X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ฝึกปรือวิทยายุทธก่อนเป็นพ่อแม่มือใหม่ หัดเลี้ยงลูกผ่านแอพด้วย แว่นตาเสมือนจริง !!

10 Aug, 2017
ฝึกปรือวิทยายุทธก่อนเป็นพ่อแม่มือใหม่ หัดเลี้ยงลูกผ่านแอพด้วย แว่นตาเสมือนจริง !!

ตอบโจทย์การเลี้ยงลูกของพ่อแม่มือใหม่ในอนาคตได้ง่ายกว่าเดิม ด้วยการใช้ Nursery VR ที่ให้พ่อแม่มือใหม่ได้ลองเลี้ยงลูกเสมือนจริงผ่านแอพ!!

คงช่วยพ่อแม่มือใหม่ลดความกังวลลงได้อีกเยอะ ถ้าพ่อแม่ได้เห็นหน้าลูกตัวเองในอนาคตแล้วลองฝึกเลี้ยงลูก ป้อนนม ปลอบลูกน้อยตอนร้องไห้ผ่าน แว่นตาเสมือนจริง หรือแว่นตาวีอาร์

ฝึกปรือวิทยายุทธเลี้ยงลูกก่อนเป็นพ่อแม่มือใหม่ หัดเลี้ยงลูกผ่านแอพด้วย แว่นตาเสมือนจริง !!

แว่นตาเสมือนจริง

นักวิจัยในประเทศญี่ปุ่นพัฒนาแอพ Real Baby-Real Family  โดยจะทำให้พ่อแม่มือใหม่ได้เห็นหน้าลูกตัวเองในอนาคตได้ ด้วยการนำรูปภาพพ่อกับภาพแม่มาบวกกัน แล้วออกมาเป็นหน้าเบบี๋จำลอง 3 มิติ ที่มีหน้าตาคล้ายพ่อแม่ และให้ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ฝึกเลี้ยงลูกได้แบบเสมือนจริงผ่านเทคโนโลยี VR (virtual reality) ที่ทำงานร่วมกับหุ่นเด็กจำลอง ซึ่งจะทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกเหมือนกำลังอุ้มลูกน้อยอยู่ในมือจริง ๆ และทดลองเรียนรู้การเลี้ยงลูกในสถานการณ์เสมือนจริง

แว่นตาเสมือนจริง

คุณพ่อคุณแม่จะเจอกับสถานการณ์ที่หุ่นเด็กร้องไห้งอแงเหมือนกับทารกจริง ๆ และต้องพยายามทำให้เด็กหยุดร้องไห้ให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการป้อนนม กอด อุ้ม หรือวิธีอะไรก็ตาม ที่จะทำให้พ่อแม่รู้ว่าในสถานการณ์จริงควรจะตั้งสติเพื่อเลี้ยงดูลูกน้อยยังไง เป็นการซ้อมแบบมือก่อนที่จะเจอของจริง ที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หายประหม่าเรื่องการเลี้ยงลูกได้ดีขึ้น

Advertisement

ลองไปชมวิดีโอวิธีการทดลองเลี้ยงลูกได้อย่างเสมือนจริงกันดูค่ะ

เตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์

การเตรียมความพร้อมด้วยการตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ จึงเป็นวิธีบอกรักวิธีหนึ่ง ที่จะช่วยกลั่นกรอง ส่งเสริมและป้องกันให้เขาเกิดมาสมบูรณ์ แข็งแรงทั้งกายและใจ อีกทั้งมีความเสี่ยงต่อการพิการ และเสียชีวิตน้อยที่สุด

ทำไมจึงต้องตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์

เพื่อให้คนที่จะเป็นพ่อแม่ได้รู้ภาวะสุขภาพของตนเอง รวมถึงโรคทางพันธุกรรมที่อาจส่งผลต่อลูก เช่น ธาลัสซีเมีย โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ฯลฯ รวมถึงตรวจหาเชื้อโรคที่เป็นพาหะแอบแฝงอยู่ในร่างกาย เช่น เชื้อซิฟิลิส เชื้อไวรัสตับอักเสบบี เชื้อเอชไอวี ฯ  เพื่อเป็นการป้องกันการติดโรคที่สามารถติดต่อกันได้ระหว่างคู่รักและป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ลูกด้วย

 

การเตรียมพร้อมก่อนสมรสและก่อนมีบุตรต้องเตรียมอะไรบ้าง

          ก่อนสมรส การเลือกคู่ชีวิต ก่อนตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกับใครสักคนเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะความรักเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการประคับประคองให้ครอบครัวสามารถอยู่ร่วมกันไปได้อย่างราบรื่น การเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างเปิดเผยจะช่วยให้ทั้งคู่สามารถตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น สิ่งที่ต้องเรียนรู้ประกอบด้วย

 อุปนิสัยใจคอ ความรับผิดชอบ การดูแลเอาใจใส่ และวิถีชีวิต  พื้นฐานครอบครัว พื้นฐาน การศึกษา เศรษฐกิจ ฐานะการเงินสุขภาพ โรคติดต่อหรือโรคทางพันธุกรรมที่อาจส่งผลต่อครอบครัวในอนาคต และที่สำคัญ ถามใจตัวเองเสมอว่าคนที่เลือกคือ “คนที่ใช่” คนที่พร้อมจะดูแล “ร่วมทุกข์ ร่วมสุข” หรือไม่

ก่อนมีบุตร

ช่วงวัยที่มีแนวโน้มที่เหมาะสมต่อการมีบุตร ผู้หญิงควรมีอายุระหว่าง 20-34 ปี เพราะร่างกายมีความสมบูรณ์แข็งแรง มีเรี่ยวแรงในการเลี้ยงดูบุตร มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ และมีเสถียรภาพทางการเงิน การเตรียมความพร้อมควรปฏิบัติดังนี้

1. การเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย น่าจะเป็นเรื่องที่หาข้อมูลได้ง่ายทั่วไป เห็นชัดที่สุด แต่เราก็ยังมีคำแนะนำดีๆมาฝากกันให้ลองปฏิบัติกัน ดังนี้• หญิงวัยเจริญพันธุ์ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และควรทานอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็กสูง ได้แก่ ตับ เลือด เนื้อสัตว์ เนื้อแดงต่าง ๆ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง อาหารทะเล ผักใบเขียวเข้ม ถั่วดำ ถั่วแดง ข้าวโอ๊ต เป็นต้น
1.1 กินวิตามินเสริมธาตุเหล็กและกรดโฟลิก (เฟอร์โรโฟลิก) เพื่อช่วยลดภาวะซีด และลดความเสี่ยงของทารกพิการแต่กำเนิด
1.2 เลิกบุหรี่ อย่างน้อย 3 เดือนก่อนการตั้งครรภ์
1.3 เลิกดื่มสุรา อย่างน้อย 1 เดือนก่อนการตั้งครรภ์
1.4 ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
1.5 หยุดการคุมกำเนิดทุกวิธี
1.6 มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ (สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง)
1.7 รักเดียวใจเดียว
1.8 ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์

2. การดูแลสุขภาพช่องปาก…เพื่อว่าที่คุณแม่ฟันดี เรื่องฟันหลายคนอาจจะคิดว่าไม่เกี่ยว แต่ลองดูข้อมูลนะ เห็นแล้วว่าที่คุณแม่หลายคนอาจจะลงนัดหมอฟันโดยเร็วเลยก็ได้                                                                                                   

หญิงที่วางแผนตั้งครรภ์ ควรรับการตรวจสุขภาพช่องปากเพื่อรับการรักษา ลดความเสี่ยงการติดเชื้อในช่องปาก เพราะการมีฟันผุ เหงือกอักเสบและเป็นโรคปริทันต์ มีผลต่อคุณภาพชีวิตของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์รวมถึงผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์  เช่น การคลอดก่อนกำหนด เด็กเกิดมามีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม

ข้อควรปฏิบัติ
–     รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดการรับประทานอาหารหวาน เน้นการรับประทานผักและผลไม้
–     แปรงฟัน 2 2 2 คือแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ นาน 2 นาที ไม่รับประทานอาหาร เครื่องดื่ม หลังแปรงฟัน 2 ชั่วโมง
–     ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อย วันละ 1 ครั้ง
–      ควรได้รับการตรวจฟันทุก 6 เดือน และไปรับบริการทันตกรรมตามคำแนะนำ  

3.การดูแลสุขภาพจิต สุขภาพกายแข็งแรงไม่พอ สุขภาพใจก็ต้องแข็งแรงไปด้วยกัน ลองทำตามคำปฏิบัติง่ายๆ แบบพื้นฐานกันดู เพื่อเป็นการฟื้นฟูสุขภาพจิตของเราไปในตัว เริ่มจาก
–    พักผ่อนอย่างเพียงพอ
–    หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่นำไปสู่ความเครียดและทำให้เกิดความวิตกกังวล เช่น รู้สึกเบื่อเซ็ง  ไม่อยากพบปะผู้คน มีปัญหาการนอน  นอนไม่หลับหรือนอนมาก  มีสมาธิน้อยลง หงุดหงิด  กระวนกระวาย ว้าวุ่นใจ
–     สนับสนุนและเป็นกำลังใจซึ่งกันและกันระหว่างคู่รัก

4.การดูแลสุขภาพการเงินและสังคม ในยุคเศรษฐกิจฝืดเคือง การเก็บออม หรือการศึกษาเรื่องการลงทุนเป็นเรื่องสำคัญ เพราะมีลูก 1 คน ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากมายเลยทีเดียว
–    วางแผนการเงิน  เช่น การออมเงิน ฯลฯ
–     เตรียมผู้ดูแลหลักในการเลี้ยงดูบุตร

5.การป้องกันตนเองจากปัญหาสิ่งแวดล้อม สภาพอากาศไม่ดี ส่งผลต่อลูกน้อยได้เช่นกัน จึงนำข้อปฏิบัติง่ายๆมาฝากกัน เริ่มทำตามง่ายๆ โดย
–    หลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่น ขนาด2.5 ไมครอน ขณะตั้งครรภ์ช่วง 3 เดือนแรก
(พบการสัมผัสฝุ่น NO2 , SO2, CO จากถนนสายหลัก เขตจราจร หรืออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสแรก มีผลต่อความดันโลหิตสูง การคลอดก่อนกำหนด และน้ำหนักแรกเกิดน้อย)
–    รับประทานอาหารทะเลและปลาน้ำลึกปริมาณมาก ๆ ขณะตั้งครรภ์ช่วง 3 เดือนแรก
–    หลีกเลี่ยงการสัมผัสและฉีดพ่นสารเคมี (สารเคมีจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อน้ำหนักแรกเกิดน้อย การเจริญเติบโตของทารกและขนาดเส้นรอบศีรษะผิดปกติ)

วันนี้เราได้รวบรวมความพร้อมด้านการมีลูกในหลาย ๆ มิติมาให้ศึกษากันก่อนที่จะวางแผนการมีลูกนะคะ กับขั้นตอนง่าย ๆ และไม่ซับซ้อนเพียงเท่านี้ ก็จะช่วยส่งเสริมให้คุณแม่และลูกน้อยแข็งแรง พร้อมกับส่งเสริมพัฒนาศักภาพในการเลี้ยงลูกเป็นคนดีของสังคม และประเทศชาติต่อไปค่ะ

บทความจากพันธมิตร
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ

ที่มา : www.thaimarketing.in.th

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

พ่อแม่หายห่วง แอพติดตามลูกอยู่ไหน พร้อมวิธีติดตั้งง่ายๆ

แม่ท้องรู้ยัง เช็คสิทธิประกันสังคมผ่านแอพได้แล้วนะ

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • ฝึกปรือวิทยายุทธก่อนเป็นพ่อแม่มือใหม่ หัดเลี้ยงลูกผ่านแอพด้วย แว่นตาเสมือนจริง !!
แชร์ :
  • เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

    เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

  • นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

    นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

  • เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

    เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

  • เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

    เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

  • นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

    นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

  • เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

    เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว