5 วิธีเสริมภูมิคุ้มกันลูกให้แข็งแรง เตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้ตลอดเวลา

การเรียนรู้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกได้พัฒนาไปได้อย่างเต็มที่ คุณพ่อคุณแม่ควรเร่งหา วิธีเสริมภูมิคุ้มกันลูกให้แข็งแรง เพื่อเตรียมพร้อมเรียนรู้อยู่เสมอ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การเรียนรู้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกน้อยพัฒนาไปได้อย่างเต็มที่และสมวัย เด็ก ๆ จะพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อ อารมณ์ การเข้าสังคม และความคิดสร้างสรรค์ผ่านการเล่นของพวกเขา ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรเร่งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูก เพื่อเตรียมพร้อมร่างกายให้แข็งแรงพร้อมเรียนรู้อยู่เสมอ

โรคที่พบได้บ่อยเมื่อลูกมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

ทุก ๆ เปิดเทอม ลูกไปโรงเรียนได้ไม่กี่วัน ทางคุณครูก็มักจะแจ้งงดการเรียนการสอน เพราะมีเพื่อนร่วมชั้นของลูกเป็นโรคติดต่อ และพอไปโรงเรียนอีกครั้ง ไม่กี่วันก็ต้องหยุดเรียนอีก บ้านไหนลูกแข็งแรงก็จะไม่ติดเชื้อ ส่วนบ้านไหนที่ภูมิตกภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็มักจะติดเชื้อไปตามระเบียบ ซึ่ง 2 โรคที่เด็ก ๆ เป็นกันบ่อย คือ

  • RSV (Respiratory Syncytial Virus) โรคทางระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อยในเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง หากมีอาการรุนแรงอาจทำให้เป็นปอดบวมหรือปอดอักเสบ และทำให้เกิดภาวะหายใจล้มเหลวได้ในที่สุด
  • ไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) มักจะระบาดในฤดูฝนและฤดูหนาวของบ้านเรา ซึ่งจะเป็นช่วงที่เด็ก ๆ เปิดเทอม เชื้อไข้หวัดใหญ่ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ ชนิด A, B และ C โรคไข้หวัดใหญ่มีอาการเริ่มต้นเหมือนไข้หวัด แต่หากมีอาการรุนแรงจะทำให้เกิดปอดอักเสบ และเสียชีวิตได้

โรคที่เกิดขึ้นเมื่อภูมิคุ้มกันของลูกอ่อนแอยังมีอีกมาก ซึ่งหนทางที่จะป้องกันลูกจากเชื้อโรคเหล่านี้ได้ จำเป็นต้องสร้างความแข็งแรงให้กับระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อย

สร้างภูมิคุ้มกันหลังคลอดให้ลูกได้อย่างไร

เมื่อลูกได้ออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน หรือเข้าสู่สังคมโรงเรียนจะมีโอกาสสัมผัสเชื้อโรคได้บ่อย ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันจะมีการจดจำเชื้อโรคที่เป็นสิ่งกระตุ้น และตอบสนองได้เร็วขึ้น เมื่อได้รับการ กระตุ้น ซึ่งภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาในภายหลัง แบ่งออกได้ 2 แบบ ดังนี้

  • ภุมิคุ้มกันแบบเจาะจง (Adaptive Immunity) เป็นภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นได้เอง หลังจากได้รับเชื้อเข้ามา เพื่อลดความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะต้องติดเชื้อเดิม
  • ภูมิคุ้มกันที่รับมาจากภายนอก (Passive Immunity) เป็นภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากภายนอก ที่ร่างกายนำมาช่วยป้องกันการติดเชื้อ ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เช่น ลูกดื่มนมแม่จะได้รับภูมิคุ้มกัน ในช่วงที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต และเมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่ง ภูมิคุ้มกันนี้จะค่อย ๆ ลดลงและหมดไป

จะเห็นได้ว่าการดื่มนมแม่นั้นสามารถช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อผ่านไประยะหนึ่งหลังจากลูกไม่ได้ดื่มนมแม่ต่อเนื่อง ภูมิคุ้มกันของลูกจะอ่อนแอลง เพื่อให้ลูกมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง คุณแม่ควรปฏิบัติดังนี้ 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. ดูแลให้ลูกได้รับโภชนาการที่ดี 

การให้ลูกดื่ม น้ำนมเหลือง หลังคลอดจะเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกได้ดีที่สุด เพราะในน้ำนมเหลืองมีสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน อย่าง แลคโตเฟอร์ริน โปรตีนที่มีความสำคัญในการกำจัดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสที่ก่อโรคบริเวณลำไส้ และ MFGM ที่มีการศึกษาแล้วพบว่า MFGM ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน (1) รวมทั้งลดการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนและภูมิแพ้ในเด็ก (2) การดูแลให้ลูกดื่มนมแม่ระยะที่ 3 อย่างต่อเนื่องก็มีความสำคัญ เพราะในน้ำนมแม่ยังมีสารอาหารช่วยเสริมสร้างดูแลระบบภูมิคุ้มกันอยู่มาก แต่หากลูกไม่ได้ดื่มนมแม่แล้ว การเสริมโภชนาการที่มี แลคโตเฟอร์ริน และ MFGM อย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ก็เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกได้ 

  1. ดูแลระบบทางเดินอาหารให้ทำงานได้เป็นปกติ

หากลำไส้มีแบคทีเรีย ไวรัสก่อโรคเป็นจำนวนมาก แต่มีแบคทีเรียดีน้อย หรือมีปริมาณ แลคโตเฟอร์ริน น้อย จะทำให้ลำไส้ขาดสมดุลและส่งผลเสียต่อระบบภูมิคุ้มกันตามมา ถ้าหากการดูดซึมอาหารทำงานได้ไม่ดี ก็จะส่งผลให้พัฒนาการด้านต่างสะดุดได้  

  1. พักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนพักผ่อนเป็นการช่วยทำให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ ที่เป็นเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันขึ้นมา ส่งผลทำให้ร่างกายแข็งแรงมากยิ่งขึ้น สำหรับเด็กเล็กการนอนหลับให้เพียงพอถือเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากจะช่วยในเรื่องของภูมิคุ้มกันแล้ว ยังทำให้พัฒนาการด้านต่าง ๆ พัฒนาได้อย่างเต็มที่ได้อีกด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ทั้งยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลดีต่อเม็ดเลือดขาวในการจัดการกับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้ามาในร่างกาย คุณพ่อคุณแม่สามารถชวนเด็ก ๆ ทำกิจกรรมขยับร่างกาย อย่างการตีแบด เต้นแอโรบิก ปั่นจักรยาน นอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรง ยังทำให้สมาชิกในครอบครัวได้ใช้เวลาอยู่ด้วยกันด้วย

  1. โรคร้ายมีมาใหม่เรื่อย ๆ วัคซีนต้องอัปเดต

การมาของ โควิด-19 ทำให้เรารู้ว่าวัคซีนมีความสำคัญ และสามารถต้านทานโรคได้จริง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลให้ลูกได้รับวัคซีนเป็นพื้นฐานตามช่วงวัยที่กำหนดไว้ และอาจจะพิจารณาให้ลูกได้รับวัคซีนเสริมตามสมควร 

นอกจากนี้ การฝึกให้ลูกมีสุขอนามัยที่ดี เช่น กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ และสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่ชุมชน ก็เป็นหนทางที่จะช่วยให้ลูกไม่เจ็บป่วยบ่อยและมีภูมิคุ้มกันแข็งแรงได้เช่นกัน สำหรับคุณแม่ที่ต้องการเสริมโภชนาการให้ลูกน้อย ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อ้างอิง 

(1) Timby N et al.Pediatr Gastroenterol Nutr.2013;60:384-389

(2) Birch EE et al.J Nutr.2010;156 (6):902-906

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

11 อาหารเพิ่มภูมิคุ้มกันเด็ก เสริมภูมิต้านทาน แข็งแรงสมวัย

ลูกผ่าคลอดแข็งแรงได้ ด้วยโภชนาการที่ถูกต้อง สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกตั้งแต่แรกเกิด

แลคโตเฟอรินในนมแม่ ป้องกันแบคทีเรียให้ทารก ให้นมลูกไม่ได้ควรทำอย่างไร

ตารางอาหารทารกแรกเกิด – 1 ปี ลูกน้อยควรกินเท่าไหร่ใน 1 วัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

threenuch