คุณแม่หลายท่านอาจสงสัยว่า มดลูก จะเข้าอู่เมื่อไหร่ และมีวิธีสังเกตจากอะไร จะรู้ได้อย่างไรว่า มดลูก เข้าอู่แล้ว หากมดลูกไม่เข้าอู่จะมีผลเสียอะไรตามมาไหม
มดลูกเข้าอู่คืออะไร ?
ในเวลาที่คุณแม่มีเจ้าตัวน้อย เจ้าตัวน้อยก็จะมีมดลูกของคุณแม่ที่เหมือนบ้าน เมื่อลูกในท้องเริ่มโตขึ้น มดลูกของคุณแม่ก็เริ่มขยายขึ้นเช่นกัน ซึ่งหลังคุณแม่คลอดลูกแล้ว มดลูกก็จะกลับคืนสู่สภาพเดิม คนส่วนใหญ่เลยเรียกว่า มดลูกเข้าอู่
มดลูกเข้าอู่ สำคัญอย่างไร
หลังจากที่คุณแม่คลอดและพักฟื้นที่บ้านแล้ว คุณหมอจะนัดคุณแม่ตรวจสุขภาพ ในร่างกายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การขับถ่าย เรื่องของน้ำคาวปลา แผลฝีเย็บต่าง ๆ และคุณหมอก็จะตรวจดูว่ามอลูกคุณแม่รัดตัวเข้าสู่สภาวะปกติแล้วหรือยัง
บทความที่เกี่ยวข้อง : การดูแลแผลฝีเย็บหลังคลอด วิธีดูแลแผล และการกระชับฝีเย็บ
สังเกตจากอะไร ว่ามดลูกเข้าอู่แล้ว
ใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์นับจากที่คุณแม่คลอด สังเกตได้จากน้ำคาวปลาจะหมด ไม่ไหลออกมา ไม่มีตกขาวกลิ่นเหม็น ไม่มีอาการปวดท้อง เวลาคลำจะไม่เป็นก้อนแข็งที่หน้าท้อง
ทำยังไงให้มดลูกเข้าอู่ไว
- นวดหน้าท้อง : สามารถนวดท้องเพื่อให้มดลูกเข้าอู่ไว โดยการกดบริเวณที่มีก้อนกลม ๆ ค่อย ๆ นวดเบา ๆ หลังคลอดคุณแม่จะรู้สึกว่าหน้าท้องเหมือนมีลมนิ่ม ๆ อยู่ ให้ทำการนวดไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเป็นก้อนและมดลูกเข้าสู่สภาพปกติค่ะ
- ให้นม : การที่คุณแม่ให้นมลูก แล้วรู้สึกปวดท้องน้อย แสดงว่ามดลูกกำลังบีบตัว คุณแม่ที่ให้นมลูกจะทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วค่ะ
- อยู่ไฟ : การอยู่ไฟจะช่วยให้ร่างกายของคุณแม่ขับของเสียออกมา ทำให้ร่างกายเป็นปกติได้เร็ว
- ประคบด้วยอิฐเผาไฟ : นำอิฐเผาไฟให้ร้อนแล้วนำมาห่อด้วยใบพลับพลึงและห่อด้วยผ้าหลาย ๆ ชั้นเพื่อช่วยลดความร้อนแล้วนำมาวางตามร่างกายหรือหน้าท้อง หรือบริเวณใกล้ปากมดลูกเพื่อให้แผลสมานตัวได้เร็วขึ้นค่ะ
- ดื่มน้ำอุ่น : การดื่มน้ำอุ่น จะช่วยให้ มดลูกเข้าอู่ไวขึ้น และช่วยในเรื่องของน้ำนม ให้ไหลดีขึ้นด้วยค่ะ
- มีเพศสัมพันธ์ : การมีเพศสัมพันธ์หลังคลอดจะทำให้ฮอร์โมนทำงานได้ดี และยังช่วยทำให้มดลูกของคุณแม่เข้าอู่ได้เร็วยิ่งขึ้นค่ะ
- ทับหม้อเกลือ : ใช้เป็นการฟื้นฟูสภาพหลังคลอด ช่วยให้น้ำคาวปลาไหลได้สะดวก ช่วยบรรเทาอาการปวดมดลูก อาการเมื่อยล้า
- นวดประคบสมุนไพร : ช่วยในการขับน้ำคาวปลาทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว หน้าท้องยุบตัวไวขึ้น และช่วยในการบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้เป็นอย่างดี รวมถึงช่วยกระตุ้นและเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตอีกด้วย
- เข้ากระโจม : ช่วยให้หลอดเลือดขยาย หายใจได้สะดวกขึ้น ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้น และช่วยในการขับน้ำคาวปลาที่คั่งค้างอยู่ภายในมดลูกให้หมดเร็วขึ้น
มดลูกไม่เข้าอู่
- มดลูกใหญ่ มีขนาดใหญ่กว่าปกติ และระดับของยอดมดลูกไม่ลดลง
- น้ำคาวปลา โดยปกติแล้วในช่วงแรก ๆ หลังคลอด น้ำคาวปลาจะไหลออกมาปริมาณมากเป็นสีแดง หลังจากนั้นจะลดลงเรื่อย ๆ และกลายเป็นสีน้ำตาลจาง ๆ ต่อมาจะเป็นตกขาวปนกับน้ำคาวปลา และหมดไปในที่สุด แต่หากน้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็นมีปริมาณที่มากขึ้น และสีน้ำคาวปลาที่จางลงเปลี่ยนเป็นสีแดง นั่นเป็นการอาการมดลูกไม่เข้าอู่ ซึ่งอาจเกิดจากโพรงมดลูกติดเชื้อ
- มีอาการปวดท้องร่วมกับมีไข้ ในบางรายหลังคลอดมดลูกอาจหย่อนยานมาก ทำให้เกิดอาการปวดเสียวที่ท้องน้อย โดยเกิดจากมดลูกหลวม ซึ่งโดยส่วนมากแล้วหากอาการไม่รุนแรงก็อาจจะไม่ต้องทำการรักษาแต่หากมีอาการปวดท้องรุนแรงมาก อาจจะต้องทำการรักษาด้วยการตัดมดลูกทิ้งหรือเย็บเอ็นยึดมดลูกให้ตึงขึ้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการปวดมดลูก 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 71
หากมดลูกเข้าอู่ช้า เกิดจากอะไร สังเกตอย่างไร
เกิดจาก :
- การหดตัวของมดลูกไม่ดี มีเศษรกหรือหุ้มเยื่อทารกค้างในมดลูก มีก้อนเนื้องอกของมดลูก เช่น ครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้ำ หรือทารกในครรภ์หัวโตตัวโต
- การผ่าตัดคลอดเอาทารกออกทางหน้าท้อง
- ทารกไม่ได้ดูดนมแม่
- มีการติดเชื้อของมดลูก
- มดลูกคว่ำหน้ามากหรือคว่ำหลังมาก
วิธีสังเกต :
- คลำพบ ยอดมดลูกที่หน้าท้อง หรือ ระดับยอดมดลูกอยู่สูง
- ปวดท้องน้อย
- มีกลิ่นเหม็น
- น้ำคาวปลาออกนาน หรือ ออกมามาก
- มีน้ำคาวปลา ออกเป็นสีแดง
- อุณหภูมิในร่างกายสูง
- กดเจ็บที่มดลูก
- อาจเกิดการตกเลือดหลังคลอดในระยะหลังได้
สิ่งที่ห้ามทำหลังคลอด
- อย่าใช้แรงเยอะ
งดยกของที่หนักเกินไป หรืออกกำลังกายมาก ๆ ในช่วงนี้คุณแม่ควรงดไปก่อน เพราะอาจทำให้แผลเกิดการฉีกขาดได้ ไม่ว่าจะเป็นแผลคลอดธรรมชาติ หรือผ่าคลอด ควรรอแพทย์อนุญาตก่อน
- อย่าเบ่งถ่ายอุจจาระแรง
เนื่องจากกล้ามเนื้อที่คุณแม่ใช้เบ่งอุจจาระกับเบ่งคลอดเป็นกล้ามเนื้อเดียวกัน สำหรับคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติอาจจะต้องระวังเป็นพิเศษ ส่วนคุณแม่ที่ผ่าคลอดก็อาจทำให้เกิดการเจ็บแผลผ่าตัดได้ ทางที่ดีควรทานอาหารที่มีกากใยอาหารมากๆ ทานผักและผลไม้เยอะๆ รวมถึงพยายามดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการท้องผูกหลังคลอดค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : อึ ทารก บอกอะไรได้บ้าง อึแบบไหนลูกแข็งแรง
- ไม่ใส่เสื้อคับเกินไป
ไม่ควรใส่เสื้อผ้ารัดรูปจนเกินไป เพราะการที่รัดแน่นมาก ๆ อาจจะทำให้คุณแม่อึดอัด ยิ่งวันที่อากาศร้อน ๆ จะทำให้คุณแม่เหงื่อออกได้ง่าย เกิดการอับชื้นและการติดเชื้อได้ง่าย คุณแม่ควรเลือกใส่ชุดชั้นใน รวมถึงเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ไม่คับจนเกินไป ทั้
- เลี่ยงการแช่น้ำ
การแช่น้ำหลังคลอดทั้งจากสระว่ายน้ำหรืออ่างน้ำ หรือแม้แต่การเล่นน้ำทะเล น้ำคลองควรงดไปก่อน เพราะในช่วงที่คุณแม่ยังมีเลือดออกมาอยู่ ทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อได้ ทางที่ดีควรรอให้เลือดหยุดไหล หรือมดลูกเข้าอู่ก่อนจึงจะปลอดภัยยิ่งขึ้นค่ะ
ที่มา : tcvisdee , maerakluke