9 วิธีเลี้ยงลูกให้ สนิทกับลูก อยากสนิทกับลูกทำยังไงดี? วิธีเลี้ยงลูกให้สนิทกับเรา
คนเป็นพ่อเป็นแม่ยังไงก็อยาก สนิทกับลูก แต่ถ้าเลี้ยงลูกแบบเดิม ๆ หรือ แบบเก่า ๆ อาจจะทำให้ลูกห่างไกลจากเราไปเรื่อย ๆ วันนี้เราจะมาดูกันว่าวิธีไหน การเลี้ยงดูแบบไหน หรือ การให้ความรักกับลูกแบบไหนจะทำให้ คุณพ่อ คุณแม่ สนิทกับลูกมากขึ้น เรามาดูไปพร้อม ๆกันเลย
9 วิธีเลี้ยงให้พ่อแม่สนิทกับลูกมากขึ้น
1.ใช้ความเข้าอกเข้าใจในการเลี้ยงดู
การเลี้ยงลูกที่จะทำให้ คุณพ่อ คุณแม่ สนิทกับลูกได้มากขึ้น คือการเลี้ยงลูกด้วยความเข้าอกเข้าใจ มองลูก และ สิ่งต่าง ๆ ที่พวกเขาทำด้วยหัวใจ ต้องเข้าใจความรู้สึก และ ใส่ความถูกต้องลงไป เวลาสอนลูกก็ต้องถ่ายทอดความคิดที่เราเข้าใจเขา พร้อมกับความถูกต้อง และ จะทำให้เกิดความปรารถนาดีกับลูก ๆ ของเราต้องเข้าใจว่าในบางสถานการณ์ คุณพ่อ คุณเเม่ อาจคิดไม่ตรงกับลูกบ้าง เพราะช่วงวัยที่แตกต่างกัน เเต่การเป็นครอบครัวเดียวกัน ไม่ได้หมายความว่าต้องมีไลฟ์สไตล์แบบเดียวกันเสมอไป อย่าลืมนะคะว่าลูกไม่ใช่ตัวเราในเวอร์ชั่นที่เด็กกว่า อยากให้ยอมรับในตัวตนที่เขาเป็น เเละ เข้าใจว่าทุกคนมีความเเตกต่างกัน เเต่เราก็ยังเป็นครอบครัวเดียวกันอยู่ดี
2.ให้ความรักและความใจดี
การใส่ความรัก และ ความใจดีเป็นการแสดงความรัก ความเมตตา จากพ่อแม่สู่ลูก เพราะลูกน้อยของเรานั้นอาจจะไม่เข้าใจความรักเท่าไหร่ เพราะฉะนั้น คุณพ่อ คุณแม่ อาจจะเสริมการหอมแก้ม กอด ทำให้ลูกเข้าใจว่านี้คือความรัก และ จะทำให้ลูกกับ คุณพ่อ คุณแม่ สนิทกันมากขึ้น เรารู้ว่า คุณพ่อ คุณเเม่ ทุกคนรักลูก เเต่การเเสดงออกถึงความรักจะยิ่งทำให้เด็ก ๆ มั่นใจว่าตัวเขาเองเป็นที่รัก เเละ ถูกรักจากครอบครัว อย่างการบอกรักกันทุกวันก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เเละ ดูเสียเปล่า(อย่าอายนะคะที่จะบอกรักลูก) หรือ การสัมผัสด้วยการกอดก็เป็นอีกหนึ่งการเเสดงความรักที่ดีมาก ๆ จงยืนยันความรักของคุณที่มีต่อลูกให้เขาเห็นแบบสม่ำเสมอ ๆ มันจะกลายเป็นความผูกพันกันระหว่างคุณพ่อ คุณเเม่กับลูก ๆ
3.เล่นกับลูกบ่อยๆ
การเล่นกับลูกบ่อย ๆ จะทำให้กลายเป็นกิจวัตรประจำวันระหว่าง คุณพ่อ คุณแม่ และลูก ๆ และการเล่นกับลูกน้อยบ่อย ๆ จะทำให้เขาตัดขาดจากการเล่นโทรศัพท์ หรือ แก็ดเจ็ต เทคโนโลยีได้ ลูกน้อย และ เราจะมีความสนิทกันมากขึ้น และ รู้สึกดี และ ผูกพันกับเรามากขึ้น
4.ควบคุมตัวเอง
ใช้ลมหายใจ และ สมาธิ สติ ในเวลาที่คุณโกรธ หรือ เมื่อลูกของคุณทำให้โมโห ต้องใช้สติมาก ๆ และ แสดงให้ลูกเห็นความใจดี ต้องห้ามเสียการควบคุม และ ต้องใช้สติในการตัดสิน หากลูกผิดต้องใช้สติในการตัดใจ หรือลงโทษในบางครั้ง
5.ปล่อยให้ลูกแก้ปัญหาเองในบางเรื่อง
คุณไม่จำเป็นต้องแก้ไขทุกอย่าง ลูกน้อยสามารถจัดการได้ เพียงแค่ฟัง และ อยู่ในฐานะผู้สนับสนุนไม่ได้หมายความว่าจะต้องเข้าไปแก้ไข หรือ แก้ปัญหาให้ลูกทุกครั้ง บางครั้งการตัดสินใจปัญหาลูกเป็นคนเดียวที่จะจัดการได้ หากเราจัดการให้ลูกทุกเรื่องเขาจะรู้สึกว่าทุกเรื่องจะต้องพึ่งพาคุณ และ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองได้
6.การเป็นต้นแบบ
พฤติกรรมที่ คุณพ่อ คุณแม่ แสดงให้ลูกเห็นสำคัญมากว่าเขาอยากจจะสนิท กับเราไหม หากเราใช้คำพูดที่แย่ และ ไม่น่าฟังลูกจะสังเกตนำพฤติกรรมไปเลียนแบบ และ อาจจะทำให้เขารู้สึกไม่อยากเข้าหาเรา เพราะฉะนั้นพฤติกรรมของ คุณพ่อ คุณแม่ ที่แสดงให้ลูกเห็นนั้นสำคัญมาก
7.รักลูกอย่างไม่มีเงื่อนไข
หากเจอปัญหาบางอย่างที่ลูกทำและเรารู้สึกไม่สามารถแก้ไขได้ ให้ลองเปลี่ยนจากการอยากแก้ปัญหาเป็นยอมรับในทุกเรื่องที่ลูกทำ ต้องใจเย็นและระงบอารมณ์โกรธ มันจะเป็นหนึ่งในวิธีที่ทำให้เขากล้าเปิดใจกับพ่อแม่จริงๆ รวมถึงต้องแสดงความรักให้เขาเห็นด้วย
8.หยุดการลงโทษ และตะโกน
การเป็นต้นแบบเหมือนข้อเจ็ดนั้นสำคัญ โดยเฉพาะการตะโกน หากพ่อแม่ไม่ต้องการให้ลูกตะโกนกับใครต้องพยายามไม่ทำใหเลูกเห็น การใช้เทคนิคเปลี่ยนจากการลงโทษและตะโกนเป็นการสอนและใช้เหตุผลจะทำให้ลูกสนิทกับพ่อแม่มากขึ้น
9.ขอบเขตและกฏ
ลูกทุกคนต้องการความรู้สึกปลอดภัย ขอเจอคนใจดีและคนที่ให้ความรักเอาใจใส่ การตั้งกฏเกณฑ์ที่เหมาะสมอาจจะทำให้ลูกรู้สึกสนิทกับเรามากขึ้นและฟังเรามากขึ้นเช่น “ห้ามเล่นโทรศัพท์เกิดหนึ่งชั่วโมง” “ห้ามเล่นโทรศัพท์ทั้งวัน” โดยขอบเขตและกฏเกณฑ์ต้องขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบ้าน
Source : peaceandparentingla
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
วิจัยชี้! พ่อเล่นกับลูกช่วยให้ลูกฉลาด แนะคนเป็นพ่อหาเวลาเล่นกับลูกบ่อยๆ
5 ทริคพัฒนาสมอง ลูกเล่นคนเดียว ไม่ต้องเสียว วิจัยเผยเล่นคนเดียวก็ฉลาดได้
วิธีสร้างวินัยให้ลูกน้อย เคล็ดลับการสอนลูก ให้รู้จักการแบ่งเวลาเรียนและเล่นได้ดี