10 สุดยอด "เทคนิคฝึกสมอง" ให้ลูกความจำเลิศ

อ่านเลย! เคล็ดลับ “จำแม่น” ที่อาจารย์หมอด้านประสาทวิทยาแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่นำไปฝึกสมองพัฒนาความจำของลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาจารย์หมอ Judy Willis ได้ประยุกต์ทฤษฎีเรื่องความจำในสมองมาใช้วางกลยุทธ์ด้านการเรียนการสอน พ่อแม่ที่มีลูกวัยเรียนนำไปทดลองใช้ได้เลยค่ะ

 

10 สุดยอดเทคนิคฝึกสมองให้ลูกความจำเลิศ

 

1 .ผ่อนคลายความเครียด

ความเครียดจะส่งข้อมูลต่าง ๆ ไปให้สมองส่วนปฏิกิริยาตอบสนอง และขัดขวางไม่ให้ข้อมูลไปถึงสมองส่วนการคิดไตร่ตรองกับความจำระยะยาว
ตัวอย่าง : ก่อนเริ่มเรียนทุกครั้ง ควรทำกิจกรรมสนุก ๆ เช่น ร้องเพลง เล่นเกม หรือดูภาพตลกขำขันก่อน เพื่อลดความเครียดและเปิดช่องทางการจำในสมอง

 

2. กระตุ้นความสนใจ

เหตุการณ์น่าจดจำจะฝังลึกในความจำระยะยาว ความอยากรู้อยากเห็นจะเปิดประสาทสมองให้พร้อมทำงาน
ตัวอย่าง : ติดภาพโปสเตอร์เกี่ยวกับเรื่องที่ลูกกำลังจะเรียน แล้วพูดชักจูงกระตุ้นให้ลูกทายว่าเรื่องนี้คืออะไร แล้วจะเป็นอย่างไรต่อไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

3. เทคนิคฝึกสมอง เล่นสีสัน

สีสันช่วยกระตุ้นสมองได้ดี
ตัวอย่าง : ให้ลูกใช้ดินสอสีขีดเส้นใต้หรือระบายเพื่อเน้นความสำคัญ อาจจะสอนให้เรียงลำดับความสำคัญตามสีไฟจราจรก็ได้

 

4. ใส่ความแปลกใหม่ลงไป

ความแปลกใหม่จะทำให้จดจำได้ดีขึ้น เพราะสมองจะตื่นตัวกับสิ่งใหม่ ๆ และประมวลข้อมูลมากกว่าปกติ
ตัวอย่าง : สร้างประสบการณ์แปลกใหม่ เช่น ใส่หมวกตลก ๆ ผูกผ้าพันคอให้น้องหมา หรือจุดเทียน ก่อนเริ่มเรียน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. สร้างความหมายในแบบฉบับตัวเอง

เรื่องที่เด็ก ๆ จะจำได้แม่นมักเป็นเรื่องที่เขาสนใจหรือคิดว่าสำคัญกับตัวเขา
ตัวอย่าง : โยงเรื่องในบทเรียนเข้ากับความสนใจของลูก โดยผูกเป็นเรื่องราวต่อเนื่องกัน เพราะเด็กจะจำเรื่องราวได้ดี

 

6. เทคนิคฝึกสมอง เชื่อมโยงความทรงจำ

สมองจะเก็บข้อมูลความจำระยะสั้นในช่วงสั้น ๆ แค่ไม่ถึง 1 นาที ถ้าไม่ได้เชื่อมโยงกับความรู้เดิม
ตัวอย่าง : ทบทวนสิ่งที่ลูกรู้อยู่แล้วหรือเรียนจากวิชาอื่น แล้วเชื่อมข้อมูลความรู้ใหม่เข้าไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

7. จัดระบบระเบียบข้อมูล

สมองเป็นอวัยวะที่คอยมองหาแบบแผน ระบบ ระเบียบของสิ่งต่าง ๆ แล้วเรียบเรียงจัดเก็บข้อมูลในความจำระยะยาวอย่างเป็นระบบ ความรู้อะไรก็ตาม ถ้าจัดเรียงข้อมูลไว้ดีก็ยิ่งจำง่าย
ตัวอย่าง : ทำตาราง แผนภูมิ เปรียบเทียบความเหมือน/ความต่าง เพื่อสร้างระบบความจำระยะยาว

8. ลงมือปฏิบัติ นำไปใช้จริง

เพื่อให้จำได้แม่น เด็กต้องคิดและลงมือทำบางอย่างด้วย การประยุกต์และนำไปใช้เป็นการสร้างความจำถาวร
ตัวอย่าง : ให้ลูกเขียนสรุปสิ่งที่เรียนด้วยคำพูดตัวเอง ในรูปแบบภาพวาด การ์ตูน นิทาน หรือเรื่องสั้นก็ได้ ตามความถนัดของลูก

9. ฝึกฝนเป็นประจำ

การฝึกฝนทบทวนบ่อย ๆ จะเพิ่มเส้นทางการจำในสมอง เพราะสมองส่วนต่าง ๆ จะเก็บข้อมูลแตกต่างกัน การเรียกดูข้อมูลเป็นการกระตุ้นให้สมองทำงานร่วมประสานกันดี
ตัวอย่าง : ให้ลูกทำแบบฝึกหัดบ่อย ๆ และทำแบบทดสอบทบทวนความรู้เป็นระยะ ๆ

10. พักสมองบ้าง

บางครั้ง การทำกิจกรรมซ้ำ ๆ แค่ 10 นาทีก็อาจทำให้สมองเกิดอาการล้าได้ เพราะฉะนั้น ควรปล่อยให้สมองได้พักเติมพลังบ้าง อย่าอัดสิ่งต่าง ๆ เข้าหัวในรวดเดียว
ตัวอย่าง : แทรกกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ยืดเส้นยืดสาย ร้องเพลง เล่นเกมทำท่าทางตามคำศัพท์ แค่ไม่กี่นาที ก็ช่วยเพื่อให้สมองสดชื่นขึ้นและเตรียมพร้อมจดจำได้ดีขึ้น

ความจำที่ดีเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียน อย่าลืมฝึกสมองลูกเป็นประจำนะคะ!

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา  psychologytoday.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

5 เมนูเพิ่มพลังสมองเสริมความจำให้ลูก

เด็กอ้วนเสี่ยงความจำไม่ดี เรียนไม่เก่ง