ABA การบำบัดเด็กออทิสติกด้วยการปรับพฤติกรรม

ปัจจุบันการบำบัดรักษาเด็กออทิสติกมีหลากหลายวิธีมากกว่าเมื่อก่อนและให้ผลดีมากขึ้น มาดูกันค่ะว่า วิธีการบำบัดแบบ ABA เป็นอย่างไร จะช่วยให้ลูกออทิสติกปรับพฤติกรรมดีขึ้นได้หรือไม่ ติดตามอ่าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กออทิสติก

ออทิสติก (Autistic Children) หรือเด็กที่มีภาวะออทิสซึม หมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติทางสมอง ซึ่งส่งผลให้เขามีปัญหาในการทำความเข้าใจและตอบสนองกับโลกภายนอก และทำให้เขามีพฤติกรรมและการแสดงออกที่แตกต่างจากเด็กปกติทั่วไป

จากสถิติพบว่ามีเด็กออทิสติกทั่วโลก ประมาณ 4 – 5 คน ต่อประชากรเด็ก 10,000 คน โดยมีแนวโน้มที่จะพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงถึง 4 เท่า จากการวินิจฉัยตามคู่มือและสถิติของสมาคมจิตแพทย์อเมริกันครั้งที่ 3 และ 4 พบภาวะออทิสซึมในเด็กอายุ 1 – 5 ปี เท่ากับ 9.9 ต่อประชากรเด็ก 10,000 คน

เด็กออทิสติกมีลักษณะอย่างไร

เด็กออทิสติกจะมีปัญหาบริเวณสมอง  ซึ่งจะส่งผลต่อการเข้าใจและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กที่มีภาวะออทิสติกมีการแสดงท่าทางแตกต่างจากคนทั่วไป  ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตและเปรียบเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน เพื่อค้นหาความบกพร่องที่เกิดขึ้นและได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุด  พฤติกรรมของเด็กออทิสติกที่สังเกตได้มีดังนี้

1. ภาวะบกพร่องด้านการปฎิสัมพันธ์ทางสังคม ส่วนใหญ่เด็กออทิสติกจะมีปัญหาด้านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม โดยมีพฤติกรรม ได้แก่

– ไม่สบตา

– ตั้งใจฟังหรือดูคนอื่นน้อยหรือมีความบกพร่องในการตอบสนองกับบุคคลรอบข้างน้อย

– ไม่รู้จักการแบ่งปันของเล่นหรือทำกิจกรรมอื่นร่วมกับบุคคลรอบข้าง

– มีการตอบสนองที่ไม่ปกติต่ออารมณ์โกรธ ความเครียด หรือการแสดงความรักจากบุคคลอื่น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ภาวะบกพร่องด้านการสื่อสาร โดยทั่วไปแล้ว เด็กในวัยเตาะแตะหรือเมื่อย่างเข้าขวบปีแรก จะเริ่มพูดได้สองสามคำ และรู้จักหันมามองเมื่อถูกเรียกชื่อ หรือชี้ของเล่นที่ต้องการได้แต่สำหรับเด็กออทิสติกจะมีพฤติกรรม ได้แก่

– ไม่ตอบสนองหรือตอบสนองช้าเมื่อมีคนเรียกชื่อหรือเรียกให้สนใจ

– มีการพัฒนาที่ล่าช้าทางด้านท่าทาง เช่น การชี้และแสดงสิ่งของให้ผู้อื่นดู

– ส่งเสียงและพูดอ้อแอ้ในช่วงปีแรก แต่หลังจากนั้นจะหยุดพฤติกรรมดังกล่าว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

– การพัฒนาด้านภาษาล่าช้า

–  เรียนรู้การสื่อสารโดยใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์ของตัวเอง

– พูดเพียงคำเดียวหรือพูดซ้ำไปซ้ำมา ไม่สามารถพูดเป็นประโยคได้

–  พูดทวนคำที่ได้ยินซ้ำ ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

– ใช้คำแปลกๆ สื่อความหมายแปลกๆ เฉพาะคนที่ใกล้ชิดกับเด็กจึงจะเข้าใจ

3. การแสดงพฤติกรรมซ้ำ ๆโดยทั่วไปเด็กออทิสติกมักแสดงพฤติกรรมที่ซ้ำไปซ้ำมา ซึ่งบางคนอาจแสดงพฤติกรรมดังกล่าวอย่างรุนแรง ชัดเจน  ในขณะที่บางคนอาจแสดงพฤติกรรมดังกล่าวเพียงเล็กน้อย เช่น เล่นนิ้วมือ กระพือแขน เดินในท่าเฉพาะ ซ้ำ ๆ นอกจากนี้ ยังมีความสนใจจดจ่อกับบางสิ่งบางอย่างมากเป็นพิเศษ เช่น บางคนอาจชอบดูล้อรถที่หมุน ก็จะนั่งดูได้นาน ๆ โดยไม่สนใจสิ่งอื่น เป็นต้น เด็กออทิสติกไม่รู้จักการยืดหยุ่น  จึงมักจะยึดติดอะไรแบบเดิม ๆ พวกเขาจะรับประทานอาหารแบบเดิม ๆ เวลาเดิมๆ ทุกวัน หรือไปโรงเรียนก็จะชอบไปเส้นทางเดิมๆ เป็นต้น

เมื่อเด็กได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นออทิสซึมแล้ว  สิ่งสำคัญต่อไปที่ควรกระทำอย่างยิ่ง คือ  การบำบัด  เพราะเมื่อสามารถระบุได้ว่าเด็กมีความผิดปกติเร็วเท่าใด ก็จะสามารถนำเด็กเข้ารับการรักษา  หรือบำบัดได้เร็วขึ้นเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้ตามศักยภาพที่สามารถพัฒนาได้

ABA การบำบัดเด็กออทิสติกด้วยการปรับพฤติกรรม

ABA (Applied Behavior Analysis)  คือ  การประยุกต์ใช้ทฤษฎีด้านพฤติกรรม  มาปรับพฤติกรรมของคนอีกทอดหนึ่ง สำหรับวิธีการบำบัดแบบ ABA ได้รับการอ้างอิงมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ว่าสามารถใช้ได้ผลและเด็กออทิสติกก็มีพัฒนาการดีขึ้นมาก  ซึ่งการบำบัดนี้จะใช้เวลาหลายชั่วโมงต่อวันเพื่อปรับพฤติกรรมเด็ก 1 คน  โดยใช้หลักการฝึก คือ  สิ่งเร้า  การตอบสนอง  การให้รางวัล

ตัวอย่างการสอนแบบ ABA : วิธีสอนให้มองหน้า (ใช้วิธี ABA Applied Behavior Analysis)

วิธีสอนให้มองหน้า ฟังเหมือนเป็นสิ่งง่ายที่ใคร ๆ ก็ทำกัน แต่สำหรับคนออทิสติกแล้ว มันเป็นสิ่งที่ยากสำหรับพวกเขา การสอนในเริ่มแรกควรสอนในห้อง  หรือมุมห้องที่ไม่มีสิ่งรบกวน รวมไปถึงสิ่งตกแต่งต่าง ๆ ในห้อง ถ้าไม่มีห้องว่างก็สามารถใช้มุมห้องที่ไม่มีการตกแต่ง ให้เด็กนั่งหันหน้าเข้าที่มุมห้อง ครู  (หรือคุณพ่อคุณแม่ กรณีนำมาฝึกเองต่อที่บ้าน) อาจจะนั่งหลังชนมุมห้องหรือนั่งข้าง ๆ

เป้าหมาย

1.  มองหน้าได้ 1วินาที ในระยะ 1 ฟุต

2.  มองหน้าได้ 5วินาที ในระยะ 1 ฟุต

3.  มองหน้าได้ 5วินาที ในระยะ 2 ฟุต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4.  มองหน้าคนพูด

อุปกรณ์

1. ที่นั่งสำหรับเด็กและครู โดยที่หน้าทั้งสองอยู่ในระดับเดียวกัน

2. รางวัล หรือ กระดานรางวัล

วิธีสอน

1.  ตั้งคำสั่ง “มองหน้า” ต่อมาให้คำสั่งที่หลากหลาย เช่น เรียกชื่อเด็ก

2. ทันทีที่บอกคำสั่ง ให้มือทั้งสองข้างป้องข้างตาทั้งสองข้างของเขาให้เขามองมาที่ครูเท่านั้น เมื่อทำได้ลดการช่วยลง โดยป้องมือในระยะห่างจากหน้าของเด็ก, ใช้ของรางวัลหรือของเล่นที่เขาชอบแตะที่ระหว่างตาของครู (เพื่อให้เด็กมอง), และ ไม่มีการช่วย

3. ให้รางวัล และชมเด็กทันที “มองหน้าทำได้เก่งมาก”

ข้อดีของพฤติกรรมบำบัด

จากทฤษฎีพฤติกรรมและการให้รางวัล เด็กจะเรียนรู้จากการสอนที่มีระบบอย่างสม่ำเสมอและเคร่งครัด ข้อดีของพฤติกรรมบำบัด  คือ  เด็กจะเรียนรู้เร็ว สามารถนั่งเรียนได้ ตอบสนองคำสั่งได้ และการฝึกสอนโดยครูประจำตัวเป็นไปได้ง่าย  คุณพ่อคุณแม่สามารถนำมาปรับใช้ที่บ้านและทำประจำสม่ำเสมอจะช่วยเสริมพัฒนาการได้ดียิ่งขึ้นค่ะ

อนาคตของเด็กออทิสติก

เด็กที่เป็นออทิสติกบางคนสามารถทำงาน  และใช้ชีวิตอย่างมีอิสระ เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ สามารถแต่งงานมีลูกได้อย่างคนทั่วไป แต่ในบางคน ออทิสติกก็มีผลกระทบมากต่อพัฒนาการโดยรวมของเขา   ซึ่งทำให้เขายังต้องการความช่วยเหลือต่อไปเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ด้วยเหตุนี้คุณพ่อ คุณแม่และผู้เชี่ยวชาญจึงควรร่วมมือกัน  เพื่อบำบัดและเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตให้กับเด็กที่มีภาวะนี้ตั้งแต่พวกเขายังเล็ก เพื่อเขาจะสามารถใช้ชีวิตในวิถีที่ใกล้เคียงกับคนทั่วไปมากที่สุดนั่นเอง

ข้อมูลนำมาฝาก

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกหลานเป็นออทิสติก  มีอายุระหว่าง 3 – 7 ปี และสนใจบำบัดด้วยวิธีการ ABA สามารถนัดและขอคำแนะนำและได้รับการประเมินเบื้องต้นได้ที่ 02-200-4029 อาจารย์ ดร.ปรียาสิริ  วิฑูรชาติ ศูนย์นโยบายและการจัดการสุขภาพ  คณะแพทยศาสตร์  โรงพยาบาลรามาธิบดี  มหาวิทยาลัยมหิดล

อ้างอิงข้อมูล

https://www.healthtoday.net

https://myrightsolution.blogspot.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เด็กออทิสติกเรียนร่วมกับเด็กปกติได้หรือไม่

เกือบไปแล้ว! ลูกของฉันพัฒนาการถดถอย จนเกือบเป็นออทิสติก

14 วิธีสังเกต ลูกเสี่ยงเป็นออทิสติก