20 นิทานพื้นบ้านไทย เรื่องย่อ พร้อมคลิป อ่านเพลิน ดูสนุก ได้คติสอนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในยุคปัจจุบัน เราเชื่อว่าคุณพ่อ คุณแม่ และผู้ปกครองหลาย ๆ ท่าน อาจจะคุ้นชินกับนิทานต่างประเทศมากกว่านิทานพื้นบ้าน นิทานอีสป หรือนิทานพื้นบ้านไทย เพราะว่าหาฟังได้ง่ายจากสื่อต่าง ๆ วันนี้เราก็เลยจะพาทุกท่านมาลองอ่านเรื่องราวของ นิทานไทย นิทานสั้น ๆ ละครพื้นบ้านไทย นิทานท้องถิ่น และ นิทานพื้นบ้านไทย  ว่าจะสอนใจได้ดีแค่ไหน มาดูกันว่า นิทานไทยแนว ๆ พื้นบ้าน มีคติสอนใจอย่างไร รับรองว่าสนุกไม่แพ้นิทานประเทศไหน ๆ เลยล่ะครับ

 

สารบัญ

นิทานพื้นบ้าน ละครพื้นบ้านไทย คืออะไร

นิทานพื้นบ้าน คือ นิทานประเภทหนึ่ง ที่เล่ากันมาปากต่อปาก บ้างก็ว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง บ้างก็ว่าเป็นเรื่องที่แต่งขึ้น แต่ส่วนใหญ่นั้น ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดที่บันทึกเรื่องต่าง ๆ เอาไว้ แต่ต่อมาเมื่อมีเทคโนโลยีการพิมพ์เกิดขึ้น เรื่องราวเหล่านี้ ก็ได้ถูกตีพิมพ์และเขียนลงในหนังสือ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้อ่านต่อ ๆ กันมา

รวม 20 นิทานพื้นบ้านไทย รวมนิทานพื้นบ้าน นิทานท้องถิ่น นิทานไทยสั้น ๆ

ตอนนี้ เรามาดูกันดีกว่าว่า นิทานพื้นบ้านไทยเรื่องไหน ที่มีคติสอนใจ ข้อคิดสอนใจ ที่น่าสนใจกันบ้าง เรื่องเหล่านี้ เหมาะกับเด็กที่กำลังโต คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปเล่าให้น้อง ๆ ฟังได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : นิทานดาวลูกไก่ เล่าให้ลูกฟัง สอนลูกเรื่องความกตัญญู

 

นิทานพื้นบ้านไทย รวมนิทานพื้นบ้าน อ่านเพลิน ๆ

 

1. จันทโครพ ละครพื้นบ้าน นิทานพื้นบ้านไทย

จันโครพ เป็นนิทานไทย ที่เล่าเกี่ยวกับเจ้าชายที่ออกเดินทางไปยังโลกกว้าง และไปพบเจอกับฤๅษี ที่มอบผอบแก้ววิเศษให้ ซึ่งฤๅษีก็ได้กำชับว่าห้ามเปิดจนกว่าจะถึงเมือง แต่แน่นอนว่าตลอดเรื่องราว ก็มักจะมีเหตุการณ์หลายอย่างเกิดขึ้นทำให้ผอบแก้วถูกเปิดออก โดยในนั้นเอง มีนางโมราอยู่ ซึ่งนางโมรานี่แหละ ที่จะทำให้ชีวิตของเจ้าชายต้องเจอกับเรื่องราวมากมาย

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง : ให้มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นอยู่เสมอ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. สังข์ทอง ละครพื้นบ้านไทย รวมนิทานพื้นบ้าน เรื่องสั้น ๆ ละครพื้นบ้าน

นิทานไทยเรื่องนี้ น่าจะเป็นเรื่องที่ทุกคนน่าจะคุ้นเคยกันดี เพราะตัวละครเงาะป่า เป็นตัวละครที่ค่อนข้างโด่งดัง และมักมีคนนำไปพูดถึงอยู่เรื่อย ๆ สังข์ทองเป็นเรื่องเล่าของเจ้าชายที่อยากจะลองใจคนที่จะแต่งงานด้วย ก็เลยปลอมตัวเป็นเงาะป่าที่มีรูปร่างอัปลักษณ์ ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว เจ้าเงาะหรือสังข์ทองก็ได้ครองรักกับนางรจนา แต่ว่าชีวิตวัยเด็กของสังข์ทองนั้น ค่อนข้างรันทด เพราะแม่ของเขาคลอดเขาออกมาเป็นหอยสังข์ ทำให้เธอต้องถูกขับไล่ออกไปอาศัยอยู่ในป่า

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง : อย่ามองผู้อื่นหรือตัดสินผู้อื่นแต่เพียงภายนอก จงไตร่ตรองด้วยเหตุผล

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. โสนน้อยเรือนงาม นิทานก่อนนอนไทยพื้นบ้าน นิทานไทยพื้นบ้าน

นิทานไทยเรื่องนี้ เล่าเรื่องของเจ้าหญิงที่จำเป็นจะต้องออกไปจากเมือง เนื่องจากมีโหรทำนายว่าดวงของเธอไม่ดี ซึ่งเมื่อเธอออกไปอาศัยอยู่ในป่า พระอินทร์รู้สึกสงสารโสนน้อยเรือนงาม จึงมอบของวิเศษให้กับเธอ จากนั้น เธอได้นำของชนิดนั้นไปชุบชีวิตหญิงคนหนึ่งที่ถูกงูกัดตาย แต่ว่าหญิงผู้นั้นกลับทรยศและหวังจะช่วงชิงทุกอย่างไปจากเธอ

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง :

  • ไม่ควรมุ่งหวังในสิ่งที่เกินตัว
  • การทำความดีย่อมส่งผลให้เราได้รับแต่สิ่งดี ๆ กลับมา
  • บุคคลใดที่ประพฤติตัวไม่ดี ย่อมเป็นที่รังเกียจของบุคคลอื่น
  • ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
  • ไม่ควรเอาสิ่งของที่เป็นของคนอื่นมาเป็นของตัวเอง

 

4. พิกุลทอง นิทานไทยสั้น ๆ

เป็นเรื่องราวของสาวโชคร้าย ที่พ่อแม่เสียชีวิตไปตั้งแต่ยังเด็ก เธอจึงจำเป็นต้องมาอยู่กับหญิงอีกคนหนึ่ง ซึ่งหญิงคนนั้นและลูกสาว เป็นคนใจร้าย สั่งให้พิกุลทองทำงานบ้านทุกอย่าง วันหนึ่งพิกุลทองเดินไปตักน้ำ และได้พบกับนางฟ้าที่จะนำพาให้แม่ลูกไม่กล้าริษยาต่อพิกุลทองอีก

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง : การคิดดีทำดี ย่อมได้รับสิ่งที่ดีตอบสนองเสมอ

 

5. เจ้าหญิงแตงอ่อน นิทานไทย สั้น ๆ พร้อมรูปภาพ

เป็นเรื่องเล่าของหญิงโชคร้าย ที่ถูกสับเปลี่ยนลูกของเธอกับจระเข้ ทำให้เธอถูกขับไล่ออกจากเมือง สุดท้ายเธอต้องพบเจอกับวิบากกรรมมากมายกว่าที่เธอจะได้พบครอบครัวอีกครั้ง

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง : คนที่กระทำในสิ่งที่ดี ย่อมได้ผลดีตอบแทน คนที่กระทำในสิ่งที่ไม่ดี ย่อมได้รับผลจากการกระทำของตนเอง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6. ลิลิตพระลอ นิทาน ท้องถิ่น

นิทานพื้นบ้านไทย เป็นเรื่องเล่าจากโบราณจากทางภาคเหนือ ที่ว่ากันว่าเป็นเรื่องจริง ซึ่งเล่าเรื่องของเจ้าชาย และความรักที่ไม่สมหวังของเขา

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง : ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

 

7. พญาคันคาก นิทาน ท้องถิ่น

เล่าเรื่องของอาณาจักรแห่งหนึ่ง ที่มีชาวเมืองอยู่กันอย่างสงบสุข แต่วันหนึ่ง พระมเหสีคลอดลูกออกมาเป็นคางคก มีปุ่มเต็มตัว ดูน่าเกลียด นอกจากนั้น ตอนที่นางคลอดลูกก็เกิดอาเพศลมพายุพัดน่ากลัว พระราชาจึงเอ่ยถามโหรว่าลูกคางคกที่เกิดมาทำให้เกิดอาเพศหรือไม่ แต่โหรก็บอกว่า ถึงแม่คลอดลูกจะออกมาเป็นคางคก แต่ก็อย่าไปดูถูกเขา เพราะเขาจะนำพาความเจริญมาให้เมืองนี้ ทั้งสองจึงเลี้ยงเขาจนโต และนี่คือจุดเริ่มต้นของพญาคันคาก ที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากมากมาย

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง : การรู้จักให้อภัยผู้อื่น รักความสงบ ไม่เจ้าคิดเจ้าแค้นหวังเพียงชัยชนะและความเป็นใหญ่

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 นิทานชาดก นิทานสอนใจพร้อมข้อคิด เด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่อ่านดี

 

 

8. พระนางจามเทวี นิทานพื้นบ้านไทย นิทานท้องถิ่น

พระนางจามเทวี คือ ราชธิดาองค์หนึ่งที่ต้องแต่งงาน และออกไปจากเมือง นิทานเรื่องนี้ จะเล่าเรื่องความเก่งฉลาดของนางจามเทวี

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง : ควรรู้ว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ การทำความดี ย่อมส่งผลให้เราได้รับแต่สิ่งดี ๆ กลับมา

9. นิทานท้องถิ่น แก้วหน้าม้า นิทานพื้นบ้าน สั้นๆ

เมืองแห่งหนึ่ง ได้ให้กำเนิดลูกสาวที่มีหน้าตาเหมือนม้า ทำให้เธอได้ชื่อว่าแก้วหน้าม้า แก้วมีพลังวิเศษ หยั่งรู้ลมฝน เธอได้ช่วยเหลือเจ้าชายองค์หนึ่งไว้ และพูดว่าจะไปเป็นมเหสีของเจ้าชายองค์นั้น หลายสัปดาห์ต่อมา เธอก็เดินทางไปหาเจ้าชาย เพราะไม่มีทีท่าว่าเจ้าชายจะมาหาเธอ เมื่อพระราชาและพระราชินีของเมืองนั้นเห็น ก็พยายามจะขับไล่เธอ แต่แก้วหน้าม้าต้องเจอกับอันตรายมากมาย เพื่อพิสูจน์ตัวเอง ถือเป็นตัวละครหญิงที่แข็งแกร่งมาก

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง : ใช้เหตุผลในการแยกแยะเรื่องราวต่าง ๆ

 

10. ปลาบู่ทอง นิทาน พื้นบ้าน

เล่าเรื่องความกตัญญูของเอื้อย หญิงสาวที่ถูกรังแกโดยภรรยาอีกคนของพ่อ แม่ของเอื้อยต้องรับกรรม เสียชีวิตและเกิดมาเป็นสิ่งมีชีวิตหลายชนิด

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง :

  • คิดดี ทำดี ต้องได้ดี
  • การให้อภัยซึ่งกันและกันทำให้จิตใจเราเป็นสุข
  • ควรพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่
  • อย่าอิจฉาริษยาคนที่ได้ดีกว่า
  • แม้เราจะถูกกลั่นแกล้งอย่างไร ก็ควรจะอดทนไม่ตอบโต้เขาไป

 

12. ไชยเชษฐ์ ละคร พื้นบ้าน ไทย นิทาน ท้องถิ่น

นิทานเรื่องนี้ เกี่ยวกับพระธิดาอยู่องค์หนึ่ง ที่ชื่อนางจำปาทอง เมื่อนางร้องไห้ออกมาจะมีดอกจำปาร่วงลงมา มีอยู่วันหนึ่งนางได้เก็บไข่จระเข้มาเลี้ยงไว้ เมื่อจระเข้โตขึ้น ก็มีนิสัยดุร้ายตามวิสัยของจระเข้ จระเข้นั้นไล่กัดชาวเมืองไปทั่วจนทำให้ท้าวอภัยนุราชโกรธ จึงขับไล่นางจำปาทองออกจากเมือง และมีนางแมวติดตามนางไปด้วย และนางจำปาทองเดินเข้ามาในป่าเรื่อย ๆ ก็เจอกับยักษ์ตนหนึ่ง จึงตกใจกลัวแล้ววิ่งหนี ทำให้ไปเจอกับฤๅษีท่านหนึ่ง จึงขอให้ท่านฤๅษีช่วย และขออาศัยอยู่รับใช้พระฤๅษี

ต่อมาท้าวสิงหล ซึ่งเป็นยักษ์ครองเมืองสิงหล ไม่มีพระโอรสหรือพระธิดา จึงเดินทางไปขอนางจำปามาจากพระฤๅษีมาเป็นธิดา และเปลี่ยนชื่อนางเป็นนางสุวิชา จากนั้นฝ่ายพระไชยเชษฐ์ เป็นโอรสเจ้าเมืองเหมันต์ มีพระสนมอยู่ 7 คน วันหนึ่งพระองค์เสด็จประพาสป่า แล้วเจอนางสุวิชา แล้วพานางกลับเมืองเหมันต์ แต่ฝ่ายสนมของพระไชยเชษฐ์ 7 คน ก็ทรงริษยานางสุวิชา เพราะพระไชยเชษฐ์รักนางสุวิชามากกว่า ครั้นนางสุวิชาท้องและถึงกำหนดคลอด นางสนมทั้ง 7 ออกอุบายว่านางคลอดลูกออกมาเป็นท่อนไม้ พระไชยเชษฐ์รู้เลยไล่นางสุวิชาออกจากเมือง ต่อมาพระไชยเชษฐ์ทรงรู้ความจริงว่าสุวิชาถูกใส่ร้าย จึงออกติดตามนางสุวิชาไปเมืองสิงหล

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง : ก่อนจะทำอะไรให้คิดก่อนทำเสมอ ให้นึกถึงบุญคุณโทษก่อนที่จะทำอะไรลงไป

 

13. ขุนช้างขุนแผน นิทาน ท้องถิ่น

นิทานพื้นบ้านไทย ณ เมืองสุพรรณบุรี กล่าวถึง 3 ครอบครัว คือ ครอบครัวแรก เป็นครอบครัวของขุนไกรพลพ่าย ที่รับราชการทหาร และมีภรรยาชื่อนางทองประศรี มีลูกชายด้วยกันชื่อพลายแก้ว ครอบครัวที่ 2 เป็นครอบครัวของขุนศรีวิชัย เศรษฐีใหญ่เมืองสุพรรณบุรี รับราชการเป็นนายกองกรมช้างนอก มีภรรยาชื่อนางเทพทอง และมีลูกชายชื่อขุนช้าง ซึ่งหัวล้านมาตั้งแต่กำเนิด และครอบครัวที่ 3 คือ ครอบครัวของพันศร โยธาเป็นพ่อค้า ภรรยาชื่อศรีประจัน มีลูกสาวรูปร่างหน้าตางดงามชื่อ พิมพิลาไลย

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง : 

  • ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี เราจึงควรมีความกตัญญูต่อบิดามารดาผู้ที่ให้กำเนิดเรามา
  • การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ สมัยก่อนเด็กผู้ชายจะเรียนหนังสือที่วัด
  • วัดเป็นสถานที่ผูกพันกับชีวิตของคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
  • ในสมัยก่อน จะมีการมัดจุกโกนจุกและนุ่งโจงกระเบนผูกขวัญรับขวัญ
  • ผู้ชายมีการถวายตัวเข้ารับราชการ
  • สมัยก่อนจะ ใช้สมุนไพรรักษาแผล และมีความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์
  • สมัยก่อน คนเดินทางโดยเท้าและการขี่ม้า
  • พ่อแม่ทุกคนรักลูก และยอมเสียสละทุกอย่างเพื่อลูกได้

 

14. นางสิบสอง นิทาน พื้นบ้าน

เศรษฐีสองสามีภรรยา อยู่กินกันมาไม่มีลูก สองสามีภรรยาจึงได้ไปขอลูกกับเทวดา จากนั้นไม่นานภรรยาของเขาก็ตั้งท้องขึ้นมา แล้วต่อมาไม่นานภรรยาก็คลอดลูกออกมา 12 คน เมื่อลูกทั้ง 12 ของเขาโตขึ้น ครอบครัวของพวกเขาก็เริ่มจนลงมาเรื่อย ๆ สามีจึงคิดที่จะเอานาง 12 ไปทิ้งไว้ในป่า ต่อมาไม่นานพวกนางทั้ง 12 ก็ได้เจอกับ นางยักษ์สารตรา แล้วนางยักษ์สารตราจึงเอาพวกนางทั้ง 12 ไปเลี้ยงเป็นลูกของนาง โดยที่ไม่รู้ว่านางสารตรานั้นเป็นยักษ์

อยู่มาวันหนึ่งนางทั้ง 12 รู้เข้าว่าแม่หรือนางยักษ์สารตราเป็นยักษ์ พวกนางจึงพากันหรือออกมาจากเมืองของนางยักษ์สารตรา เมื่อนางยักษ์สารตรารู้เขาว่านางทั้ง 12 หนีออกมา จึงยกพลทหารออกตามนางทั้ง 12 แต่ก็ไม่พบเนื่องจากเทวดาในต้นไทรทองได้ช่วยเหลือเอาไว้ เมื่อพวกนางได้ออกเดินทางในป่ามาเรื่อย ๆ นางจึงได้เจอกับท้าวยาสิทธิ์ เจ้าเมืองขีดขิน พวกนางจึงได้ถูกแต่งตั้งขึ้นมาเป็นมเหสีของท้าวยาสิทธิ์ เมื่อนางยักษ์สารตรารู้เขา นางจึงตามมาเพื่อแก้แค้น โดยแปลงกายมาเป็นผู้หญิงที่มีรูปร่างสวยงดงาม แล้วได้พบกับท้าวยาสิทธิ์ ท้าวยาสิทธิ์หลงในความสวยของนาง จึงได้แต่งตั้งนางยักษ์ที่แปลงกายเป็นหญิงงามเป็นมเหสีของท้าวยาสิทธิ์ จากนั้นนางยักษ์สารตราก็หาวิธีแก้แค้นนางทั้ง 12

นางยักษ์สารตราได้นำนางทั้ง 12 ไปไว้ในถ้ำแล้วควักลูกตาออก แต่นางภาน้องคนสุดท้อง ถูกควักลูกตาออกมาข้างเดียว ตอนนั้นนางทั้ง 12 ได้ตั้งท้องอยู่ และเวลาผ่านมา เมื่อนางทั้ง 12 คลอดลูกออกมา ด้วยความหิวโหย พวกนางจึงกินลูกของตัวเอง ยกเว้นนางเถาน้องคนสุดท้องที่คลอดลูกชายออกมา นางตั้งชื่อลูกชายของนางว่าท้าวรถเสน นางได้ดูแลลูกชายของนางจนโตเป็นหนุ่มรูปงาม ท้าวรถเสนเป็นผู้มีวิชาและความสามารถ ความเก่งกาจของท้าวรถเสนนั้นได้โด่งดังไปทั่วพระนคร

เมื่อนางยักษ์สารตราได้ทราบข่าว จึงหาอุบายเพื่อที่จะฆ่าท้าวรถเสน ออกอุบายให้ท้าวรถเสนนำสารไปส่งให้นางเมรีในเมืองทานตะวัน นางในเขียนในสารว่า เมื่อพระรถเสนไปถึงให้นางเมรีฆ่าเสียทันที เมื่อท้าวรถเสนถึงเมืองทานตะวัน นางได้เปิดอ่านสารจากนางสารตรา แล้วได้เห็นท้าวรถเสน นางจึงได้จัดงานแต่ง โดยไม่สนใจหมอโหรทำนายแต่อย่างใด อยู่กินกันมาไม่นาน ม้าของท้าวรถเสนเตือนให้รีบนำดวงตากลับไปให้นางสิบสอง ท้าวรถเสนจึงหนีออกจากเมืองไป เมื่อนางเมรีตื่นมาไม่เจอท้าวรถเสนนางจึงออกตามหา เมื่อเจอท้าวรถเสน นางจึงร่ำไห้จนเหนื่อยล้านางจึงสิ้นลมหายใจไปในที่สุด

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง : เป็นเศรษฐีก็ยากจน หมดตัวได้  หากไม่รู้จักการใช้จ่ายที่เป็นประโยชน์ มีลูกมาก จะยากจน (แต่หากช่วยกันทำมาหากิน จะมั่งมีเป็นเศรษฐีได้)

 

15. ไกรทอง นิทานพื้นบ้านเรื่องสั้น

เนื้อเรื่องกล่าวถึงพญาชาลวัน จระเข้ที่มีคาถาอาคมอาศัยอยู่ในถ้ำใต้น้ำ มีภรรยาสองคนคือ นางวิมาลาและนางเลื่อมลายวรรณ วันหนึ่งพญาชาลวันได้ออกจากถ้ำเนื่องจากอยากกินเนื้อมนุษย์ เมื่อพญาชาลวัน ได้เห็นนางตะเภาแก้ว และนางตะเภาทองกำลังเล่นน้ำอยู่นั้น เกิดความเสน่หาแก่นางสองคนจึงตรงเข้าไปคาบนางตะเภาทองกลับไปยังถ้ำใต้น้ำ ได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ภรรยาทั้งสอง

ฝ่ายเศรษฐีบิดาของนางตะเภาทองนั้น คิดว่าลูกสาวของตนเองนั้นได้เสียชีวิตแล้ว จึงได้ป่าวประกาศให้สินบนแก่ผู้ที่สามารถฆ่าชาลวันได้ แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดที่สามารถทำได้สำเร็จ ไกรทองนั้นซึ่งเป็นชาวเมืองนนบุรีคุมเรือไปค้าขายยังเมืองพิจิตร ได้ทราบข่าวจึงขออาสา และสามารถปราบชาลวันได้สำเร็จ  และสามารถช่วยนางตะเภาทองกลับมาได้ เศรษฐีจึงเพิ่มบำเหน็จรางวัล และยกลูกสาวทั้งสองให้ไกรทอง ต่อมาไกรทองหวนคิดถึงนางวิมาลาเพราะหลงใหลความงามของนาง จึงได้นางเป็นภรรยาอีกคน

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง : 

  • แม้ตนจะเก่งกล้าสามารถและวิเศษขนาดไหน ย่อมมีผู้ที่เหนือกว่าดังคำที่ว่า เหนือฟ้าก็ยังมีฟ้า
  • ไม่ควรหลายใจและมีภรรยาหลายคน เพราะจะทำให้ครอบครัววุ่นวาย เมื่อมีคู่ครองควรจะรักเดียวใจเดียว ครอบครัวจึงจะเป็นสุข
  • คนเราควรจะรู้จักพอ อย่าโลภมาก
  • ความละโมบและไม่รู้จักพอ นำมาซึ่งความสูญเสีย
  • ความอาฆาตพยาบาททำให้จิตใจไม่เป็นสุขและนำความทุกข์มาให้กับตนเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีเลือกหนังสือให้เหมาะกับเด็กแต่ละช่วงวัย ลูกอายุเท่านี้อ่านหนังสือแบบไหนดี

 

16. เมขลา รามสูร ละคร พื้นบ้าน ไทย เรื่องย่อ

เรื่องราวของพญามังกรที่มีแก้วติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด แล้ววันหนึ่งก็แปลงกายเป็นหนุ่มรูปงามขึ้นไปบนสวรรค์ดาวดึงส์และได้พบรักกับนางอัปสร และได้ให้กำเนิดธิดาชื่อว่า เมขลา ที่โตมารักอิสระมีนิสัยซุกซนชอบเหาะไปตามที่ต่าง ๆ และไม่เกรงกลัวผู้ใด พญามังกรเห็นว่าเมขลาควรมีคู่ครองและจะยกเมขลาให้กับพระอินทร์ และมอบดวงแก้ววิเศษให้กับพระอินทร์ นับตั้งแต่เมขลาเป็นนางสนมพระอินทร์ ก็ได้อยู่แต่ในวิมานไม่ได้ออกไปเที่ยวเล่นซุกซนเหมือนเคย จึงเข้าไปที่ประสาทพระอินทร์และขโมยนำดวงแก้วมาเที่ยวเล่นด้วยความสนุกสนาน

ฝ่ายรามสูรที่มีขวานเพชรเป็นอาวุธและมีเพื่อนรักชื่อราหูที่มีเพียงร่างกายครึ่งบน รามสูรจึงคิดจะช่วยเพื่อนด้วยการจับตัวเมขลาที่ขโมยดวงแก้วไปถวายคืนพระอินทร์ แต่ด้วยความว่องไวของเมขลาจึงสามารถหลบได้ทุกครั้งไป และทุกครั้งที่เจอรามสูรก็ได้ขว้างขวานเพชรออกไปโดนก้อนเมฆและเกิดเสียงดัง ฟ้าร้อง ทั่วพสุธา นิทานเรื่องนี้เป็นเรื่องเล่าต่อกันมาว่า ทุกครั้งที่ได้ยินเสียงฟ้าร้องเป็นเพราะเมขลากำลังโยนดวงแก้ววิเศษหลอกล่อรามสูร จึงทำให้เกิดฟ้าร้อง ฟ้าแลบ ฟ้าผ่านั่นเอง

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง : พิจารณาว่าสิ่งที่ทำนั้นถูกต้องหรือไม่ สิ่งใดควรทำไม่ควรทำ

 

17. จระเข้สามพัน นิทานพื้นบ้าน สั้น ๆ เรื่อง

ในแม่น้ำสายหนึ่ง มีจระเข้ชุกชุมถึงสามสายพันธุ์ด้วยกัน จึงทำให้ไม่มีใครกล้ามาจับปลา มีเพียงตาอยู่คนเดียวเท่านั้น ที่คลุกคลีกับจระเข้และจับปลามาขายได้ เมื่อชาวบ้านเดือดร้อนที่ใช้แม่น้ำหล่อเลี้ยงชีวิตไม่ได้ เรื่องนี้จึงร้อนถึงหูพระราชา ตาอยู่จึงได้บอกกับพระราชาไปว่า ได้เลี้ยงจระเข้ตัวหนึ่งตั้งแต่ยังเล็กมันจึงไม่ทำร้าย ส่วนจระเข้ตัวอื่นถ้ามันกินอิ่มมันก็จะไม่ทำร้ายคน

พระราชาจึงได้มีพระราชโองการสั่งให้เสมียนไปนับจำนวนจระเข้เพื่อที่จะได้นำอาหารไปเลี้ยงพวกมันได้อย่างทั่วถึง เสมียนทั้งสามคนก็พยายามนับจระเข้ที่อยู่ทั้งบนบกและในน้ำ สุดท้ายก็นับจระเข้ได้คนละหนึ่งพันตัว รวมทั้งหมดมีจระเข้ถึงสามพันตัว และพระราชาก็ได้สั่งให้เลี้ยงอาหารจระเข้จนอิ่มและไม่ออกมาทำร้ายชาวบ้าน และหากินในแม่น้ำแห่งนี้ได้อย่างมีความสุข นิทานเรื่องนี้เป็นตำนานหรือนิทานพื้นบ้านของจังหวัดสุพรรณบุรี จนกลายมาเป็นชื่อตำบลจระเข้สามพันจนถึงทุกวันนี้

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง : ต้องมีวิจารณญาณในการช่วยเหลือคน ควรพิจารณาว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ ไม่ควรเลี้ยงสัตว์ร้ายเพราะมันอาจเป็นอันตรายได้

 

18. ละคร พื้นบ้าน ไทย เรื่อง นิทานเรื่องเศรษฐีกับยาจก

มีชายสองคนที่มีฐานะต่างกัน ทั้งสองได้เป็นเพื่อนกัน ชายคนแรกมีฐานะร่ำรวย แต่อาศัยอยู่ตามลำพัง ไม่มีญาติพี่น้อง ส่วนชายคนที่สองมีครอบครัวที่อยู่อย่างมีความสุขแต่มีฐานะยากจน ชายคนแรกได้บอกว่า ถึงแม้จะอยู่คนเดียว แต่ก็ไม่คิดอิจฉา ด้วยความที่มีทรัพย์สินเงินทองให้ใช้มากมาย ส่วนชายคนที่สองก็บอกว่า ไม่เคยคิดอิจฉาเช่นกัน เพราะมีครอบครัวที่ดี มีลูกคอยดูแล ชายทั้งสองต่างก็พยายามพูดให้อิจฉาในชีวิตในแบบของตนโดยไม่มีใครยอมใคร

ในที่สุดชายคนที่สองจึงออกความเห็นให้ต่างฝ่ายต่างมากินข้าวที่บ้านของแต่ละคน เมื่อชายคนที่สองได้ไปกินข้าวที่บ้านชายคนแรกก็พบว่าบ้านของชายคนแรกมีของใช้ของกินมากมาย แต่กลับต้องเหนื่อยเพิ่มขึ้นที่จะต้องทำอะไรคนเดียว และเมื่อชายคนแรกไปกินข้าวที่บ้านของชายคนที่สองก็พบว่า เขาไม่ต้องทำอะไรเลย เพราะมีลูก ๆ คอยช่วยเหลืองานบ้านต่าง ๆ และกินข้าวกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง : การอยู่เพียงลำพังไม่มีครอบครัวหรือญาติพี่น้อง ทำให้ลำบาก เหนื่อยต้องทำเอง ถ้าไม่ทำก็ไม่มีกินแต่ถ้ามีครอบครัวดี ก็เหมือนกษัตริย์ มีลูกหลานคอยดูแลอย่างใกล้ชิดแทบไม่ต้องทำอะไรเลย

 

19. นิทานพื้นบ้านสั้น ๆ เรื่อง ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ นิทาน พื้นบ้าน

ลูกชายที่ออกไปทำนาวันหนึ่งเขาออกไปทำนาตั้งแต่เช้ามืด รออยู่จนสายไม่เห็นแม่นำข้าวมาส่งทำให้เขารู้สึกหงุดหงิดเพราะหิวจนแสบท้อง แม่เห็นแม่ถือกล่องข้าวเดินมาแต่ไกล ก็รีบลุกตรงเข้าไปต่อว่าทันที ด้วยความหิวจึงทำให้ลืมตัวว่าคนที่ต่อว่าอยู่นั่นคือแม่ตัวเอง และไม่สนใจเหตุผลที่แม่อธิบาย และทำร้ายแม่เพราะมองเห็นว่าข้าวที่แม่นำมาให้ในกล่องนั่นน้อยนิดเดียว และรีบเปิดกล่องข้าวกินอย่างหิวโหย

เมื่อกินอิ่มแล้วจึงรู้ว่าข้าวในกล่องยังเหลืออีกตั้งมาก และมองเห็นแม่ที่นอนแน่นิ่ง ปรากฏว่าแม่ได้สิ้นใจด้วยน้ำมือลูกไปแล้ว ชายหนุ่มจึงสำนึกตัวได้ว่าตนเองทำรุนแรงกับแม่ กอดศพแม่ร้องไห้รำพัน และได้สร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นมากลางท้องนาเป็นรูปลักษณะคล้ายกล่องข้าว เพื่ออุทิศส่วนกุศลและใส่กระดูกของแม่ ทุกวันนี้ธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ได้ตั้งอยู่ที่จังหวัดยโสธรนั่นเอง

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง : ทำดีกับพ่อแม่เมื่อยามท่านยังมีชีวิตอยู่ดีกว่าไปสำนึกได้เมื่อยามจากไป

บทความที่เกี่ยวข้อง : ข้อดีของการอ่านนิทานก่อนนอน ให้ลูกฟัง ว่ากันว่ามันคือกิจกรรมที่ทรงพลังที่สุด

20. นิทานพื้นบ้าน หลวิชัยคาวี

ลูกเสือตัวหนึ่งถูกแม่เสือที่ออกไปหากินทิ้งไว้ในถ้ำ ลูกเสือน้อยผู้หิวโหยออกมาเจอแม่วัวลูกติดที่ปากถ้ำจึงขอดื่มนม ซึ่งในตอนแรกแม่วัวก็เกรงว่าจะแว้งมาทำอันตรายเพราะโดยทั่วไปนั้นเสือไม่เป็นมิตรกับวัว แต่ลูกวัวก็วิงวอนให้แม่วัวช่วยลูกเสือเพราะไม่อยากจะทิ้งลูกเสือให้หิวตาย

แม่วัวฟังเหตุผลแล้วจึงให้นมลูกเสือที่หิวโซ ฝั่งลูกเสือก็รู้สึกขอบคุณอย่างยิ่งและรักวัวทั้งสองประหนึ่งเป็นสมาชิกครอบครัว ลูกเสือเห็นว่าถิ่นที่อยู่ของตนมีความอุดมสมบูรณ์จึงชวนสองวัวมาอยู่ด้วยเพื่อตอบแทนบุญคุณ

เมื่อแม่เสือกลับมายังถ้ำลูกเสือจึงบอกเล่าความตั้งใจที่จะชักชวนลูกวัวและแม่วัวซึ่งมีคุณต่อตนมาอยู่ด้วยกันให้แม่เสือทราบ แม่เสือเห็นแก่ลูกจึงทำทีให้สัญญาว่าหากสองวัวมาอยู่ด้วยก็จะไม่ทำร้าย ทว่าอยู่มาวันหนึ่งแม่เสือกลับกินแม่วัวไป เมื่อลูกเสือและลูกวัวทราบจึงวางแผนทำเป็นหิวนมแม่เสือแล้วกลับรุมทำร้ายนางจนตาย จากนั้นสองเด็กกำพร้าก็พากันออกเดินทางไปในป่า จนกระทั่งไปเจอฤาษี ซึ่งได้เสกเสือและวัวให้กลายเป็นคนโดยชื่อว่า หลวิชัย และ คาวี

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง : การมีความเมตตาต่อผู้ที่กำลังลำบากเป็นสิ่งที่ควรทำ และผู้ที่ไม่มีสัจจะ ไม่มีใครอยากคบหาสมาคมด้วย

 

ประโยชน์ของนิทานไทย ละครพื้นบ้านไทย และนิทานพื้นบ้าน

วัยเด็กนั้น เป็นวัยที่มีจินตนาการสูง เด็ก ๆ ทุกคนจึงชื่นชอบการฟังและการอ่านนิทาน นิทานจะทำให้เด็ก ๆ มีใจที่จะจดจ่อ กับการฟังเรื่องราวที่แสนสนุกสนานและตื่นเต้น นิทานถือเป็นสื่อที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก ๆ หากคุณพ่อคุณแม่คิดว่าจะเลี้ยงดูลูกน้อยอย่างไรให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพได้ ลองเอานิทานมาสอนใจลูกดู นิทานนั้น เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถจุดประกายและพัฒนาลูกได้ค่อนข้างสมบูรณ์ทีเดียว ซึ่งประโยชน์ของนิทานมี มากมายดังนี้

 

  • นิทานจะช่วยกระตุ้นจินตนาการเด็ก การฟังจากเสียงที่เล่าออกมาทำให้เด็ก ๆ ได้ใช้จินตนาการโดยการสร้างเรื่องราวให้เห็นเป็นรูปภาพ การเชื่อมโยงในการใช้จินตนาการ จากเสียงเป็นภาพจะช่วยพัฒนาความฉลาดของเด็กได้ดีมาก ๆ
  • นิทานช่วยปลูกฝังให้เด็ก ๆ เป็นคนช่างคิด ช่างสังเกต ซึ่งเป็นพื้นฐานในการสร้างความมั่นใจ กล้าแสดงออก กล้าคิด และกล้าทำในสิ่งที่เหมาะสมและสร้างสรรค์
  • นิทานนั้น จะช่วยส่งเสริมด้านภาษา การที่เด็กได้ยิน และได้ฟังเสียงจะทำให้เด็ก ๆ รู้จักคำ หรือประโยคตลอดจนรู้จักความหมายของคำต่าง ๆ หรือประโยชน์นั้น ๆ และนำไปสู่การเข้าใจภาษา และสื่อสารได้เหมาะสม อีกทั้งจะเป็นการปรับพื้นฐาน ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนให้ลูกน้อยต่อไป
  • นิทานช่วยเสริมสร้างสมาธิ สมาธินั้นเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เด็ก หรือผู้ใหญ่ได้ทำสิ่งใด สิ่งหนึ่ง จนเสร็จ และสำเร็จได้ง่าย ๆ
  • เนื้อหาในนิทานส่วนใหญ่นั้นมักจะสอดแทรกทักษะชีวิตต่าง ๆ และข้อคิดดี ๆ เอาไว้ในตอนท้ายของนิทานเสมอ ซึ่งสามารถใช้เป็นสื่อในการปรับเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ที่ไม่เหมาะสม และปลูกฝังพฤติกรรมที่ดี ให้แก่เด็ก ๆ ใช้เป็นตัวบ่มเพาะคุณธรรม และจริยธรรม ทำให้เด็ก ๆ ได้ตระหนักถึง คุณงามความดี และสิ่งเหล่านี้ จะพัฒนาเป็นบุคลิกภาพติดตัวไปตลอดชีวิต
  • นิทานช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีให้แก่ คุณพ่อ คุณแม่ และเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี นิทานจะเป็นสื่อกลางที่ส่งความอบอุ่น ความเอาใจใส่จาก คุณพ่อ คุณแม่ ไปสู่ลูกทำให้เด็กไม่ได้รู้สึกว้าเหว่ เด็กมีสภาพจิตใจที่มั่นคงมีการพัฒนาการทางด้านอารมณ์ และความคิดเหมาะสมตามวัย

 

แนะนำ! นิทานน่าอ่านสำหรับลูกน้อยและครอบครัว

 

ได้รู้ถึงประโยชน์ของนิทานไปแล้ว เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ทุกท่าน ต้องการที่จะให้ลูกได้อ่านนิทานดี ๆ แต่อาจมีปัญหาที่เมื่อเล่าไปแล้ว อาจจะไม่ได้รับการตอบสนองที่ดีจากลูกน้อยจนอาจทำให้รู้สึกท้อ และคิดว่านิทานใช้กับลูกน้อยไม่ได้ผล แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นของปัญหา … การที่เด็ก ๆ รู้สึกเบื่อหน่าย หรือขาดความสนใจในการฟังนิทานนั้น อาจจะมาจากที่คุณพ่อคุณแม่ขาดเทคนิคในการเล่านิทานนั่นเอง

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

15 นิทานสั้น รวมนิทานอีสปที่มีคติสอนใจ เหมาะกับเด็ก อ่านสนุก เปิดฟังก่อนนอน

หนังสือนิทานสำหรับเด็ก แจกฟรี!! ทั้งภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ โหลดเลย

“นิทานออนไลน์” แนะนำช่องทางอ่านฟรี ดูฟรี ให้ลูกน้อยได้หลับฝันดีตลอดทั้งคืน

ที่มา : thesmartlocal, trueplookpanya

บทความโดย

Jitawat Jansuwan