทารกนั้น เกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านระบบการหายใจเนื่องจากทารกมีการกลืนน้ำคร่ำ และเกิดอาการสำลัก ทำให้เกิดอาการสะอึก

แม่ท้องหลายท่านอาจจะคิดว่าการที่ทารกในครรภ์สะอึกอาจเป็นอันตราย แต่การสะอึกกลับมีผลดีในแง่ของการควบคุมการเต้นของหัวใจของทารกในช่วงท้าย ๆ ของการตั้งครรภ์ทำให้การเต้นของหัวใจมีการเต้นเป็นจังหวะที่สม่ำเสมอ ซึ่งถือว่าเป็นพัฒนาการที่ดี และไม่เป็นอันตรายค่ะ

แต่เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์เข้าสู่สัปดาห์ที่ 32 แล้ว อาการสะอึกของทารกจะเริ่มลดน้อยลงเป็นเรื่องปกติค่ะ แต่ถ้าคุณสังเกตว่า ทารกในครรภ์ยังคงสะอึกทุกวัน โดยมีอาการนานกว่า 15 นาทีต่อครั้ง หรือหากเจ้าตัวน้อย มีอาการสะอึกมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไปในหนึ่งวัน คุณอาจจะต้องติดต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยทันที เพื่อทำการตรวจความผิดปกติในครรภ์ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ปัจจัยอะไรที่ส่งผลให้ทารกสะอึก

แน่นอนว่าอาการสะอึกของทารกในครรภ์นั้น จะต้องมีสาเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ตำแหน่งของรก ซึ่งหากเป็นเพราะสาเหตุนี้ อาจจะส่งผลให้ทารกมีอาการสะอึกได้อย่างต่อเนื่อง และบ่อยครั้ง และน้ำหนักของคุณแม่ ก็อาจจะมีผลทำให้เกิดอาการสะอึกของทารกได้ด้วยเช่นกัน

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : แจกเคล็ดลับ สุขภาพดีทั้งกายใจสำหรับคุณแม่และลูกในครรภ์

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกในครรภ์สะอึก บ่อยสุดเมื่อไหร่ ?

ปกติคุณแม่ท้องอย่างเรา มักจะคอยจดจ่อ เฝ้ารอนับความเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ ซึ่งส่วนใหญ่ เราจะเริ่มรู้สึกว่าทารกในครรภ์มีการเคลื่อนไหวเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 16 – 20 หรือบางคนจะเริ่มรู้สึกเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 27 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดปกติค่ะ

เมื่อทารกในครรภ์เริ่มดิ้น เราจะเริ่มแยกแยะความเคลื่อนไหวไปตามจินตนาการ ไม่ว่าจะเป็นการเตะ การม้วนตัว พลิกตัว การกระทุ้ง แม้ว่าเราจะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าก็ตาม ซึ่งรวมถึงอาการสะอึกของทารกในครรภ์อีกด้วย

สันนิษฐานว่า ทารกในครรภ์จะเริ่มมีอาการสะอึกได้ เมื่อครรภ์เข้าสู่ไตรมาส 2 หรือ 3 ซึ่งตัวคุณแม่อาจจะรู้สึก หรือบางคน ก็ไม่รู้สึกถึงอาการดังกล่าวเลยก็ได้เช่นกัน

 

 

วิธีหยุดอาการสะอึกของทารกในครรภ์

การสะอึกของทารกในครรภ์ แม้ผลวิจัยจะบอกว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่หากเด็กสะอึกติดต่อกันเกิน 15 นาที ก็คงไม่ใช่สัญญาณที่ดีอีกต่อไป รวมถึงอาการกระตุกจากการสะอึกนั้น ยังส่งผลให้ตัวคุณแม่เอง รู้สึกเป็นกังวล และส่งผลให้เกิดความเครียดได้ ดังนั้นหากคุณแม่มีอาการดังกล่าว ลองทำวิธีดังต่อไปนี้ดูซิคะ

  • นอนตะแคงซ้าย : ให้ใช้หมอนรอง เพื่อรองรับแรงกระแทก รวมถึงบรรเทาแรงกดจากกระดูกสันหลัง การนอนแบบนี้ จะทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย เลือดสามารถไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้ง่ายขึ้น เมื่อร่างกายเกิดความผ่อนคลาย อาการสะอึกของทารก ก็จะลดลงไปด้วย
  • รับประทานอาหารหลากหลาย : ใช้ประโยชน์จากคุณค่าทางโภชนาการให้เหมาะสม ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมถึงวิตามินต่าง ๆ ที่คุณแม่ และทารกในครรภ์ ต้องการ
  • ออกกำลังกายระดับปานกลาง : การออกกำลังกาย ทำให้กล้ามเนื้อได้ทำงาน มีความยืดหยุ่น และกระตุ้นฮอร์โมน มีการสูบฉีดของเลือด
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ : การดื่มน้ำให้เพียงพอ เป็นส่วนที่สำคัญอย่างมาก เพราะนอกจากจะส่งผลที่ดีกับตัวคุณแม่แล้ว ตัวทารกในครรภ์ก็ยังแฮปปี้อีกด้วย
  • นอน และงีบกลางวันเป็นประจำ : การได้งีบหลับพักผ่อนในช่วงกลางวัน เพียงเล็กน้อย จะทำให้ร่างกายรู้สึกกระชุ่มกระชวย และส่งผล ให้ตัวคุณแม่ และทารกในครรภ์ ผ่อนคลายอีกด้วย

 

และหากแม่ท้องท่านใดมีความสงสัยเกี่ยวกับเรื่องการดิ้นของลูก ก็สามารถติดตามอ่านบทความเกี่ยวกับการนับลูกดิ้นได้จาก link ด้านล่างนี้เลยนะครับ

>> วิธีการนับลูกดิ้นพร้อมบันทึกการนับดิ้น <<


 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อ ทารกไวต่อการสัมผัส ทารกไวต่อแสง ทารกไวต่อกลิ่น จะทำอย่างไร

พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์เป็นอย่างไร

วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส

ที่มา : momjunction , medicalnewstoday

 

บทความโดย

Arunsri Karnmana