ลูกหลับยาก แก้ไขด้วย 9 วิธีแก้ปัญหาลูกไม่ยอมนอนแบบได้ผล

หากการชวนลูกเข้านอน ทำให้คุณรู้สึกราวกับว่ากำลังอยู่ในสนามรบกับเจ้าตัวน้อยวัยเตาะแตะ 9 วิธีต่อไปนี้อาจช่วยให้ปัญหาลูกหลับยาก กลายเป็นเรื่องง่ายขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกหลับยาก ทำอย่างไรดี

ลูกหลับยาก ไม่ใช่ปัญหาใหญ่อีกต่อไป มาดูกันว่า 9 วิธีชวนลูกวัยเตาะแตะเข้านอน แก้ปัญหาลูกหลับยาก แต่ก่อนอื่น คุณต้องรู้ก่อนว่า สาเหตุที่ลูกวัยเตาะแตะไม่ยอมนอนนั้น เกิดจากอะไร

  • อาจเพราะเขายังสับสนกับกิจวัตรการเข้านอน ไม่เข้าใจว่ากลางคืนทุกคนต้องเข้านอน
  • อาจเพราะเขายังไม่สามารถทำให้ตัวเองนอนหลับเองได้
  • อาจเพราะเขาอยากทดสอบความเป็นตัวของตัวเอง ก็เขายังอยากเล่น ยังไม่อยากนอนนี่นา ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติสำหรับเด็กวัยเตาะแตะที่เริ่มแสดงออกถึงความต้องการของตัวเองมากขึ้น
  • อาจเพราะเขายังอยากใช้เวลาอยู่กับพ่อแม่ต่อ ก็พ่อกับแม่ไปทำงานทั้งวัน กลับมาหนูก็อยากอยู่กับพ่อแม่นานๆ นี่นา

ลูกหลับยาก ทำไงดี

วิธีแก้ปัญหาลูกหลับยาก

เมื่อคุณทำความเข้าใจแล้ว ว่าการที่เจ้าตัวน้อยของคุณไม่ยอมนอน เป็นเพราะอะไร คุณก็จะไม่หงุดหงิดง่าย หากว่าเขาร้องไห้ งอแง การชวนลูกเข้านอนก็จะง่ายขึ้น เพราะคุณเข้าใจลูกมากขึ้นนั่นเอง ทีนี้เรามาดูวิธีชวนลูกเข้านอน แก้ปัญหาลูกหลับยาก ในวัยเตาะแตะกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. จัดสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ เพื่อให้ลูกได้ผ่อนคลาย ก่อนถึงเวลาเข้านอน ประมาณ 2-3 ชั่วโมง แทนที่จะปล่อยให้เขาวิ่งเล่นไปทั่วบ้าน ควรเปลี่ยนกิจกรรมชวนลูกมาเล่นขีดเขียน หรือฟังเพลงเบา ๆ แทน
  2. สร้างกิจวัตรประจำวันซ้ำ ๆ ทุกคืน เปรียบเสมือนนาฬิกาชีวิตของลูก ให้ลูกเรียนรู้ว่าถ้าทำกิจกรรมเหล่านี้ แสดงว่า ได้เวลาเข้านอนแล้ว เช่น 19.30 พาลูกเปลี่ยนชุดนอน 19.35 ชวนลูกแปรงฟัน 19.40 พาลูกขึ้นข้างบน เล่านิทานก่อนนอน เปิดไฟสลัว 20.00 ปิดไฟเข้านอน
  3. เวลาที่ดีที่สุด คือให้ลูกเข้านอนไม่เกิน 2 ทุ่ม ยิ่งลูกนอนดึกเท่าไหร่ เขาจะยิ่งเหนื่อย และร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน และคอร์ซิตอล ออกมา ยิ่งทำให้เขานอนหลับยากขึ้น ตื่นกลางดึกบ่อย และยังตื่นเช้าเกินไปอีกด้วย
  4. อย่าปล่อยให้ลูกถ่วงเวลา เด็กวัยเตาะแตะ เริ่มจะสรรหาสารพัดข้ออ้างมาถ่วงเวลา เพื่อเขาจะได้อยู่กับแม่นานขึ้น เช่น แม่ต้องจูบหนูก่อน หรือขอหนูกินน้ำก่อน หรือเล่านิทานอีกรอบได้ไหม คุณอาจบอกลูกว่า ไว้พรุ่งนี้ค่อยฟังนิทานอีกรอบนะจ๊ะ คืนนี้ได้เวลานอนแล้ว
  5. เด็กวัยเตาะแตะ เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง เขาจะเรียนรู้ที่จะใช้คำว่า “ไม่” พ่อแม่ควรเสนอทางเลือกให้เขา ได้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่เขาอยากทำ แทนที่จะบังคับ ว่าเขาต้องทำตามที่คุณสั่ง เช่น ให้เขาเลือกว่าอยากฟังนิทานเรื่องไหน หรือให้เลือกว่าเขาจะใส่ชุดนอนสีเขียว หรือสีม่วง เป็นต้น
  6. แม้ว่ามันจะเป็นการยากที่จะปฏิเสธลูก เวลาที่เขาร้องไห้ เอาแต่ใจ แต่คุณควรยืนยันอย่างหนักแน่น เพื่อให้ลูกเรียนรู้ที่จะมีวินัย ถ้าคุณยอมเขาครั้งหนึ่ง เชื่อสิว่าคุณก็จะต้องยอมเขาอยู่ร่ำไป
  7. ถ้าลูกปีนลงจากเตียง ให้อุ้มเค้ากลับขึ้นไปบนเตียง แล้วย้ำกับลูกว่านี่เป็นเวลานอนนะจ๊ะ อย่าใส่อารมณ์กับลูก แม้ว่าคุณชักจะเริ่มโมโหลูกแล้ว ควรยืนยันกับลูกเบา ๆ อย่างสงบ ว่าหมดเวลาเล่นแล้วจ้ะ
  8. หากลูกติดผ้าห่ม หรือตุ๊กตาตัวโปรด ให้หยิบมาให้ลูกกอดนอน เพราะความอุ่นใจจะช่วยให้ลูกยอมนอนง่ายขึ้น
  9. ถ้าวันไหนที่ลูกยอมนอนแต่โดยดี ตื่นเช้ามาอย่าลืมชมลูกทุกครั้ง ว่าเมื่อคืนหนูเก่งมาก ๆ เลยจ้ะ นอนหลับเร็ว แถมยังไม่ตื่นขึ้นมากลางดึกด้วย เพื่อกระตุ้นให้ลูกเข้านอนเร็วทุกคืน

การฝึกลูกให้นอนเอง เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวล าและความอดทนของพ่อแม่ไม่น้อย แม้คุณอาจจะเหนื่อยจนร่างแทบแหลก และยังไม่ประสบความสำเร็จในการพาลูกเข้านอน แต่ขอให้พยายามต่อไปอย่างสม่ำเสมอ ไม่นานเจ้าตัวน้อยของคุณก็จะเรียนรู้ที่จะเข้านอนได้เองเมื่อถึงเวลานอนค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

17 ประโยคสอนวัยเตาะแตะ ที่ใช้กับเพื่อนเวลาเมาได้เหมือนกัน

15 ของทานเล่นมีประโยชน์โดนใจวัยเตาะแตะ

วิธีการอบรมลูกโดยไม่ขึ้นเสียง สอนลูกให้เป็นคนดี เติบโตอย่างเชื่อฟัง