ทารกปวดท้อง อาการทารกป่วย เจ็บ ๆ ปวด ๆ ใต้พุง ลูกน้อยเป็นอะไรได้บ้าง

สังเกตอาการปวดท้องทารก 5 อาการปวดท้อง ที่พบได้บ่อย ลูกน้อยเป็นโรคอะไรได้บ้าง ยิ่งลูกเล็กยิ่งต้องระวัง เบบี๋ตัวน้อยที่ร่างกายยังไม่แข็งแรง มักจะเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย ๆ มาดูอาการปวดท้องในเด็ก โรคที่พบบ่อย และอาการทารกป่วย ที่พ่อแม่ต้องหัดสังเกต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกปวดท้อง อาการทารกป่วย

ทารกปวดท้อง อาการทารกป่วย อาการปวดท้องในเด็กที่พบบ่อย ๆ มีอะไรบ้าง แม่จะป้องกันลูกปวดท้องได้อย่างไร มีอะไรที่แม่ต้องระวัง

 

ทารกท้องอืด

อาการท้องอืดของเด็กเล็กหรือทารก เกิดจากแก๊สในกระเพาะอาหาร เมื่อมีลมหรือแก๊สอยู่ในกระเพาะอาหารมาก ก็เหมือนกับลูกโป่งที่ถูกเป่าลมจนเต็ม ทำให้รู้สึกแน่นท้อง ลูกจึงมีอาการอึดอัด

 

ทำไมทารกถึงท้องอืด

แก๊สในกระเพาะอาหาร เกิดได้จากแบคทีเรียปกติที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของทารก เวลาลูกร้องไห้ หรือกระทั่งการดูดขวดนม ก็ทำให้ลมเข้าไปในท้องของลูกได้ เมื่อลูกมีแก๊สในกระเพาะมาก พ่อแม่สังเกตได้ไม่ยาก

  1. ท้องลูกจะป่อง พอง คล้ายลูกโป่ง
  2. ลูกจะรู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว ร้องงอแง แอ่นตัว ดิ้นมาก ยิ่งร้องไห้ก็ยิ่งกลืนลมเข้าไปในท้อง ทีนี้ล่ะ อาการท้องอืดก็หนักขึ้น

 

ป้องกันลูกท้องอืดอย่างไร

หลังให้ลูกกินนม ต้องอุ้มเรอระหว่างและหลังมื้อนม จะเป็นการป้องกันทารกท้องอืดได้ มีแนะนำถึง 4 วิธีอุ้มลูกเรอ หรือช่วยไล่ลมให้ลูกด้วยวิธีการไล่ลมทารก

  • วางทารกนอนหงาย
  • ยกขาลูกน้อยปั่นจักรยานอากาศ
  • ปั่นไปข้างหน้าหรือปั่นไปข้างหลังก็ได้
  • ดันเข่าของลูกให้ชิดหน้าอก ค่อย ๆ ทำอย่างเบามือ
  • ไล่ลมซ้ำหลาย ๆ ครั้ง

นอกจากนี้ ยังมีวิธีนวดไล่ลมในท้องทารก บรรเทาโคลิค ลดอาการท้องอืด > วิธีนวดท้องทารก บรรเทาโคลิค

 

ทารกแหวะนม

อาการแหวะนมมักเกิดหลังจากการให้นม เกิดจากอาหารไหลล้นจากกระเพาะอาหารออกมาทางปาก ที่เกิดขึ้นกับทารกก็เพราะระบบการย่อยอาหารของทารกยังไม่สมบูรณ์ วาล์วที่ปิดระหว่างกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารและเครื่องดื่มย้อนกลับขึ้นไปยังไม่แข็งแรงพอ ทำให้ทารกที่กินนมมากเกินไปหรือกินนมเร็วเกินไป เกิดอาการแหวะนมขึ้นมาได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แหวะนมอันตรายไหม

พ่อแม่วางใจได้ค่ะ อาการแหวะนมเป็นภาวะปกติที่พบบ่อยในเด็กทารก อาการแหวะนมจะลดลง และหายไปเองเมื่อลูกมีอายุราว 6 เดือนถึง 1 ปี ยกเว้นมีอาการอื่น ๆ เพิ่มเติมที่ต้องระวัง เช่น

  • ไอ
  • สำลัก
  • อาเจียน
  • ตัวเขียว
  • น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้น

ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอ เพราะอาจเป็นอาการของโรคกรดไหลย้อนในทารก ซึ่งควรได้รับการรักษา

 

วิธีป้องกันทารกแหวะนม

  1. พักยกการให้นมเพื่อจับลูกเรอเป็นระยะ
  2. ให้ลูกได้มีเวลาสำหรับการย่อยและไล่ลมออกจากท้อง
  3. จับลูกเรออีกครั้งเมื่อให้นมเสร็จ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กรดไหลย้อนในทารก

หากลูกมีอาการแหวะนมหรืออาเจียนบ่อย ๆ แม่ ๆ ต้องระวังนะคะ สำหรับกรดไหลย้อนในทารก มีสาเหตุเช่นเดียวกับอาการแหวะนม ถ้ากล้ามเนื้อลำไส้ของลูกแข็งแรงขึ้น อาการกรดไหลย้อนในทารกก็จะลดลง

 

อาการกรดไหลย้อนในทารกแบบไหนต้องพบแพทย์

โรคกรดไหลย้อน (GERD) ไม่ใช่แค่อาการกรดไหลย้อน (GER) ปกติ และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งในระบบทางเดินอาหารและนอกระบบทางเดินอาหาร พ่อแม่ต้องสังเกตอาการเหล่านี้ อาทิ

  1. ลูกร้องไห้มากขณะกินนมหรือหลังจากกินนมเสร็จ
  2. มีอาการไอ หายใจลำบากมีเสียงฟืดฟาด
  3. อาเจียน หรือสำลัก

เมื่อลูกเป็นกรดไหลย้อน

แม่ต้องจับลูกเรอบ่อย ๆ ในท่าตัวตั้งตรงหลังจากการให้นม หากลูกไม่เคลื่อนไหวมากนักขณะนอนหลับ ลองใช้หมอนหนุนยกศีรษะให้เอียงทำมุม 30 องศา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คำเตือน : หากลูกมีอาการตัวเขียว หรือมีปัญหาในการหายใจ ควรพาลูกส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

 

อ่านทารกปวดท้อง อาการทารกป่วย หน้าถัดไป

ทารกท้องผูก

ก่อนอื่น คุณแม่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ทารกสามารถถ่ายอุจจาระได้บ่อยถึงวันละ 8-10 ครั้ง หรือลูกอาจไม่ถ่ายเลยได้นาน 7-10 วัน

แม่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกท้องผูก

หากทารกมีปัญหาในการขับถ่าย รู้สึกอึดอัดงอแง เบ่งไม่ออก อึแข็ง มีอาการท้องผูก แม่ต้องสังเกตว่า ลูกท้องผูกเกิดจากการเปลี่ยนอาหาร เช่น เปลี่ยนจากนมแม่เป็นนมผสม หรือเมื่อเริ่มอาหารชนิดใหม่ ซึ่งอาการท้องผูกของทารก แม่ดูได้ดังนี้

  1. ลูกถ่ายไม่ออก เบ่งหน้าดำหน้าแดง
  2. อึแข็งเป็นก้อน
  3. พยายามจะเบ่งอุจจาระแต่ตดออกมาแทน
  4. สีอุจจาระทารก หากอุจจาระลูกน้อยมีสีเหลือง สีเขียว หรือสีน้ำตาล ถือว่าปกติ แต่ถ้าสีอุจจาระทารกกลายเป็นสีดำหรือสีแดง นั่นคืออุจจาระมีเลือดปน

 

รักษาอาการท้องผูกในวัยทารก

เมื่อลูกท้องผูก คุณแม่ต้องปรึกษาคุณหมอก่อนเลยค่ะ เพื่อที่คุณหมอจะแนะนำแนวทางที่เหมาะสมในการรักษา ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุของลูก

  • แพทย์อาจแนะนำให้คุณป้อนน้ำพรุน (เพียง 1-2 ออนซ์) ไฟเบอร์จะช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่มขึ้น
  • แพทย์อาจแนะนำการสวนอุจจาระทารก ซึ่งควรกระทำโดยแพทย์ ไม่ควรสวนอุจจาระเอง แต่การสวนอุจจาระบ่อย ๆ จะทำให้ลูกขับถ่ายเองไม่เป็น ทุกอย่างจึงต้องเป็นไปตามที่แพทย์เห็นสมควร

 

ทารกท้องเสีย

น่ากังวลกว่าอาการท้องผูกในวัยทารก ก็คืออาการท้องเสียในวัยทารก อาจจะทำให้ทารกเกิดภาวะขาดน้ำ เป็นอันตรายได้จากการเสียน้ำและเกลือแร่

อาการท้องเสียในวัยทารก

  • ลูกท้องเสียเกิดจากการได้รับเชื้อผ่านทางพี่น้องที่โตกว่า
  • ท้องเสียจากการสัมผัสเชื้อแล้วเอามือเข้าปาก
  • ลูกอาจได้รับเชื้อไวรัสจากอาหารที่ปนเปื้อนหรือบูด

ทารกกินนมแม่อาจถ่ายบ่อยกว่าผู้ใหญ่ทั่วไป หากลูกท้องเสียสามารถสังเกตได้เมื่อลูกถ่ายเป็นน้ำมากเกินไป การสูญเสียน้ำมากอาจเป็นอันตรายต่อลูก เมื่อทารกท้องเสียจึงต้องพาไปพบคุณหมอ ซึ่งอาจจะให้จิบน้ำเกลือแร่ป้องกันการขาดน้ำและเกลือแร่ หากลูกกินอาหารอื่นนอกจากนมได้แล้ว คุณหมออาจแนะนำให้ทานอาหารที่ช่วยลดอาการท้องเสีย (BRAT diet) เช่น กล้วย ข้าว น้ำแอปเปิ้ล และขนมปังปิ้ง

ผศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ แนะนำว่า ถ้าลูกดื่มนมแม่อยู่ก็ให้ดื่มตามปกติ ถ้าดื่มนมขวดในระยะแรกที่ท้องเสีย (2-4 ชั่วโมงแรก) ให้ดื่มนมที่ผสมเจือจางลง (ลดนมผงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของที่เคยผสม) จนกว่าอาการจะดีขึ้น จึงให้ดื่มนมผสมตามปกติได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ที่มา : thebump.com, manager.co.th และ doctor.or.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

มือ เท้า ปาก รักษา ทีต้องใช้เวลานาน ลดเสี่ยงอย่าพาลูกเล็กเที่ยวที่คนเยอะ

ป้อนยาลูกให้ถูกวิธี ทารก เบบี๋ เล็กเด็ก เด็กโต ไร้ปัญหาเรื่องกินยา

โรคหัด อาการ แบบนี้ใช่เลย ลูกแรกเกิด-4 ปี สุ่มเสี่ยงป่วยโรคหัด ต้องระวัง

 

บทความโดย

Tulya