5 สัญญาณบอกว่า ลูกนอนน้อยไป นอนไม่พอ เสี่ยงพัฒนาการถดถอย

เรื่องนอนคือเรื่องที่สำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ของเด็กในวัยนี้ หากนอนไม่เพียงพอ ก็จะส่งผลเสียหลายอย่างเลยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากลูกนอนไม่เพียงพอ จนเผย 5 สัญญาณบอกว่า ลูกนอนน้อยไป เสี่ยงพัฒนาการถดถอย เเละหากลูกนอนน้อยบ่อยๆ จนเรื้อรัง จะทำให้มีปัญหาด้านการนอน ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นโรคสมาธิสั้นหรือ ADHD หรือเป็นโรคซึมเศร้าได้ค่ะ ยังไม่นับรวมถึงพัฒนาการด้านสมองเเละร่างกายที่ไม่เป็นไปตามวัยอีกด้วย เนื่องจากโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) อาจจะทำงานไม่ดีหรือไม่ทำงานเลยนะคะ

 

คุณพ่อคุณแม่รู้ไหม? พัฒนาการทางสมองของลูกเกิดขึ้นตลอดเวลา แม้ในยามหลับ

ในช่วงเวลานอนของลูก เป็นช่วงเวลาที่สมองลูกสร้างและเชื่อมต่อเซลล์นับล้าน ดังนั้น การนอนที่มีคุณภาพจะทำให้เซลล์สมองพัฒนาได้เต็มที่ ส่งเสริมการเรียนรู้และความจำของลูก ทำให้ลูกพร้อมทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้เต็มประสิทธิภาพและเรียนรู้ได้ต่อเนื่องตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะการเสริมด้วยนมอุ่น ๆ ย่อยง่ายหลังอาหารเย็น จะช่วยทำให้ลูกหลับดีขึ้น เลือกนมที่มีสารอาหารสำคัญอย่าง MFGM เพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา

 

การนอนของเด็กแต่ละช่วงวัย นอนแบบไหนถึงจะเพียงพอ 

การที่เด็กได้นอนหลับอย่างเพียงพอ ไม่เพียงช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย ยังมีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมองอย่างเต็มที่อีกด้วย และเพื่อเป็นแนวทางให้คุณพ่อคุณแม่ได้นำไปปรับใช้ให้ลูกได้นอนหลับอย่างเพียงพอ แนะนำให้นอนตามเวลา ดังต่อไปนี้

  • ทารกแรกเกิด – จะะมีภาวะหลับตื่นสลับกันไปตลอดทั้งวัน เด็กแรกเกิดจะนอนประมาณวันละ 16 – 18 ชั่วโมง ซึ่งรวมทั้งเวลานอนปกติตอนกลางคืนและเวลานอนระหว่างวัน 
  • ทารก 1 – 2 เดือน ควรนอนให้ครบ 15-16 ชั่วโมงต่อวัน โดยแบ่งเป็นช่วงกลางวัน    7 – 8 ชั่วโมง และกลางคืน 8 – 9 ชั่วโมง
  • ทารก 3 – 5 เดือน ควรนอนให้ครบ 15 ชั่วโมงต่อวัน โดยแบ่งเป็นช่วงกลางวัน 5 – 6 ชั่วโมง และกลางคืน 9 – 10 ชั่วโมง
  • ทารก 6 – 8 เดือน ควรนอนให้ครบ 14 – 15 ชั่วโมงต่อวัน โดยแบ่งเป็นช่วงกลางวัน 3 – 4 ชั่วโมง และกลางคืน 10-11 ชั่วโมง
  • ทารกวัย 9 – 11 เดือน ควรนอนให้ครบ 14 ชั่วโมงต่อวัน โดยแบ่งเป็นช่วงกลางวัน   3 ชั่วโมง และกลางคืน 11 ชั่วโมง
  • เด็กอายุ 1 – 1.5 ขวบ ควรนอนให้ครบ 13 – 14 ชั่วโมงต่อวัน โดยแบ่งเป็นช่วงกลางวัน 2 – 3 ชั่วโมง และกลางคืน 11 – 12 ชั่วโมง
  • เด็กอายุ 2 ขวบ ควรนอนให้ครบ 13 ชั่วโมงต่อวัน โดยแบ่งเป็นช่วงกลางวัน 1-2 ชั่วโมง และกลางคืน 11-12 ชั่วโมง
  • เด็กอายุ 3 ขวบ เวลานอนจะลดลงเหลือ 12 ชั่วโมง การงีบนอนตอนบ่ายจะเลิกประมาณ 3 – 4 ปี จนกระทั่งถึง 5 ขวบ เด็กต้องการเวลานอน เพียง 11 ชั่วโมง

ส่วนเด็กวัยเรียนต้องการการนอนประมาณ 9 – 12 ชั่วโมง เด็กแต่ละคนอาจต้องการจำนวนชั่วโมงในการนอนแตกต่างกัน พ่อแม่จะรู้ได้ว่าลูกนอนหลับพักผ่อนเพียงพอหรือไม่ โดยสังเกตจากพฤติกรรมของลูกระหว่างวัน เช่น สามารถปลุกตื่นได้ง่าย ไม่ผล็อยหลับตอนกลางวัน เมื่อเข้านอนสามารถหลับได้ภายใน 15 – 30 นาที

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สัญญาณที่บอกว่า ลูกนอนน้อยไป ให้พ่อแม่หมั่นสังเกต

1. ลูกมีอาการเหม่อ ไม่สนใจที่จะทำอะไรทั้งนั้น ในตอนเช้า

อ้างอิงจากมูลนิธิการนอนเเห่งชาติ (The National Sleep Foundation หรือ NSF) หากเด็กๆ มีอาการเหม่อหรือไม่อยากทำอะไรในช่วงเช้า เป็นสัญญาณว่าลูกน้อยของคุณพ่อคุณเเม่นอนหลับไม่เพียงพอเเล้วค่ะ เพราะว่าง่วงจนอยากจะอยู่นิ่งๆ ไม่มีเเรงหรือมีกะจิตกะใจที่จะทำอะไรทั้งนั้น หากลูกมีอาการเเบบนี้ ควรเอาลูกนอนระหว่างวันด้วยนะคะ

2. ขยี้ตาบ่อยๆ

การขยี้ตาบ่อย ๆ หาวบ่อย ๆ เเสดงว่าลูกเหนื่อยค่ะ เเละนอนหลับพักฟื้นร่างกายไม่เพียงพอเสียด้วยสิ เเต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะนิสัยของเด็กเเต่ละคนด้วย ว่ามีพฤติกรรมใดบ้างที่เเสดงออกว่า หนูง่วงเเล้วนะ อย่างที่บอกว่าเด็กเเต่ละคนนั้นไม่เหมือนกันค่ะ คุณพ่อคุณเเม่คือคนที่รู้ดีที่สุดว่าลูกมีพฤติกรรมเเบบใด เนื่องจากเป็นคนที่อยู่ใกล้ชิดลูกที่สุดยังไงละคะ

3. ขี้เซา ปลุกยาก

ไม่ใช่เรื่องที่ต้องเป็นกังวลหรือเครียดไป หากลูกจะนอนนานขึ้นอีกหน่อย หากลูกน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์ โดยเฉพาะถ้าเพิ่งกินอื่มๆ ไปละก็ เขาจะยิ่งนอนนานขึ้นไปอีก ไม่ต้องปลุกเขาขึ้นมาหรอกค่ะ ปล่อยให้นอนไปเถอะ เด็กที่มีสุขภาพดีนั้นคือเด็กที่พักผ่อนเพียงพอยังไงละคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. มีการเปลี่ยนตารางหรือกิจวัตรประจำวัน

การไปเที่ยวในวันหยุดยาว มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ฟันขึ้น เวลาเปลี่ยน(จากการเดินทาง) สิ่งเหล่านี้เป็นการรบกวนกิจวัตรการนอนของลูกทั้งสิ้น ลูกจึงต้องการการพักผ่อนที่มากกว่าเดิมนั่นเองค่ะ บางอย่างอาจจะดูไม่เกี่ยว บางอย่างอาจจะส่งผลทางอ้อม สังเกตได้ง่ายๆ คือ อาการของลูกที่เเสดงออกมาเเตกต่างจากเดิมหรือไม่อย่างไรค่ะ

5. หลับๆ ตื่นๆ

การตื่นบ่อยในช่วงเวลากลางคืนนำไปสู่การง่วงนอนในตอนเช้าได้ เเม้ว่าลูกจะนอนหลับถึง 12 ชั่วโมงก็ตาม เพราะการตื่นทุกๆ 2-3 ชั่วโมงนั้นทำให้ร่างกายของลูกอ่อนเพลียค่ะ อ้างอิงจากมูลนิธิการนอนเเห่งชาติพบว่า เด็กๆ เเต่ละคนนั้นต้องการเวลาในการนอนที่เเตกต่างกันออกไป มาตรฐานขั้นต่ำคือเวลาที่เด็กๆ ต้องการนอนในช่วงอายุของเขา

 

ลูกนอนน้อยไป นอนไม่พอ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกอย่างไร

ดร.ไมเคิล ลิม ที่ปรึกษาแผนกกุมารเวชกรรมโรคปอดเด็กและการนอนหลับ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ได้สรุปผลเสียของการที่ลูกนอนน้อย นอนไม่เพียงพอ หรือภาวะการอดนอนของเด็กดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • โกรทฮอร์โมนเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตในวัยเด็ก โดยระดับโกรทฮอร์โมนที่สูงที่สุดจะหลั่งออกมาในกระแสเลือดในช่วงหลับลึก ดังนั้น การนอนไม่พอจึงอาจทำให้การหลั่งของโกรทฮอร์โมนลดลง ซึ่งสามารถส่งผลต่อความสูงและการเจริญเติบโตของเด็ก
  • การนอนหลับจะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กคงอยู่ในสภาพที่ดี การขาดการนอนหลับจะมีผลกระทบในเชิงลบกับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • ช่วงเวลาการนอนของเด็กไม่ใช่แค่การพักผ่อน แต่ยังเป็นช่วงเวลาที่มีการซ่อมแซมหัวใจและหลอดเลือดของเด็ก ดังนั้น การนอนหลับไม่เพียงพอ อาจนำไปสู่​​ความเสี่ยง ของการเกิดโรคหัวใจและโรคไต ความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเมื่อเด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่
  • การนอนหลับจะช่วยให้เด็กรักษาสมดุลของฮอร์โมนที่ทำให้เขารู้สึกหิว (ghrelin) หรืออิ่ม (leptin) เมื่อลูกของคุณนอนหลับไม่เพียงพอก็จะส่งผลให้เขารู้สึกหิวมากกว่าตอนที่เขาได้รับการนอนหลับที่เพียงพอ และนี่อาจนำไปสู่​​ปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องอาหารในอนาคต เช่น โรคอ้วน
  • นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพออาจส่งผลต่อการทำงานของสมองได้ เนื่องจากงานวิจัยพบว่าการนอนไม่พอ อาจส่งผลกระทบต่อสมองส่วนที่ใช้ในการคิดเหตุผลและการควบคุมอารมณ์ ทำให้สมองส่วนนั้นพัฒนาล่าช้าหรือพัฒนาได้ไม่เต็มที่ 

 

ลูกนอนหลับไม่เพียงพอ ส่งผลต่อสมอง ความจำ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

ในขณะที่ลูกนอนหลับ จะมีคลื่นสมองชนิดหนึ่งเกิดขึ้นมาเรียกว่า Sleep spindles ซึ่งการเกิด Sleep spindles ในปริมาณที่เพียงพอ จะทำให้เกิด Memory refreshment ทำให้ความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในวันต่อมาดียิ่งขึ้น และมีการศึกษาว่า sleep spindles ยังสัมพันธ์กับ IQ ของเด็กและวัยรุ่นด้วย

นอกจากนี้ ความจำระยะสั้นนั้น เป็นการเก็บข้อมูลของสมองส่วน Hippocampus และจะส่งข้อมูลไปเก็บความจำระยะยาวที่เนื้อสมองส่วน Cerebral cortex ซึ่งจะทำงานได้ดีช่วงหลับลึก หรือ Slow wave sleep นั่นเอง

โดยสรุปแล้ว การนอนหลับให้เพียงพอ มีผลต่อ การเรียนรู้ ความจำ และยังมีผลต่อ Executive function ของสมอง สมาธิ และการควบคุมอารมณ์อีกด้วย แต่หากนอนหลับไม่เพียงพอ ก็จะส่งผลตรงกันข้าม ไม่ว่าจะเป็นสมองที่ตอบสนองช้า ความจำไม่ดี สมาธิสั้น อารมณ์ไม่คงที่ เป็นต้น 

 

เคล็ดลับช่วยให้ลูกหลับสบาย หลับง่าย หลับสนิทตลอดคืน 

  • กิจกรรมก่อนเข้านอนควรไม่เกิน 30-45 นาที ควรเป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กรู้สึกสบายเช่น การเล่านิทานก่อนนอน หรือการร้องเพลงกล่อมนอน
  • ปรับสภาพแวดล้อมของห้องนอนให้เป็นห้องที่เงียบ ไม่มีทีวีและอุปกรณ์อิเลกทรอนิคส์ อุณหภูมิพอเหมาะ ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป และควรเป็นห้องที่มืดโดยมีม่านบังแสงในเวลากลางคืน และเปิดให้รับแสงแดดเป็นการปลุกในตอนเช้า
  • ในช่วงระหว่างวันในเด็กเล็กควรให้นอนกลางวันไม่เกินบ่ายสาม และไม่ให้นอนมากเกินไป สามารถดูช่วงเวลานอนที่เหมาะสมได้ในข้างต้น 

 

เสริมคุณภาพการนอนที่ดีให้ลูกแล้ว อย่าลืมเสริมสารอาหารสมองอย่าง MFGM และ DHA 

แม้ว่าการนอนอย่างมีคุณภาพ จะมีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการสมอง ความจำ สมาธิ และการเรียนรู้ที่ดีของลูก แต่ถ้าคุณแม่อยากเพิ่มผลลัพธ์ของการพัฒนาสมองให้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ลูกสามารถพัฒนาสมองได้เต็มศักยภาพทั้งในช่วงกลางวันและตอนกลางคืน ควรเสริมด้วยโภชนาการที่มีสารอาหารสำคัญต่อสมองของลูกควบคู่กันไปด้วย ดังนี้

MFGM (Milk Fat Globule Membrane) เยื่อหุ้มอนุภาคไขมันที่พบได้ในนมแม่ ผลิตจากต่อมน้ำนม ทำหน้าที่ช่วยห่อหุ้มอนุภาคไขมันในนมให้คงรูปอยู่ได้ อุดมไปด้วยไขมันและโปรตีนชีวภาพมากกว่า 150 ชนิด เช่น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด และแกงกลิโอไซด์ ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างปลอกหุ้มเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งสัญญาณของประสาท และช่วยในการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ทำให้สมองทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาสมองและสติปัญญา โดยสารอาหารใน MFGM เมื่อทำงานร่วมกับ DHA จะช่วยเพิ่มโอกาสการเชื่อมต่อเซลล์สมองมากกว่าการได้รับ DHA เพียงอย่างเดียว

DHA กรดไขมันโอเมก้า 3 ชนิดหนึ่ง ซึ่งจำเป็นต่อร่างกาย เป็นส่วนประกอบของเซลล์ทุกเซลล์ มีหน้าที่สำคัญในการทำงานของระบบประสาทและสมอง โดย DHA จะช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาท เรียกว่า เดนไดรต์ (Dendrite) ซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณและสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง ทำให้เกิดความจำและการเรียนรู้ จากผลการวิจัยพบว่าเด็กที่ได้รับ DHA จะมีพัฒนาการของสมองและสายตา ความสามารถในการจำ และการแก้ปัญหาดีกว่าเด็กที่ไม่ได้รับ DHA อย่างเพียงพอ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เมื่อลูกรักได้นอนหลับอย่างมีคุณภาพตลอดทั้งคืน สมองก็จะพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง ตื่นเช้ามาจะรู้สึกสดชื่น สดใส ร่าเริง พร้อมเรียนรู้ในวันใหม่ ซึ่งสารอาหารสมองอย่าง MFGM และ DHA ถือว่ามีบทบาทสำคัญที่ส่งผลต่อพัฒนาการด้านอารมณ์ ช่วยพัฒนาทักษะด้านภาษาและการสื่อสารที่ซับซ้อนมากขึ้น ส่งเสริมการมองเห็นที่ดี รวมทั้งช่วยเพิ่มสมาธิ ทำให้เด็ก ๆ จดจ่อกับการเรียนได้นานยิ่งขึ้น ทั้งหมดนี้ย่อมส่งผลดีต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของลูกในทุก ๆ ด้าน

 

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีความสนใจในการเสริมสร้างพัฒนาการสมองของลูกให้ต่อเนื่องตลอดทั้งวัน และอยากทำความรู้จักสารอาหารสมองของลูกรักมากขึ้น สามารถเข้ามาศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน ที่นี่

 

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

8 สัญญาณเตือน ลูกพัฒนาการช้า ที่พ่อแม่สังเกตได้ตั้งแต่แรกเกิด

วิธีรับมือ ลูกง่วง/เหนื่อยเกินไปจนไม่ยอมนอน

นี่สิ ข้อดีของการนอนกอดลูกจนหลับ

นอนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ จะมีผลเสียอะไรบ้าง และต้องนอนกี่ชั่วโมงถึงจะเพียงพอ?