ยา 10 ชนิดที่เป็นอันตรายต่อลูกน้อย ในยุคสมัยนี้ ที่การแพทย์ดำเนินไปถึงจุดที่ รักษาโรคที่เคยรักษายาก ให้หายได้ อย่างง่ายดายมากขึ้น ทำให้คนเรามักจะกินยา เวลาที่เกิดอาการเจ็บป่วย แต่จริงๆแล้วมียาหลายชนิดที่แม่ๆควรระวัง ไม่ให้เจ้าตัวน้อยทาน มาดูกันดีกว่าว่า ยา 10 ชนิดที่เป็นอันตรายต่อลูกน้อย มีอะไรบ้างที่คุณแม่ต้องระวังให้ดี
ว่าด้วยเรื่อง ยา เป็นเรื่องชวนกลุ้มสำหรับ คุณพ่อคุณแม่ ทุกคน ลองถามตัวเองดูว่าคุณทราบไหมว่า มียาอะไรเป็นยาอันตราย ต่อลูกน้อย และคุณรู้ว่าลูกไม่สบาย แต่ยาอะไรล่ะที่คุณจะให้ ลูกทานได้อย่างปลอดภัย? คุณควรคุยกับ คุณหมอ ทุกครั้งก่อนให้ลูกทานยาใด ๆ ก็ตาม แม้แต่ ยาสมุนไพร ร่างกายของเด็กทารก ยังไม่สมบูรณ์พร้อมด้วย ภูมิคุ้มกันต่อหลายสิ่งซึ่ง รวมถึงพืชด้วย เด็กทารกอาจ มีปฏิกิริยาแปลก ๆ ต่อพืช และ สมุนไพรหลากชนิด คุณจึงไม่ควรเสี่ยงให้ ยาสมุนไพร กับลูกค่ะ
10 รายชื่อ ยาต้องห้ามและยาที่ควรหลีกเลี่ยงในเด็กมีอะไรบ้าง
นพ. วรณัฐ ปกณ์รัตน์ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ได้แนะนำให้คุณแม่ควรระวังเมื่อให้ยาลูกน้อย ยา 10 ชนิดที่เป็นอันตรายต่อลูกน้อย โดยรายชื่อยาเหล่านี้ควรหลีกเลี่ยงสำหรับเด็ก มีดังต่อไปนี้
รวมรายชื่อยา ที่ควรหลีกเลี่ยงในทารกและเด็กได้แก่
- ยาต้านการขับถ่าย เช่น โลเพอราไมด์ (Loperamide) ควรหลีกเลี่ยงในทารก
- ยาระบายสวนทวาร (Sodium Phosphate enema) ควรหลีกเลี่ยงในทารก
- ยากันชัก เช่น ยาลาโมทริจีน (Lamotrigine), ยาในกลุ่มกรดวาโพรอิค (Valproic acid)
- ยานอนหลับ/ยาคลายวิตกกังวล เช่น ยาไมดาโซแลม (Midazolam)
- ยาต้านซึมเศร้า (anti-depressants) บางประเภท เช่น เดซิพรามีน (Desipramine)
- ยาต้านจิตเภท (anti-psychotics) ทุกประเภท เช่น ยาฮาโลเพอริดอล (Haloperidol)
- ยาทาในกลุ่มคอร์ทิโคสเตียรอยด์ (Topical corticosteroids)หลีกเลี่ยงในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี
- ยาเพิ่มการเต้นของหัวใจ เช่น ยาอะโทรพีน (Atropine)
- ยาต้านไวรัสเอชไอวีบางชนิด เช่น ยาอินดินาเวียร์ (Indinavir)
- ยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น ยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลน (Fluoroquinolone), ยาคลอแรมเฟนนิคอล (Chloramphenicol), ยากลุ่มเตตร้าไซคลิน (Tetracycline)
บทความประกอบ: ยาต้องห้ามสำหรับแม่ให้นมลูก ให้นมลูกอยู่ต้องงดทานยาอะไร
ยาที่คุณแม่มักซื้อในร้านขายยาทั่วไปซึ่งเป็นยาต้องห้ามสำหรับเด็ก
คุณหมอวรณัฐกล่าวว่า ด้วยเหตุนี้ จึงมีความเป็นไปได้ที่ผู้ใหญ่อาจซื้อยาปฏิชีวนะ โดยที่ไม่รู้ว่ายาปฏิชีวนะบางตัวนั้นไม่ควรใช้ในเด็ก อาทิเช่น ยากลุ่มเตตร้าไซคลิน จะส่งผลให้ฟันของเด็กมีสีที่ผิดเพี้ยน เป็นต้น
ลูกน้อยสามารถเริ่มกินยาปฏิชีวนะได้ตั้งแต่วัยกี่ขวบ
คุณหมอวรณัฐกล่าวว่า แม้ว่าจะมีการจ่ายยาปฏิชีวนะให้กับเด็กได้ตั้งแต่เป็นทารก แต่ตามหลักการแล้ว มักไม่นิยมการจ่ายยาปฏิชีวนะมากนักในวัยนี้ เนื่องจากการติดเชื้อในเด็กวัยนี้ มักเกิดจากไวรัส เช่น ไข้หวัด ดังนั้น ยาปฏิชีวนะจึงไม่มีประโยชน์ และมักเน้นการรักษาตามอาการมากกว่า
วิธีให้ยาน้ำกับลูกน้อยวิธีการอย่างไรปลอดภัย ควรทานช่วงใด
ยาน้ำสำหรับเด็กนั้น มีทั้งแบบก่อนและหลังอาหาร จึงควรให้เด็กรับประทานตามที่ฉลากกำกับ โดยปกติ ยาน้ำแก้ปวด มักนิยมให้หลังอาหาร ยาแก้อาการคลื่นไส้จะให้ก่อนอาหาร เป็นต้น
เมื่อทารกทานยามีความเสี่ยงหรือผลข้างเคียงอะไรหรือไม่
สิ่งผิดพลาดที่เกิดบ่อยที่สุด เวลาพ่อแม่ให้ยา คือ การให้ยาผิดขนาด มักจะให้เกินที่ฉลากกำหนด เนื่องจากร่างกายของเด็กยังเล็ก ทำให้ปริมาณยาที่เกินมาเพียงเล็กน้อย ก็จะเพิ่มระดับในกระแสเลือดได้มาก โดยเหตุมักเกิดจากการผสมผงยา กับ ปริมาณน้ำผิด หรือ ใช้ช้อนตักยาผิดประเภท
กลุ่มยาทาชนิใดที่เป็นอันตรายต่อลูกน้อย
แม้ว่าโดยปกติยาทามักจะส่งผลร้ายกับเด็ก เพราะออกฤทธิ์แค่บริเวณผิวหนัง แต่ก็ควรระวังการใช้ยาทาในกลุ่มคอร์ทิโคสเตียรอยด์ (Topical corticosteroids) ซึ่งควรหลีกเลี่ยงในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี เพราะอาจซึมซับทางผิวหนังและเข้าสู่กระแสเลือดได้ ถ้าทาในปริมาณมาก ซึ่งจะส่งผลให้ไปรบกวนการทำงานของต่อมหมวกไต
มียาชนิดใดที่คุณแม่สามารถซื้อให้ลูกน้อยทานได้เอง (กรณีเร่งด่วน)
คุณหมอวรณัฐกล่าวว่า ถึงกระนั้น ในกรณีที่เป็นไข้ คุณพ่อคุณแม่สามารถซื้อยาน้ำลดไข้ เช่น ยาน้ำพาราเซตามอล ให้ลูกได้ โดยระหว่างนั้น หากมีไข้อยู่ ก็ควรเช็ดตัวลดไข้ให้เด็กเป็นระยะๆ ด้วย
คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับคุณแม่
คุณหมอวรณัฐแนะนำว่า ข้อที่พึงระวังสำหรับคุณพ่อคุณแม่ก็คือ การให้ยาในปริมาณที่ถูกต้องกับเด็ก จึงควรศึกษาฉลาก ปริมาณช้อนชา และการผสมยาที่ถูกต้องทุกครั้ง หากมีข้อสงสัย ควรสอบถามเภสัชกร หรือ แพทย์ให้เข้าใจ ก่อนให้ยาเด็กทุกครั้งค่ะ
ที่มาของข้อมูล : นพ. วรณัฐ ปกณ์รัตน์ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
บทความประกอบ : วิธีตวงยาน้ำ และอุปกรณ์ตวงยาน้ำ ตวงยาลดไข้ของลูก แก้อาการลูกเป็นไข้ ตวงยาน้ำอย่างไรให้พอดี
ยาที่เด็กไม่ควรรับประทานเพิ่มเติม
แอสไพริน
ห้ามให้ยาแอสไพริน กับเด็กทารกโดยเด็ดขาดเนื่องจาก เด็กมีโอกาสเกิด อาการเรย์ซินโดรม (Reye’s Syndrome) ซึ่งอาจเป็นอันตรายร้ายแรง ถึงชีวิต คุณควรตรวจสอบยา ที่ซื้อจาก ร้านขายยาทั่วไป เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มี ส่วนประกอบของแอสไพริน และ ควรสอบถามแพทย์ ถึงยาตัวอื่น ๆ ที่จะช่วย ลดไข้ ให้ลูกน้อย ของคุณสบายขึ้นได้
ยาแก้หวัด ซึ่งจำหน่ายตาม ร้านขายยาทั่วไป
ไม่ควรให้ เด็กทารก ทานยาแก้หวัด ซึ่งจำหน่ายตาม ร้านขายยา ทั่วไป ผลการวิจัยหลายชิ้น ชี้ว่ายาเหล่านี้ไม่ช่วย บรรเทาอาการของโรคหวัด ในเด็กทารก และ หากใช้ยา ไม่ถูกวิธีก็อาจกลายเป็น ยาอันตราย ต่อลูกน้อยของคุณ เพราะเสี่ยง ที่จะเกิดผล ข้างเคียง ขึ้นได้หลายอย่าง เกินกว่าที่ร่างกายเด็กจะรับไหว
ยาแก้ คลื่นไส้อาเจียน
ห้ามให้ ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ซึ่งแพทย์ไม่ได้เป็นผู้สั่ง แก่ลูกโดยเด็ดขาด ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน หลายขนานมีส่วนประกอบของตัวยา ต้านอาการคลื่นเหียน (Antiemetic) ซึ่งมีผลข้างเคียงร้ายแรงต่อ เด็กทารก และโ ดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ ตัวอ่อนในครรภ์ หากได้รับตัวยานี้ ลูกอาจถ่ายเป็น สีดำคล้ำ หรือ ได้ยิน เสียงก้องสะท้อนในหู สำหรับผู้ใหญ่ อาการเหล่านี้ไม่ใช่เรื่อง หนักหนาสาหัสแต่ กับ เด็กทารก แล้วนี่อาจสร้าง ปัญหาที่ไม่ควรเกิดขึ้นได้
ยาของผู้ใหญ่
สิ่งหนึ่งที่ คุณพ่อคุณแม่ ทุกคนควรตระหนัก อยู่เสมอคือ เด็กทารก นั้นตัวเล็ก กว่าเราหลายเท่า คุณไม่ควรเอายา ของผู้ใหญ่ให้ลูกทาน อย่างเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นยา ที่แพทย์สั่งหรือจำหน่ายตาม ร้านขายยาทั่วไป ระบบภูมิคุ้มกัน ของเด็กทารกบอบบางกว่าของ ผู้ใหญ่มาก ร่างเล็ก ๆ ของเด็กไม่อาจทนรับสารพัดสิ่งอย่าง ที่ร่างกายเราทำได้
ยาหมดอายุ
ยาใด ๆ ก็ตามที่หมดอายุแล้วควรเอาไปทิ้งทันที ยาหมดอายุอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ สูตรของตัวยาที่ควรจะช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ สามารถส่งผลในทางตรงข้ามโดยสิ้นเชิง ยาสามารถหมดอายุได้ในเวลาไม่นานนักหากเก็บรักษาไม่ถูกวิธี
บทความประกอบ:ลูกกลัวเข็ม เห็นกี่ทีก็ร้องไห้งอแง แก้ปัญหาเรื่องนี้ยังไงดี?
ยาที่แพทย์สั่งให้ผู้อื่น
เมื่อมีการสั่งยา แพทย์จะคำนึงถึงลักษณะร่างกาย น้ำหนักตัวและประวัติสุขภาพของคน ๆ นั้น แน่นอนว่าลูกของคุณย่อมไม่ได้มีรูปร่างแบบเดียวกัน ยาอาจได้ผลดีกับคนที่แพทย์สั่งให้แต่อาจเป็นยาอันตรายถึงชีวิตกับลูกของคุณ
ยาเม็ดชนิดเคี้ยว
ยาเม็ดชนิดเคี้ยวอาจติดคอเด็กทารกเป็นอันตรายได้ ห้ามให้ลูกทานอะไรก็ตามที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบของเหลว
ยาต้านพิษไอปิแคค (Ipecac)
ไอปิแคคเคยใช้เป็นยาขับสารพิษออกจากร่างกายทางการอาเจียน แต่ปัจจุบันแพทย์ค้นพบว่าการอาเจียนอาจไม่ใช่คำตอบ หากใช้ไอปิแคคกับเด็กอาจทำให้เกิดการอาเจียนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานหลังจากสารพิษถูกขับออกมาหมดแล้วและก่อให้เกิดภาวะขาดน้ำในเด็กทารกได้
ยาแก้แพ้
ไม่ควรให้เด็กทารกทานยาแก้แพ้เว้นแต่จะเป็นยาที่แพทย์สั่ง ยาแก้แพ้ซึ่งจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไปมีส่วนประกอบของตัวยาต้านฮีสตามีน (Antihistmine) ซึ่งอาจส่งผลตรงกันข้ามในเด็กทารก นอกจากนี้ยังมีเด็กมากมายที่เกิดมาพร้อมอาการแพ้แต่ก็สามารถหายได้เองเมื่อโตขึ้น
น้ำผึ้ง
แม้ว่าน้ำผึ้งจะไม่ใช่ยา แต่ก็ถูกนำมาใช้ในการบำบัดรักษาเชิงสมุนไพรหลายรูปแบบ น้ำผึ้งมีสปอร์ของสารโบทูลิซึ่ม (Botulism) ซึ่งเกิดจากแบคทีเรียชนิดหนึ่ง หากเด็กทารกได้รับสปอร์โบทูลิซึ่มเข้าไป สปอร์จะฟักเชื้อในท้องและก่อให้เกิดสารพิษแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย ไม่ว่าใครที่ทานน้ำผึ้ง ร่างกายต้องย่อยสปอร์นี้ แต่ร่างกายของผู้ใหญ่และเด็กโตสามารถรับสปอร์ได้ดีกว่า
สิ่งสำคัญที่สุดคือคุณควรปรึกษาคุณหมอก่อนให้ลูกทานยาใด ๆ ทุกครั้ง แม้ว่าจะเป็นยาซึ่งคุณแม่ของคุณเคยให้คุณทานมาตลอดก็ตาม ยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปและผู้ผลิตมักหาหนทางที่ถูกกว่าในการผลิตยาเสมอ อย่าให้ลูกน้อยต้องทรมานจากการใช้ยาผิด ๆ เลยค่ะ
และสุดท้ายในช่วงนี้ หากคุณแม่อยากไปหาหมอ เมื่อมีปัญหาเรื่องสุขภาพไม่ว่าจะเป็นตัวคุณแม่หรือลูกน้อย อยากปรึกษาหมอเกี่ยวกับอาการป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ก็ไม่อยากไปโรงพยาบาล เพราะกลัวว่าจะติดโควิด ทางเราขอแนะนำทางลัดที่จะแก้ปัญหาให้เหล่าคุณแม่ค่ะ สามารถเข้ามาใช้บริการปรึกษาหมอแบบออนไลน์ที่แอปพลิเคชั่น Good Doctor ได้ค่ะ แอปพลิเคชั่นนี้ จะช่วยให้คุณแม่ปรึกษาคุณหมอได้อย่างใกล้ชิด รวมทั้งยังสามารถรับยาจากคุณหมอมาทานได้ ซึ่งยาจะถูกส่งตรงถึงบ้านทันทีหลังจากที่ซื้อ หากสนใจ ก็สามารถเข้าไปโหลดแอปได้ที่ App Store หรือ Google Play ได้เลยคค่ะ
ที่มาของข้อมูล : todaysparent
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
ยาเด็ก เก็บอย่างไร ใช้ได้นานแค่ไหน ถึงปลอดภัยกับลูกรัก
เทคนิคสุดปัง! วิธีป้อนยาเด็ก ลูกกินยายาก ป้อนอย่างไรให้ถูกต้อง