น้ำตาซึม 5 กิจการ ถูกชะลอออกไปอีก 14 วัน

น้ำตาซึม 5 กิจการ ถูกชะลอออกไปอีก 14 วัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลังถูกหลอกให้ดีใจได้ไม่กี่ชั่วโมง เมื่อทาง กทม. เห็นชอบให้ผ่อนคลาย เปิดสถานประกอบการ 5 ประเภทได้ ซึ่งจะมีผลทันทีในวันที่ 1 มิ.ย. เป็นต้นไป แต่แล้วก็ต้อง น้ำตาซึม เมื่อ 5 กิจการ ถูกชะลอออกไปอีก 14 วัน หลังจากประกาศออกมาได้ไม่กี่ชั่วโมง

เมื่อทางที่ประชุมคณะกรรมการโรคติต่อกรุงเทพมหานคร ได้มีมติพิจารณาให้สถานประกอบการบางประเภทที่ไม่พบคลัสเตอร์การระบาด สามารถเปิดกิจการได้ โดยมาตรการผ่อนคลายจะเริ่มตั้งแต่ วันที่ 1 มิ.ย. 64 แต่แล้วทาง ศบค. ก็มาดับฝัน ประกาศให้ 5 กิจการ ถูกชะลอออกไปอีก 14 วัน หลังจากมีการประกาศผ่อนปรนของการ กทม. ออกมาได้เพียงไม่กี่ชั่วโมง

 

ศบค. ออกมาระงับการผ่อนปรนของทาง กทม.

ศบค. ออกมาชะลอคำสั่งผ่อนปรนมาตรการของกทม.

โดยการประกาศผ่อนปรนของทาง กทม. นั้น พิจารณาถึงการที่ไม่พบคลัสเตอร์การระบาด หรือการติดต่อ จากสถานประกอบการดังกล่าว และมีการปิดต่อเนื่องมายาวนาน จนทำให้เกิดความยากลำบาก ทั้งกับตัวเจ้าของกิจการเอง และพนักงาน ทำให้ทาง กทม. พิจารณาให้สามารถเปิดสถานประกอบการได้อีกครั้งหนึ่ง โดยมี 5 ประเภทกิจการดังนี้

  1. พิพิทธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์สถาน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น รวมถึงพิพิธภัณฑ์ในลักษณะทำนองเดียวกัน ศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ อุทยานวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แหล่งประวัติศาสตร์โบราณสถาน และหอศิลป์ ทั้งนี้ ให้เปิดได้ภายใต้มาตรการที่เข้มงวด เช่น ห้ามเข้าเยี่ยมชมเป็นกลุ่มคณะที่มีการรวมตัวกันจำนวนมาก
  2. สถานที่สักหรือเจาะผิวหนังหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ร้านทำเล็บ ทั้งนี้ ให้เปิดได้ภายใต้มาตรการที่เข้มงวด เช่น หากพบการติดเชื้อในสถานบริการจำพวกนี้ ให้ปิด 14 วัน
  3. สถานที่ให้บริการควบคุมน้ำหนัก คลินิกเสริมความงาม สถานเสริมความงาม และคลินิกเวชกรรมเสริมความงาม
  4. สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ (ร้านสปา ร้านนวดเพื่อสุขภาพ ร้านนวดเพื่อเสริมความงาม) สถานประกอบการนวดแผนไทย (งดเว้น การอบตัว อบสมุนไพร หรืออบไอน้ำ และการนวดบริเวณใบหน้า) นวดฝ่าเท้า
  5. สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ และสวนดอกไม้ ทั้งนี้ ให้เปิดภายใต้มาตรการที่เข้มงวด เช่น ห้ามไม่ให้มีการนั่งร่วมกลุ่ม และไม่ให้นำอาหารเข้ามารับประทาน ยกเว้นน้ำดื่ม

สำหรับสถานประกอบการประเภทอื่น ยังคงให้ปิดตามประกาศปิดสถานบริการ เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 29) ต่อไปจนถึงวันที่ 14 มิ.ย. 64

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : วัวยังได้ฉีด!! วัคซีนสกัดลัมปีสกิน “6 หมื่นโดส” ลอตแรก กระจายทั่ว 35 จังหวัด

เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความคาดหวังของทุกคนจะได้กลับมาใช้ชีวิตเหมือนปกติ คือการฉีดวัคซีนให้ทั่วถึง

หลังจากการประกาศออกมาของ กทม. ทำให้มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันออกมาหลายฝ่าย เนื่องจาก ปัจจุบัน มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 และมียอดสูง หลักพัน ติดต่อกันมาโดยตลอด การประกาศผ่อนปรนในครั้งนี้ จึงถือเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อสถานการณ์ดังกล่าวเป็นอย่างมาก

จนทำให้ทาง ศบค. ออกมาชะลอมติของทาง กทม. ออกไปอีก 14 วัน หลังจากมีประกาศของกทม. มีมติให้ผ่อนปรน 5 สถานประกอบการออกมาเพียงไม่ถึง 5 ชั่วโมง โดยทาง ศบค. ให้ใช้ประกาศกรุงเทพมหานครขยายการปิดกิจการ และกิจกรรมที่มีความเสี่ยงทั้งหมด ตามประกาศฉบับที่ 29 ออกไปอีก 14 วัน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำให้เกิดกระแสงงงวยกันอย่างมากว่า ทำไมทาง กทม. และทาง ศบค. ไม่มีการปรึกษากันให้เรียบร้อยก่อนจะประกาศมติพิจารณากันออกมา เพราะจากเหตุการณ์เหล่านี้ ทำให้หลายคนต่างรู้สึกถึงความไม่มีเสถียรภาพของการทำงานในภาพรวม และทำให้ประชาชนเกิดความสับสนได้

ในขณะที่บรรดาผู้ประกอบการ กลับมีความหวัง ในการเปิดกิจการหลังจากปิดมาพักใหญ่ได้เพียงไม่กี่ชั่วโมง หลังจากนั้นก็ต้องมานั่งน้ำตาซึม รอคอยความหวังกันต่อไป ซึ่งความหวังทั้งหมดของกิจการต่าง ๆ นั้น มีเพียงแค่การกระจายการฉีดวัคซีนป้องกันให้ทั่วถึงโดยเร็ว จะได้สามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้อีกครั้ง

แต่ไม่วายก็มีหลายเสียงที่อยากจะบอกทาง กทม. ทางรัฐบาล และหน่วยงานต่าง ๆ ว่า การจะประกาศมาตรการอะไรมาก็แล้วแต่ อยากให้ประชุมพิจารณากันให้เรียบร้อย แล้วจึงค่อยประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ มิเช่นนั้น จะทำให้ประชาชนเกิดความสับสนในการรับข้อมูลที่เกิดขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ที่มา : facebook , facebook

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ดราม่าการ จองฉีดวัคซีนวันแรก เพจ ไทยร่วมใจ กับสารพัดดราม่า

เปิดธุรกิจสวนกระแสโควิด หนูเล็ก ก่าก๊า กลัวลูกอดอยาก จับธุรกิจหลายมือ

 

บทความโดย

Arunsri Karnmana