10 วิธีเเก้ไขเมื่อลูกน้อยเป็นกรดไหลย้อน

10 วิธีเเก้ไขเมื่อลูกน้อยเป็นกรดไหลย้อน ด้วยวิธีธรรมชาติที่คุณพ่อคุณเเม่สามารถทำเองได้ เเละปลอดภัยจากยาหรือสารเคมีต่างๆ ให้กรดไหลย้อนเป็นเเค่อาการเล็กๆน้อยๆ

เด็กๆ ก็เป็นโรคกรดไหลย้อนได้นะคะ เเต่สิ่งที่ต่างจากผู้ใหญ่ก็คือลูกอาจจะถึงขั้นกินนมได้น้อย การเติบโตทางร่างกายไม่ถึงเกณฑ์ ดังนั้นการใช้ 10 วิธีเเก้ไขเมื่อลูกน้อยเป็นกรดไหลย้อน เเบบธรรมชาติ จึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณเเม่ทำได้อย่างสบายใจค่ะ

เด็กทารกเเรกเกิดส่วนใหญ่กล้ามเนื้อระหว่างหลอดอาหารเเละกระเพาะอาหารยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ จึงทำให้กรดไหลย้อนกลับขึ้นมาได้ง่าย ส่วนปัจจัยอื่น ๆ อย่างการคลอดก่อนกำหนด การนอนราบตลอดเวลา การกินนมหรืออาหารเหลว ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เด็ก ๆ เกิดอาการกรดไหลย้อนได้ค่ะ

อ่านเพิ่มเติม

ลูกร้องโคลิค เพราะเป็นกรดไหลย้อน

ลูกอาเจียนบ่อยๆ อาจเป็นโรคกรดไหลย้อนได้

10 วิธีเเก้ไขเมื่อลูกน้อยเป็นกรดไหลย้อน

กรดไหลย้อนอาจจะเป็นเเค่อาการที่น่ากวนใจ หากลูกมีน้ำหนักเเละพัฒนาการตามเกณฑ์ เเต่ตรงกันข้าม มันจะเป็นปัญหาที่ต้องห่วง หากลูกมีน้ำหนักเเละพัฒนาการต่ำกว่าเกณฑ์

1.ปรับท่านอน

การนอนในท่าที่ไม่ถูกต้องจะทำให้อาการกรดไหลย้อนของลูกยิ่งเลวร้ายลงได้นะคะ การนอนที่ถูกต้องคือ หัวของลูกต้องไม่นอนราบไปกับเตียง เเต่ต้องสูงขึ้นประมาณ 30 องศาค่ะ ใช้ผ้าขนหนูหรือผ้าเช็ดตัวรองส่วนบนของลูก เพราะป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร นอกจากนี้คุณเเม่ยังให้ลูกนอนหงายหรือตะเเคงซ้ายเพื่อช่วยให้กรดไหลออกจากหลอดอาหารได้ด้วยค่ะ

ทั้งนี้คุณเเม่ควรหลีกเลี่ยงการให้นมลูกในท่าที่ลูกนอนกินนมนะคะ อย่างน้อยคือตัวของลูกเอนขึ้นมานิดหน่อยก็ได้ค่ะ หรือหากลูกโตขึ้นมาหน่อยก็สามารถให้นมลูกในท่าที่ลูกนั่งบนตักของคุณเเม่ก็ได้ค่ะ เเละอย่าวางลูกน้อยลงนอนทันทีหลังจากให้นมค่ะ อุ้มให้ลูกอยู่ในท่านั่งหรืออุ้มพาดไหล่ประมาณ 30 นาทีหลังจากมื้อนมก็ช่วยได้นะคะ

2. นวด

การนวดลูกจะช่วยในเรื่องการทำงานของระบบทางเดินหายใจเเละการย่อยอาหาร เส้นประสาทเวกัสคือเส้นประสาทที่ควบคุมส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินหายใจเเละทางเดินอาหาร การนวดทำให้ระบบเหล่านี้ทำงานได้เร็วขึ้นเเละดีขึ้น นอกจากนี้การนวดลูกน้อยยังเป็นการเพิ่มความสามารถในการรับรู้ ช่วยลดการร้องไห้ เเละช่วยให้ลูกนอนหลับได้ดีขึ้น

การนวดลูกควรเว้นระยะเวลาหลังจากการมื้อนม ไม่ควรนวดทันทีหลังจากการกินนมนะคะ โดยนวดดังนี้

10 วิธีเเก้ไขเมื่อลูกน้อยเป็นกรดไหลย้อน

  1. วางลูกน้อยในท่านอนหงาย ใช้น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันมะกอกทาบริเวณหน้าท้องของลูก
  2. นวดบริเวณกระเพาะอาหารของลูกอย่างเบามือ วนตามเข็มนาฬิกา ประมาณ 3-4 นาที
  3. จากนั้นนวดย้อนกลับ ประมาณ 2 นาที
  4. นวดมือเเละขาด้วยการลูบขึ้นลงยาวๆ ลงน้ำหนักเเรงกว่าการนวดบริเวณกระเพาะอาหารนิดเดียว
  5. ทำซ้ำ 2-3 ครั้งต่อวัน

3.ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเบาช่วยในเรื่องของการย่อยอาหารให้ดีขึ้น ทั้งนี้คุณเเม่ควรให้นมลูกก่อนการนวดอย่างน้อย 30 นาที เเล้วหลังจากนวดไม่ควรให้ลูกกินนมทันทีค่ะ

  1. เริ่มจากการวางลูกน้อยให้นอนหงาย
  2. จับขาของลูกไว้ในตำเเหน่งงอหัวเข่าตามรูป
  3. จากนั้นขยับขาทั้งสองเหมือนลูกกำลังจะขี่จักรยาน
  4. ทำซัก 10 นาทีต่อวัน วันละหลายๆ รอบ หรือจนกว่าลูกจะไม่ยอมทำเเล้วค่ะ

4.น้ำส้มสายชูเเอปเปิ้ลหมัก

น้ำส้มสายชูจะช่วยปรับสมดุลของระดับกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้ช่วยย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น เเละเป็นการป้องกันไม่ให้อาเจียน นอกจากนี้ยังป้องกันลูกจากอาการป่วยอื่นๆ อีกด้วยค่ะ เเต่ทั้งนี้วิธีการนี้เหมาสำหรับเด็กอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไปนะคะ

  1. ผสมน้ำส้มสายชูเเอปเปิ้ลหมักกับน้ำอุ่น
  2. อาจจะผสมน้ำผึ้งเพื่อให้กินง่ายขึ้นก็ได้นะคะ
  3. ให้ลูกจิบตลอดทั้งวันค่ะ

5.น้ำมันมะพร้าว

น้ำมันมะพร้าวมีฤทธิ์ต้านอักเสบ สามารถช่วยลดการอักเสบจากกรดไหลย้อน เป็นสารหล่อลื่นตามธรรมชาติ ให้ระบบทางเดินอาการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เเละยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันร่างกายได้ด้วยค่ะ

วิธีใช้คือผสมน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น 1/2 – 1 ช้อนชา กับอาหารเสริมหรือน้ำอุ่น ให้ลูกกินวันละ 2-3 ครั้ง สำหรับคุณเเม่ตั้งครรภ์ควรกินน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นวันละ 2 ข้อนโต๊ะเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันของทารกในครรภ์ค่ะ นอกจากนี้ยังผสมน้ำมันมะพร้าวกับน้ำมันขิง ทาบางๆ ตามเข็มนาฬิกาบนท้องของลูกน้อยประมาณ 1 นาที 2-3 ครั้งต่อวัน

6.คาโมมายล์

ดอกคาโมมายล์เป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาตามธรรมชาติที่ได้ผลอย่างดีสำหรับอาการกรดไหลย้อน เนื่องจากมีคุณสมบติต่อต้านการหดเกร็งเเละช่วยย่อยอาหาร บรรเทาอาการปวดท้องโคลิค เเละช่วยให้ผ่อนคลาย

วิธีใช้คือรินน้ำร้อนลงในดอกคาโมมายล์เเห้ง ทิ้งไว้ 5-10 นาที จากนั้นเอาดอกออกมา เเล้วปล่อยให้เย็นลง ป้อนลูกประมาณ 1-2 ช้อนชาตลอดทั้งวัน ทั้งนี้คุณเเม่ให้นมสามารถดื่มชาคาโมมายล์ได้ 2-3 ครั้งต่อวันค่ะ

7.เปเปอร์มินท์

มีสรรพคุณช่วยลดอาการกรดไหลย้อนที่ระบบทางเดินอาหาร ลดการอักเสบที่เกิดขึ้น ภาวะอาหารไม่ย่อย ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับอาการกรดไหลย้อนค่ะ

วิธีใช้คือผสมน้ำมันเปเปอร์มิ้นท์ 2 หยดกับน้ำมันมะกอก 1 ช้อนโต๊ะ ใช้นวดบริเวณท้องของลูก วนเบาๆ เป็นวงกลม อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คุณเเม่ที่ให้นมลูกก็สามารถดื่มชาเปเปอร์มิ้นท์วันละ 2-3 ครั้งได้เช่นกันนะคะ

8.ผักชีล้อม หรือ เฟนเนล

ผักชีล้อมสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง กรดไหลย้อน อาหารไม่ย่อย หรือขับก๊าซที่เด็กๆ เป็นได้ค่ะ

วิธีใช้คือผสมผงผักชีล้อมในน้ำร้อน ทิ้งไว้ 10 นาที จากนั้นกรองเอาเเต่น้ำ ป้อนลูกครั้งละ 1/2 – 1 ช้อนชา 2-3 ครั้งต่อวัน นอกจากนี้คุณเเม่ยังสามารถนำผงผักชีล้อมผสมในอาหารของลูกได้ด้วยนะคะ

9.ยี่หร่า

เม็ดยี่หร่าช่วยกระตุ้นการย่อยอาการเเละช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหารต่างๆ เช่น กรดเเละก๊าซ

วิธีใช้คือต้มเม็ดยี่หร่า 1 ช้อนช้าด้วยน้ำ 1 เเก้ว ทิ้งไว้ 5-10 นาที จากนั้นกรองเอาเเต่น้ำ ป้อนลูกประมาณ 1-2 ช้อนชาวันละหลายๆ ครั้ง

10.คุณเเม่ต้องดูเเลโภชนาการ

เพราะอาหารที่คุณเเม่ทานนั้นอาจจะทำให้ลูกเป็นกรดไหลย้อนได้เช่นกันนะคะ

  • เลิกกินอาหารที่ทำจากนมวัว เนื่องจากระบบทางเดินอาหารของลูกอาจจะย่อยโปรตีนในนมวัวได้ไม่สมบูรณ์
  • งดอาหารเหล่านี้ ข้าวสามี กลูเตน อาหารที่มีรสเปรี้ยว ถั่วเปลือกเเข็ง ไข่ เเละถั่วเหลือง
  • ไม่กินอาหารที่มีไขมันสูง อาหารทอด อาหารเผ็ด น้ำอัดลม ช็อคโกเเลต เเละคาเฟอีน
  • ไม่สูบบุหรี่เเละดื่มเหล้า
  • กินโยเกิร์ตที่มีโพรไบโอติกทุกวัน จะช่วยลูกในเรื่องของระบบย่อยอาหารค่ะ
  • ดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ

เทคนิคอื่น ๆ

  • อุ้มลูกตั้งฉากหรืออุ้มพาดบ่าอย่างน้อย 20-30 นาทีหลังจากมื้อนม เเละอย่าลืมไล่ลืมออกทุกครั้ง
  • อย่าวางลูกนอนทันทีหลังจากมื้อนม
  • ให้ลูกกินนมครั้งละน้อยๆ เเต่หลายๆ ครั้งต่อวัน
  • อย่าเพิ่งให้อาหารเสริมชนิดอื่นๆ เมื่อยังไม่ได้ปรึกษาคุณหมอก่อน
  • อย่าให้ลูกกินมากหรืออิ่มมากเกินไป
  • ดูเเลให้ลูกห่างจากควันบุหรี่ เเละบุหรี่มือสองมือสาม
  • อย่าอุ้มลูกเเรงๆ เหวี่ยง หมุนลูกไปมา
  • เลือกเสื้อผ้าที่ใส่สบายไม่คับเกินไปให้ลูก ดูเเลไม่ให้เเพมเพิสเเน่นเกินไปด้วยค่ะ
  • อาหารเสริมที่มีข้นอาจจะทำให้ลูกยิ่งอาเจียนได้ ปรึกษาคุณหมอก่อนนะคะ
  • หากสงสัยว่าลูกจะเเพ้อาหารหรือเป็นโรคภูมิเเพ้ให้ปรึกษาคุณหมอก่อนนะคะ
  • หากให้ลูกดูดขวด คุณเเม่ต้องดูด้วยว่าจุกนมรูพอดีกับที่ลูกดูดไหม หากจุกเล็กเกินไปลูกจะดูดเอาลมเข้าไปได้ หากจุกใหญ่เกินไปลูกก็อาจจะได้รับนมมากเกินไปได้ค่ะ

 

ที่มา : 1

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

9+ GOLD MOM CLINIC EP.1 สารอาหารสำคัญ & เพื่อ 1,000 วันแรก ที่สมบูรณ์ โดย พญ.นพรัตน์ ไชยบูรณะพันธ์กุล สูตินรีแพทย์ประจำ รพ. พญาไท 3

พีแอนด์จี ร่วมกับ เทสโก้ โลตัส ส่งแคมเปญพิเศษ “Mom to Mom” ชวนเหล่าคุณแม่ ร่วมใจกันช่วยเหลือแม่ ที่ได้รับผลกระทบจาก วิกฤต โควิด-19

ชี้เป้า ของตัวแม่ต้องมี (10 MUST HAVE ITEMS FOR WOMAN & MOM) ช้อปสนุก หยุดไม่อยู่ ในเดือนแห่งแม่ กับ JD CENTRAL ตลอดเดือนสิงหาคม