เพราะอะไรการ "หย่านม" ถึงเป็นปัญหาหนักใจของทุกบ้าน?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จริงอยู่ที่การหย่านมแม่นั้น นอกจากจะทำร้ายจิตใจน้อย ๆ ของลูกแล้ว จิตใจของแม่ก็ด้วยเช่นกัน แต่ครั้นเมื่อถึงเวลา เราก็ควรที่จะเริ่มให้ลูก หย่านม แน่นอนค่ะว่า แรกเริ่มนั้น ลูกจะต้องรู้สึกหงุดหงิด และเรียกร้องความสนใจจากคุณแม่มากกว่าปกติ คุณแม่จึงควรที่จะวางแผนการหย่านมตามอายุ และพัฒนาการของเด็กไปควบคู่กัน

 

หย่านมลูกได้ตอนไหน

โดยทั่วไปแล้ว การหย่านมลูกไม่มีช่วงเวลาที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับความความพร้อมของคุณแม่และลูกน้อย เด็กบางคนอาจพร้อมหย่านมตอน 1 ขวบ ขณะที่เด็กบางคนอาจหย่านมได้ตอน 2 หรือ 3 ขวบเลยก็ได้ ทั้งนี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำให้คุณแม่อย่านมลูกได้ตั้งแต่ 1 ขวบ และช้าสุดประมาณ 15 เดือน ดังนั้น หากลูกน้อยมีอายุ 1 ขวบแล้ว คุณแม่ก็เริ่มลดปริมาณให้นมลูกได้เลยค่ะ

อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกจนถึง 6 เดือนนั้น คุณแม่ควรให้นมลูกอย่างต่อเนื่อง เพราะในนมแม่มีสารอาหารหลายอย่างชนิด ทั้งที่พบได้ในอาหารและพบได้เฉพาะนมแม่ หนึ่งในนั้นคือ แลคโตเฟอร์ริน (Lactoferrin) ที่มีหน้าที่สำคัญต่อระบบทางเดินอาหาร ช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ลูกน้อย

 

ความเชื่อที่ว่าทารกต้องกินอาหารก่อนอายุ 6 เดือน

หากคุณแม่ให้ลูกกินนมแม่เป็นประจำอยู่แล้ว การให้ลูกกินอาหารแข็งก่อนอายุครบ 6 เดือน อาจเป็นอันตรายต่อลูกเป็นอย่างมาก เพราะระบบย่อยอาหารของทารกยังไม่สมบูรณ์ เมื่อกินอาหารแข็งเข้าไปก็อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ท้องเสีย ท้องอืด ท้องผูก อาหารไม่ย่อย แพ้อาหาร และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากลำไส้อุดตัน อีกทั้งยังทำให้คุณแม่ให้นมลูกได้น้อยลงอีกด้วย

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัญหาทางเดินอาหารที่พบบ่อยในช่วงหย่านม

ปัญหาทางเดินอาหารในทารก มักเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ซึ่งอาจทำให้คุณแม่เกิดความกังวลใจเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม อาการที่ทารกแสดงออกมาอาจเป็นอาการที่พบได้ปกติ เนื่องจากทารกในวัยนี้ยังมีระบบทางเดินอาหารที่ไม่สมบูรณ์ อาการเหล่านี้จะค่อย ๆ หายไปเมื่อลูกโตขึ้น ซึ่งปัญหาทางเดินอาหารที่มักเกิดกับเด็กเล็กนั้น ตัวอย่างเช่น

 

1. ไม่สบายท้อง

พอลูกอายุเข้า 6 เดือน นอกจากนมแม่ ลูกจะทานอาหารตามวัย แต่ระบบทางเดินอาหารของลูกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ อาจส่งผลให้อาหารไม่ย่อย จึงไม่สบายท้อง ในหลายบ้านคุณแม่น้ำนมเริ่มหด และเริ่มเสริมนมผงให้ลูกแล้ว แต่กลับพบว่าลูกมีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย อาจมีสาเหตุมาจากลูกไม่สามารถย่อยโปรตีนจากนมวัวที่มีโมเลกุลปกติได้ คุณแม่อาจจะพิจารณาเลือกโภชนาการที่มีโปรตีนโมเลกุลขนาดเล็ก หรือ PHP (Partially Hydrolyzed Protein) ให้ลูก ซึ่งอาจจะช่วยให้ลูกสบายท้องขึ้นได้ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการไม่สบายท้อง คุณแม่ควรไปพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ท้องผูก

อาการท้องผูกพบได้บ่อยในทารกที่กินนมผสม หากลูกมีอาการไม่ถ่ายติดต่อกันหลายวัน ถ่ายไม่ออก และมีอุจจาระแข็ง ก็อาจเป็นสัญญาณของโรคท้องผูกได้ คุณแม่จึงต้องหมั่นสังเกตการขับถ่ายของลูกตลอด โภชนาการย่อยง่ายที่มี PHP สามารถช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ เพราะช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่ม คงตัว ไม่แข็ง ทำให้ขับถ่ายได้ง่าย แต่หากลูกมีอาการท้องผูกอย่างรุนแรง เช่น ท้องป่องหรือท้องอืดมาก อาเจียน น้ำหนักขึ้นช้า และมีการถ่ายขี้เทาช้ากว่า 48 ชั่วโมงแรก ต้องรีบพาไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

 

3. ท้องเสีย

เป็นธรรมดาที่เด็กทารกจะอุจจาระบ่อย แต่หากลูกอุจจาระเป็นน้ำ ถ่ายเหลว หรืออุจจาระปนมูกเลือด ก็อาจหมายถึงอาการท้องเสียในทารกได้ ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ มักเกิดจากลำไส้อักเสบติดเชื้อจากไวรัส หากลูกมีอาการไม่สบายร่วมด้วย คุณแม่ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจหาสาเหตุและรักษาต่อไป

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

10 วิธีชาญฉลาด ช่วยให้ลูกน้อยหย่านม

เมื่อถึงวันที่ทารกน้อยเติบใหญ่ขึ้นจนถึงวันที่หย่านมแม่ เด็กอ่อนบางคนก็แผลงฤทธิ์ไม่ยอมกินอาหารอื่นที่แม่สรรหามาทดแทนนมแม่ คุณแม่หลายท่านจึงพยายามหาตัวช่วยที่จะให้ลูกหย่านมด้วยวิธีต่าง ๆ กันไป เรามาดู 10 วิธีชาญฉลาดที่ช่วยให้ลูกหย่านมได้ง่ายขึ้นกันค่ะ

 

1. ไม่ตามใจลูก

คุณแม่บางคนใจเด็ดใช้วิธีปฏิเสธ ไม่ตามใจลูกเวลาที่ลูกร้องขอกินนมแม่ หรือจำกัดปริมาณในการกินนมของลูก วิธีนี้ก็ได้ผลเช่นกันแต่คุณแม่ต้องใจแข็งมาก ๆ เพราะลูกน้อยอาจร้องไห้ งอแง จนคุณแม่เกิดความสงสาร และให้ดูดนม อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่จะใช้วิธีนี้ ต้องใจแข็งมาก ๆ เลยนะคะ ไม่เช่นนั้นก็จะทำให้ลูกหย่านมไม่สำเร็จ

 

2. เลือกตัวช่วยที่เหมาะสม

ตัวเลือกที่เหมาะสมในที่นี้คือใช้อายุของลูกเป็นเกณฑ์ว่าจะใช้ตัวช่วยแบบไหนถึงจะเหมาะสม ถ้าลูกอายุ 6-8 เดือน คุณต้องใช้ขวดนมช่วยในการหย่านม แต่ถ้าลูกคุณอายุ 8 เดือนถึง 1 ขวบ คุณก็ให้ลูกหัดจิบนมจากแก้วสำหรับเด็กแทนที่จะใช้ขวดนม

 

3. ใช้จุกนมหลอก

จุกนมหลอกเหมาะที่จะใช้กับทารกที่ติดดูดนมแม่ และแผดร้องไม่หยุดถ้าไม่ได้ดูดนมแม่ จุกนมหลอกทำขึ้นมาให้ทารกรู้สึกว่ายังดูดนมแม่อยู่เพื่อให้ทารกน้อยไม่แผลงฤทธิ์ และงอแงเมื่อไม่ได้กินนมแม่

 

4. หลอกว่าเป็นนมแม่

เด็กน้อยบางคนที่จำรสชาตินมแม่ได้จะไม่ยอมกินนมที่ไม่ใช่นมแม่เลย คุณแม่ก็ต้องใช้วิธีปั๊มน้ำนมใส่ขวดนมหรือแก้วนมเด็กอ่อน ฝึกลูกให้คุ้นเคยกับวิธีกินนมแบบใหม่ตามที่คุณเลือกให้เหมาะกับอายุของลูกคุณ ใช้วิธีนี้สัก 3 วัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากจะช่วยเรื่องนมคัดและการเจ็บเต้านมได้ดีแล้ว การที่ร่างกายคุณผลิตน้ำนมน้อยลงในช่วงที่ลูกหย่านม ทำให้คุณไม่ต้องเป็นห่วงว่าร่างกายจะผลิตน้ำนมมากไป ทำให้คุณมีเวลาทำให้ลูกหย่านมได้ง่ายขึ้น หรือคุณอาจใช้วิธีผสมน้ำนมแม่กับนมผงเพื่อให้เขาคุ้นเคยกับรสชาติใหม่แล้วค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนเป็นนมผงอย่างเดียว จะช่วยให้ลูกน้อยหย่านมแม่ได้ง่ายขึ้น

 

 

5. ใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจ

เรามักจะเบี่ยงเบนความสนใจหรือหลอกล่อทารกน้อยด้วยสิ่งของที่มีสีสันสดใส ถ้าคุณลองใช้แก้วหัดดื่มสีสวย ๆ ทำให้เด็กจดจ่ออยู่ที่แก้วนมสีสวยหรือหลอดดูดสีละลานตา แทนที่จะนึกถึงการไม่ได้ดูดนมแม่ ก็จะช่วยให้ลูกน้อยลืมความสนใจในการดื่มนม แล้วหันไปสนใจการดื่มนมด้วยแก้วนมแทน

 

6. ให้คุณพ่อรับไม้ต่อ

เมื่อถึงเวลาหย่านม คุณแม่บางคนเวลาที่ต้องการให้ลูกหย่านมก็หายตัวไปเลย แล้วให้คุณพ่อรับหน้าที่แทนในการให้นมลูก พอเวลาผ่านไปสักพัก ลูกน้อยก็เคยชินกับการที่คุณพ่อเป็นคนให้นม ในที่สุดก็หย่านมได้สำเร็จ โดยที่ไม่ต้องกลับไปกินนมแม่อีกแล้ว

 

7. ใช้วิธีให้รางวัลปลอบใจ

วิธีนี้เหมาะกับเด็กน้อยที่พอเข้าใจการสื่อความหมายบ้างแล้วและไม่ควรใช้เป็นประจำ รางวัลสำหรับเด็กน้อยในวัยนี้ เวลาที่เขายอมดูดนมจากขวดหรือจิบนมจากแก้วนมก็มักเป็นพวกสติกเกอร์ หรือตัวการ์ตูนที่เขาชอบ เล่านิทานให้ฟัง หรืออะไรก็ได้ที่คุณรู้ว่าเขาชอบ เป็นการฝึกให้ลูกหย่านมแบบที่มีรางวัลเป็นตัวล่อ

 

 

8. ยกตัวอย่างให้เห็น

เวลาที่อยู่ในหมู่เด็กวัยใกล้ ๆ กัน และมีเด็กที่หย่านมได้แล้ว บอกให้ลูกรู้ว่าเด็กคนไหนหย่านมได้แล้ว และเด็กที่หย่านมได้คือ “เด็กที่โตแล้ว” จะทำให้ลูกรู้สึกว่าตัวเองไม่จำเป็นต้องดูดนมอีกต่อไป ก็จะทำให้ลูกเริ่มโตขึ้น และหย่านมได้สำเร็จค่ะ

 

9. ความใกล้ชิดทางร่างกาย

ถ้าลูกน้อยของคุณเป็นเด็กติดแม่ ที่ต้องมีการกอดจูบพูดคุยตอนที่ให้นม เวลาที่คุณหัดให้เขากินนมจากขวดหรือแก้วนมก็ควรกอดจูบเขาให้เขารู้สึกว่าคุณอยู่ใกล้ชิดเขาตลอดเวลา วิธีนี้จะช่วยให้เด็กรู้สึกใกล้ชิด และไว้ใจคุณแม่ จนในที่สุดเขาจะกินจากนวดนม หรือแก้วนมแทนเอง

 

10. ทำให้เด็กสนุกเวลากินนม

วิธีนี้จะคล้าย ๆ กับวิธีเบี่ยงเบนความสนใจในข้อ 4 คุณแม่สามารถให้เด็กเล่นของเล่นขณะที่กินนมจากขวดหรือแก้วนมอยู่ เช่นกินนมไปด้วยแกว่งชิงช้าไปด้วย เด็กก็จะเริ่มหย่านมได้ เพราะกำลังสนุกกับการเล่น จนลืมไปว่าไม่ได้ดูดนมแม่อยู่

 

การหย่านมไม่ได้หมายความว่า “ลูกจะไม่ได้กินนมแม่ทั้งหมด” เพราะเด็กบางคนจะต่อต้านอย่างเต็มที่ต่อการหย่านมในเวลานอนหรือตอนกลางคืน คุณแม่ก็อาจผ่อนปรนในการให้นมลูกต่อไปจนกว่าเขาจะรู้สึกดีขึ้นจากการหย่านม

ถ้าลูกร้องไห้เพื่อต้องการจะกินนมแม่ต่อไป แม้ว่าคุณแม่จะพยายามเบี่ยงเบนความสนใจ หรือใช้เทคนิคข้างต้นแล้วไม่เป็นผล แสดงว่าการหย่านมอาจยังเร็วเกินไปสำหรับลูก ซึ่งถ้าหากเป็นไปได้การให้ลูกได้กินนมแม่ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะอายุครบ 6 เดือน แล้วค่อยเริ่มอาหารแข็งก็จะเป็นประโยชน์ต่อลูกได้ดีที่สุดนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

7 ประโยชน์ที่ยกให้ "นมแม่" ชนะเลิศ

ข้อควรรู้ก่อน “บริจาค” หรือ “รับบริจาค” นมแม่

ลูกน้ำหนักน้อย เกิดจากอะไร ภัยร้ายจากการขาดพลังงานและโปรตีน

ที่มา :unicef , pthaigastro,babimild , hellokhunmor

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team