พฤติกรรมนักท่องเที่ยว ที่อาจเปลี่ยนไป หลังจากพ้นวิกฤติโควิด-19 แนวโน้ม 9 สิ่งที่อาจเปลี่ยน พฤติกรรมนักท่องเที่ยว ที่จะอาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั่วโลก
วิกฤตกาลโควิด-19 ตลอดปี 2020 ที่ผ่านมานี้ เป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมากต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และนั่นทำให้สามารถมองเห็น สัญญาณการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ตั้งแต่ระดับประเทศ ไปจนถึงระดับโลก
ภาคการท่องเที่ยวจึงต้องเตรียมปรับตัวเพื่อรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคครั้งใหญ่ หลังโควิด-19 โดยมีผลการสำรวจ ข้อมูลผู้เดินทาง มากกว่า 20,000 คน ใน 28 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย มารวมเข้ากับข้อมูลเชิงลึก ซึ่งเพื่อเผยให้เห็นถึง เทรนด์ท่องเที่ยว ในยุคหลังวิกฤติโควิด-19 หมดลง
พฤติกรรมนักท่องเที่ยว1
9 เทรนด์ที่แนวโน้มว่า นักเดินทาง จะเปลี่ยนแปลงพฤิตกรรมไป มีดังนี้
- จากความปรารถนาสู่ความจำเป็น
การอยู่บ้านเป็นเวลานาน ยิ่งทำให้ผู้คน โหยหาการเดินทางมากขึ้น โดยในช่วงล็อกดาวน์ พบว่าพฤติกรรมนักเดินทางชาวไทย ดังนี้
- 71% รู้สึกตื่นเต้น ที่จะมีโอกาสได้กลับมาเดินทางท่องเที่ยวอีกครั้ง
- 77% ระบุว่า รู้สึกเห็นคุณค่าของการเดินทางมากขึ้น และจะไม่มองข้ามคุณค่าดังกล่าวอีก
- 65% ปรารถนาที่จะออกไปสำรวจโลกกว้างยิ่งขึ้นกว่าเดิม
- 60% ตั้งใจที่จะจองทริปที่ต้องยกเลิกไปก่อนหน้านี้อีกครั้งหนึ่ง
- ความคุ้มค่าต้องมาก่อน
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ จากโควิด-19 ทำให้ผู้คนมองหาความคุ้มค่า ในทุกการจับจ่ายใช้สอย ไม่เว้นแม้แต่ด้านท่องเที่ยว มีผลสำรวจน่าสนใจในประเด็นนี้ คือ
- 78% ให้ความใส่ใจกับราคามากขึ้น ขณะวางแผนการเดินทาง และมีแนวโน้มมองหาโปรโมชั่น และข้อเสนอพิเศษต่าง ๆ มากขึ้น โดยพฤติกรรมเช่นนี้ จะคงอยู่ไปอีกหลายปี
- 80% ระบุว่า ต้องการให้แพลตฟอร์มจองการเดินทาง เพิ่มความโปร่งใส เกี่ยวกับนโยบายการยกเลิก ขั้นตอนการคืนเงิน และตัวเลือกประกันการเดินทาง
- 37% มองว่า ตัวเลือกที่พักแบบยกเลิกฟรี เป็นสิ่งจำเป็น สำหรับทริปถัดไป
- 87% สนใจที่จะช่วยสนับสนุนการฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
- 84% อยากให้การจองการเดินทางของตน สามารถช่วยเหลือชุมชนให้ฟื้นตัวได้
พฤติกรรมนักท่องเที่ยว2
- ขอเน้นที่ใกล้ และคุ้นเคย
เนื่องจากการท่องเที่ยวต่างประเทศ ยังคงเป็นเรื่องไกลตัวในปัจจุบัน การเดินทางในพื้นที่ใกล้เคียง และท่องเที่ยวภายในประเทศ จึงกลายเป็นตัวเลือกแรก ๆ เนื่องจากสะดวกกว่า ปลอดภัยกว่า และมักช่วยส่งเสริมความยั่งยืนได้มากกว่า
- นักเดินทางชาวไทย 61% วางแผนจะเดินทางในประเทศภายใน 7-12 เดือนที่จะถึง
- 53% วางแผนจะเดินทางในไทยในระยะยาว (ในช่วง 1 ปีขึ้นไป) ในแง่ของการเที่ยวใกล้ ๆ
- 36% วางแผนที่จะไปสำรวจจุดหมายใหม่ ๆ ที่ไม่เคยไป ที่อยู่ใกล้เคียงภูมิลำเนา หรือในภายประเทศ
- 55% อยากใช้เวลาไปชื่นชมความงดงามของธรรมชาติในเมืองไทย
- หลีกหนีความจริงด้วยการค้นหา
เพื่อสร้างความสุข และหากิจกรรมทำในช่วงล็อกดาวน์ คนไทยส่วนใหญ่ 98% เคยใช้เวลาไปกับ การค้นหาแรงบันดาลใจสำหรับทริปพักผ่อน โดย 68% ได้เสิร์ชหาจุดหมายท่องเที่ยวต่าง ๆ บ่อยมาก ถึงสัปดาห์ละครั้ง นอกจากนี้ 41% ตอบว่า รู้สึกหวนคิดถึงวันวาน เมื่อเปิดดูภาพถ่ายเก่า ๆ จากทริปก่อน ๆ ขณะมองหาแรงบันดาลใจการท่องเที่ยวในอนาคต
- ปลอดภัยไว้ก่อน
ผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทย 89% จะใช้ความระมัดระวัง ในการเดินทางมากขึ้น สืบเนื่องจากโควิด-19 และผู้เดินทาง 83% คาดหวังให้สถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ มีการปรับใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)
ในขณะเดียวกัน 86% จะเลือกจองเฉพาะที่พัก ที่มีการระบุมาตรการด้านสุขภาพ และอนามัย ไว้อย่างชัดเจน และยอมรับได้กับการตรวจสุขภาพ เมื่อเดินทางถึงสถานที่ท่องเที่ยว หรือจุดหมายปลายทาง
พฤติกรรมนักท่องเที่ยว3
- คำนึงถึงผลกระทบ
นักเดินทางชาวไทย 68% ต้องการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนยิ่งขึ้นในอนาคต โดย 86% คาดหวังให้ภาคการท่องเที่ยวนำเสนอตัวเลือกการเดินทางที่ยั่งยืนมากขึ้น และ 84% ต้องการตัวเลือกในการเดินทาง ที่ช่วยสนับสนุนการฟื้นฟูจุดหมายปลายทางนั้น ๆ ได้ และ 82% ต้องการเห็นว่าเม็ดเงินที่จ่ายไป จะกลับเข้าสู่ชุมชนท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง
- โบกมือลาการเข้าออฟฟิศ
การทำงานจากบ้าน ได้กลายเป็นพฤติกรรมกระแสหลัก ในช่วงของการระบาด แต่ผลที่ตามมาทางอ้อม คือ ทางเลือกในการวางแผนการเดินทางที่ยาวนานขึ้น โดยรวมการทำงานเข้ากับทริปท่องเที่ยว การที่ผู้คนไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศ 5 วันต่อสัปดาห์อีกต่อไป ทำให้เราเห็นพฤติกรรมของนักเดินทางแบบ “Workation” หรือเที่ยวไปทำงานไปเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
ทั้งนี้พบว่า ผู้เดินทางชาวไทย 60% เคยวางแผนจะจองที่พัก เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศไปนั่งทำงานในสถานที่แปลกใหม่ ในขณะที่ 69% เต็มใจที่จะกักตัว หากยังคงสามารถทำงานระยะไกลได้ นอกจากนี้ คนไทย 76% บอกว่า จะหาโอกาสขยายทริปธุรกิจให้นานขึ้น เพื่ออยู่เที่ยวที่จุดหมายปลายทางนั้น ๆ ต่อได้
- สัมผัสความสุขง่าย ๆ
ตั้งแต่เริ่มมีเหตุการณ์แพร่ระบาด ผู้ใช้บริการ Booking.com ทั่วโลก ต่างแบ่งปันความคิดเห็นถึงสิ่งธรรมดา ๆ ที่สร้างความสุขได้อย่างง่ายดายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเดินป่า (94%) อากาศบริสุทธิ์ (50%) ธรรมชาติ (44%) และการผ่อนคลาย (33%)
ผลสำรวจทั่วโลก คล้ายคลึงกับความต้องการของผู้เดินทางชาวไทย ที่ 85% ที่วางแผนจะดื่มด่ำกับประสบการณ์ท่องเที่ยวแบบเรียบง่ายมากขึ้น เช่น การทำกิจกรรมกลางแจ้งกับครอบครัวระหว่างทริปพักผ่อน
ขณะที่ 80% ยังอยากมองหาประสบการณ์ท่องเที่ยวในชนบท หรือที่ท่องเที่ยวที่ไม่ค่อยมีใครไป เพื่อดื่มด่ำกับประสบการณ์ท่ามกลางธรรมชาติให้เต็มที่
พฤติกรรมการท่องเที่ยวยุคใหม่ ที่ผู้คนให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัว พื้นที่เว้นระยะห่างทางสังคม รวมถึงความสะอาดและสุขอนามัยที่ควบคุมได้ จึงไม่น่าแปลกใจที่จะเห็นผู้เดินทางชาวไทยต่างมองหาที่พักที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่บ้านตัวเอง โดย 55% ของนักเดินทางชาวไทย เลือกมองหาที่พักประเภท บ้านพักตากอากาศ หรืออพาร์ตเมนต์ มากกว่าโรงแรม และ 63% จะเลือกทานอาหารในที่พักมากขึ้น แทนที่จะออกไปร้านอาหาร
ส่วนประเภทของทริปที่นักเดินทางชาวไทยยุค “นิวนอร์มอล” อยากไปเที่ยวมากที่สุดได้แก่ ทริปเที่ยวริมทะเล 51% ตามมาด้วยทริปพักผ่อนหย่อนใจ 48% และทริปเที่ยวในเมือง 27%
พฤติกรรมนักท่องเที่ยว4
- เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกระตุ้นการเดินทาง
นวัตกรรมเทคโนโลยี จะมีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นใจ ให้กับผู้เดินทางอีกครั้ง ในโลกหลังการระบาดใหญ่
- 81% ของผู้เดินทางชาวไทยเห็นด้วยว่า เทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญ ในการช่วยป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพระหว่างเดินทาง
- 80% ยังเห็นตรงกันว่า ผู้ให้บริการที่พัก จะต้องประยุกต์ใช้เทคโนโลยีล่าสุด เพื่อสร้างความรู้สึกปลอดภัยให้แก่ผู้เข้าพัก
- 75% ต้องการให้มีเครื่องมือแบบบริการตนเองมากขึ้น แทนที่จะผ่านเคาน์เตอร์ให้บริการเพื่อลดการสัมผัส นอกจากนี้คนไทย
- 80% ยังรู้สึกตื่นเต้นกับศักยภาพของเทคโนโลยี ที่ช่วยปรับเปลี่ยนประสบการณ์การเดินทางให้เข้ากับความต้องการเฉพาะบุคคลได้มากขึ้นในอนาคต
ที่มา : www.thebangkokinsight.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เที่ยวในยุคโควิด อย่างไร ให้ปลอดภัย และห่างไกลจากไวรัส
ททท. ผุดไอเดีย เส้นทางสละโสด ดึงคนเหงาเดินทาง กระตุ้นการท่องเที่ยว
เตรียมตัวเที่ยวในยุคโควิด19 อย่างไรดี
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!