10 วิธีแก้ปัญหา ลูกเข้ากับคนอื่นไม่ได้ ควรทำอย่างไร? สาเหตุที่เราต้องรู้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

10 วิธีแก้ปัญหา ลูกเข้ากับคนอื่นไม่ได้ ควรทำอย่างไร? อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้คุณพ่อแม่หลาย ๆ คนกังวลใจนั่นคือกลัวลูกจะเข้ากับคนอื่นไม่ได้ มันอาจไม่ใช่เรื่องแปลกที่ลูกๆ จะมีอาการแบบนี้ เพราะด้วยความที่เขาอยู่กับเราตลอดเวลา และไม่ค่อยได้ออกไปข้างนอกก็อาจจะทำให้ลูกยังปรับตัวเข้ากับคนอื่นไม่ได้ วันนี้แอดมีวิธีที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่หายเครียดกัน จะมีวิธีไหนบ้าง ตามมาดูได้เลย

 

(รูปจาก freepik.com)

 

ความหมายของพฤติกรรม

 

พฤติกรรม (Behavior) คือ การแสดงออกหรือการกระทำ เพื่อกระตุ้นและตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะ
เกิดขึ้นได้ทันทีหรืออาจจะหลังจากการกระตุ้นมาแล้วสักระยะหนึ่ง โดยการพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น อาจจะเกิดขึ้นจากการเรียนรู้ของมนุษย์ อาทิเช่น พฤติกรรมการกินอาหาร (การเลือกกินอาหารที่ดีและมีพลังงานมากที่สุด) หรือรวมไปถึงพฤติกรรมการเลือกคู่ (การเลือกคู่ผสมพันธ์ที่ดีและทำให้ลูกเกิดมามีความสมบูรณ์มากที่สุด) เป็นต้น ซึ่งปัจจัยที่อาจจะส่งผลต่อพฤติกรรมได้ส่วนหนึ่ง
นั่นคือ ยีนและสิ่งแวดล้อมนั่นเอง โดยพฤติกรรมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. พฤติกรรมแต่กำเนิด (Innate behavior) เรียกได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่ได้มาจากกรรมพันธุ์ โดยพฤติกรรมเหล่านี้
    จะตอบสนองต่อและแสดงออกต่อสิ่งเร้าได้โดยที่เราไม่ต้องเรียนรู้มาก่อนนั่นเอง ซึ่งสิ่งที่แสดงออกมาจะมีลักษณะเฉพาะ
    ในแต่ละสปีส์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

 

  • พฤติกรรมแบบแทกซิส (Taxis) เป็นพฤติกรรมที่เข้าหาหรือออกจากสิ่งเหล่าในทิศทางที่แน่นอน ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้
    จะพบในสิ่งมีชีวิตที่สามารถรับรู้ได้ถึงความรู้สึกได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพนั่นเอง

 

  • พฤติกรรมแบบแผนแน่นอน (Fixed action pattern หรือ FAP) เป็นอีกหนึ่งประเภทที่เมื่อเจอสิ่งเร้าจากภายนอกมา
    กระตุ้นพฤติกรรมเหล่านี้ก็ยังคงมีแบบแผนที่แน่นอนตามเดิม

 

  • พฤติกรรมแบบไคนีซิส (Kinesis) เป็นพฤติกรรมที่ไม่มีความแน่นอนในการตอบสนองต่อสิ่งเร้า โดยพฤติกรรมเหล่านี้
    มักจะพบในสิ่งมีชีวิตที่มีหน่วยรับความรู้สึกในประสิทธิภาพที่ค่อนข้างน้อย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

     2.พฤติกรรมการเรียนรู้ (Learning behavior) เป็นพฤติกรรมที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เรื่อย ๆ ตามประสบการณ์
โดยปัจจัยที่ส่งผลทำให้เกิดขึ้นนั้นคือ อิทธิพลของยีนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้

  • พฤติกรรมความเคยชิน (Habituation) มักจะเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตอยู่บ่อยครั้ง หรือเกิดขึ้นซ้ำ ๆ จนทำให้สิ่งมีชีวิตเหล่านี้หยุดและไม่ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างได้

 

  • พฤติกรรมการฝังใจ (Imprinting) หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นพฤติกรรมที่ถูกกำหนดมาโดยยีนนั่นเอง โดยจะเกิดขึ้นได้
    ก็ต่อเมื่อช่วงเวลาใดเวลาของชีวิตได้มีสิ่งเร้ามากระตุ้นทำให้เกิดความฝังใจเกิดขึ้น

 

  • พฤติกรรมการลอกเลียนแบบ (Observational learning) เป็นการนำพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ มาเลียนแบบ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นพฤติกรรมที่อยากลองและอยากทำตามคนอื่น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • พฤติกรรมที่รู้จักใช้เหตุผล (Insight learning หรือ reasoning) เป็นพฤติกรรมที่สามารถแสดงออกมาได้ถูกต้อง
    และเหมาะสม โดยที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน

 

  • พฤติกรรมการลองผิดลองถูก (Operant conditioning หรือ Trial and error) เป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมที่ต้อง
    เรียนรู้ก่อน และถ้าในกรณีที่แสดงพฤติกรรมออกมาต่อสิ่งเร้าไม่ถูกต้อง แล้วไม่ได้รับการแนะนำหรือตักเตือน พฤติกรรมเหล่านี้ก็อาจจะเกิดขึ้นอีกครั้ง

 

  • พฤติกรรมการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข (Classical conditioning) เป็นเรียนรู้ที่นำสิ่งเร้าใหม่เข้ามาทดแทนสิ่งเร้าเดิม โดยการตอบสนองของสิ่งมีชีวิตนั้นจะต้องเป็นการแสดงออกมาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

 

ทำอย่างไร? ลูกเข้ากับคนอื่นไม่ได้

 

(รูปจาก freepik.com)

 

1. สอนให้ลูกรู้จักสังเกตอารมณ์ของคนรอบข้าง

 

ลูกเข้ากับคนอื่นไม่ได้ เป็นสิ่งที่คุณพ่อกับคุณแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะการที่เราสอนให้ลูกรู้จักสังเกตคนอื่นเป็นสิ่งที่ดี โดยอาจจะเริ่มสอนเขาสังเกตดูสีหน้า ท่าทาง และคำพูดของคนรอบข้างก่อน แต่ในขณะที่สอนเราอาจจะต้องอธิบายให้เขาเข้าใจด้วยเหตุผลว่า การที่คนรอบข้างเราเป็นแบบนี้เพราะอะไร และถ้าเขามีท่าทางแบบนี้เราควรจะปรับตัวอย่างไร

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. สอนให้ลูกรู้จักอารมณ์ตัวเอง

 

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้ามอีกหนึ่งข้อคือการสอนให้ลูกรู้จักจัดการกับอารมณ์ตัวเองมากขึ้น ไม่ว่าเขาจะรู้สึกโมโห หงุดหงิด หรือไม่พอใจอะไร เราก็อาจจะสอนให้เขารู้จักควบคุมตัวเอง พยายามมีเหตุผลในการแก้ปัญหา เพราะถ้าเขาจัดการอารมณ์กับตัวเองได้ เขาก็จะสามารถเข้ากับคนอื่นได้ง่ายและเป็นที่รักกับคนรอบข้าง

 

3. สอนการสื่อสารให้กับลูก

 

การสื่อสารก็เป็นเรื่องที่สำคัญเมื่อลูกเข้ากับคนอื่นไม่ได้ เพราะเฉพาะนั้นเราต้องสอนให้เขารู้จักรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา และที่สำคัญต้องสอนให้ลูกรู้จักการใช้คำพูดเวลาพูดกับคนอื่น เพราะคำพูดเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะส่งผลต่อความรู้สึกเป็นอย่างมาก

 

(รูปจาก freepik.com)

 

4. สอนทักษะการเข้าสังคมให้กับลูก

 

การสอนให้ลูกรู้จักการเข้าสังคมเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ แน่นอนว่าเราไม่อาจอยู่คนเดียวหรือทำงานคนเดียวได้ตลอด และเมื่อเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เขาก็ต้องเข้าโรงเรียนหรือทำงานร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคมด้วย ดังนั้น เราก็อาจจะลองให้เขาเริ่มทำความรู้จักกับอื่น ๆ ก่อน หรือให้เขาได้ลองทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อนๆ ในโรงเรียนด้วยก็ได้ เพราะถ้าเขาเข้ากับสังคมได้ เขาก็จะรู้จักวิธีการรับมือกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอนาคตได้

 

5. หาสาเหตุแล้วสอนลูกให้ถูกจุด

 

เราอาจจะสังเกตพฤติกรรมลูกว่าทำไมเขาถึงเป็นแบบนี้ หรือมีเหตุผลอะไรที่ทำให้เขาไม่กล้าเข้าหาคนอื่น เพราะถ้าคุณพ่อหรือคุณแม่ไม่สังเกตอาการลูก แต่กลับไปกดดันเขาหรือใช้อารมณ์กับเขาอย่างไม่มีเหตุผล มันก็จะเป็นการแก้ไขปัญหาผิดจุด ดีไม่ดีอาจทำให้เขาเข้าใจผิดกลายเป็นเด็กที่สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้ลูกเข้าใจผิด ไม่กล้าแสดงออก กลายเป็นเด็กที่ใช้อารมณ์ในการแก้ไขปัญหา หรือกลัวโรคภายนอกได้

 

6. เมื่อลูกชินกับการเล่นคนเดียว

 

สำหรับครอบครัวไหนที่มีลูกคนเดียว หรือลูกมีโลกส่วนตัวสูง เขาก็อาจจะไม่ได้มีเพื่อนเล่นอย่างคนอื่นๆ ดังนั้นเราก็ควรมีเวลาให้กับลูกมากขึ้น เพราะบางทีคุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะทำงานมากจนเกินไปและไม่มีเวลาให้กับลูก เราจึงควรหาเวลาว่างคุยกับลูกบ้าง บางทีเขาอาจจะมีปัญหาหรือมีเรื่องไม่สบายใจอะไร แต่ไม่กล้าคุยกับเรา ดีไม่ดีถ้าเราได้คุยกับลูก ได้ให้ลูกละลายพฤติกรรม สิ่งนี้อาจจะทำให้เขากล้าที่จะปรึกษาเรามากขึ้น

 

(รูปจาก freepik.com)

 

7. พาลูกไปทำกิจกรรมกับเด็กคนอื่นๆ

 

การทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่นก็เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ลูกของเรากล้าที่จะแสดงออกมากขึ้น อาจจะพาลูกไปเดินเล่นสวนสาธารณะ  หรือสนามเด็กเล่นใกล้บ้าน หรือหากิจกรรมต่างๆ ที่เด็กสามารถได้ทำร่วมกันได้ เพราะสิ่งนี้ก็อาจจะทำให้ลูกของเรากล้าทำความรู้จักและเข้าหากับคนอื่นได้ง่ายขึ้น

 

8. หาเวลาทำกิจกรรมร่วมกับลูก

 

เราอาจจะลองหากิจกรรมทำร่วมกับลูกบ้าง อาทิเช่น พาเข้าครัวทำอาหารด้วยเมนูง่ายๆ พารดน้ำต้นไม้ หรือวาดภาพระบายสี เพราะกิจกรรมเหล่านี้จะสอนให้เขาเข้าใจการทำงานร่วมกับคนอื่นมากขึ้น สอนให้เขามีจิตที่อ่อนโยน เท่านั้นยังไม่พอการกิจกรรมต่างๆ ในครอบครัวยังถือเป็นการสร้างสานสัมพันธ์ที่ดีให้กับครอบครัวได้ดีอีกด้วย

 

9. สอนให้ลูกรู้จักการแบ่งบัน

 

สิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะไม่ว่าเราจะอยู่ไหนก็ต้องรู้จักการแบ่งปันและช่วยเหลือคนอื่น ยกตัวอย่างเช่น เวลาเขากินขนมหรือเล่นของเล่นก็อาจจะให้เขาแบ่งเพื่อนเล่นด้วย และเมื่อเขาโตขึ้นเขาก็จะรู้จักแบ่งบันและช่วยเหลือคนอื่น ทำจนติดเป็นนิสัยและเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่ดีอย่างแน่นอน

 

10. ปรึกษาแพทย์และนักจิตวิทยาเด็ก

 

กรณีที่เราลองทุกวิธีแต่ลูกยังไม่กล้าคุยหรือยังกลัวคนอื่นอยู่ เราก็อาจจะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาในสิ่งที่เกิดขึ้น ว่าที่เขาเป็นแบบนี้เพราะอะไร และเราควรปฏิบัติอย่างไร เพื่อที่จะให้ลูกกล้าแสดงออกและกล้าเข้าหาคนอื่นมากขึ้นนั่นเอง

 

(รูปจาก freepik.com)

 

สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่กำลังเจอปัญหาแบบนี้อยู่ เราก็อาจจะต้องดูแลลูกมากเป็นพิเศษ อาจจะลองสังเกตพฤติกรรมของเขา เพราะแน่นอนว่าเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนอาจมีโลกส่วนตัวสูง กับอีกบางคนชอบเล่นกับคนอื่นแต่ก็ไม่ค่อยพูด ดังนั้นเราก็ควรจะต้องค่อยๆ ปรับพฤติกรรมของลูกไป ไม่ควรไปกดดันหรือสร้างกฎระบียบกับเขาจนเกินไป  ไม่อย่างนั้นจากที่เราหวังดีอยากจะช่วยลูก อาจเป็นการทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัวได้ และไม่ต้องเป็นกังวลว่าลูกของเราจะเข้ากับคนอื่นไม่ได้ เพราะแอดได้นำวิธีแก้ปัญหามาฝากคุณพ่อคุณแม่ให้ได้รู้กันแล้ว ลองเอาไปปรับใช้กันได้เลย

 

บทความที่น่าสนใจ : พฤติกรรมเด็ก : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

ความผิดปกติของการพูด วิธีสังเกตพฤติกรรมการพูดของลูกว่าแบบไหนผิดปกติ?

 

ที่มา : 1, 2

บทความโดย

Tidaluk Sripuga