5 สเต็ปพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เจ้าตัวน้อย

การเรียนรู้ที่จะยอมรับและควบคุมอารมณ์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ และเราในฐานะพ่อแม่ จะช่วย พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของลูก ได้อย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5 สเต็ปพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของลูก

Denise Daniels นักเขียนและผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการสังคมและอารมณ์ของเด็กได้ให้คำแนะนำ 5 ข้อในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ของเด็ก จากประสบการณ์ของเธอไว้อย่างน่าสนใจดังนี้

  1. สนับสนุนให้ลูกได้เล่นในสิ่งที่เขาอยากเล่น

ให้ลูกเลือกเองว่าอยากเล่นอะไรและเล่นแบบไหน พ่อแม่ไม่ควรพูดว่า ลูกต้องเล่นแบบนี้สิ แบบนั้นสิ ควรปล่อยให้ลูกได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยในเรื่องพัฒนาการสมองของลูกเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์กับลูกอีกมากมาย อาทิ ในเรื่องของการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ ได้ฝึกการตัดสินใจ และรู้จักแก้ปัญหาต่างๆ

แม้พ่อแม่จะไม่เข้าไปก้าวก่ายการเล่นของลูก แต่เมื่อไรก็ตามที่ลูกต้องการความช่วยเหลือจากคุณ หรืออยากให้คุณมีส่วนร่วมกับเขา อย่าลังเลที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมนะคะ ทั้งนี้คุณแม่ไม่จำเป็นต้องแก้ปัญหาทั้งหมดให้ลูก แต่ควรกระตุ้นลูกโดยการตั้งคำถามว่า ลูกคิดว่ายังไงจ๊ะ? หรือ เราจะไปหาคำตอบที่ไหนกันดี? เป็นต้น

  1. สอนลูกให้รู้จักอารมณ์ตัวเอง

เมื่อลูกบอกว่า เขารู้สึกกลัว โศกเศร้า หรือกำลังโกรธ คุณพ่อคุณแม่ควรแสดงความเห็นอกเห็นใจ แทนที่จะบอกลูกว่า “ไม่เอาน่าอย่ารู้สึกแบบนั้น” การพูดเช่นนั้นจะเป็นการปิดโอกาสในการสื่อสารกับลูก ทำให้ลูกรู้สึกผิดที่แสดงอารมณ์เช่นนั้นออกมา แล้วลูกจะไม่เล่าให้คุณฟังอีกว่า เขากำลังรู้สึกอย่างไร เพราะเขาไม่ได้รู้สึกว่าพ่อแม่สนใจและเข้าใจความรู้สึกของเขา

  1. หยุดความคิดของคุณ ก่อนทำร้ายลูกด้วยคำพูด

บางครั้งพ่อแม่อาจพูดหรือทำโดยไม่คิด เช่น พูดว่า “ไม่มีอะไรน่ากลัวเลย” แม้จะดูเป็นคำพูดปกติที่ไม่มีพิษมีภัย แต่แม่รู้ไหม มันอาจทำให้เจ้าตัวน้อยรู้สึกว่าเขาด้อยค่า ไม่เก่ง และไม่สำคัญ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อลูกในระยะยาว เช่น เขาอาจเติบโตขึ้นมากับความกลัวที่ถูกห้ามไม่ให้แสดงอารมณ์ความรู้สึก หรืออาจมีภาวะซึมเศร้า ความอัดอั้นนี้อาจทำให้เขาระเบิดคำพูดแรงๆ ออกมาในวันใดวันหนึ่งก็ได้

เพราะฉะนั้น เมื่อลูกของคุณทำบางอย่างที่เขารู้ว่ามันผิด อย่าเพิ่งโพล่งถ้อยคำเชิงลบออกไป แต่ควรหยุด หายใจลึกๆ และคิดให้ดีก่อน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. ฟังลูกอย่างเข้าใจ

ถามลูกว่าเพราะอะไรเขาจึงทำเช่นนั้น เด็กบางคนจงใจทำเพราะรู้สึกเบื่อ หรืออยากเรียกร้องความสนใจ หรืออาจมีเหตุผลอื่นๆ การรับฟังลูกอย่างเห็นอกเห็นใจจะทำให้ลูกยอมพูดกับคุณอย่างหมดเปลือก และทำให้คุณได้เข้าใจเหตุผลว่าทำไมลูกจึงแสดงพฤติกรรมเช่นนั้นออกมา ซึ่งจะดีกว่าการลงโทษลูกด้วยอารมณ์ แต่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาให้กับลูก

  1. พ่อแม่ก็ควรเคารพลูกเช่นกัน

พ่อแม่บางคนเอาแต่สนใจสมาร์ทโฟนในมือ ในขณะที่ลูกตัวน้อยก็พยายามจะเรียกให้พ่อแม่สนใจ “พ่อจ๋า พ่อจ๋า พ่อจ๋า พ่อจ๋า…” แต่ไม่มีสัญญาณตอบรับใดๆ ทำให้ลูกเริ่มใช้วิธีตะโกนเสียงดังขึ้น ซึ่งพ่อแม่มักไม่พอใจที่ลูกทำเหมือนไม่เคารพพ่อแม่เช่นนี้ แต่คุณอาจลืมมองพฤติกรรมของตัวเอง เช่น คุณไม่เคาะประตูก่อนเข้าห้องลูก ไม่เคารพความเป็นส่วนตัวของลูก สิ่งเหล่านี้เองที่ลูกมักจะเรียนรู้และเลียนแบบจากการกระทำของพ่อแม่ เพราะฉะนั้น หากคุณทำให้ลูกเห็นว่าคุณเคารพคนอื่น ลูกของคุณก็จะเรียนรู้ที่จะทำแบบเดียวกับคุณ

แม้คำแนะนำของ Denise อาจจะไม่ได้ทำตามได้ง่ายๆ แต่ยังไม่สายที่คุณพ่อคุณแม่จะเริ่มสอนเจ้าตัวน้อยให้รู้จัก เข้าใจ และจัดการอารมณ์ของตัวเอง ซึ่งทำอย่างต้องอาศัยเวลาและการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา www.inc.com

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

4 วิธีพัฒนา EQ ลูก

5 ความเชื่อผิด ๆ ในการเลี้ยงดูส่งผลเสียต่อ IQ และ EQ ของลูกได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา