ทารกหายใจเร็วหลังคลอด ทารกแรกเกิดหายใจแรง ผิดปกติหรือไม่ ทารกหายใจเร็ว ทารกแรกเกิดหายใจแรง ทารกหายใจแรง อันตรายไหม วิธีสังเกตลักษณะการหายใจผิดปกติของทารก
ทารกหายใจเร็ว ลูกหายใจเร็ว หายใจแรงอันตรายไหม และวิธีสังเกตการหายใจของทารก
คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจสงสัยว่าลูกน้อยวัยทารก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงแรกเกิด) บางครั้งดูเหมือนทารกหายใจเร็ว ทารกหายใจแรง การหายใจที่เร็วและแรง ทำให้วิตกกังวลว่าลูกจะมีการหายใจที่ผิดปกติหรือไม่ ทารกหายใจเร็ว ทารกหายใจแรงจะเกิดจากโรคร้ายแรงได้หรือเปล่า
วันนี้หมอจะมาแนะนำวิธีการสังเกตการหายใจของลูกน้อยวัยทารก ลูกหายใจเร็ว ว่าเมื่อใดถึงจะสงสัยว่าผิดปกติ หรือเป็นอันตรายร้ายแรง ในเบื้องต้นนะคะ
อัตราการหายใจปกติของเด็กเป็นเท่าไร และมีวิธีการนับอย่างไร?
ทารกแรกเกิดหายใจแรง ลูกหายใจเร็ว วิธีการนับอัตราการหายใจของเด็กทำได้โดยสังเกตการเคลื่อนไหวของหน้าอก โดยเมื่อหายใจเข้าหน้าอกขยาย-หายใจออกหน้าอกยุบลง นับเป็น 1 ครั้ง หากเด็กหายใจสม่ำเสมอ เราอาจนับเพียง 30 วินาทีแล้วคูณด้วย 2 ก็จะเป็นอัตราการหายใจต่อนาทีได้ แต่หากเด็กหายใจไม่สม่ำเสมอก็ควรต้องนับให้ครบ 1 นาทีเต็ม
**โดยไม่นับอัตราการหายใจตอนที่เด็กร้องไห้นะคะ
เด็กจะมีอัตราการหายใจเร็วกว่าผู้ใหญ่ ยิ่งเด็กเล็กก็จะยิ่งหายใจเร็วมากขึ้น อัตราการหายใจของเด็กจะค่อย ๆ ลดลงตามอายุ ดังนี้ค่ะ
- ทารกอายุน้อยกว่า 2 เดือน อัตราการหายใจจะน้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที
- ทารกอายุ 2-12 เดือน อัตราการหายใจจะน้อยกว่า 50 ครั้งต่อนาที
- ลูกอายุ 1-5 ปี อัตราการหายใจจะน้อยกว่า 40 ครั้งต่อนาที
- ลูกอายุ 6-8 ปี อัตราการหายใจจะน้อยกว่า 30 ครั้งต่อนาที
เมื่อเด็กอายุมากกว่า 9 ปีขึ้นไป อัตราการหายใจจะน้อยกว่า 20 ครั้งต่อนาที ซึ่งเท่ากับผู้ใหญ่
ทั้งนี้ เด็กแต่ละคนอาจมีอัตราการหายใจในภาวะปกติที่แตกต่างกันบ้าง เช่น ลูกอายุ 4 ขวบ โดยปกติแล้ว คุณพ่อคุณแม่นับอัตราการหายใจของลูกอยู่ที่ประมาณไม่ถึง 20 กว่าครั้งต่อนาที หากเมื่อใดคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกหายใจเหนื่อย และนับอัตราการหายใจได้ถึงเกือบ 40 ครั้งต่อนาที ถึงแม้ว่าไม่ได้เกินค่าปกติทั่วไปตามวัย ลูกก็อาจมีการหายใจที่เร็วกว่าปกติของเค้าได้ ก็ควรไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุนะคะ
วิธีสังเกตการหายใจของทารก เด็กทารกหายใจแรง ทารกหายใจเร็ว ผิดปกติ?
หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกมีการหายใจที่ผิดปกติหรือไม่ ควรสังเกตอาการดังนี้
- จำนวนครั้งของการหายใจต่อนาทีมากกว่าเกณฑ์ตามอายุ
- หน้าและปากมีความสีคล้ำ เขียว หรือซีด ปลายมือปลายเท้าเขียว ซึ่งบ่งถึงภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ
- ปีกจมูกขยายกว้างออกทุกครั้งที่หายใจเข้า
- ขณะที่หายใจเข้าพบว่ามีการดึงรั้งของกล้ามเนื้อทรวงอก โดยเห็นเป็นผิวหนังบริเวณซี่โครงบุ๋มลงไป กล้ามเนื้อทรวงอกมีการหดตัวลึก
- มีเสียงหายใจเหมือนเสียงครางผิดปกติในช่วงหายใจออก ซึ่งเกิดจากการที่ทารกพยายามหายใจเพื่อเพิ่มความดันในช่องอก
- หยุดหายใจเป็นพัก ๆ
- มีอาการร่วมอื่น ๆ เช่น ไม่ยอมดูดนม มีไข้ หรือดูซึมผิดปกติ
***หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกมีการหายใจที่ผิดปกติ หรือเข้าได้กับข้อใดข้อหนึ่งดังกล่าวข้างต้น ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที โดยไม่ต้องลังเลใจนะคะ เพราะอาการผิดปกติของการหายใจบางสาเหตุอาจเป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้ และการวินิจฉัยที่ชัดเจนจะต้องทำได้โดยการตรวจร่างกายหรือตรวจพิเศษอย่างอื่นเพิ่มเติมเท่านั้น จึงจะทราบว่าลูกหายใจผิดปกติจริงหรือไม่ และเกิดจากสาเหตุใด
**ทั้งนี้ หากสงสัยว่าลูกหายใจผิดปกติเป็นบางช่วง คุณพ่อคุณแม่อาจลองถ่ายคลิปวีดีโอในช่วงการหายใจที่สงสัย มาให้คุณหมอได้ดูเป็นตัวอย่างด้วย ก็จะมีประโยชน์มากค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
วิธีปลุกทารกแรกเกิด ทารกนอนนานควรปลุกกินนมไหม ทารกแรกเกิดกินน้อย นอนนาน ต้องปลุกไหม
ทารกแรกเกิดเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง ปัญหาที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด แม่ต้องรู้และระวังลูกน้อยเอาไว้
ลูกฉี่ไม่ออกทําไงดี ฉี่น้อย ไม่ฉี่เลยทั้งวัน อั้นฉี่หรือเปล่า ปัสสาวะของทารกน้อย แบบใดจึงผิดปกติ?
วิธีวัดการเจริญเติบโตของทารก ชั่งน้ำหนักทารก วัดความยาวทารก วัดเส้นรอบศีรษะลูก ลูกโตตามเกณฑ์ไหม