ความรู้เรื่องการมองของเด็กทารก

ทารกเกิดมายังมองเห็นได้ไม่เหมือนคนปกตินะคะ เด็กยังต้องใช้เวลาปรับตัวกับโลกใบใหม่ของเขานอกครรภ์แม่ เรามาดูกันดีกว่าว่าทารกมองเห็นตอนไหนและอย่างไรกันบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกมองเห็น

7 ปัจจัยสร้างลูกน้อยสมองดีตั้งแต่ในครรภ์

1. อายุคุณแม่

คุณแม่ที่มีเจ้าตัวน้อยในวัย 30 มีแนวโน้มที่ลูกจะฉลาด ตามการวิจัยของ the London School of Economics ทั้งนี้การที่ลูกฉลาดอาจไม่ได้เป็นเพราะอายุของแม่ แต่พบว่าแม่ที่มีลูกคนแรกในวัยสามสิบนั้น มักจะมีการศึกษาที่สูงขึ้น มีรายได้มากขึ้น มีความสัมพันธ์ที่มั่นคงมากขึ้น มีไลฟ์สไตล์ที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น มีการวางแผนก่อนจะมีบุตร และมีการหาความรู้ในการดูแลครรภ์เป็นอย่างดี

บทความแนะนำ เชื่อหรือไม่!! คุณแม่ ท้องอายุ 30 ปี ส่งผลให้ “ลูกฉลาดแข็งแรง” ที่สุด

2. ความรักและการเอาใจใส่เจ้าตัวน้อย

คุณแม่ที่แสดงออกถึงความรักที่มีต่อเจ้าตัวน้อย เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ลูกมีสุขภาพดี มีความสุข และรู้สึกผ่อนคลาย การสื่อความรักด้วยการพูดคุยกับลูกในท้องอย่างอ่อนโยนจะส่งผลดีต่อความจำ และอารมณ์ของเจ้าตัวน้อย นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างพื้นฐานด้านภาษาที่ดีอีกด้วย

บทความแนะนำ “คุยกับลูกในท้อง” วิธีที่พ่อมิค-แม่เบนซ์ส่งผ่านความรักถึงลูกสาวในท้อง (ชมคลิป)

3. น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสม

การที่คุณแม่น้ำหนักเพิ่มมากเกินไประหว่างตั้งครรภ์ส่งผลให้ลูกตัวโต คลอดยาก ซึ่งอาจมีความเสี่ยงต่อสมองของเจ้าตัวน้อย แต่หากคุณแม่น้ำหนักเพิ่มน้อยเกินไปก็ส่งผลให้ทารกศีรษะและสมองเล็ก ทำให้ลูกมีระดับไอคิวต่ำ ทั้งนี้น้ำหนักที่เหมาะสมของคุณแม่ท้องควรเพิ่มขึ้น 10-12 กิโลกรัมตลอดการตั้งครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความแนะนำ คุมน้ำหนักตอนท้องอย่างไร ให้น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์พอดี

4. อาหารทะเล ปลา และโอเมกา-3

นักวิจัยพบว่าทารกที่เกิดจากคุณแม่ที่มีระดับกรดไขมันโอเมกา-3 หรือดีเอชเอในเลือดสูงกว่า จะมีความสามารถในการจดจ่อได้ยาวนานกว่า โดยพบว่าในเด็กอายุ 6 เดือนจะจดจ่อได้ดีกว่าเด็กที่คุณแม่มีระดับดีเอชเอต่ำกว่าถึงสองเดือน นอกจากนี้ยังพบว่า การที่คุณแม่รับประทานปลามากขึ้นระหว่างตั้งครรภ์สามารถเพิ่มไอคิวของลูกได้ และการรับประทานปลาในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรกดูเหมือนจะมีผลต่อคะแนนการทดสอบไอคิวของลูกมากกว่า เมื่อเที่ยบกับคุณแม่ที่รับประทานปลาในภายหลัง

องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) แนะนำให้รับประทานอาหารทะเลไม่เกิน 340 กรัมต่อสัปดาห์ หรือประมาณ 2 มื้อต่อสัปดาห์ โดยให้รับประทานปลาที่หลากหลายและเลือกอาหารทะเลที่มีสารปรอทต่ำ เช่น กุ้งทะเล ปลาแซลมอน ปลาดุกทะเล ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน และปลากะตัก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความแนะนำ สุดยอดอาหารบำรุงครรภ์ 10 อย่าง

5. เบคอนและไข่

ดร. เจอรัลด์ เวสแมน บรรณาธิการบริหาร the Federation of American Societies for Experimental Biology journal กล่าวว่า เบคอนและไข่ช่วยเพิ่มพลังสมองให้ลูกในครรภ์ เนื่องจากโคลีนซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญในการพัฒนาสมองในส่วนของการจดจำข้อมูลใหม่และระลึกถึงความทรงจำที่เก็บไว้

บทความแนะนำ โคลีนพัฒนาสมองทารกตั้งแต่ในครรภ์

6. การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์มีประโยชน์ต่อการหายใจของเจ้าตัวน้อยในครรภ์ และการพัฒนาระบบประสาทอัตโนมัติ จากการศึกษาของ The American Physiological Society พบหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า คุณแม่ที่ยังคงออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์มีลูกที่ฉลาดกว่า นอกจากนี้การศึกษาของ the University of Montreal พบว่า หากคุณแม่ท้องออกกำลังกายเพียง 20 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ช่วยเพิ่มการทำงานของสมองทารกแรกเกิดได้ การเต้นแอโรบิคช่วยเพิ่มการทำงานของไมโทคอนเดรียในสมองของแม่ ซึ่งทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ โดยจะส่งผ่านไปทางรกและเป็นประโยชน์ต่อสมองของทารกในครรภ์เช่นเดียวกัน

บทความแนะนำ 7 วิธีออกกำลังกาย แม่ตั้งครรภ์ควรลอง

7. คลอดในสัปดาห์ที่ 41

ตามรายงานของวารสาร JAMA Pediatrics พบว่า ทารกที่คลอดเมื่ออายุครรภ์ 41 สัปดาห์ เมื่อเข้าสู่วัยเรียนจะมีคะแนนสอบที่สูงกว่า และมีเปอร์เซ็นต์ที่จัดอยู่ในกลุ่มปัญญาเลิศสูงกว่า ในขณะที่มีเปอร์เซ็นต์ในกลุ่มสติปัญญาต่ำน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม หากเด็กอยู่ในครรภ์แม่นานถึง 42 สัปดาห์ถือว่าตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอดอาจเป็นอันตรายต่อทั้งแม่และลูกได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อยากให้ลูกมีพัฒนาการสมองดี แม่ต้องสร้างและบำรุงลูกด้วยโภชนาการที่ดีมาตั้งแต่ตอนที่ลูกอยู่ในท้อง และเมื่อลูกคลอดออกมาแล้วอาหารที่มีส่วนช่วยบำรุงสมองก็ยังมีความจำเป็นอย่างต่อเนื่อง และนอกจากอาหารก็ต้องกระตุ้นพัฒนาการสมองลูกด้วยกิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะสมตามวัยลูกด้วย

https://www.facebook.com/theAsianparentTH/?ref=bookmarks

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ลูกท้องผูก ทำไงดี

ทำอย่างไรเมื่อลูกร้องไห้ไม่หยุด