สิ่งที่ คุณแม่ ท้องแรก ควรรู้ ท้องแรกควรทำอย่างไรบ้างนะ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีกับคุณแม่ที่เพิ่งทราบว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์อยู่กันด้วยนะคะ นับว่าคุณเป็นผู้หญิงที่โชคดีมากที่ได้รับโอกาสนี้ และนับไปอีก 9 เดือนหลังจากนี้ ชีวิตของคุณจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะคุณจะได้พบแต่ความสุขและความรักที่ยิ่งใหญ่ของผู้หญิงคนนึงที่มีให้กับใครสักคนโดยไม่หวังผลตอบแทน เอาละค่ะ และนี่ คือสิ่งที่ คุณแม่ ท้องแรก ควรทราบและปฏิบัติตนหลังรู้ว่าตั้งครรภ์

 

ไตรมาสคืออะไร สิ่งสำคัญที่แม่ท้องต้องรู้

คำว่า ไตรมาส เป็นคำที่ใช้สำหรับแบ่งช่วงเวลาทุก 3 เดือนของแต่ละปี ส่วนมากจะนำมาใช้ในภาคธุรกิจ เศรษฐกิจ และการเงิน โดยใน 1 ปี มี 12 เดือน จึงสามารถแบ่งออกไปเป็น 4 ไตรมาสด้วยกัน แต่สำหรับการตั้งครรภ์นั้น จะนับไม่เหมือนกัน เพราะจะมีช่วงเวลาอุ้มท้องเพียง 9 เดือนเท่านั้น จึงมีการแบ่งไตรมาสออกเป็น 3 ช่วงด้วยกัน ดังนี้

  • ไตรมาสที่1 เริ่มนับตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1 ถึงสัปดาห์ที่ 14
  • ไตรมาสที่2 นับจากสัปดาห์ที่ 15 ถึงสัปดาห์ที่ 28
  • ไตรมาสที่3 นับจากสัปดาห์ที่ 29 ถึงสัปดาห์ที่ 42

 

10 สิ่งที่ คุณแม่ ท้องแรก ควรรู้และปฏิบัติ

 

 

 

1. ถ้ามีอาการเหล่านี้ รับรองท้องแน่นอน

ปกติแล้วคุณแม่ท้องแรกมักไม่ค่อยแน่ใจว่า อาการที่เกิดขึ้นกับตัวเองนอกจาก ประจำเดือนขาดแล้ว อาการควรเป็นอย่างไรกันแน่ ถ้าหากคุณเริ่มมีอาการอาเจียน วิงเวียนศีรษะ เหม็นนู่นเหม็นนี่ อยากแต่จะนอน ที่สำคัญใช้ที่ตรวจครรภ์แล้วเจอสองขีด หรือขีดนึงเข้มขีดนึงจากแล้วละก็ โป๊ะเชะ! นั่นแหละ คุณกำลังท้องแน่ ๆ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ถ้าหากตรวจแล้ว ยังไม่มั่นใจ รีบไปพบคุณหมอเลยค่ะ

คุณหมอจะตรวจให้คุณแม่ได้มั่นใจอีกครั้งว่า คุณแม่ท้องหรือไม่ หากแน่ชัดแล้วคุณหมอก็จะดูว่า ตำแหน่งของตัวอ่อนนั้น ฝังในมดลูกตำแหน่งไหน ปลอดภัยหรือเปล่า และก็จะให้วิตามินคุณแม่มาทาน พร้อมกับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในขณะ ที่คุณแม่ตั้งครรภ์

 

3. ตรวจสอบประวัติโรคประจำตัวต่าง ๆ

คุณแม่ควรตรวจสอบ ประวัติโรคประจำตัวต่าง ๆ ของคนในบ้านทั้งฝั่งของคุณแม่ และสามีว่า มีใครเป็นโรคอะไรบ้างหรือไม่ เพราะการเช็กจะทำให้เรารู้ และสามารถปฏิบัติตัวและดูแลทารกในครรภ์ได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคประจำตัวกับคนท้อง คุณแม่ควรเฝ้าระวังอาจส่งผลต่อลูกในครรภ์ได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4.เริ่มศึกษาและทำความรู้จักกับการตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ไตรมาส อันได้แก่ ไตรมาสที่หนึ่ง ไตรมาสที่สอง และไตรมาสที่สาม โดยแต่ละไตรมาสนั้น ถ้าหากเราเริ่มศึกษา คุณแม่จะรู้เลยว่า แต่ละไตรมาสนั้น ทารกในครรภ์จะมีพัฒนาการที่ต่างกันอย่างไร

 

5. ช่วงไตรมาสแรกคุณแม่ยังไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำหนัก

ตอนที่ตั้งครรภ์นั้น คุณแม่ยังไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำหนักกันมากนะคะ เพราะช่วงไตรมาสแรก คุณแม่อาจจะยังทานอะไรไม่ได้มาก เนื่องจากอาการแพ้ท้องที่เกิดขึ้น แต่ลองไตรมาสสองไปแล้วสิคะ รับรองว่า ทานได้อย่างเอร็ดอร่อยเลยละค่ะ เมื่อถึงช่วงเวลานั้น อย่าลืมเลือกทานแต่ของที่มีประโยชน์เท่านั้นนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

6. การเดินทางในช่วงตั้งครรภ์

การเดินทางในช่วงตั้งครรภ์ สามารถทำได้ ไม่มีใครห้ามคุณแม่ได้ แค่ต้องระวังให้มากที่สุดเท่านั้น และหากอายุครรภ์มากกว่า 36 สัปดาห์ไปแล้ว หากหลีกเลี่ยงได้ก็ควรหลีกเลี่ยงนะคะ ทั้งนี้ทั้งนั้น หากคุณแม่ไม่แน่ใจว่าการเดินทางนั้นปลอดภัยหรือไม่ แนะนำว่าควรปรึกษาคุณหมอจะดีที่สุด เพราะคุณหมอจะพิจารณาจากประวัติการตั้งครรภ์ของคุณแม่เป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณแม่ที่เคยปฏิบัติในการแท้ง เคยมีเลือดไหลในระหว่างตั้งครรภ์ หรือว่ามีลูกแฝด คุณหมอจะขอร้องให้พยายามงดการเดินทาง เนื่องจากมีความเสี่ยงมากเกินไปนั่นเอง

 

7. ไตรมาสสุดท้ายควรเริ่มศึกษาวิธีการคลอดในแต่ละแบบ

เมื่อเข้าสู่ไตรมาสสุดท้าย คุณแม่ควรเริ่มศึกษาวิธีการคลอดในแต่ละแบบ เพื่อดูว่าข้อดีข้อเสียและประโยชน์ที่ได้รับนั้นเป็นอย่างไร จะได้ตัดสินใจเลือกวิธีการคลอดได้ แต่หลังจากที่เลือกได้แล้วนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า จะต้องเป็นตามที่เลือกเสมอไปนะคะ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ณ ตอนนั้นอีกด้วยเช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : คลอดธรรมชาติ vs ผ่าคลอด คุณแม่อยากเลือก วิธีคลอดลูก แบบไหน?

 

 

8. เริ่มศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการให้นมแม่

เริ่มศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการให้นมแม่ ประโยชน์ ท่าให้นม การเก็บรักษา รวมถึงการปั๊มนมอย่างไรให้ถูกต้องกันไว้ให้มาก ๆ นะคะ แน่นอนว่าคุณแม่ทุกท่านย่อมอยากให้สิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูก ดังนั้น อย่ารอช้า มาเริ่มค้นคว้ากันเลยดีกว่าค่ะ

 

9. ใกล้ครบกำหนดคลอด ควรเริ่มซื้อของใช้ที่จำเป็น

หากใกล้ครบกำหนดคลอด ควรเริ่มซื้อของใช้ที่จำเป็นสำหรับเด็กกันได้แล้วนะคะ ลองดูว่ามีอะไรบ้างที่คุณอยากได้ อะไรบ้างที่คุณแม่ยังไม่มี อันไหนที่จำเป็นต้องซื้อและไม่จำเป็นต้องซื้อ ลิสต์เตรียมเอาไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เลยค่ะ พอถึงเวลาจะได้ไม่วุ่นวาย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

10. ศึกษาวิธีการเลี้ยงทารกแรกเกิดและเด็ก

สิ่งสำคัญที่สุด ศึกษาวิธีการเลี้ยงทารกแรกเกิดและเด็กในวัยต่าง ๆ เอาไว้เลยค่ะ เพราะเมื่อถึงเวลานั้น วิชาร้อยแปดพันเก้าที่คุณเตรียมไว้ อาจใช้ไม่ได้ผลก็ได้นะจ๊ะ เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน

 

เป็นปกติที่คุณแม่ตั้งท้องครั้งแรก จะมีความกังวลใจเกี่ยวกับการตั้งท้อง เนื่องจากไม่รู้ว่าควรต้องปฏิบัติตัวอย่างไรหลังจากตั้งท้องแล้ว หากคุณแม่ได้ทราบว่าต้องปฏิบัติอย่างไรแล้ว ก็คงจะช่วยคลายความกังวลใจให้กับคุณแม่ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นแล้วคุณแม่อย่าลืมที่จะใช้ข้อปฏิบัติต่าง ๆ ข้างต้นเพื่อเป็นแนวทาง สุดท้ายอย่าลืมดูแลสุขภาพและเข้าพบแพทย์ตามนัดด้วยนะคะ

 

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวกับวิธีดูแลตัวเองตอนท้องอ่อน ๆ ได้ที่นี่!

วิธีดูแลตัวเองตอนท้องอ่อน ๆ ทำได้อย่างไรบ้างคะ ต้องระวังเรื่องไหนเป็นพิเศษบ้างคะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ผ่าคลอดท้องแรก แต่คลอดธรรมชาติท้องสอง ทำได้หรือ?

ท้องแรกเตรียมพร้อมก่อนคลอด อย่างไร

ปวดท้องคลอด คล้ายปวดท้องเข้าห้องน้ำ แม่ท้องแรกตกใจ! คลอดลูกแล้วเหรอเนี่ย

ที่มา : Momjunction

บทความโดย

Muninth