อาการแพ้นมแม่ เรียกได้ว่าเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากร่างกายของเด็กแรกเกิดนั้นกำลังอยู่ในช่วงเจริญเติบโต ระบบทางเดินอาหารอาจจะไม่แข็งแรงสมบูรณ์มากนัก เมื่อกินน้ำนมเข้าไปก็อาจจะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้เกิดภูมิแพ้ตามมาได้เช่นกัน เพราะถ้าหากลูกมีอาการแพ้น้ำนมแม่ สิ่งนี้อาจจะเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารของคุณแม่นั่นเองค่ะ เพราะไม่ว่าคุณแม่จะรับประทานอาหารชนิดไหนเข้าไป เมื่อลูกกินน้ำนมของแม่ ลูกก็จะได้รับสารอาหารเหล่านั้นไปด้วย ซึ่งลูกอาจจะเกิดอาการแพ้อาหารบางชนิดที่คุณแม่กินเข้าไปได้ด้วยเช่นกันค่ะ
ทำความรู้จักภาวะแพ้อาหารผ่านนมแม่
แน่นอนอยู่แล้วว่าน้ำนมแม่นั้นถือเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับเด็กวัยแรกเกิด เพราะน้ำนมแม่นั้นจะอุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต เช่น มีปริมาณสารภูมิคุ้มกันสูง โปรตีน น้ำตาล ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของลูกน้อย ดังนั้น คุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมลูก จึงจะต้องเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
เพราะการรับประทานอาหารของแม่ท้อง ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะว่าอาหารที่รับประทานอะไรเข้าไปก็จะส่งตรงถึงลูกผ่านทางน้ำนม นั่นก็เท่ากับว่าลูกน้อยก็ได้รับสารอาหารที่คุณแม่รับประทานเข้าไปเช่นเดียวกัน ดังนั้น ในบางครั้งเมื่อลูกน้อยนั้นกินน้ำนมของแม่เข้าไป ก็อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้อาหารผ่านน้ำนมแม่ได้เช่นเดียว คุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมลูก จึงต้องระมัดระวังการรับประทานอาหารเป็นพิเศษในช่วงนี้มาก ๆ เลยค่ะ
ลักษณะ อาการแพ้นมแม่ จะมีอาการอย่างไรบ้าง?
เมื่อลูกน้อยแพ้นมแม่ ก็จะเริ่มมีลักษณะอาการออกมาทางผิวหนังอย่างชัดเจน ก็คืออาจจะเกิดผื่นแดงคันขึ้นบริเวณร่างกาย หรือเป็นลมพิษขึ้นตามร่างกาย หรือไม่ปากก็เริ่มมีอาการปากบวมขึ้น และระบบทางเดินอาหารของลูกน้อยก็เริ่มทำงานผิดปกติลูกจะเริ่มมีอาการอาเจียนเกิดขึ้น หรือถ่ายเหลว และเป็นมูกเลือด และอาการแพ้ก็อาจจะเริ่มลุกลามไปในระบบทางเดินหายใจ ลูกน้อยอาจจะมีอาการหายใจเหนื่อยหอบเกิดขึ้น และหากถึงขั้นแพ้แบบรุนแรงลูกน้อยอาจมีอาการช็อกเกิดขึ้นได้ค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีทำให้น้ำนมมาเร็ว ทำให้น้ำนมแม่ไหลมาก หลังคลอดต้องทำอะไรบ้าง นมมาเร็ว
อาการผื่นแพ้อาหารจะหายภายในกี่วัน?
เมื่อมีผื่นจากการอาหารผ่านน้ำนมขึ้นตามร่างกายของทารก ถ้าหากอาการไม่รุนแรงมาก ผื่นก็จะสามารถหายไปเองได้ ประมาณ 2-3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับพื้นฐานสุขภาพของเด็กแต่ละคน เนื่องจากเด็กแต่ละคนจะมีพื้นฐานสุขภาพที่แตกต่างกันออกไป ถ้าเด็กที่มีพื้นฐานสุขภาพดีก็อาจจะหายเร็วขึ้น แต่สำหรับเด็กบางคนถ้าพื้นฐานสุขภาพไม่ค่อยดีก็อาจจะต้องใช้ระยะเวลาหลายชั่วโมง แต่ถ้าหากรู้สึกว่าผื่นไม่มีทีท่าว่าจะจางลง อาการไม่ดีขึ้นเลย หรือผ่านไป 1 วัน อาการแพ้ก็ยังคงอยู่ ควรรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที
อาหารที่ส่งผลทำให้ลูกมักมีอาการแพ้
- อาหารทะเล
- แพ้ไข่
- อาหารประเภทถั่ว ถั่วชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะถั่วเหลือง และถั่วลิสง
- แป้งสาลี อาหารที่มีส่วนผสมของแป้งสาลี อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้
- แพ้อาหารที่มีส่วนผสมของนมวัว
บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคภูมิแพ้อาหาร แพ้อาหาร คืออะไร สาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษา
เด็กแรกเกิดควรกินนมแม่ถึงกี่เดือน?
ตามคำแนะนำจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เด็กทารกแรกเกิด – 6 เดือน ควรให้กินนมแม่เป็นอาหารหลัก แต่เมื่อลูกน้อยนั้นมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป นอกจากนมแม่แล้ว คุณแม่ควรที่จะทำอาหารให้ลูกน้อยกินวันละ 1 มื้อ และสำหรับคุณแม่ที่กำลังอยู่ในช่วงให้นมลูกน้อย ก็ควรที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารด้วยเช่นกัน คุณแม่ไม่ควรที่จะรับประทานอาหารซ้ำ ๆ เพราะอาจจะทำให้ลูกน้อยเสี่ยงแพ้อาหาร ผ่านน้ำนมที่ลูกน้อยกินเข้าไปนั่นเองค่ะ คุณแม่ควรที่จะเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลาย และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
วิธีการรับมือเมื่อลูกมี อาการแพ้นมแม่
ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที
เมื่อคุณแม่เริ่มสังเกตเห็นอาการแพ้ของลูกน้อยเกิดขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อไม่ให้ อาการแพ้นมแม่ นั้นมีอาการที่รุนแรงขึ้น ในเบื้องต้นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็จะมีการตรวจอาการที่เกิดขึ้น และทำการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง เพื่อให้ทราบว่าอาการแพ้ของลูกน้อยนั้นเกิดจากอาหารชนิดไหนบ้าง ถ้าหากทราบว่าแล้วว่าลูกน้อยนั้นแพ้อาหารชนิดไหน และจะมีอาการแพ้แสดงเป็นลักษณะแบบไหน มีอาการรุนแรงแค่ไหน มีอาการแพ้ที่ปริมาณอาหารเท่าไหร่ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็จะมีการแนะนำวิธีการปฏิบัติตัว เพื่อลดความเสี่ยงในการที่เด็กจะมีอาการแพ้เกิดขึ้นอีกครั้ง
งดอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้
เมื่อคุณแม่ทราบแล้วว่าลูกแพ้อาหารชนิดใด คุณแม่ควรที่จะหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ไม่ว่าจะเป็น อาหารทะเล ไข่ นมวัว ถั่วชนิดต่าง ๆ ควรงดการรับประทานอาหารเหล่านี้เป็นระยะเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ จากนั้นค่อยกลับมาเริ่มกินทีละน้อย พร้อมกับสังเกตอาการของลูกน้อยว่ายังคงมีความเสี่ยงแพ้อาหารที่แม่ได้รับประทานเข้าไปหรือไม่ เนื่องจากอาหารบางประเภทที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ก็มักจะหายแพ้เมื่อโตขึ้น เช่น นมวัว ไข่ ถั่วเหลือง แป้งสาลี เป็นต้น แต่อาหารบางประเภทก็อาจทำให้มีความเสี่ยงในการแพ้ไปตลอดชีวิต คือ ถั่วเปลือกแข็ง หรืออาหารทะเล เป็นต้น
จดบันทึกอาหารที่คุณแม่รับประทาน
การจดบันทึกอาหารที่คุณแม่กินเข้าไปในแต่ละมื้อ จะช่วยให้คุณแม่สามารถสังเกตได้ง่ายขึ้น เวลาที่ลูกมีอาการแพ้เกิดขึ้นหลังการกินน้ำนมแม่ เพื่อการป้องกันไม่ให้คุณแม่กินอาหารที่ลูกแพ้เข้าไปอีก และยังช่วยให้คุณแม่สามารถพิจารณาได้ว่าตัวเองนั้นสามารถกินอาหารชนิดไหนได้บ้าง
หมั่นสังเกตอาการของลูกน้อย
หลังจากที่ลูกน้อยมีอาการแพ้น้ำนมแม่ผ่านอาหารที่แม่รับประทานเข้าไป ต่อจากนี้คุณแม่ก็อาจจะต้องคอยหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อยอย่างต่อเนื่อง หลังกินน้ำนมแม่ทุกครั้ง และคุณแม่ก็อาจจะต้องปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารใหม่ และงดรับประทานอาหารที่มีความเสี่ยงที่จะทำให้ลูกน้อยเกิดอาการแพ้ค่ะ
สำหรับวิธีการรับมือ อาการแพ้นมแม่ บอกเลยขั้นตอนไม่ยุ่งยากค่ะ หากทราบถึงอาหารชนิดที่ลูกน้อยนั้นมีอาการแพ้ เพราะเมื่อลูกแพ้อาหารผ่านน้ำนมแม่ คุณแม่ก็อาจจะต้องทราบถึงวิธีการรับมืออย่างเป็นขั้นตอน เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอาการแพ้ของลูกน้อย และคุณแม่ก็อาจจะต้องงดรับประทานอาหารชนิดที่ลูกน้อยมีอาการแพ้ เพราะเมื่อคุณแม่กินอาหารเข้าไป เวลาที่ลูกกินน้ำนมของแม่ลูกก็จะได้รับสารอาหารนั้นร่วมด้วย
ดังนั้น คุณแม่มือใหม่ที่อยู่ในช่วงให้นมลูก อาจจะต้องระมัดระวังในเรื่องของการรับประทานอาหาร ว่าควรรับประทานอาหารอย่างไร ให้มีประโยชน์ต่อทั้งตัวเอง และลูกน้อย เพื่อที่จะได้ให้สุขภาพร่างกายของตัวคุณแม่เอง และลูกนั้นแข็งแรงค่ะ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby
ลูกแพ้นมวัว ทำอย่างไรดี พร้อมไขข้อข้องใจวิธีรับมือ สำหรับคุณแม่มือใหม่ทั้งหลาย!
ลูกแพ้ไข่ รู้ได้อย่างไร? วิธีสังเกตว่าลูกแพ้อาหาร อาการมีอย่างไรบ้าง?
ที่มา : aboutmom, vejthani, enfababy, phyathai