6 อย่างที่อยากให้แม่มือใหม่รู้เอาไว้

การเป็นแม่คนนั้นเปลี่ยนผู้หญิงคนหนึ่งได้ทั้งชีวิต ช่วงเวลาก่อนจะเป็นแม่ ตั้งแต่เริ่มรู้ว่าตั้งท้อง ผ่านไปแต่ละไตรมาส จนใกล้วันที่จะได้พบหน้าลูก ช่วงเวลานั้นสร้างความกังวลใจให้กับคุณแม่มือใหม่ ซึ่งแม่ๆ ส่วนใหญ่มักจะเคร่งเครียดกับการอ่านข้อมูลเรื่องลูก ค้นคว้าความรู้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับทารก แต่กลับไม่ค่อยสนใจเรื่องราวที่แม่มือใหม่ต้องเจอ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6 อย่างที่อยากให้แม่มือใหม่รู้เอาไว้

6 อย่างที่อยากให้แม่มือใหม่รู้เอาไว้ ...แม้ว่าคุณแม่จะเตรียมตัวมากมายแค่ไหน ทั้งอ่านหนังสือเป็นสิบเล่ม ดูรายการเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ฟังเรื่องราวจากปากหมอ พร้อมทั้งเข้าคอร์สเตรียมคลอด อบรมเพื่อเตรียมตัวเป็นคุณแม่ แต่นั่นก็ไม่อาจเตรียมความพร้อมได้อย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะทฤษฎีไม่เหมือนการปฏิบัติจริง และนี่คือเรื่องราว 6 อย่างที่เราอยากให้แม่มือใหม่ได้รู้เอาไว้

 

1.สิ่งที่แม่ให้นมต้องเจอ

แม่ให้นม เจ็บหัวนม หัวนมแตกจนเลือดไหล เป็นปัญหาที่แม่ให้นมลูกมักจะเจอเป็นประจำ ก่อนอื่นก็ต้องหาสาเหตุก่อนว่าเพราะอะไร

- เจ็บหัวนม ลูกอาจดูดนมผิดท่า ต้องให้ลูกดูดให้ลึกถึงลานนม
- หัวนมแตก พยายามให้ลูกดูดบ่อยขึ้นแต่ใช้เวลาสั้นลง ถ้าลูกไม่หิวมากก็จะไม่ดูดรุนแรง หรือปรับเปลี่ยนการดูดนม สำหรับหัวนมที่แตกควรล้างด้วยน้ำสะอาดหรือใช้น้ำนมทาบริเวณหัวนมแล้วทิ้งไว้ให้แห้ง
- คัดเต้านม ลองปั๊มนมหรือบีบนมออกส่วนหนึ่ง แล้วค่อยให้ลูกดูดนม การให้ลูกดูดนมบ่อยๆ ช่วยแก้ปัญหาเต้านมคัดได้

อ่านเพิ่มเติม 9 ปัญหายอดนิยม กับทางแก้ของแม่ให้นม

 

2.ไม่ใช่ว่าแม่ทุกคนจะมีน้ำนมทันทีหลังคลอด

น้ำนมแม่ตั้งแต่ชั่วโมงแรกหลังคลอดเป็นสิ่งสำคัญ มีคุณประโยชน์มากมาย ควรจะให้ลูกดื่มทันที แต่กลายเป็นว่า แม่มือใหม่บางคนกลับไม่มีน้ำนมในทันที ...ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะลูกได้รับน้ำและอาหารสะสมมาในครรภ์ จึงไม่ต้องการน้ำนมมากนักในช่วงแรกๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ด้วยปัจจัยหลายประการ ทำให้น้ำนมแม่มาช้า หลักๆ อยู่ที่ร่างกายของคุณแม่ ถ้าคุณแม่ไม่เครียด ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ น้ำนมก็จะไหลมาเอง ซึ่งใน 1-2 วันแรกหลังคลอด แม่มักจะมีน้ำนมน้อยเป็นเรื่องธรรมดา แต่มีวิธีที่จะช่วยกระตุ้นให้น้ำนมมาเร็วและน้ำนมมาก โดยอาศัยลูกเป็นตัวช่วย

- ให้ลูกเข้าเต้าเร็วที่สุด 1 ชั่วโมงหลังคลอด เพื่อให้ลูกดูดกระตุ้น
- ให้ลูกเข้าเต้าดูดนมบ่อยๆ วันละ 8 ครั้งขึ้นไป
- ให้ลูกเข้าเต้าอย่างถูกวิธี ลูกต้องงับลานนมจนลึก

 

3.น้ำนมแม่ วัคซีนหยดแรกในชีวิตลูก

น้ำนมแม่ในชั่วโมงแรกหลังคลอด สำคัญเปรียบได้กับวัคซีนหยดแรกในชีวิตลูก นั่นก็เพราะ น้ำนมเหลือง หรือโคลอสตรัม อีกชื่อหนึ่งว่า หัวน้ำนม เป็นน้ำนมที่ต่อมน้ำนมจะสร้างขึ้นมาทันทีเมื่อแรกคลอด ในนั้นมีสารภูมิคุ้มกันในปริมาณสูง อุดมด้วยสารระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อในทารกแรกเกิด ทั้งยังช่วยปกป้องทารกจากเชื้อไวรัสและการติดเชื้อ เพราะมีส่วนประกอบที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ น้ำนมเหลือง ยังมีโปรตีน เกลือแร่ วิตามิน และสารช่วยการเจริญเติบโต เปี่ยมไปด้วยคุณประโยชน์ต่อลูกรัก แม่ๆ จึงควรให้ลูกดื่มนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต ลูกจะได้เติบโตอย่างแข็งแรง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4.แม่หลังคลอด ปวดท้องน้อยเพราะมดลูกหดรัดตัว

ไม่กี่วันหลังคลอด แม่ๆ ยังคงมีอาการปวดท้องน้อยอยู่ อาจเป็นความรู้สึกปวดๆ เกร็งๆ เนื่องจากมดลูกหดรัดตัว โดยเฉพาะในช่วง 2 วันแรกหลังคลอด จะมีอาการมากเป็นพิเศษ เนื่องจากมดลูกบีบตัวให้กลับเข้าที่ ในขนาดที่เท่าเดิมก่อนจะขยายตัวเพื่อรองรับทารก ใช้เวลาราวๆ 6 สัปดาห์ มดลูกก็จะมีน้ำหนักเท่ากับระยะก่อนตั้งครรภ์

นอกจากนี้ ในช่วงที่ลูกดูดนมแม่ ก็จะมีอาการเช่นกันเนื่องจากฮอร์โมนออกซีโตซินหลั่งเพื่อให้น้ำนมไหล ซึ่งการที่มดลูกหดรัดตัวเร็วก็จะลดการตกเลือดหลังคลอดได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5.แม่หลังคลอดปัสสาวะเล็ด

มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นกับร่างกายคุณแม่ระหว่างการตั้งครรภ์ พอคลอดลูกแล้ว ร่างกายจึงยังไม่ค่อยเข้าที่ และต้องใช้เวลา

นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้คุณแม่หลังคลอดปัสสาวะเล็ด ตอนหัวเราะ ไอ จาม หรือแม้แต่ออกกำลังกาย เพราะอุ้งเชิงกรานยังไม่แข็งแรงพอจะกลั้นปัสสาวะ มักจะเป็นมาตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ เนื่องจากมดลูกที่ขยายใหญ่ได้กดทับกระเพาะปัสสาวะ แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ ไม่เกิน 4 เดือน ร่างกายคุณแม่จะกลับมาเป็นปกติได้

 

6.ซึมเศร้าหลังคลอด เกิดขึ้นได้กับแม่ๆ

โรคซึมเศร้าหลังคลอด เกิดได้หลายระดับ แม่บางคนเป็นอยู่ไม่กี่สัปดาห์หลังคลอดและกลับมาเป็นปกติ แต่แม่บางคนต้องทนกับอาการนี้นานนับปี และแตกต่างจาก ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Baby Blues)

วิธีรักษาที่ดีที่สุด คือปรึกษาคุณหมอเฉพาะทาง หรือบำบัดโดยนักจิตวิทยาคลินิก เพื่อพื้นฟูสภาพจิตใจ ด้านครอบครัวเองก็ต้องช่วยคุณแม่ดูแลลูก แบ่งเบาภาระเรื่องงานบ้าน คุณแม่จะได้มีเวลาพักผ่อน และที่สำคัญ ห้ามตำหนิตัวเอง นอนหลับให้เพียงพอ และหาวิธีคลายเครียด เช่น ออกกำลังกาย ฟังเพลง หรือไปทำกิจกรรมที่ชอบ ก็จะช่วยบรรเทาอาการได้ค่ะ

 

ที่มา : vagabomb.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เทคนิคจัดตารางเวลา สำหรับคุณแม่มือใหม่ เอาใจทั้งสามีและลูก

4 เรื่องจริงของลูกเดือนแรกที่แม่ต้องเจอ

14 เรื่องที่ไม่มีใครเคยบอกเกี่ยวกับเด็กแรกเกิด

 

บทความโดย

Tulya