X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คุณแม่ขอเล่า วินาทีคลอดลูก ความเจ็บปวดที่งดงาม แม่ทนได้นะลูกจ๋า

19 Jul, 2017
คุณแม่ขอเล่า วินาทีคลอดลูก ความเจ็บปวดที่งดงาม แม่ทนได้นะลูกจ๋า

เจ็บปวดแค่ไหนก็ทนได้ คุณแม่แชร์ประสบการณ์ #วินาทีคลอดลูก #ความปวดที่ทนได้

วินาทีคลอดลูก ความเจ็บปวดที่งดงาม แม่ทนได้นะลูกจ๋า

ยังจำคุณแม่จิ๋ว ที่มาแบ่งปันประสบการณ์ อาการแม่ท้องใกล้คลอด ตรงตามตำราเป๊ะๆ แม่ท้องไตรมาสสุดท้าย แชร์ประสบการณ์สิ่งที่ต้องเจอ กันได้ไหมคะ ตอนนี้เธอคลอดลูกสาวออกมาแล้ว หน้าตาน่ารักน่าชัง เธอกลับมาเล่าเรื่องราว วินาทีคลอดลูก ความเจ็บปวดที่งดงาม แม่ทนได้นะลูกจ๋า …ตามไปอ่านกันได้เลยค่ะ

 

วินาทีคลอดลูก ความเจ็บปวดที่งดงาม

#วินาทีคลอดลูก

#ความปวดที่ทนได้

การให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตของมนุษย์ตามธรรมชาติ มันแลกมากับความทรมานจากความ “ปวด” ไม่รู้จะอธิบายยังไงดี มันคือความปวดที่ไม่เจ็บแต่มีความทรมานด้วยระยะเวลาที่ไม่รู้จะสิ้นสุดตอนไหน

ใครที่ปากมดลูกเปิดเร็วถือว่ามีชัยกว่าคนเปิดช้า เพราะต้องทรมานจากการปวดท้อง ความปวดที่เกิดจากการบีบรัดของมดลูก เหมือนกับการสูบลมในสุญญากาศที่ไม่มีอากาศผ่านเข้าไป ทำให้พลังในการบีบมันต้องใช้แรงดันสูงในการสูบอัดเพื่อดันให้เจ้าตัวน้อยคล้อยลงต่ำดันผ่านช่องคลอด

ความปวดมันจึงมาเป็นระลอก ๆ ความถี่ของความเจ็บจะเพิ่มอัตราขึ้นตามขนาดปากมดลูก ยิ่งเปิดมากยิ่งปวดแบบรัว ๆ

ความปวดที่ทนได้ในที่นี้ก็คือ มันจะปวดมากตอนมดลูกบีบรัด และพักการปวดตอนมันเริ่มคลาย จังหวะที่คลายนี่เองที่เป็นเหมือนพลังเติมความอดทนให้สู้ต่อ

“รู้ว่าปวดแล้วมันก็จะหายแม้จะปวดอีกก็หายอีก”

แม้วินาทีนั้นแทบจะทนไม่ได้แล้ว แต่จังหวะคลายถึงจะเป็นแค่เสียววินาที มันก็เป็นเหมือนยาวิเศษมาช่วยเยียวยาให้ไปต่อ เหมือนได้พักหายใจและรู้ว่า “ความปวดมันจะยุติลงในอนาคตอันใกล้”

ยิ่งปากมดลูกใกล้ถึงระยะเบ่งคลอดได้คือ 10 เซ็นติเมตร ความปวดยิ่งมาแบบรัว ๆ “บีบคลาย บีบคลาย” ทุก3-5 วินาที ณ ตอนนั้นมือก็กดอ๊อดเรียกพยาบาลแบบรัว ๆ เช่นกัน

“ปวดจนทนไม่ไหวแล้วค่ะ จะออกแล้วๆ”

พยาบาลก็จะถามตลอดว่า “ปวดเหมือนปวดอึรึยังคะ”

การตอบรับว่าปวดอึเราจะได้รับการตรวจปากมดลูกจากคุณหมอในอีก 15-30 นาทีต่อมา

การได้เห็นหมอเดินมาเปิดหว่างขาคือกำลังใจอย่างหนึ่ง ถ้าได้คำตอบว่า มดลูกเปิดเพิ่ม จาก 1 เป็น 2 หมอฉีดยาเร่งคลอด ทำให้จาก 2 เป็น 5 จาก 5 เป็น 7 แล้วมันก็มาค้างที่ 7 นานมาก รวมระยะเวลาเกือบ 5 ชั่วโมง กว่าจะได้ยินคำว่า ..โอเคพร้อมแล้ว!!!

แต่กว่าจะเดินทางมาถึงคำว่าพร้อมแล้ว ระหว่างทางมันทรมานสุด ๆ

ไม่นับการเรียกพยาบาลเป็นหลายสิบครั้ง (กดจนจำไม่ได้) พยาบาลเดินเข้าออกหลายรอบ แอบเกรงใจเลยถามสถิติการกดเรียก พยาบาลบอกก็น้อยกว่าบางคน (พยาบาลว่างั้น)

 

วินาทีคลอดลูก ความเจ็บปวดที่งดงาม แม่ทนได้นะลูกจ๋า2

ส่วนคนที่น่าเห็นใจรองจากพยาบาลก็คือ สามีที่ต้องรองรับอารมณ์แม่ปวดท้อง เคยมโนตามฉากในละครว่า สามีมาอยู่ใกล้ ๆ ให้กำลังใจ คอยลูบหัว กุมมือกัน อันตรธานหายวับไปเลย

อารมณ์นั้นคือ ช่วยไปไกล ๆ อย่ามาพูดอะไรข้างหู ไม่ต้องมาบีบมานวด อยากหาครอบแก้วใบใหญ่มาคลุมตัวเองไว้ เพราะในโลกความปวดที่เราอยู่ตอนนั้น ไม่มีใครเข้าถึง ไม่อยากพูด ไม่อยากคุย แค่หายใจเข้าหายใจออกก็ลำบากพอแล้ว

จังหวะที่ความปวดทวีความรุนแรงและถี่แทบจะเป็นลมนั้น ภาพหน้าแม่ลอยขึ้นมา ลอยมาเพื่อให้กำลังใจและมีพลังในการอดทนต่อไป (แม่ยังทำได้ ทำไมเราจะทำไม่ได้วะ)

การคลอดลูกความอยากไม่ใช่การเบ่ง แต่มันคือการอดทนรอคอยปากมดลูกเปิด ความปวดที่เกิดจากมดลูกบีบ ลามไปถึงระบบการหายใจที่เริ่มควบคุมไม่ได้

ถึงจะดูคลิปสอนการเบ่งคลอดมาบ้าง นาทีนั้นลืมหมด การกำหนดจังหวะลมหายใจเข้าออกนั้นสำคัญมาก ถ้าหายใจเร็วและรัวตามจังหวะมดลูกบีบ เราจะหมดแรงก่อนและจะไม่มีแรงเหลือเบ่งในห้วง 10 นาทีสุดท้าย

วิธีที่ถูกต้องคือ สูดลมหายใจเข้าทางจมูก พ่นลมออกทางปากช้าๆ และอย่าพยายามร้องโวยวายหรือแม้แต่ร้อง …โอ้ย โอย ก็ห้าม!!!

เนื่องจากแม่คนนี้ดูละครน้ำเน่ามาเยอะ แหกปากร้อง “โอ้ยปวด โอ้ย …โอย” เพราะร้องไปก็ถ่ายทอดความปวดให้ใครไม่ได้มีแต่จะทำให้ลมหมด

พยาบาลมาเตือนเสียงแข็ง “แม่ห้ามร้องนะคะระวังลูกขาดออกซิเจน”

งับ…!!! แม่หุบปากในทันที (แม้ในใจแอบคิดว่าพยาบาลคงรำคาญ ) ซึ่งจริง ๆ การแหกปากไม่ช่วยอะไรจริง ๆ มีแต่จะทำให้เหนื่อยมากขึ้น

หมอแนะนำให้เปลี่ยนมาสูดลมหายใจเข้าออกลึก ๆ ๆ แทนจะช่วยบรรเทาความปวดได้ อย่าหายใจเข้าทางปากและห้ามซี๊ดซ๊าด!!!

สองมือที่มโนว่าจะกุมมือสามีปลอบประโลมกัน หันไปจับขอบเตียง เกร็งสู้กับความปวดจากมดลูกบีบรัด แบบว่าทุรนทุรายอยู่บนเตียง

บทความจากพันธมิตร
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
ดีแทค ขอชวนน้อง ๆ มา #เปลี่ยนโลกช่วงปิดเทอม กับ dtac Young Safe Internet Leader Cyber Camp ซีซั่น 3
ดีแทค ขอชวนน้อง ๆ มา #เปลี่ยนโลกช่วงปิดเทอม กับ dtac Young Safe Internet Leader Cyber Camp ซีซั่น 3
ครั้งแรกในไทยฟิลิปส์ เปิดตัวโคมUVCยับยั้งเชื้อโรคแบบตั้งโต๊ะ รองรับตลาดการใช้งานในครัวเรือนและธุรกิจบริการ
ครั้งแรกในไทยฟิลิปส์ เปิดตัวโคมUVCยับยั้งเชื้อโรคแบบตั้งโต๊ะ รองรับตลาดการใช้งานในครัวเรือนและธุรกิจบริการ

ระหว่างนั้นหมอผลัดกันมาตรวจปากมดลูกอยู่หลายครั้ง จากการเรียกร้องของเราว่า …ปวดอึแล้ว!!!
คือปวดอึตั้งแต่ 5 เซนติเมตรแล้ว แต่หมอกำชับห้ามเบ่ง!!! เพราะถ้าเบ่งตอนไม่ถึง 10 ปากมดลูกบวม ความทรมานที่ผ่านมาก็เป็นศูนย์ ลูกออกไม่ได้

4 ชั่วโมงกว่า ๆ ผ่านไปแบบคืบคลาน เมื่อใกล้เต็มที ความปวดเพิ่มดีกรีขึ้นเรื่อย ๆ

40 นาทีก่อนจะคลอด บอกกับหมอไปว่า “ถ้าไม่ออกภายใน 30 นาทีนี้ ผ่าเลยนะคะหมอ ไม่ไหวแล้ว”

หมอหัวเราะและบอก “ใจเย็น ๆ ใกล้แล้ว ๆ ”

10 นาทีผ่านไปหลังเจรจากับหมอ กดอ๊อดเรียกพยาบาลอีก “ให้ตามด่วน ๆ ปวดอึมาก”

20 นาทีผ่านไปหมอเข้ามาตรวจปากมดลูกแบบใจเย็น “บอกว่าอีกนิดเดียว”

คนท้อง “หมอคะ เอาอะไรคีบออกมาก็ได้ค่ะ ไม่ไหวแล้ว”

หมอ “โอเค ๆ ใกล้แล้ว อีกนิดเดียว”

หมอเดินจากไป?!?!

ก่อนไปหมอถามฉีดยาแก้ปวดไปรึยัง บอกหมอว่า ยังทนไหวค่ะ (เพราะยาแก้ปวดหมอจะอนุญาตให้ใช้ได้เพียง 1 ครั้ง ถ้าไม่ใช้เลยน่าจะดีกว่า :คิดเอง)

หมออกไปไม่ถึง 3 นาที กดเรียกพยาบาลอยู่ 3 รอบ ให้ตามหมอมาด่วน ๆ จะออกแล้ว ๆ รอบสุดท้ายหมอเข้ามาตรวจแล้วบอกว่า…โอเคพร้อม !!!

 

วินาทีคลอดลูก ความเจ็บปวดที่งดงาม แม่ทนได้นะลูกจ๋า

แค่คำว่า ok มันเหมือนความปวดลดลงครึ่งนึง

จากนั้นพยาบาลจัดเตรียมห้องคลอด แยกเตียงออกครึ่งท่อน นำที่วางขามาเสียบข้างเตียงสองข้าง ชุลมุนอยู่พักนึง ส่วนหมอไปเปลี่ยนชุด

แสงไฟพรึ่บพรั่บ!!! อุปกรณ์เครื่องมือพร้อมพยาบาลอีกเกือบ1 โหล อยู่ในห้องคลอด

..!!!มาอะไรกันเยอะขนาดนี้??

หมอหายไป 10 กว่านาที กลับเข้ามาพร้อมลงมือ !!! แอบเห็นหมอใช้อะไรเหมือนกรรไกรยาวๆ แล้วบอกว่า เจาะน้ำคร่ำ จากนั้นก็ให้แม่เบ่ง

จังหวะนี่เองที่แม่รู้สึกว่า …โล่งมาก (จะได้เบ่งแล้ว) แม้ลูกยังคามดลูกอยู่ก็ตาม

พยาบาล 1 คนขึ้นมาช่วยหมอกดท้องและ “นับ 1 2 3 เบ่งนะคะ”

คนท้อง “อืออออ…..”(เสียงดัง)

พยาบาลตะโกนทันควัน “หุบปากค่ะ ปิดปากให้สนิท”

คนท้อง “งับ”

..อ้าวนึกว่าแบบในละครต้องแหกปากเบ่ง!!! การเบ่งที่ถูกต้องคือต้องปิดปากให้สนิท เพื่อดันลมลงท้องเพียงจุดเดียว ให้เบ่งเหมือนเบ่งอึ!!! พยาบาลย้ำ

ตามด้วยเสียงเชียร์พยาบาลทั้งวอร์ด (เขาแห่กันมาเพื่อสิ่งนี้เอง ประสานเสียงกันตะโกน “เบ่งอีก ๆ “
การเบ่งจะเป็นไปตามจังหวะบีดรัด ซึ่งการเบ่งแต่ละรอบการบีบรัดมดลูกจะทำได้แค่ 2 ครั้งก่อนจะหมดลมแล้วเริ่มใหม่ เพราะมดลูกคลายตัวแม่ลมหมดพอดี ก่อนจะตั้งหลักใหม่ตอนมดลูกบีบอีกรอบ…อือ!!!

“เบ่ง เบ่ง เบ่ง” ปวดก็ปวดแต่ก็อดขำเสียงเหล่านางพยาบาลประสานเสียงเชียร์ไม่ได้

ตอนใกล้คลอดความถี่ของการบีบรัดจะลดลง เพราะหมอเจาะน้ำคร่ำออกช่วยเปิดทางลูกน้อยและมดลูกหดตัวลง

เสียงเชียร์ เบ่งอีกๆดังประมาณ 10 รอบ รู้สึกได้ว่า หัวลูกคาที่ปากมดลูกแล้ว แต่ยังไม่หลุดออกมา หมดแรงเบ่งซะก่อน และจำได้ว่าหมอเรียกขอมีดมากรีดช่องคลอด ขยายช่องทางให้ลูกพร้อมกับใช้เครื่องมือดูดหัวน้อยๆลูกออกมาพร้อมกับสั่งให้เบ่ง เบ่ง เบ่ง

พอหัวหลุดออกมาเหมือนจะมีลมสวนเข้าหน่อยๆ รู้สึกโล่งอย่างบอกไม่ถูก!!

พยาบาลแจ้งว่าหัวออกมาแล้ว …ช่วยคุณหมอเบ่งตัวออกมาหน่อย “อ้าวเบ่ง..”

กำลังทำท่าจะเบ่ง ยังไม่ทันเบ่ง หมอก็ดึงตัวหลุดออกมา แล้วยกหน้าลูกน้อยขึ้นมาให้แม่ดู พร้อมกับบอกว่า

“ลูกสาวนะครับ”

 

วินาทีคลอดลูก ความเจ็บปวดที่งดงาม

วินาทีนั้นเป็นอะไรที่วิเศษมากความปวดที่มีมาหายเป็นปลิดทิ้ง ยิ้มรับหน้าลูกอย่างเดียวส่วนลูกน้อยก็ลืมตาปริบ ๆ

คุณหมอจัดการตัดสายสะดือแล้วส่งให้พยาบาลไปทำความสะอาดและห่อตัว พอเจ้าตัวเล็กแหกปาก อยู่ข้างเตียงแม่พยาบาลจึงขานเวลาเกิด

ตามพ่อเข้ามาดูลูก และเราทั้งสามคนก็ได้ถ่ายภาพพร้อมกันพ่อแม่ลูกในชุดสีเขียวทั้งสามคน

ตั้งแต่วินาทีนั้นเป็นต้นมาก็ลืมความปวดไปเลยมัวแต่ดูหน้าลูก จนลืมไปว่าหมอกำลังจัดการดึงรกและง่วนอยู่กับช่องคลอดมองเห็นสาวด้ายขึ้นลงอีกราวๆครึ่งชั่วโมง

แต่วินาทีเหล่านั้นก็จำไม่รู้ลืม

 

ซาบซึ้งตรึงใจกับเรื่องราวของคุณแม่จิ๋วกันไปแล้ว เรียกได้ว่าเล่าอย่างเมามันส์ ละเอียดยิบ เหมือนเราได้เข้าไปยืนข้างเตียงในห้องคลอด… สำหรับคุณแม่และคุณพ่อท่านไหน มีประสบการณ์อยากแชร์ ก็ติดต่อทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์มาได้นะคะ เราพร้อมเป็นสื่อกลางแบ่งปันความรู้สึกดี ๆ ของคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

27 ภาพจริง สุดซึ้ง สะเทือนใจ หลายอารมณ์เกิดขึ้นในห้องคลอด

เมื่อคุณผู้ชายสัมผัสประสบการณ์ คลอดลูก (มีคลิป) ทำให้รู้ว่าผู้หญิงอย่างแม่นี่แหละ Wonder Women ตัวจริงละ

ร้องอ๋อดังมาก อาการสุดฮิตคนท้องแก่ใกล้คลอดเป็นอย่างนี้นี่เอง

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • คุณแม่ขอเล่า วินาทีคลอดลูก ความเจ็บปวดที่งดงาม แม่ทนได้นะลูกจ๋า
แชร์ :
  • 12 ภาพแม่ คลอดลูก ความเจ็บปวดของการคลอดลูก คนคลอดลูกเอง คลอดธรรมชาติ

    12 ภาพแม่ คลอดลูก ความเจ็บปวดของการคลอดลูก คนคลอดลูกเอง คลอดธรรมชาติ

  • โรคลำไส้กลืนกัน ความเจ็บปวดที่ลูกบอกไม่ได้

    โรคลำไส้กลืนกัน ความเจ็บปวดที่ลูกบอกไม่ได้

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • 12 ภาพแม่ คลอดลูก ความเจ็บปวดของการคลอดลูก คนคลอดลูกเอง คลอดธรรมชาติ

    12 ภาพแม่ คลอดลูก ความเจ็บปวดของการคลอดลูก คนคลอดลูกเอง คลอดธรรมชาติ

  • โรคลำไส้กลืนกัน ความเจ็บปวดที่ลูกบอกไม่ได้

    โรคลำไส้กลืนกัน ความเจ็บปวดที่ลูกบอกไม่ได้

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ