วงจรประสาทกับการทำงานของสมอง1,2
สมองของมนุษย์แบ่งออกเป็นหลายส่วนด้วยกัน สมองซีกซ้ายทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการใช้ตรรกกะ เหตุผล ทักษะการใช้ภาษา คำนวณ วิทยาศาสตร์ ส่วนสมองซีกขวาใช้ในการจินตนาการ ทักษะด้านดนตรี ศิลปะ สมองแต่ละส่วนเต็มไปด้วยเซลล์ประสาทนับแสนล้านเซลล์ ซึ่งแต่ละเซลล์จะมีแขนงประสาทนำออก (Axon) เชื่อมต่อกันเป็นวงจรประสาท ทำหน้าที่ส่งสัญญาณจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งซึ่งอยู่ถัดไป จนเมื่อสมองแต่ละส่วนถูกเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์แล้ว ก็จะเกิดการสร้างความทรงจำ การเรียนรู้ การคิด วิเคราะห์วางแผนควบคุมตลอดจนสั่งการหรือยับยั้งอวัยวะต่างๆ ได้
แน่นอนว่าพ่อแม่ทุกคนอยากให้ลูกเป็นเด็กฉลาด เรียนเก่ง มีพัฒนาการดี จึงพยายามค้นหาเทคนิค มากระตุ้นสมองซึ่งสามารถทำได้หลายแบบไม่ว่าจะเป็น การร้องเพลง การพูดคุย การเล่น การฟังนิทาน การเต้น ฯลฯ แต่รู้ไหมว่า ยังมีอีกหนึ่งวิธีที่น่าสนใจ นั่นก็คือ การสร้างปลอกไมอีลินให้กับแขนงประสาทนำออก
การส่งสัญญาณผ่านแขนงประสาทนำออกที่มีปลอกไมอีลินมาห่อหุ้ม
ไมอีลิน คืออะไร?
ไมอีลิน (Myelin sheath) เป็นส่วนที่ห่อหุ้มแขนงประสาทนำออกช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาท หรือพูดง่ายๆ ก็คือ เป็นฝ่ายสนับสนุนให้การส่งสัญญาณเป็นไปแบบ “ก้าวกระโดด” เร็วกว่าไม่มี ไมอีลิน ถึง 60 เท่า3!!
อันที่จริงแล้ว การสร้างปลอกไมอีลินจะเกิดไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง กล่าวคือ วงจรประสาทส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต เช่น การเคลื่อนไหว การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส จะสร้างปลอกไมอีลินขึ้นมาเองตั้งแต่ตอนที่ลูกน้อยยังอยู่ในครรภ์ไปจนถึงขวบปีแรกๆ ของชีวิต ส่วนการสร้างปลอกไมอีลินของวงจรประสาทที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการคิด ตัดสินใจ วางแผนแก้ไขปัญหาต่างๆ จะเกิดขึ้นในช่วงวัยเด็กจนถึงผู้ใหญ่ตอนต้น4-7แต่..คนเป็นแม่ก็อยากให้มันเกิดขึ้นไวๆ ใช่ไหมล่ะ
เทคนิคช่วยสร้าง “ ไมอีลิน ” ในสมอง
ในทางการแพทย์ยังไม่สามารถควบคุมการสร้างไมอีลินได้ตามต้องการ แต่ก็ค้นพบว่า “น้ำนมแม่” นี่ล่ะ..สุดยอดของดี และใน น้ำนมแม่ ก็มีสารอาหารจำเป็นต่อพัฒนาการสมองและร่างกายของลูกกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ ธาตุเหล็ก โคลีน วิตามิน บี12 โปรตีน สฟิงโกไมอีลิน เป็นต้น
องค์การอนามัยโลกแนะนำว่า คุณแม่ควรให้ลูกน้อยได้กินน้ำนมแม่ล้วนๆ อย่างน้อย 6 เดือน และทานนมแม่อย่างต่อเนื่องควบคู่กับการทานอาหารที่เหมาะสมตามวัยจนอายุ 2 ปีหรือมากกว่า และควรเสริมอาหารให้ลูกน้อยตามช่วงวัยที่เหมาะสม
ขอบคุณข้อมูลจาก นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์
อ้างอิงข้อมูล
2. Adrienne L. Tierney, et al. Brain Development and the Role of Experience in the Early Years. Zero Three. NIH Public Access Author manuscript; available in PMC 2013 July 25
3. Nature Education 2010, 3(9):59
4. Mind’s Machine, 2e, Figure 2.1 The Major Parts of the Neuron. 2e.mindsmachine.com/figures/02/02.01.html. Textbook Reference: The Nervous System Is Composed of Cells, p. 22
5. Hiroaki Asou, et al. Development of Oligodendrocyte and Myelination in the Central Nervous System. Keio J Med 44(2), 47-52 (1995)
6. OtwinLinderkamp, Ludwig Janus, et al. Time Table of Normal Foetal Brain Development. Int. J. Prenatal and Perinatal Psychology and Medicine Vol. 21 (2009) No. 1/2, pp. 4–16
7. Purves D, Augustine GJ, Fitzpatrick D, et al., editors. Increased Conduction Velocity as a Result of Myelination Neuroscience. 2nd edition. Sunderland (MA): Sinauer Associates; 2001
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!