X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พาทัวร์กรุงเก่า อยุธยา ไหว้พระ 9 วัด กับวัดที่ 8 วัดพุทไธศวรรย์

บทความ 5 นาที
พาทัวร์กรุงเก่า อยุธยา ไหว้พระ 9 วัด กับวัดที่ 8 วัดพุทไธศวรรย์

วัดพุทไธศวรรย์ เป็นพระอารามหลวงตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ในตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดพุทไธศวรรย์เป็นพระอารามหลวงที่ใหญ่โตและมีชื่อเสียงวัดหนึ่ง ปรากฏตามตำนานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างขึ้น ในบริเวณที่ซึ่งเป็นที่ตั้งพลับพลาที่ประทับเมื่อทรงอพยพมา ตั้งอยู่ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี 

วัดพุทไธศวรรย์1

วัดพุทไธศวรรย์1

ที่ตรงนี้มีชื่อปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า  ตำบลเวียงเล็ก หรือ เวียงเหล็ก  ครั้นเมื่อสถาปนากรุงศรีอยุธยาแล้ว ถึง พ.ศ. 1896 จึงโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเป็นพระราชอนุสรณ์ ณ ตำบล ซึ่งพระองค์เสด็จมาตั้งมั่นอยู่แต่เดิม และพระมหากษัตริย์องค์ต่อ ๆ มา ก็คงจะได้โปรดให้สร้างถาวรวัตถุ เพิ่มเติมขึ้นอีกหลายอย่าง 

เมื่อเสียกรุงฯ ในปี พ.ศ. 2310 วัดพุทไธศวรรย์  เป็นอีกวัดหนึ่งที่มิได้ถูกข้าศึกทำลาย เหมือนวัดอื่น ๆ ทุกวันนี้จึงยังมีโบราณสถานไว้ชมอีกมากมาย

ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ ปรางค์ประธาน องค์ใหญ่ศิลปะแบบขอม ตั้งอยู่กึ่งกลางอาณาเขตพุทธาวาสบนฐานไพที ซึ่งมีลักษณะย่อเหลี่ยมมีบันไดขึ้น 2 ทาง คือ ทางทิศตะวันออก และทางทิศตะวันตก ส่วนทิศเหนือทิศใต้มีมณฑปสองหลัง ภายในพระมณฑปมีพระประธาน 

วัดพุทไธศวรรย์3

วัดพุทไธศวรรย์2

พระตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ประจำอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตำหนักนี้อยู่ในสภาพค่อนข้างทรุดโทรม แต่ภายในผนังของตำหนัก มีภาพสีเกี่ยวกับเรื่องหมู่เทวดา นักพรต นมัสการพระพุทธบาท และเรือสำเภาตอนพระพุทธโฆสะไปลังกา ภาพเหล่านี้อยู่ในสภาพค่อนข้างทรุดโทรม มองเห็นไม่ค่อยชัดเจนนัก 

มีพระอุโบสถอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของปรางค์ หมู่พระเจดีย์สิบสององค์, วิหารพระนอน และตำหนักท้าวจตุคามรามเทพ

ส่วนทิศเหนือทิศใต้มีมณฑปสองหลังภายในพระมณฑปมีพระประธาน พระตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ประจำอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา

นอกจากนี้ยังมีพระอุโบสถอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของปรางค์ หมู่พระเจดีย์สิบสององค์, วิหารพระนอน และตำหนักท้าวจตุคามรามเทพ

วัดพุทไธศวรรย์2

วัดพุทไธศวรรย์3

ประวัติและคสวามเป็นมา ของ วัดพุทไธศวรรย์ 

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาวัดพุทไธศวรรย์ เป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งมีฐานะเป็นพระอารามหลวง (พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา, ๒๕๐๐, หน้า ๒๑๕) ซึงสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นหลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติแล้ว ๓ ปี โดยเลือกภูมิสถานบริเวณที่เรียกกันว่า ตำบลเวียงเหล็ก เรื่องราวของการสร้างวัดนี้ปรากฎอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาว่า

พระตำหนักเวียงเหล็ก ที่กล่าวไว้ในพงศาวดารนี้ คือ บริเวณที่ประทับเดิมของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ก่อนที่จะยกข้ามแม่น้ำไปสร้างพระราชวังที่ ตำบลหนองโสน หรือที่เรียกว่า “บึงพระราม” ในปัจจุบันและสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีใน พ.ศ. ๑๘๙๓

ในจดหมายเหตุโหร ได้กล่าวถึง เหตุการณ์ครั้งที่พระเจ้าอู่ทอง ทรงอพยบพาไพร่พลหนีโรคภัยมาจากเมืองอู่ทองนั้น ในตอนแรกได้มาตั้งที่ตำบลเวียงหลัก เมื่อปีกุน จุลศักราช ๗๐๙ (พ.ศ. ๑๘๙๐) และได้พักไพร่พลอยู่ ณ ที่นี้ถึง ๓ ปี จนกระทั้งเห็นว่าไฟร่พลของพระองค์พ้นจากความอิดโรย มีความเข้มแข็งขึ้น จึงยกไพร่พลข้ามแม่น้ำมาสร้างพระนครศรีอยุธยา อยู่ในบริเวณปัจจุบันและทำพระราชพิธีราชาภิเษกสถาปนาพระนคร เมื่อปีเถาะ โทศก จุลศักราช ๗๑๒ (พ.ศ. ๑๘๙๓)

วัดพุทไธศวรรย์4

วัดพุทไธศวรรย์4

ในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ วัดพุทไธศวรรย์ ได้ถูกใช้เป็นสถานที่ตั้งทัพของพม่า ในคราวที่ยกทัพมาล้อมกรุงฯ เพื่อทำการรบกับกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากวัดพุทไธศวรรย์ เป็นวัดที่ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองกรุงศรีอยุธยา 

กล่าวคือ เมื่อครั้งที่พระเจ้าบุเรงนอง แห่งกรุงหงสาวดี ทรงส่งพระราชสาส์น มาขอม้าและช้างเผือก จากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ แต่ถูกปฏิเสธ พระเจ้าบุเรงนองจึงยกทัพเข้ามาและกวาดต้อนเอากำลังทางหัวเมืองของไทยมาสมทบ ด้วย เมื่อยกทัพมาถึงกรุงศรีอยุธยา

หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว ก็ไม่มีหลักฐานทางด้านเอกสารใดกล่าวถึงวัดพุทไธศวรรย์อีกจนกระทั่งถึงในสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเทพพลภักดิ์ ซึ่งบัญชาการกรมพระคชบาล เสด็จออกไปชมเพนียดทรงพบว่า

ที่ด้านมุขของปรางค์ประธานวัดพุทไธศวรรย์นั้น มีพระรูปพระเจ้าอู่ทองตั้งอยู่ ต่อมาเข้าจึงกราบทูลมายังสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ พระองค์จึงโปรดให้อัญเชิญ เทวรูปนั้นลงมากรุงเทพฯ ใน พ.ศ. ๒๓๒๗ 

แล้วโปรดให้หล่อดัดแปลงใหม่เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง หุ้มเงินทั้งองค์ และโปรดให้ประดิษฐานไว้ ณ หอพระเทพบิดรภายในวัดพระศรีรัตนศาสดารามในปัจจุบัน ส่วนรูปที่เรียกกันว่า “พระเจ้าอู่ทอง” 

วัดพุทไธศวรรย์5

วัดพุทไธศวรรย์5

ในปัจจุบันนี้ เป็นของหล่อขึ้นใหม่แทนของเดิม ทำเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย ประทับยืนอยู่ภายในซุ้มจระนำบริเวณผนังด้านทิศเหนือของมุขด้านทิศตะวันออก

ปัจจุบันวัดพุทไธศวรรย์ ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี

 

ที่มา : (ayutthaya) (putthaijatukam) (wikipedia)

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

พาไหว้พระ 9 วัด ณ ตำบลพระขาว อยุธยา วัดที่ 7 วัดพระขาว

ไหว้พระ 9 วัด ที่พระนครศรีอยุธยา กับวัดที่ 6 วัดท่าการ้อง

พาไหว้พระ 9 วัด เสริมมงคงรับปีใหม่ วัดที่ 5 วัดพระศรีสรรเพชญ์

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

@GIM

  • หน้าแรก
  • /
  • การท่องเที่ยว
  • /
  • พาทัวร์กรุงเก่า อยุธยา ไหว้พระ 9 วัด กับวัดที่ 8 วัดพุทไธศวรรย์
แชร์ :
  • 7 เรื่องต้องใส่ใจ! พาลูกเล่นสงกรานต์อย่างปลอดภัย แฮปปี้ ไม่มีป่วย

    7 เรื่องต้องใส่ใจ! พาลูกเล่นสงกรานต์อย่างปลอดภัย แฮปปี้ ไม่มีป่วย

  • 10 ที่เที่ยวปิดเทอม 2568 กิจกรรมแน่น ทั้งเล่น ทั้งเรียนรู้ เด็กๆ ต้องเลิฟ

    10 ที่เที่ยวปิดเทอม 2568 กิจกรรมแน่น ทั้งเล่น ทั้งเรียนรู้ เด็กๆ ต้องเลิฟ

  • เปิดโผ 12 จุดเช็กอินสงกรานต์ มหาสนุก ทั่วกรุง! Water Festival 2025

    เปิดโผ 12 จุดเช็กอินสงกรานต์ มหาสนุก ทั่วกรุง! Water Festival 2025

  • 7 เรื่องต้องใส่ใจ! พาลูกเล่นสงกรานต์อย่างปลอดภัย แฮปปี้ ไม่มีป่วย

    7 เรื่องต้องใส่ใจ! พาลูกเล่นสงกรานต์อย่างปลอดภัย แฮปปี้ ไม่มีป่วย

  • 10 ที่เที่ยวปิดเทอม 2568 กิจกรรมแน่น ทั้งเล่น ทั้งเรียนรู้ เด็กๆ ต้องเลิฟ

    10 ที่เที่ยวปิดเทอม 2568 กิจกรรมแน่น ทั้งเล่น ทั้งเรียนรู้ เด็กๆ ต้องเลิฟ

  • เปิดโผ 12 จุดเช็กอินสงกรานต์ มหาสนุก ทั่วกรุง! Water Festival 2025

    เปิดโผ 12 จุดเช็กอินสงกรานต์ มหาสนุก ทั่วกรุง! Water Festival 2025

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว