พัฒนาการทารก 2 เดือน เทคนิคสื่อสารกับลูก และวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย

พัฒนาการทารก 2 เดือน เด็กวัยนี้ต้องมีพัฒนาการอะไรบ้าง จะรู้ได้ยังไงว่าลูกน้อยมีพัฒนาการปกติไหม และวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยควรทำอย่างไร มาดูกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการทารก 2 เดือน เด็กๆ วัยนี้จะมีพัฒนาการอะไรเพิ่มบ้าง พัฒนาการ ทารก 2 เดือน ตอนนี้คุณพ่อคุณแม่คงทำความรู้จักกับลูกน้อยมากขึ้นอีกหน่อยแล้ว เริ่มรู้ใจว่าลูกชอบอะไรไม่ชอบอะไร และเริ่มรู้ว่าควรสื่อสารกับลูกแบบไหน คราวนี้มาดูกันดีกว่าว่าทารก 2 เดือน ต้องมีพัฒนาการยังไง และควรทำอย่างไรบ้าง

พัฒนาการเด็ก 2 เดือน พัฒนาการด้านร่างกายของทารก 2 เดือน

1. ทารก2เดือน กล้ามเนื้อคอและศีรษะ

เด็กในวัย 2 เดือนจะเริ่มควบคุมร่างกายได้มากขึ้น สามารถที่จะเริ่มเงยหน้ามองดูพ่อแม่ได้เล็กน้อย เวลาที่คุณนั่งหรือเดินห่างออกไปที่อื่น รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกายที่ทำได้ดีมากขึ้น

 

2. ทารก2เดือน กลิ้งไปกลิ้งมาก

พอลูกน้อยเคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้น พ่อแม่จะต้องระมัดระวังมากขึ้นเวลาที่ต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกน้อย หากคุณเปลี่ยนผ้าอ้อมบนโตะ โซฟา หรือบริเวณที่ที่อยู่สูงกว่าพื้น เพราะเจ้าตัวเล็กอาจจะดิ้น กลิ้งไปกลิ้งมาอย่างสนุกสนาน จนเกือบตกจากที่สูงได้

 

3. ทารก2เดือน ดูดนิ้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กวัยนี้บางคนจะเริ่มต้นอมกำปั้นน้อย ๆ ของตัวเอง หรือเริ่มดูดนิ้วมือตัวเอง คุณแม่ไม่ต้องตกใจนะคะ เพราะเป็นวิธีปลอบตัวเองทารก และยังทำให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลายด้วยค่ะ

 

4. น้ำลายไหลยืด

เมื่อต่อมน้ำลายลูกน้อยมากขึ้นการหลั่งน้ำลายก็จะมากขึ้นตาม บางครั้งคุณแม่คุณพ่อคงจะเห็นว่าลูกเล่นอยู่ดี ๆ ก็น้ำลายยืด บางทีก็เล่นน้ำลายตัวเองซะงั้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติของเด็ก

ทักษะที่ลูกควรทำได้: เมื่อนอนควํ่า ลูกน้อยสามารถยกศีรษะตั้งขึ้นได้ 45 องศา นาน 3 วินาที

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อุปกรณ์ในการกระตุ้นพัฒนาการ กรุ๋งกริ๋ง

 

วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย

  1. จัดให้ลูกอยู่ในท่านอนควํ่า ข้อศอกงอ
  2. หยิบของเล่นมาเขย่าตรงหน้าลูกน้อย เมื่อลูกมองที่ของเล่นแล้วก็ค่อย ๆ เคลื่อนของเล่นขึ้นด้านบนเพื่อให้ลูกเงยหน้าจนศีรษะยกขึ้น นับ 1, 2
  3. ค่อยๆ เคลื่อนของเล่นลงมาอยู่ตรงหน้าลูกเหมือนเดิม
  4. ทําซํ้าอีกครั้งโดยเขย่าของเล่นตรงหน้าลูกน้อย เมื่อลูกมองที่ของเล่นแล้วก็ค่อยๆ เคลื่อนของเล่นขึ้นด้านบนห่างจากจุดเดิมเพื่อให้ลูกเงยหน้าจนยกศีรษะขึ้น นับ 1, 2, 3
  5. ค่อย ๆ เคลื่อนของเล่นลงมาอยู่ตรงหน้าลูกเหมือนเดิม

พัฒนาการทางด้านประสาทสัมผัสของทารก 2 เดือน

1. สายตา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตอนนี้ลูกน้อยของคุณจะเริ่มมองเห็นได้ไกลขึ้นอีกหนน่อย โดยสามารถมองเห็นหน้าคนที่เลี้ยงดูเขาได้ในระยะ 60 ซม. เริ่มแยกเยอะสีที่ต่างกันได้บ้างแล้วนะ โดยเฉพาะสิ่งรอบตัวที่มีสีสันสดใส แต่ต้องเป็นสีที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น สีแดง ขาว ดำ และสิ่งของที่มีรูปร่างหนา ๆ ได้

 

2. การได้ยิน

ด้านการได้ยินลูกน้อยก็มีพัฒนาการที่ดีมากขึ้น คือ เริ่มแยกความแตกต่างในเสียงที่ได้ยินบ่อย เช่น เสียงพ่อ กับเสียงแม่ออกแล้ว ทำให้ทุกครั้งที่ได้ยินเสียงที่เค้าคุ้นเคย เด็กก็จะมีปฎิกิริยาตอบกลับโดยจะหันศีรษะไปตามต้นทางของเสียงที่ได้ยินทันที ซึ่งเสียงของคุณนี้จะทำให้ลูกรู้สึกถึงความสบายใจและอุ่นใจได้ หากคุณอยากให้ทารกสามาถจดจำเสียงได้ แนะนำให้พูดคุย ร้องเพลง หรือเล่านิทานกับลูกบ่อย ๆ นะคะ

ทักษะที่ลูกควรทำได้ ลูกสามารถมองตามสิ่งของจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง

อุปกรณ์ในการกระตุ้นพัฒนาการ ลูกบอลผ้าสักหลาดสีแดง

 

วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย

  1. จัดให้ลูกอยู่ในท่านอนหงาย
  2. ถือของเล่นสีสดใสไม่มีเสียงห่างจากหน้าลูก 30 ซม. (1 ไม้บรรทัด) และอยู่ในตำแหน่งเลยจุดกึ่งกลางของใบหน้าลูกไปทางซ้ายเล็กน้อย
  3. กระตุ้นให้ลูกสนใจโดยแกว่งของเล่นให้ลูกจ้องมอง แล้วค่อยๆ เคลื่อนของเล่นนั้นให้ผ่านจุดกึ่งกลางใบหน้าลูกไปทางด้านขวาและสลับมาทางด้านซ้าย

หมายเหตุ ถ้าลูกไม่มองตาม ให้ช่วยเหลือโดยการประคองหน้าลูกน้อยเพื่อให้หันมามอง และอาจใช้ใบหน้าแม่กระตุ้นโดยการแสดงสีหน้า ยิ้ม ทำปากพูดคุยแต่ไม่ออกเสียง ให้ลูกมองตาม

พัฒนาการทางด้านความรู้ความเข้าใจของทารก 2 เดือน

1. เริ่มจดจำใบหน้าได้

เคยสังเกตุบ้างไหมว่าลูกน้อยอายุ 2 เดือน จะเริ่มจดจ่อใบหน้าคนที่คุ้นเคยได้ไกลขึ้น เมื่อก่อนต้องเอาหน้าเข้าใกล้ ๆ ลูกถึงจะจ้อง แต่คราวนี้แค่เดินเข้าไปใกล้หน่อย หนูน้อยก็เริ่มจ้องหน้าแล้ว หากอยากเล่นกับลูกแนะนำให้เล่นจ๊ะเอ๋ กับลูกค่ะ เด็ก ๆ จะชอบมาก

2. ยิ้มแฉ่ง

เตรียมหัวใจของคุณให้พร้อม เพราะลูกน้อยพร้อมจะจู่โจมคุณด้วยรอยยิ้มแรกแล้วนะ ถ้าแม่ๆ อยากให้ลูกน้อยยิ้มบ่อย ๆ ยิ้มเรื่อย ๆ แนะนำให้ทำหน้าตลก ๆ แปลก ๆ ดูบ้างสิ เดี๋ยวลูกน้อยก็จะเผยรอยยิ้มที่สดใสออกมาเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ร้องไห้เมื่อเบื่อ

ในวัย 1 เดือนลูกจะร้องไห้เพราะง่วง หิว ร้อน อับชื้น แต่พอ 2 เดือน ลูกจะเริ่มร้องด้วยสาเหตุอื่นมากขึ้น เช่น ร้องไห้ เพื่อบอกว่าเล่นจนเบื่อแล้วนะ ทำกิจกรรมนี้เบื่อแล้ว หรือรู้สึกแย่ ไม่พอใจ หากลูกเริ่มแสดงพฤติกรรมเป็นลูกขี้เบื่อแบบนี้ แม่ ๆ ลองหาวิธีเล่นกับลูกดู ลูกน้อยจะได้มีอะไรเล่นสนุกแก้เบื่อได้

ทักษะที่ลูกควรทำได้: ลูกน้อยสามารถมองหน้าคุณแม่ได้นาน 5 วินาที

 

วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย

  1. จัดลูกในท่านอนหงาย หรืออุ้มลูกให้หน้าแม่ห่างจากลูกประมาณ 60 ซม. (2 ไม้บรรทัด)
  2. สบตาและพูดคุยให้ลูกสนใจเช่น ทําตาโต ขยับริมฝีปาก ยิ้ม หัวเราะ
หมายเหตุ สามารถฝึกได้ในหลาย ๆ สถานการณ์ เช่น ขณะที่อุ้มลูก ขณะให้นมลูก ขณะอาบนํ้า

ทักษะที่ลูกควรทำได้: ลูกทําเสียงในลำคอ (เสียง “อู” หรือ “อือ”) อย่างชัดเจน

  1. จัดลูกอยู่ในท่านอนหงาย คุณแม่นั่งข้างลูก และยื่นหน้าเข้าไปหาลูกในระยะห่างประมาณ 60 ซม. (2 ไม้บรรทัด)
  2. คุณแม่สบตาและพูดคุยให้ลูกสนใจ แล้วทําเสียง อู หรือ อือ ในลำคอให้ลูกได้ยิน หยุดฟังเพื่อรอจังหวะ ให้ลูกส่งเสียงตาม
  3. เมื่อลูกออกเสียง “อู” ได้ ให้ผู้ปกครองเปลี่ยนไปฝึกเสียง “อือ” และรอให้ลูกออกเสียงตาม

พัฒนาการทางด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคมของทารก 2 เดือน

หนูน้อยวัยนี้จะเริ่มมีเสียงในลำคอ สิ่งสำคัญที่พ่อแม่ควรทำคือต้อง สื่อสารและพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ ถึงแม้ว่าลูกจะยังไม่สามารถพูดด้วยได้ก็ตาม เพียงแต่เป็นการกระตุ้นให้เด็กได้เริ่มต้นพูดคำแรกนั่นเอง หากพ่อแม่ไม่รู้จะพูดคุยกับลูกแบบไหนดี ลองทำตามคำแนะนำนี่ดูนะคะ

  • พูดกับกับลูกช้า ๆ ให้ชัดเจน เพราะ ลูกน้อยจะคอยสังเกตรูปปากของคุณขณะที่พูดออกมาค่ะ
  • พยายามพูดเลียนแบบลูกน้อย ลูกพูดอะไร พ่อแม่ก็พูดตาม
  • ตอบโต้ลูกน้อยเวลาที่เค้าพูดถึงแม้ว่าคุณจะไม่เข้าใจก็ตาม
  • สื่อสารกับลูกด้วยท่าทางอื่น ๆ เช่น การโบกมือ ปรบมือ เป็นต้น
  • เลียนแบบการแสดงสีหน้า ท่าทาง ไม่ว่าลูกจะยิ้มหรือหัวเราะ เพื่อเสริมสร้างการสื่อสารระหว่างกัน

ทักษะที่ลูกควรทำได้: ลูกน้อยสามารถยิ้มหรือส่งเสียงตอบได้ เมื่อคุณแม่แตะต้องตัวและพูดคุยด้วย

วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย พัฒนาการเด็ก2เดือน

  1. จัดลูกอยู่ในท่านอนหงาย คุณแม่นั่งข้างลูก และยื่นหน้าเข้าไปหาลูก
  2. สบตาลูกและสัมผัสเบาๆ พร้อมกับพูดคุยกับลูก เป็นคาพูดสั้นๆ ซํ้าๆ ช้าๆ เช่น “ว่าไงจ๊ะ.. (ชื่อลูก)..คนเก่ง” “ยิ้มซิ” “ลูกดี” “.. (ชื่อลูก)..ลูกรัก” “แม่รักลูกนะ”
  3. หยุดฟังเพื่อรอจังหวะให้ลูกยิ้มหรือส่งเสียงตอบ

หมายเหตุ สามารถฝึกได้ในหลายๆ สถานการณ์ เช่น ขณะที่อุ้มลูก โดยให้หน้าลูกอยู่ระดับเดียวกับหน้าแม่ขณะอาบนํ้า หรือขณะนวดสัมผัส

เมื่อไหร่ควรพาลูกไปหาหมอ

  1. ไม่ตอบสนองต่อเสียงดัง เช่น เสียงหมาเห่า เสียงเปิด-ปิดประตูดัง เสียงไซเรนรถพยาบาล เป็นต้น
  2. ไม่ยิ้มให้กับพ่อแม่ หรือคนที่รู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี
  3. ไม่มีการขยับศีรษะหรือสายตาตามสิ่งที่สนใจ
  4. ไม่เอามือจับปาก
  5. ไม่มีการผงกศีรษะขึ้นเล็กน้อย

หากพ่อแม่สังเกตดูแล้วว่า ลูกน้อยวัย 2 เดือนมีอาการไม่ตอบสนองตามที่ระบุไว้ แสดงว่าลูกน้อยอาจมีพัฒนาการที่ผิดปกติ หลังจากลองทำตามวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยแล้ว แนะนำให้ลองปรึกษาคุณหมอ เพื่อหาวิธีกระตุ้นพัฒนาการเพิ่มเติมค่ะ

ติดตามพัฒนาการทารกขวบปีแรก

*ภาพและข้อมูลมีลิขสิทธิ์เจ้าของโดย บริษัท ทิคเกิ้ลมีเดีย จำกัด ไม่อนุญาตให้คัดลอกข้อมูล และนำรูปภาพไปเผยแพร่ต่อไม่ว่าวิธีใด ๆ หากฝ่าฝืน ทางบริษัทฯจะดำเนินการตามกฎหมาย เว้นแต่ได้มีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางบริษัทฯเรียบร้อยแล้ว

 

ที่มา: theAsianparent SG คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 5 ปี

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เกิดอะไรขึ้นบ้าง เมื่อลูกอายุ 2 เดือน

ป้อนกล้วยลูก 2 เดือน ป้อนกล้วยลูกครั้งแรก ก่อน 6 เดือน ทารกเสี่ยงเสียชีวิต แม่อย่าทำ

ครบ 2 เดือนแล้ว ลูกจะน่ารักน่าฟัด มีพัฒนาการถึงไหนแล้ว

บทความโดย

Khunsiri