ทารกฟันบิ่น ฟันแตก เป็นฟันน้ำนมก็ติดเชื้อได้ ป้องกันอย่างไรดี ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกฟันบิ่น จากการล้ม ตกจากเตียง หรือเผลอไปกัดของแข็ง ไม่ว่าจะปัจจัยไหนอาจทำให้ฟันตาย จนเกิดการติดเชื้อได้ หากเป็นฟันน้ำนมอาจต้องถอนออก หากเป็นฟันแท้ต้องรักษาตามความเหมาะสม ไม่ควรปล่อยไว้จนเกิดอันตราย เพราะอาจส่งผลต่อสุขภาพช่องปาก และการใช้ชีวิตประจำวันของลูกน้อยต่อไปได้

 

ฟันบิ่น คืออะไร อันตรายต่อลูกน้อยหรือเปล่า ?

ฟันบิ่น (Chipped Teeth) คือ การที่ฟันมีรอยย่นเกิดขึ้นบนผิวของฟัน ส่งผลให้ฟันมีลักษณะที่ผิดรูปไปจากเดิม เช่น ฟันไม่เรียบ, ฟันแหลมคม เป็นต้น นอกจากนี้หากไม่ทำการรักษาอย่างถูกวิธี ในอนาคตจะทำให้ลูกน้อยมีอาการเสียวฟันเมื่อต้องรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำได้ ถึงแม้ฟันของทารกจะเป็นฟันน้ำนม ซึ่งต่อไปฟันแท้จะขึ้นมาทดแทน แต่การเกิดฟันบิ่นอาจเป็นสัญญาณของประสาทฟันที่เสียหายได้

 

ทำไมลูกน้อยจึงมีฟันบิ่น ?

สาเหตุเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุในผู้ใหญ่ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ หรืออายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ฟันเสื่อมสภาพ เป็นต้น แต่สำหรับเด็กทารก จะเหลือเพียงไม่กี่ปัจจัยเท่านั้น ที่จะทำให้ฟันของทารกตัวน้อยเกิดการบิ่น หรือแตกได้ ดังนี้

 

  • การเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ สำหรับในเด็กส่วนมากจะเป็นการหกล้ม จากการเดิน , วิ่ง หรือตกเตียง เป็นต้น
  • ผลกระทบจากภาวะกรดไหลย้อน อาการแสบร้อนบริเวณกลางอก
  • มีการสะสมของแบคทีเรียจากการทานอาหารรสหวาน หรืออาหารที่มีน้ำตาล
  • ทารกเผลอไปกัดวัตถุที่มีความแข็งมากเกินไป

 

สำหรับทารกความเสี่ยงส่วนมากจะเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุเป็นหลัก เนื่องจากปัจจัยด้านอาหารมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย เพราะในวัยนี้จะทานอาหารตามโภชนาการอยู่แล้ว การระมัดระวังอุบัติเหตุต่าง ๆ และวัตถุที่เป็นอันตรายต่อทารกจึงเป็นวิธีป้องกันที่ได้ผลดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฟันลูกเก เกิดจากอะไร ฟันน้ำนมเกส่งผลต่อฟันแท้มากแค่ไหน ?

 

วิดีโอจาก : ช่วยกันเลี้ยงลูก

 

ภาวะแทรกซ้อนต้องระวังเมื่อฟันน้ำนมบิ่น

จากที่กล่าวไปว่าหากฟันน้ำนมของทารกน้อยบิ่น อาจเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจตามมาได้ จึงควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ เพราะอาจมีความเสี่ยงรากฟันติดเชื้อ ทำให้เกิดกลิ่นปากที่เหม็น หรือมีกลิ่นเปรี้ยวได้ , มีอาการเสียวฟันเมื่อทานของร้อน หรือของเย็น , เสี่ยงเป็นไข้ และมีปัญหาต่อมน้ำเหลืองบวม เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ฟันบิ่นในเด็กรักษาได้ไหม

นพ.เศกสันต์ ศรีมหาราชา กลุ่มงานศัลยศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้ให้ข้อมูลว่าเมื่อฟันของทารกบิ่น หรือแตก หากเป็นฟันน้ำนม แนะนำให้ทำการถอนออกทันที กรณีที่เป็นเด็กที่โตมากขึ้นและมีฟันแท้ พบว่าฟันแท้มีลักษณะบิ่น หากเกิดจากอุบัติเหตุ ฟันบริเวณนั้นอาจเป็นฟันตายได้ ซึ่งมีอันตราย เพราะอาจเสี่ยงต่อการเป็นหนองบริเวณโพรงประสาท ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องรักษารากฟัน หรือหากพบว่าฟันมีคม แพทย์จะทำให้คมหาย เพื่อป้องกันการบาดจนเป็นแผลในช่องปาก

 

หากปัญหาเกิดกับฟันแท้ จากการกระแทกหรืออุบัติเหตุ ควรรีบพาลูกน้อยมารักษาให้เร็วที่สุด โดยแพทย์แนะนำภายใน 1 – 2 ชั่วโมง หลังจากเกิดเหตุ เนื่องจากจะมีโอกาสซ่อมแซมฟันได้มีประสิทธิภาพสูงมากยิ่งขึ้น หากมาพบแพทย์ช้า จะทำให้เสี่ยงต่อฟันต่ำกว่าระดับ หรือฟันยึดเชื่อมกระดูกเป็นชิ้นเดียวกันได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : พาลูกหาหมอฟันครั้งแรก พาลูกไปหาหมอ แม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร

 

ห้ามให้ฟันแห้งระหว่างมาพบแพทย์ จะเสี่ยงมากขึ้น

ขณะที่กำลังเดินทางมาพบแพทย์หลังจากที่ฟันบิ่นจนแตก หรือหัก ผู้ปกครองอาจต้องการทำความสะอาดซี่ฟันด้วยการเช็ดจนสะอาด เพราะเมื่อฟันซี่ที่เสียหายแห้ง จะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณรอบ ๆ ตายไปด้วย ส่งผลให้การรักษาอาจไม่ได้ผลที่ดีมากนัก หรืออาจเกิดปัญหาตามมาหลังจากการรักษาผ่านพ้นไปแล้ว เช่น การละลายตัวของเนื้อเยื่อรอบ ๆ รากฟัน จนรากฟันเกิดการละลายตัวได้

การเก็บรักษาฟันที่บิ่นจนหักนั้นให้ผู้ปกครองนำฟันไปแกว่งในน้ำเพียงนิดหน่อยเท่านั้น และคอยดูแลไม่ให้แห้ง นพ.เศกสันต์ ศรีมหาราชา กล่าวว่าอาจรักษาความชุ่มชื้นด้วยการใส่ในน้ำนมจืดธรรมดาก็ได้ หรือหากสามารถใส่กลับคืนที่เบ้าฟันแล้วให้เด็กอมไว้ห้ามกลืนก็เป็นวิธีที่สามารถทำได้ แต่แพทย์ไม่แนะนำในเด็กที่เล็กมากเกินไป เพราะอาจเกิดอันตรายได้

 

 

ป้องกันลูกน้อยให้พ้นจากฟันบิ่น ทำอย่างไร ?

เนื่องจากสาเหตุหลักมาจากอุบัติเหตุของเด็กเล็ก เนื่องจากอยู่ในช่วงหัดเดิน หรือเด็กที่โตขึ้นมาหน่อย ก็กำลังอยู่ในวัยเรียนรู้ อาจชอบวิ่งเล่น หรือปีนป่าย จึงควรป้องกันการเกิดอุบัติเหตุให้มากที่สุด และดูแลเรื่องการทานอาหารร่วมด้วย ได้แก่

 

  • คอยดูไม่ให้ทารกกัด หรือเคี้ยวของแข็ง ด้วยการเก็บสิ่งของที่มีความเสี่ยงให้พ้นจากมือเด็กอย่างเป็นระเบียบมากที่สุด พยายามไม่ให้ทารกพ้นจากระยะสายตา
  • ระวังเรื่องการเลือกมื้ออาหาร เน้นอาหารที่ส่งผลดีต่อพัฒนาการของทารก หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวาน ซึ่งเกิดจากการใช้น้ำตาล และไม่ควรให้ทารกลองทานอาหารที่มีรสจัด
  • จัดพื้นที่ของทารกให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ควรดูพื้นที่ไม่ให้เด็กสามารถปีนป่ายที่สูงจนเกิดความเสี่ยง หรือคลุมพื้นแข็งให้ดี เนื่องจากเมื่อลูกหัดเดิน อาจเกิดการล้มได้
  • คอยสังเกตฟันของลูกอยู่เรื่อย ๆ เพราะเด็กอาจล้มโดยที่เราไม่รู้ หรืออาจมีอาการฟันบิ่นมาจากสาเหตุอื่นได้ หากพบฟันผิดปกติ ต่อให้เป็นเพียงฟันน้ำนม ให้พาลูกไปพบแพทย์ได้เลย

 

ทารกฟันบิ่น หรือเด็กเล็กฟันบิ่น สามารถส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ รวมไปถึงปัญหาสุขภาพช่องปากอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นฟันบิ่น ฟันหัก หรือฟันห่าง ควรให้ความสำคัญกับการรักษาแต่เนิ่น ๆ เพื่อความปลอดภัยของตัวลูกน้อยเอง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทารกฟันขึ้น งอแง ร้องไห้ มีไข้ มีวิธีลดอาการปวดของลูกอย่างไร

ฟันของลูกจะขึ้นตอนไหน ฟันน้ำนม ฟันกระต่าย ฟันกราม ซี่ไหนขึ้นเมื่อไหร่

ดูแลฟันลูกทำยังไง ? ผู้ปกครองควรจะดูแลสุขภาพฟันเจ้าตัวน้อยอย่างไรบ้าง ?

ที่มาข้อมูล : 1 , 2 , 3

บทความโดย

Sutthilak Keawon