บล็อกหลังคลอด เป็นการฉีดยาชาเข้าในช่องไขสันหลังเพื่อระงับอาการปวด ทำให้เส้นประสาทที่อยู่บริเวณส่วนล่างของร่างกาย และ ขาทั้ง 2 ข้างชา แต่คุณแม่ จะยังรู้สึกตัวระหว่างคลอดลูก เป็นความรู้สึกสุดแสนประทับใจในช่วงเวลานั้น แต่การบล็อกหลังก็มักมีผลข้างเคียง และ นี่คือ 10 อย่างที่ คุณแม่หลังคลอด ขอบ่นเกี่ยวกับการบล็อกหลัง
1.ฉีดยาเข้าสันหลังต้องใช้ความอดทน
ขณะที่แพทย์ฉีดยาเข้าสันหลัง แม่ ๆ มักบ่นกันว่า มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะแม่ต้องนอนนิ่งในท่าคู้กอดขาที่งออยู่ ทำท่าคล้ายกับตัวกุ้ง นาน 10 นาที และ ต้องอยู่ในท่านี้จนกว่ายาจะออกฤทธิ์ อาจเนิ่นนานถึง 20 นาที ทั้งท้องที่โตเกินกว่าจะงอขาได้ง่าย ๆ และ อาการเจ็บท้องคลอดก็รุมเร้า ทำให้ขั้นตอนนี้ยากกว่าที่คิด
2.บล็อกหลังแล้วก็ต้องนอนรอเวลาบนเตียงห้ามไปไหน
เสียงบ่นจาก คุณแม่ที่ผ่านการบล็อกหลังมาแล้วก็คือ ณ ช่วงเวลาที่เจ็บปวดนั้น ไม่สามารถลุกเดินเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดได้เลย การบล็อกหลัง ทำให้ต้องนอนติดแหงกอยู่บนเตียงตลอดเวลา จึงรู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้ากว่าความเป็นจริง
3.ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ
การบล็อกหลังแพทย์ต้องฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ ทำให้ แม่ท้องลุกไปไหนไม่ได้ ต้องนอนอยู่บนเตียงเท่านั้น ส่วนทีมแพทย์ก็ต้องตรวจอัตราการเต้นของหัวใจเด็กว่าทุกอย่างเป็นปกติ หรือไม่
4.รู้สึกว่า ขาหายไป
หลังการผ่าคลอดแบบบล็อกหลัง แม่ ๆ จะขยับขาไม่ได้หลังผ่าตัดนานราวๆ 2-4 ชั่วโมง ทำให้หลายคนโอดครวญว่า ขาฉันอยู่ไหน เพราะพวกเธอไม่มีความรู้สึกอะไรเลยหลังจากที่บล็อกหลัง แถมบางคนยังมีอาการขาชาแค่ข้างเดียว เป็นสิ่งที่น่ารำคาญสุด ๆ
5.ตกอยู่ในภวังค์เพราะบล็อกหลัง
แม่ ๆ เผยความรู้สึกกับเราว่า พวกเธอรู้สึกเหมือนกำลังฝันตั้งแต่ ยาบล็อกหลังเริ่มออกฤทธิ์ ก็รู้สึกเหมือนอยู่ในภวังค์ ซึ่งสำหรับแม่บางคนนั้นอยากจะรู้สึก สัมผัส และ รับรู้ ความรู้สึกจริง ๆ ตั้งแต่เริ่มกระบวนการไปจนกระทั่ง พบหน้าลูกวินาทีแรก ถ้าคุณเป็นแม่ ที่อยากจะซึมซับทุกความรู้สึกเหล่านั้น การบล็อกหลังอาจจะไม่ใช่คำตอบ
6.แม้จะฉีดยาไปแล้ว แต่ฉันก็ยังเจ็บอยู่ดี
บางคนพบว่ายาบล็อกหลัง ทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงยังเจ็บปวดอยู่ ซึ่งการบล็อกหลังจะได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์ หรือไม่ขึ้นอยู่กับร่างกายของ คุณแม่ด้วย ถ้ายังรู้สึกเจ็บอยู่ แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดยาเข้าสันหลังอีกหนึ่งเข็ม แต่ก็ต้องเสี่ยงกับการชานานจนเกินไปหลังคลอด
7.มีอาการคลื่นไส้
พอเสร็จสิ้นกระบวนการคลอด แม่บางคนกลับมีอาการคลื่นไส้ บางคนถึงกับมีการอาเจียน ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ หนึ่งในสาเหตุนั้น คืออาการแพ้ยาชา ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และ คันตามร่างกาย ทั้งที่ใจแม่อยากจะอุ้มลูก สัมผัสเจ้าตัวน้อยอย่างใกล้ชิด แต่กลับมีอาการเหล่านี้มารบกวน น่าหงุดหงิดจริง ๆ
8.ไม่เข้าใจจังหวะเบ่งคลอด
เมื่อแม่ถูกบล็อกหลังจะทำให้ไม่รู้จังหวะการเบ่งคลอด จึงจำเป็นต้องมีแพทย์มาคอยเชียร์ให้เบ่งคลอดตามจังหวะของการหดรัดตัวของมดลูก ต่างจากแม่ที่ไม่ใช้ยาแก้ปวดหรือการบล็อกหลัง ที่รู้ว่าจังหวะไหนที่เธอต้องเบ่งคลอด เนื่องจากเป็นปฏิกิริยาของร่างกาย ซึ่งการเบ่งคลอดที่ไม่เป็นจังหวะนี้เอง อาจทำให้ปากมดลูกบวมได้
9.ปวดหลังตรงด้านที่ถูกฉีดยา
มักมีเสียงบ่นตามมาว่า ด้านที่ถูกฉีดยาจะเจ็บไปอีกหลายเดือน ซึ่งแม่ ๆ ที่ผ่านการบล็อกหลังต่างยืนยันว่า พวกเธอปวดหลังจริง สวนทางกับนักวิทยาศาสตร์ และ หมอที่ยืนยันว่า การบล็อกหลังไม่ทำให้ปวดหลัง
10.มีอาการปวดอื่นๆ ตามมา เช่น ปวดหัวและปวดคอ
แม้ว่านักวิจัยจะเชื่อว่า นี่ไม่ใช่ผลข้างเคียงของการบล็อกหลัง แต่ไม่รู้ทำไม ผู้หญิงหลายคนไม่สามารถอธิบายความเจ็บปวดได้ ทั้งอาการปวดหัวและปวดคอ
ไม่ว่าคุณแม่ จะเลือกวิธีคลอดแบบไหนก็ตาม ทั้งการคลอดธรรมชาติ การผ่าคลอด เลือกบล็อกหลัง หรือ ดมยาสลบ ก็ไม่สำคัญเท่าชีวิตน้อยๆ ที่คุณแม่รัก และหวงแหนตั้งแต่อยู่ในครรภ์ กำลังจะออกมาดูโลกใบกว้างใบนี้ ทางทีมงานขอเป็นอีกกำลังใจให้คุณแม่เข้มแข็งและขอให้ทั้งคุณแม่ และคุณลูกสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์นะคะ
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ ข้อมูลคุณภาพ และ สังคม คุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้ คุณแม่ และ เด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้ คุณแม่ ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และ ผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่ และเด็ก โภชนาการแม่ และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
บล็อคหลัง ปลอดภัยแค่ไหน มีข้อดี ข้อเสีย ของการบล็อคหลังมีอะไรบ้าง