10 สุดยอดภาพรก สวย ๆ
พบกับ สุดยอดภาพรก ความงาม 10 ภาพที่คุณแม่ทั้ง 10 ท่านแชร์สู่โลกโซเชียล ซึ่งภาพเหล่านี้ได้ถูกถ่ายโดยช่างภาพมากฝีมืออย่าง Emma Jean และ Monet Nicole เป็นต้น ซึ่งภาพดังกล่าวจะสวยงามขนาดไหน ต้องไปชมกันเองเลยค่ะ
ภาพนี้ถูกบันทึกโดย Emma Jean เธอต้องการสื่อให้ถึงความรักของสายใยที่มีระหว่างแม่กับลูก ถ้าสังเกตดี ๆ จะเห็นว่า สายสะดือ ภาพรก ความงาม ถูกร้อยเรียงเป็นคำว่า L-O-V-E ซึ่งแปลว่า รัก
Charlotte River แชร์ภาพนี้ ภายหลังจากที่เธอได้คลอดลูกคนที่สอง ดูรอยยิ้มของเธอสิคะ “ช่างสวยงามเสียจริง ๆ “ดูแล้วภาพนี้ไม่มีความโป๊แต่อย่างใด หากแต่เป็นภาพที่บ่งบอกถึงความรู้สึกได้ดีอย่างไม่ต้องมีคำพูดใด ๆ
ภาพนี้ ถูกบันทึกโดยช่างภาพชาวแคนนาดานามว่า Monet Nicole ซึ่งเป็นการคลอดในน้ำ ที่สวยงามและหาดูยากอีกภาพหนึ่งเลยทีเดียว
ภาพนี้เกิดขึ้นเพราะคุณแม่ไม่ต้องการที่จะทำการตัดสายสะดือทันทีหลังคลอด เธอจึงได้นำรกมาใส่ไว้ในถ้วยรูปหัวใจ และเรียกภาพนี้ว่า”การกำเนิดของดอกบัว”
ภาพนี้ถือเป็นภาพที่ทำให้เราเห็นถึง “รก” ได้เป็นอย่างดี ลองดูกันชัด ๆ สิคะว่า รกไม่ได้มีขนาดเล็กเลย ไม่แปลกว่าทำไม “รก” ถึงสามารถปกป้องลูกของเราได้เป็นอย่างดี
คุณแม่เมแกน แชร์ภาพรกและลูกสาวคนที่ 4 ของเธอด้วยความภาพภูมิใจ ลองดูสิคะ มหัศจรรย์จริง ๆ เลยใช่ไหมคะ
จุดกำเนิดของชีวิต ต้นกำเนิดของลมหายใจ ภาพแรกของการกำเนิดจาก Baby J
ภาพการคลอดลูกในน้ำ ที่คุณแม่ได้โพสต์ผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว เป็นอีกภาพหนึ่งทีดังมากในโลกของโซเชียลเลยละค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะสวยเหลือเกินเลยใช่ไหมละคะ ที่สำคัญไม่ได้สวยอย่างเดียว แต่ยังเต็มไปด้วยความหมายเสียอีกด้วยละค่ะ
รกคืออะไร
รกเป็นอวัยวะพิเศษที่อยู่ภายนอกร่างกายของทารก โดยจะติดอยู่กับผนังด้านในของมดลูกเชื่อมระหว่างมดลูกของมารดาและทารก และมีสายสะดือเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างรกกับทารก ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนสารอาหาร ออกซิเจน จากแม่ไปยังลูก และขับถ่ายของเสียจากลูกออกมาให้แม่กำจัด
รกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
เมื่อมีการตกไข่ ไข่จะเคลื่อนที่ไปในท่อนำไข่ จนมาถึงมดลูก และฝังตัวที่โพรงมดลูกประมาณวันที่ 6-7 หลังจากตกไข่ จากนั้นเซลล์เริ่มแบ่งตัวและพัฒนากลายเป็นตัวอ่อนทารก และรก ซึ่งประกอบด้วย เนื้อรก สายสะดือ และเยื่อหุ้มรก
รกทำหน้าที่อะไร
รกทำหน้าที่แทนระบบต่างๆ ในระหว่างที่เซลล์กำลังพัฒนาขึ้นเป็นอวัยวะต่างๆ
- แลกเปลี่ยนสารอาหารจากแม่สู่ลูกในท้อง (nutrition)
- หายใจ (respiration) รกเปรียบเสมือนปอด คือ เป็นจุดแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างแม่กับลูกน้อยในครรภ์
- ขับถ่ายของเสีย (excretion) ทำหน้าที่คล้ายกับไต คือ เป็นที่ขับถ่ายของเสียที่เกิดจากกระบวนการเมตาโบลิซึมของทารก
- สร้างฮอร์โมน (hormone production) ทำหน้าที่คล้ายกับเป็นต่อมไร้ท่อชั่วคราวในมดลูก ซึ่งสามารถผลิตฮอร์โมนมากมายที่จำเป็น ระหว่างตั้งครรภ์ ฮอร์โมนที่สำคัญได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเทอโรน
- ป้องกันอันตราย (protection) เป็นโครงสร้างที่ขัดขวางไม่ให้สารหรือ microorganism บางอย่างผ่านเข้าไปทำอันตรายต่อลูกอ่อน
- เป็นแหล่งเมตาโบไลต์สารบางอย่าง เช่น แอนติบอดี (antibody) หรือยาบางอย่างที่ได้รับจากแม่จะถูกรกปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่ไม่เป็นอันตรายพัฒนาการของรกรกจะมีพัฒนาการไปพร้อมๆ กับทารกในครรภ์ โดยจะมีขนาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยปกติเมื่ออายุครรภ์ครบกำหนด รกจะมีน้ำหนักประมาณ 500 กรัมเลยทีเดียว
จะเกิดอะไรขึ้นหากรกผิดปกติ
เมื่อมีความผิดปกติของรก อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของลูก และบางครั้งอาจเป็นอันตรายร้ายแรงต่อคุณแม่ด้วย
- รกเกาะต่ำ
โดยปกติตำแหน่งที่รกเกาะติดกับผนังมดลูกมักอยู่ที่บริเวณด้านบนของมดลูก โดยค่อนไปทางด้านหลังเล็กน้อย แต่ในคุณแม่ตั้งครรภ์บางรายจะมีลักษณะของรกที่เกาะตรงส่วนล่างของมดลูก หรือคลุมที่ปากมดลูก เรียกว่า รกเกาะต่ำ (Placenta previa)
ในช่วงใกล้คลอด มดลูกจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ปากมดลูกและส่วนล่างของมดลูกจะเริ่มบางตัวลง และยืดขยายมากขึ้น ทำให้รกเกิดมีรอยปริแยก และมีเลือดออกบริเวณที่รกเกาะ โดยจะไหลผ่านปากมดลูกลงมาในช่องคลอดออกมา หากเลือดออกมากและไม่หยุดไหล อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตคุณแม่และทารกในครรภ์ได้
บทความแนะนำ ภาวะรกเกาะต่ำขณะตั้งครรภ์ คืออะไร อันตรายแค่ไหน
- รกลอกตัวก่อนกำหนด
รกที่เกาะแน่นอยู่ที่ผนังมดลูกมีการลอกตัวก่อนการคลอด ทำให้คุณแม่มีเลือดออก มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ซีด ความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเต้นเร็ว กระสับกระส่าย หมดสติและช็อกได้
บทความแนะนำ รกลอกตัวก่อนกำหนด อาการที่แม่ท้องต้องระวัง
- รกฝังลึก
โดยปกติรกจะฝังตัวอยู่ที่เยื่อบุด้านในผนังมดลูก เมื่อทารกคลอดออกไปแล้ว รกก็จะลอกตัวและถูกคลอดตามออกมา แต่ในกรณีรกฝังลึก คือ การที่รกฝังลึกเข้าไปถึงกล้ามเนื้อ หรือบางรายทะลุออกนอกมดลูกเข้าอวัยวะอื่นที่อยู่ใกล้ๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะ หรือลำไส้ ทำให้เกิดปัญหา คือ หลังคลอด รกก็จะไม่คลอดออกมาด้วย ทำให้เกิดการติดเชื้อ และเสียเลือดมากหลังคลอด
- รกเสื่อม
รกถูกสร้างขึ้น และพัฒนาไปพร้อมกับทารกในครรภ์ เมื่อคลอดทารกออกมา รกก็จะหมดหน้าที่ลง ดังนั้น เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น รกจะค่อยๆ แก่ตัวลง และมีแคลเซียมเกาะ ทำให้ความสามารถในการทำงานของรกลดลง ส่งผลให้เลือดที่ส่งจากแม่ไปเลี้ยงทารกไม่เพียงพอ ทารกเจริญเติบโตช้า ลูกดิ้นน้อย หรือไม่ดิ้น จึงมีความเสี่ยงทารกเสียชีวิตในครรภ์สูง
บทความแนะนำ ภาวะรกเสื่อมคืออะไร อันตรายอย่างไร
รกมีความสำคัญขนาดนี้ ถึงแม้ช่วงชีวิตของรกมีแค่เพียง 10 เดือนแต่ก็ถือว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการสร้างและหล่อเลี้ยงชีวิตน้อยๆ ให้เจริญเติบโตอย่างแข็งแรงสมบูรณ์ภายในครรภ์ของแม่ตลอดการตั้งครรภ์ค่ะ
ที่มาจาก : https://th.theasianparent.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
วิจัยเผย คนท้องกินข้าวดึก มีผลต่อน้ำหนัก คนท้องกินข้าวมื้อดึกแล้วอ้วน
แพ้ท้องหนักมาก ใหม่ สุคนธวา แพ้ท้องลูกคนแรกจนอ้วกเป็นเลือด
20 เมนูเครื่องดื่มสำหรับเด็ก เครื่องดื่มดี ๆ ประโยชน์เน้น ๆ กินได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่