อาการลูกตายในท้อง สัญญาณอันตรายที่บอกว่าลูกน้อยไม่อยู่ในท้องแม่แล้ว !!

อาการลูกตายในท้อง แม่ท้องจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเรายังไม่ชีวิตอยู่หรือไม่ สาเหตุเกิดจากอะไร ทำไมถึงเกิดกับลูกได้ สัญญสณเตือนที่คนท้องต้องระวัง!!

อาการลูกตายในท้อง ทารกตายในครรภ์ เป็นลักษณะอาการที่บ่งบอกว่าลูกน้อยในท้องได้เสียชีวิตลงแล้ว ซึ่งอาการเหล่านี้แม่ท้องสามารถสังเกตตัวเองได้เบื้องต้น หากคุณแม่มีลักษณะอาการเหล่านี้อย่าชะล้าใจ ต้องรีบให้หมอตรวจโดยด่วน

 

โดยปกติแล้วทารกที่เสียชีวิตในครรภ์ จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมของทารกเอง กับปัญหารกเลือดไปเลี้ยงทารกไม่พอ และกลุ่มที่ทารกเสียชีวิตจากการแท้ง

 

สาเหตุอะไรที่ทำให้ลูกตายในท้อง

  1. สาเหตุมาจากคุณแม่ เนื่องจากคุณแม่บางคนมีโรคประจำตัว อย่างโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือมาจากที่ตัวเองอายุมากเกินไป มีน้ำหนักตัวเยอะเกินไป เป็นคนดื่มเหล้า สูบบุหรี่จัด ประสบอุบัติเหตุ หรือตั้งครรภ์มาแล้วหลายครั้ง
  2. สาเหตุจากลูกในท้อง ทารกในครรภ์ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตจากการที่โครโมโซมผิดปกติ มีการติดเชื้อในครรภ์ ทารกเจริญเติบโตในครรภ์ช้า และรกเสื่อมจากการที่ออกซิเจนไม่เพียงพอ
  3. สาเหตุจากรกแม่ ทั้งรกเสื่อม รกลอกตัวก่อนกำหนด สายสะดือพันกัน หรือสายสะดือย้อยค่ะ

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกตายในท้อง

  1. อาการของการตั้งครรภ์หายไป เช่น อาการแพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียน เต้านมคัดตึง เป็นต้น
  2. น้ำหนักตัวของคุณแม่ไม่เพิ่มขึ้นอย่างที่ควรจะเป็น แต่กลับมีน้ำหนักลดน้อยลงแทน
  3. ลูกในท้องไม่ดิ้น หยุดดิ้นไปเฉยๆ
  4. ท้องไม่ใหญ่ขึ้น หน้าท้องไม่โต แต่กลับเล็กลงแทน
  5. มีเลือดออกทางช่องคลอด

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ตั้งครรภ์ 11 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

 

ทารก ตาย ใน ครรภ์ สัญญาณอันตรายที่บอกว่าลูกน้อยไม่อยู่ในท้องแม่แล้ว

 

ลูกตายในท้อง ทารกตายในครรภ์ อันตรายไหม

เมื่อลูกไม่อยู่ในท้องหรือเสียชีวิตแล้ว คุณหมออาจจะทำการขูดมดลูก ซึ่งในระหว่างนั้นอาจเสี่ยงต่อการเสียเลือดเยอะ มดลูกทะลุ หรือการติดเชื้อในโพรงมดลูกค่ะ บางหลายถ้ามีเลือดออกทางช่องคลอดมากๆ อาจเสี่ยงต่อการตกเลือดเอาได้

 

วิธีป้องกันไม่ให้ลูกตายในท้อง ทำอย่างไร

  1. หากคุณแม่มีโรคประจำตัว ควรปรึกษษคุณหมอก่อนตั้งครรภ์ เพื่อให้คุณหมอประเมินว่าสามารถตั้งตรรภ์ได้หรือไม่ หรือว่าควรรักษาโรคให้หายขาดดีเสียก่อน
  2. ฝากครรภ์สม่ำเสมออย่าให้ขาด เพราะการที่เข้ารับการตรวจและฝากครรภ์อย่างต่อเนื่องนั้น จะทำให้คุณแม่สามารถตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัยทั้งแม่และลูกน้อยในท้องค่ะ
  3. คอยสังเกตอาการระหว่างตั้งครรภ์อยู่เสมอ คอยนับการดิ้นของทารกดูว่าปกติดีหรือไม่
  4. รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่สำคัญต่อการตั้งครรภ์ พยายามอย่ากินจนน้ำหนักตัวมากเกินไป และระวังอย่ากินของหวานมากจนกลายเป็นโรคเบาหวาน
  5. พยายามรักษาร่างกายของคุณแม่เองให้แข็งแรง

 

ที่มา: haamor

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

โภชนาการคนท้อง เป็นสิ่งสำคัญ สารอาหารใดบ้างที่คุณแม่ท้องควรต้องใส่ใจตลอด 9 เดือน

ท้องกินชานมไข่มุกได้ไหม คนท้องกินชานม ชาเย็น กาแฟ ได้แค่ไหน ใจไม่สั่น?

การกินอาหารของทารกในครรภ์ ลูกรับสารอาหารจากแม่ทางไหน กินอะไรเพิ่มน้ําหนักลูกในท้อง

บทความโดย

Khunsiri