กังวลไหม ฝากครรภ์ครั้งแรก สำหรับคุณแม่มือใหม่มีความสำคัญอย่างมาก แต่คุณแม่หลายคน อาจกำลังตื่นเต้น ดีใจ ทำตัวไม่ถูก มัวแต่เตรียมข้าวของเครื่องใช้ของลูกน้อย เปิดอินเทอร์เน็ตหาความรู้ จนหลงลืมไปว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการไป ฝากครรภ์ เพื่อให้แพทย์เช็กระยะเวลาที่แน่นอน ทั้งอายุครรภ์เริ่มต้นและการนับในแต่ละสัปดาห์ เพื่อสังเกตตัวเองและลูกในครรภ์ว่า แต่ละไตรมาสนั้นมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ที่สำคัญ การฝากครรภ์ครั้งแรก สิ่งที่คุณแม่ต้องเตรียม คือ “คำถาม” เพื่อไขข้อข้องใจทุกความสงสัยโดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ ไปดูกันว่ามีอะไรบ้าง
การฝากครรภ์ หรือ ฝากครรภ์ คืออะไร สิ่งที่คุณแม่หลายคนควรรู้
เชื่อว่าหลายคนก็อาจจะเคยได้ยินคำนี้กันมาบ้าง แน่นอนว่าการฝากครรภ์ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่เราควรใส่ใจมาก ๆ โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่อย่างเรา ๆ การฝากครรภ์คือการดูแลหญิงที่กำลังตั้งครรภ์พร้อมกับลูกที่อยู่ในท้อง ซึ่งการดูแลเหล่านี้จะเป็นการดูแลในทุก ๆ ด้าน อาทิเช่น ดูแลร่างกาย สังเกตความผิดปกติของร่างกาย หรือดูแลทางด้านอารมณ์ เป็นต้น และนอกเหนือจากการดูแลแล้ว เราก็จะได้รับคำแนะนำต่าง ๆ เพื่อที่จะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องในขณะตั้งครรภ์นั่นเอง
ทำไมถึงต้องฝากครรภ์ ฝากแล้วดียังไงนะ ?
สิ่งนี้อาจกลายเป็นคำถามที่เกิดขึ้นในใจใครหลายคน คุณแม่คนไหนที่กำลังรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ เราก็อาจจะต้องมาพบแพทย์เพื่อให้คุณหมอตรวจสุขภาพ และเช็กสุขภาพของลูกในท้องว่าแข็งแรงดีไหม พร้อมกับตรวจดูว่าช่วงอายุครรภ์ในเวลาเดียวกัน เพราะเมื่อไหร่ที่เรารู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ แต่ไม่ยอมมาพบแพทย์เพื่อทำการฝากครรภ์หรือมาตรวจสุขภาพ สิ่งนี้อาจจะส่งผลไม่ดีต่อลูกในท้องได้ เพราะถ้าลูกของเราไม่แข็งแรงหรือมีความผิดปกติเกิดขึ้น ก็อาจจะทำให้ลูกของเราเกิดมาเป็นเด็กที่ไม่ค่อยแข็งแรงได้ เพราะฉะนั้นการฝากครรภ์จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่หลายคนต้องใส่ใจมาก ๆ
เมื่อทำการฝากครรภ์คุณหมอจะทำการตรวจอะไรบ้าง ?
ครั้งแรกของ การฝากครรภ์ หรือ ฝากครรภ์ สิ่งนี้อาจกลายเป็นเรื่องตื่นเต้นของใครหลายคน ยิ่งถ้าใครที่เป็นคุณแม่มือใหม่ก็อาจจะยังไม่รู้ว่าจะต้องตรวจอะไรบ้าง การฝากครรภ์ในครั้งแรกคุณเพื่อความปลอดภัยของเราและลูกในท้อง คุณหมอก็จะทำการซักประวัติเราก่อน พร้อมกับถามเรื่องของสุขภาพคุณแม่เบื้องต้นว่าเรามีโรคประจำตัวอะไรไหม หรือมีความผิดปกติอะไรหรือเปล่า จากนั้นก็จะทำการตรวจสภาวะการตั้งครรภ์ พร้อมกับการตรวจสุขภาพของลูกในท้องด้วยว่ามีความผิดปกติอะไรที่เราต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะฉะนั้นถ้าคุณแม่อยากจะให้ลูกเติบโตมาเป็นเด็กที่แข็งแรงสมบูรณ์ เราก็อาจจะต้องดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองให้มากขึ้น พร้อมกับปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัดนั่นเอง
วิดีโอจาก : drnoithefamily
สิ่งที่ต้องรู้ก่อนตรวจเมื่อทำการฝากครรภ์
คุณแม่หลายคนก็อาจจะยังไม่รู้ว่า เมื่อเราตั้งท้องแล้วทำการฝากครรภ์ คุณแม่จะตรวจอะไรบ้างนะ แล้วเราควรมีความพร้อมหรือต้องเตรียมตัวอะไรหรือเปล่า สำหรับการฝากครรภ์ในครั้งแรกคุณหมอจะทำการตรวจ ดังนี้
1. ตรวจอัลตราซาวนด์
สิ่งนี้อาจเป็นสิ่งที่คุณแม่หลายคนทราบกันดีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเมื่อเราไปฝากครรภ์คุณหมอก็จะทำการอัลตราซาวนด์ เพื่อดูช่วงอายุครรภ์ พร้อมกับดูส่วนต่าง ๆ ของลูกเราว่ามีความผิดปกติ หรือมีพัฒนาการเป็นไปตามช่วงอายุครรภ์นั้น ๆ หรือเปล่า อาทิเช่น การตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ เป็นต้น
2. ตรวจดูความเข้มข้นของเลือด
สิ่งสำคัญอีกหนึ่งอย่างที่จะต้องทำการตรวจนั่นก็คือ ตรวจดูความเข้มข้นในเลือดของคุณแม่ เพื่อเราจะได้ทราบว่าเรามีโรคอะไรที่เสี่ยงหรือกระทบต่อลูกในท้องหรือไม่ เพราะฉะนั้นสิ่งนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องเอาใจใส่และไม่ควรมองข้ามมาก ๆ เพราะถ้าเลือดของเรามีความเข้มข้นผิดปกติ คุณหมอก็จะได้ให้คำแนะนำ พร้อมกับแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง และสิ่งนี้ก็จะทำให้ลูกในท้องของเรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและปลอดภัยนั่นเอง
3. ตรวจปัสสาวะ
อีกหนึ่งการตรวจที่สำคัญในช่วงตั้งท้องคือการตรวจปัสสาวะ เพราะสิ่งนี้นอกจากเราจะทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์แล้ว ยังสามารถตรวจดูความผิดปกติภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือตรวจโรคไตได้ด้วย เพราะฉะนั้นใครที่มีความกังวลเรื่องเหล่านี้ไม่ต้องห่วงนะคะ เพราะเมื่อไหร่ที่เราทำตามคำแนะนำของคุณหมอ คุณแม่และลูกในท้องจะต้องปลอดภัยแน่นอนค่ะ
ฝากครรภ์ครั้งแรก คุณแม่ควรถามเกี่ยวกับคุณหมอด้วยคำถามอะไรบ้าง ?
เรื่องสุขภาพร่างกายของคุณแม่และทารก สามารถปรึกษาคุณหมอเป็นระยะ ๆ ได้ค่ะ แต่สิ่งที่คุณแม่ต้องรู้และจดจำให้ดีคือ คำถามเกี่ยวกับคุณหมอและวันคลอด อย่าลืมว่า วันคลอดคือวันที่ต้องเตรียมตัวหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นคิวคุณหมอ ของใช้ของคุณแม่และลูก ระยะเวลาการเดินทาง เช่น
- วันทำงานของคุณหมอ: คุณหมอวางแผนจะลาพักร้อนหรือเดินทางไปต่างจังหวัดช่วงใกล้ครบกำหนดคลอดของคุณหรือเปล่า ?
- สำรองคุณหมอท่านใด: ถ้าคุณหมอประจำตัวที่ฝากครรภ์เกิดไม่อยู่ในช่วงที่คุณแม่จะคลอดลูกขึ้นมากะทันหัน คุณหมอท่านไหนที่จะมาดูแลได้บ้าง ?
- ทำความรู้จักกับคุณหมอสำรอง: คุณแม่สามารถขอพบคุณหมอที่จะมาดูแลคุณแทนคุณหมอที่คุณฝากครรภ์ได้ไหม ?
- การเจ็บท้อง: อาการและความรู้สึกเจ็บท้องคลอดขนาดไหน แบบไหนที่คุณแม่ควรรีบเดินทางมาโรงพยาบาล?
- คลอดฉุกเฉิน: ถ้ามีกรณีฉุกเฉิน เช่น คลอดก่อนกำหนด คุณแม่สามารถโทรตามคุณหมอกะทันหัน คุณหมอจะทำอย่างไร คุณหมอสามารถมาได้ไหม ?
- ทางเลือกการคลอด: กรณีที่ร่างกายแข็งแรงไม่มีภาวะแทรกซ้อนและคลอดง่าย คุณหมอสามารถทำการคลอดทางเลือกอื่นได้ไหม เช่น การคลอดลูกในน้ำได้หรือเปล่า ?
คุณอาจมีคำถามอื่น ๆ ในใจของคุณที่อยากถามคุณหมอเมื่อไปฝากครรภ์ครั้งแรก เราอยากแนะนำให้คุณลองจดใส่กระดาษแล้วนำติดตัวไปด้วย เพราะคุณจะตื่นเต้นกับการฝากครรภ์ครั้งแรกจนอาจจะลืมถามคำถามคาใจที่คุณอยากรู้
เมื่อคุณแม่ไปฝากครรภ์ครั้งแรก แพทย์จะตรวจอะไรบ้าง?
- สอบถามประวัติส่วนตัว : ฝากครรภ์ครั้งแรก คุณหมอจะสอบถามประวัติส่วนตัวเบื้องต้น เช่น สุขภาพของคุณแม่เอง การใช้ยาประจำ การแพ้ยา โรคประจำตัว และการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย สุขภาพของคนในครอบครัว เช่น คุณพ่อคุณแม่ พี่น้อง และสามี จากนั้นจะนับอายุการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ทราบ
- เริ่มตรวจร่างกายทั่วไป : คุณหมอจะตรวจปัสสาวะ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ตรวจความดัน เบาหวาน ตรวจกระดูกเชิงกราน เจาะเลือดเพื่อตรวจดูความข้นหนืดของเลือด ตรวจกรุ๊ปเลือด ตรวจหาโรคพาหะที่จะนำไปสู่ทารกในครรภ์ รวมถึงตรวจหาเชื้อไวรัส เพื่อความปลอดภัยขณะตั้งครรภ์ โควิด-19 ไวรัสตับอักเสบ เอชไอวี หัดเยอรมัน ซิฟิลิส เป็นต้น
- การตรวจอัลตราซาวนด์ : นอกจากผลตรวจจากห้องแล็บ เช่น การตรวจเลือด การตรวจโรคทางเพศสัมพันธ์แล้ว การตรวจอัลตราซาวนด์ก็สำคัญมาก คุณหมอจะตรวจหน้าท้องเพื่อดู ขนาดตัวอ่อนของทารก ว่าอยู่ในท่าทางลักษณะใด ศีรษะของทารกเป็นอย่างไร อีกทั้งยังจะทำการประมาณน้ำหนักและขนาดเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารก
8 คำถามที่แม่ท้อง ควรถามคุณหมอเวลาไปฝากครรภ์ครั้งแรก
นอกจากนี้ยังมีคำถามทั่วไปเกี่ยวกับการเตรียมตัวเป็นคุณแม่มือใหม่ ดังนั้นเพื่อความสบายใจของตัวคุณแม่เอง การฝากครรภ์จึงเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างแรกเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ เมื่อคุณแม่ฝากครรภ์แล้วควรมีคำถามต่าง ๆ ที่ต้องถามคุณหมอ ตลอดช่วงเวลาในการฝากครรภ์ดังนี้
บทความที่เกี่ยวข้อง : หมอนัดตรวจครรภ์บ่อยแค่ไหน เดือนนี้หมอนัดแล้วไม่ไปได้ไหม ไปเดือนหน้าได้ไหม
1. เกี่ยวกับโรงพยาบาล
คุณแม่สามารถถามว่าโรงพยาบาลที่จะฝากครรภ์ด้วยนี้ มีเครื่องมือครบ พร้อมคลอดในทุกรูปแบบหรือไม่ พร้อมติดต่อได้ตลอดหรือไม่ แล้วสามารถติดต่อคุณหมอโดยตรงได้หรือไม่ และสามารถโทรมาได้บ่อยแค่ไหน
2. การดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์
3. การเตรียมตัวคลอด
คุณแม่สามารถคลอดลูกกับคุณหมอที่ฝากครรภ์ได้เลยหรือไม่ หรือ ต้องคลอดกับคุณหมอท่านอื่น และถามถึงการกำหนดคลอดลูกของคุณแม่ที่จะมาถึง เพื่อเตรียมตัวสำหรับการคลอด ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง
4. เหตุฉุกเฉินระหว่างคลอด
ถ้ามีเกิดเหตุฉุกเฉิน ขั้นไหนจึงต้องผ่าคลอด เช่น ลูกไม่กลับหัว หรืออยู่ในท่าขวาง คุณแม่ต้องคลอดโดยผ่าคลอดอย่างเดียวใช่หรือไม่ และขั้นตอนในการคลอดลูก มีการใช้อุปกรณ์ในการช่วยอย่างไร
5. ภาวะเสี่ยงระหว่างคลอด
คุณแม่มีภาวะเสี่ยงที่จะมีอาการแทรกซ้อนอะไร ระหว่างคลอดหรือไม่ และอาหารประเภทไหนที่ควรลด หรือควรกินเพิ่มในช่วงใกล้คลอด
6. การกินยาตอนตั้งครรภ์
ถ้ามีโรคประจำตัวต้องกินยาเป็นประจำ สามารถกินยาตัวนี้ต่อได้หรือไม่ หากพบว่าคุณแม่มีโรคประจำตัว ควรถามคุณหมอถึงอาการแบบไหนถือว่าเป็นอาการปกติ และอาการแบบไหนที่ต้องรีบไปพบแพทย์
7. การมีเพศสัมพันธ์กับสามี
ระหว่างตั้งครรภ์ มีข้อห้ามสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์หรือไม่ และมีเพศสัมพันธ์ได้ช่วงไหน
8. ค่าใช้จ่าย
ในการชำระค่าฝากครรภ์ ค่าคลอด การรับสิทธิประกันสังคม สิทธิพิเศษเรื่องการชำระเงินมีอะไรบ้าง
การฝากครรภ์นั้นมีประโยชน์อย่างไร
- เพิ่มความสบายใจและมั่นใจในการดูแลสุขภาพ : เนื่องจากการฝากครรภ์ครั้งแรก คุณแม่มือใหม่หลายท่านยังกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของทารก ดังนั้นการฝากครรภ์คือการสร้างความมั่นใจ ความสบายใจว่าเรามีคุณหมอที่พร้อมดูแล และให้คำปรึกษาตลอดช่วงอายุการตั้งครรภ์ไปจนถึงเวลาคลอด
- เพื่อดูว่าครรภ์ปกติหรือไม่ : ครรภ์อ่อน ๆ มีความบอบบางและต้องการดูแลในช่วงแรกอย่างมาก ยิ่งรีบไปฝากครรภ์จะยิ่งช่วยให้คุณหมอวินิจฉัยโรคบางอย่างที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ได้เร็ว เช่น ครรภ์เป็นพิษ โรคโลหิตจาง พร้อมรับแนวทางการแก้ไขไปด้วยกันกับคุณหมอ
- เพื่อวางแผนการตั้งครรภ์ : การฝากครรภ์คือการปรึกษาแนวทางหากคุณแม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งสามารถรักษาและแก้ไขได้ ซึ่งคุณหมอจะช่วยดูแลและแนะนำให้คุณแม่ปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องเพื่อตัวเองและลูกน้อย ให้เกิดอันตรายน้อยที่สุดทั้งระหว่างตั้งครรภ์ไปจนถึงวันคลอด
- วางแผนคลอดลูก : ระยะเวลาที่ฝากครรภ์กับคุณหมอ จะมีช่วงตรวจสุขภาพ ทั้งนี้เป็นการช่วยปกป้องลูกน้อย ไม่ให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด หรือแท้ง หรือคลอดมาแล้วเสียชีวิต อีกทั้งระหว่างคลอดยังช่วยป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ หลังจากนั้น เมื่อคลอดเสร็จ คุณหมอจะแนะนำการดูแลสุขภาพของลูก ทั้งเรื่องน้ำหนัก ความแข็งแรง และการฉีดวัคซีนของเด็กแต่ละช่วงอีกด้วย
หลังจากตรวจครรภ์ครั้งแรกแล้ว คุณแม่มือใหม่จะได้รับสมุดบันทึกประจำตัว ลงรายละเอียดเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายโดยรวมเมื่อเริ่มตั้งครรภ์ เวลาตรวจครรภ์ทุกครั้งควรนำสมุดเล่มนี้มาด้วยเสมอ เพื่อคุณแม่จะได้ทราบถึงสุขภาพครรภ์ในแต่ละเดือน และไตรมาส แนะนำว่า คุณแม่ควรมีสมุดบันทึกไว้อีก 1 เล่ม เพื่อจดบันทึกการรับประทานอาหาร อาการแทรกซ้อนเล็ก ๆ น้อย ๆ การใช้ยาต่าง ๆ รวมไปถึงการออกกำลังกายในแต่ละวัน ซึ่งจะได้นำมาประกอบกับผลตรวจและปรึกษาคุณหมอหากมีข้อสงสัยใด ๆ ได้ค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ท้องกี่สัปดาห์ถึงใช้ที่ตรวจครรภ์ได้ ตรวจตั้งครรภ์ เร็วสุดกี่วัน
อายุครรภ์ 4 เดือน อยากให้ลูกฉลาดต้องกินของบำรุงคนท้องเหล่านี้
7 ความคิดแม่ กับการทำอัลตราซาวด์ครั้งแรก
แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการฝากครรภ์ครั้งแรก ได้ที่นี่ !
ฝากครรภ์ครั้งแรก ต้องเตรียมตัว เตรียมเอกสารอะไรไปบ้างคะ
ที่มา: Kapook, nakornthon