X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกโป่งฟองสบู่เสริมพัฒนาการ

บทความ 5 นาที
ลูกโป่งฟองสบู่เสริมพัฒนาการ

พัฒนาการของเด็กวัย 4 เดือนขึ้นไปจะมีการทำงานประสานกันระหว่างการมองเห็นและการเคลื่อนไหว คุณสามารถสร้างความสนุกผ่านการเล่นเป่าลูกโป่งฟองสบู่เพื่อกระตุ้นพัฒนาการทั้ง 2 ด้านของลูกได้

ลูกโป่งฟองสบู่ เสริมพัฒนาการ

พัฒนาการเด็ก,ลูกโป่ง,ฟองสบู่

ลูกโป่งฟองสบู่เสริมพัฒนาการ

ดวงตาของเด็กทารกยังไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพเมื่อเปรียบเทียบกับการได้ยินที่พัฒนาเต็มที่เมื่อทารกมีอายุ 1 เดือน สายตาของลูกค่อย ๆ พัฒนาไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งลูกมีอายุ 4 เดือน ลูกเริ่มมีการรับรู้ความลึกของวัตถุ แต่อาจจะยากสักหน่อยที่ลูกจะรู้ตำแหน่ง ขนาด รูปร่างของวัตถุ แล้วรอคำสั่งจากสมองให้เอื้อมมือไปคว้าวัตถุเหล่านั้น พอลูกอายุ 6 เดือน ลูกเริ่มนั่งได้ สายตาของลูกสามารถมองได้ไกลขึ้น ในวัยนี้เป็นวัยที่สมองสามารถสั่งการให้การเคลื่อนไหวและสายตาทำงานประสานกัน ดังนั้นคุณจึงสามารถช่วยให้ฝึกให้ลูกพยายามคว้าของเล่นที่มีที่จับ เขย่าแล้วมีเสียงได้ ไม่อย่างนั้นลูกอาจจะดึงผมหรือต่างหูของคุณแทน

การเล่นเป่าลูกโป่งฟองสบู่ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการการทำงานร่วมกันของการมองเห็นและการเคลื่อนไหวของลูก คุณสามารถเล่นเกมส์นี้กับลูกได้เกือบทุกที่ เช่น เป็นกิจกรรมที่คุณสอดแทรกระหว่างอาบน้ำ เพื่อให้ลูกสนุกกับการอาบน้ำมากขึ้น ที่สำคัญคุณยังทำความสะอาดคราบฟองสบู่ได้ง่ายอีกด้วย นอกจากนี้คุณอาจจะเล่นกับลูกเวลาออกไปที่ส่วนสาธารณะหรือแม้แต่เล่นในห้องก็ได้เช่นกัน

เวลาที่คุณเล่นกับลูก คุณควรเป่าลูกโป่งฟองสบู่ให้เป็นวงกว้างให้ลูกโป่งกระจายตัวห่างจากลูกแต่ยังคงอยู่ในระยะที่เด็กสามารถมองตามทันแล้วตัดสินใจเอื้อมมือไปคว้าฟองสบู่เล่นกับคุณ

การเล่นเป่าลูกโป่งฟองสบู่เป็นการช่วยเสริมพัฒนาการของลูกวิธีหนึ่ง แต่คุณอย่าเพิ่งคาดหวังว่าลูกจะโต้ตอบคุณและอย่าท้อแท้หากลูกอยู่เฉย ๆ เท่านั้น ลองหาวัตถุอื่น ๆ หรือของเล่นโปรดเพื่อลองเรียกความสนใจของลูกดูแล้วจึงค่อย ๆ พัฒนามาเป็นการเล่นเป่าลูกโป่งฟองสบู่ก็ได้ค่ะ

 ตัวอย่างวิดีโอเล่นเป่าฟองสบู่เสริมพัฒนาการ

ขอบคุณข้อมูลและสถานที่จากภาควิชากาพภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เด็กๆ (และผู้ใหญ่บางคน) ชอบเล่นเป่าฟองสบู่จนซื้อใหม่แทบไม่ทัน บทความวิกิฮาวนี้เลยจะมาแนะนำวิธีการผสมน้ำยาเป่าฟองสบู่ไว้ใช้เองซะเลย เป็นสูตรง่ายๆ ทำเองได้สบาย เช่น ผสมน้ำยาล้างจานกับน้ำนิดหน่อย ถ้าอยากได้ฟองสบู่แบบไม่ยอมแตกง่ายๆ ก็ต้องผสมน้ำตาลหรือกลีเซอรีนเพิ่มเข้าไป ถ้าฟองสบู่แบบเดิมๆ มันจืดชืด ก็ใส่สีผสมอาหารหรือกลิ่นวานิลลาไปด้วยซะเลย!

บทความจากพันธมิตร
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
กระเป๋าแม่ลูกอ่อน สำคัญอย่างไร เลือกกระเป๋าแบบไหนให้สะดวกต่อการใช้งานมากที่สุด
กระเป๋าแม่ลูกอ่อน สำคัญอย่างไร เลือกกระเป๋าแบบไหนให้สะดวกต่อการใช้งานมากที่สุด
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ  ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน

ส่วนประกอบ

ฟองสบู่ธรรมดา

  • น้ำอุ่น 4 ถ้วยตวง (950 มล.)

  • น้ำตาลทรายป่น 1/2 ถ้วยตวง (120 กรัม)

  • น้ำยาล้างจาน 1/2 ถ้วยตวง (120 มล.)

ฟองสบู่แตกยาก

  • น้ำเปล่า 6 ถ้วยตวง (1.5 ลิตร)

  • แป้งข้าวโพด (cornstarch) 1/2 ถ้วยตวง (70 กรัม)

  • น้ำยาล้างจาน 1/2 ถ้วยตวง (120 มล.)

  • ผงฟู 1 ช้อนโต๊ะ (13 กรัม)

  • กลีเซอรีน (glycerin) หรือน้ำเชื่อมข้าวโพด (corn syrup) 1 ช้อนโต๊ะ (15 มล.)

ฟองสบู่มีสี

  • น้ำอุ่น 1 1/4 ถ้วยตวง (300 มล.)

  • น้ำตาลทรายป่น 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)

  • น้ำยาล้างจาน 1/3 ถ้วยตวง (80 มล.)

  • สีผสมอาหาร

ฟองสบู่มีกลิ่น

  • น้ำอุณหภูมิห้อง 1 ถ้วยตวง (240 มล.)

  • สบู่เหลวไม่แต่งกลิ่นหรือสบู่เด็ก 1/2 ถ้วยตวง (120 มล.)

  • น้ำมันหอมระเหยหรือสารสกัด

  • กลีเซอรีนหรือน้ำเชื่อมข้าวโพด 2 – 4 ช้อนโต๊ะ (30 – 60 มล.) (ไม่จำเป็น)

  • ฟองสบู่ธรรมดา

    1
    เทน้ำอุ่น 4 ถ้วยตวง (950 มล.) ใส่ขวดโหลขนาดใหญ่. จะใช้ภาชนะอื่นก็ได้ เช่น เหยือก หรือชามใบใหญ่ ขอแค่ใหญ่พอจะจุน้ำมากกว่า 4 ถ้วยตวง (950 มล.) นิดหน่อย จะได้เว้นที่เผื่อไว้สำหรับใส่ส่วนผสมอื่นๆ[1]
    • จะใส่น้ำน้อยกว่านี้ก็ได้ แล้วปรับปริมาณของส่วนผสมอื่นๆ ให้สัมพันธ์กัน
    • อุณหภูมิของน้ำก็ไม่จำเป็นต้องเป๊ะๆ จะใช้น้ำร้อนจากก๊อกก็ได้ แต่ถ้าเป็นน้ำกลั่นได้จะดีที่สุด
      2
      ผสมน้ำตาลทรายป่น 1/2 ถ้วยตวง (120 กรัม) แล้วคนให้เข้ากัน. จะใช้เวลานานแค่ไหน ก็แล้วแต่ว่าใช้น้ำอุ่นหรือร้อนแค่ไหน แต่ไม่ควรนานเกิน 2 – 3 นาที[2]
      • ถ้าใช้ขวดโหล ก็ให้ปิดฝาแน่นๆ แล้วเขย่าให้เข้ากันซะเลย
      • อาจจะฟังดูแปลกๆ ที่ให้ผสมน้ำตาลในน้ำยาเป่าฟองสบู่ แต่บอกเลยว่าน้ำตาลจะช่วยยึดส่วนผสมต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้ฟองสบู่ที่เป่าไปไม่แตกง่ายเหมือนเดิม!
      • ถ้าบังเอิญไม่มีน้ำตาลติดบ้าน จะไม่ใส่ก็ได้ แต่ก็แน่นอนว่าฟองสบู่จะแตกง่ายหน่อย
      3
      คนผสมน้ำยาล้างจาน 1/2 ถ้วยตวง (120 มล.) เข้าไป. ระวังอย่าใส่เยอะเกินไป! ให้ผสมน้ำยาล้างจานกับน้ำ แต่อย่าตีให้แตกฟอง[3]
      • ถ้าใช้ขวดโหล ก็ให้คนผสมโดยใช้ช้อนด้ามยาว ห้ามปิดฝาแล้วเขย่า
      • หลายคนใช้น้ำยาล้างจานยี่ห้อ Dawn สีฟ้า แล้วเห็นผลที่สุด แต่จริงๆ จะใช้ยี่ห้อไหนก็ตามสะดวก
      4
      ทิ้งไว้ 2 – 3 ชั่วโมง แล้วค่อยเอามาเป่าเล่น. ถ้าทิ้งไว้ข้ามคืนได้ยิ่งดี เพราะพอเราทิ้งน้ำยาไว้แล้วทำให้เกิดฟองสบู่เยอะกว่าเดิม[4]
      • เก็บน้ำยาเป่าฟองสบู่นี้ไว้ในที่มืดๆ เย็นๆ ถ้าแช่ตู้เย็นไว้จะยิ่งอยู่ได้นานเข้าไปอีก
      • แต่แนะนำให้รีบเอามาเป่าเล่นให้เร็วที่สุด เพราะพอผสมน้ำตาลเข้าไปแล้ว อายุการใช้งานจะอยู่ที่ประมาณ 1 – 2 อาทิตย์

พัฒนาการทารกวัย 0-1 ปี

https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/68706/-parpres-par-parsch-

ลูกโป่งฟองสบู่ เสริมพัฒนาการ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

จุฑาทิพ ดันน์

  • หน้าแรก
  • /
  • ไลฟ์สไตล์
  • /
  • ลูกโป่งฟองสบู่เสริมพัฒนาการ
แชร์ :
  • พ่อแม่ต้องรู้! เสริมพัฒนาการเด็ก 5 เดือน วิธีเสริมพัฒนาการวัย 5 เดือน

    พ่อแม่ต้องรู้! เสริมพัฒนาการเด็ก 5 เดือน วิธีเสริมพัฒนาการวัย 5 เดือน

  • ของเล่นเด็ก สีสดแบบนี้ดีไหม เสริมพัฒนาการหรือเปล่า

    ของเล่นเด็ก สีสดแบบนี้ดีไหม เสริมพัฒนาการหรือเปล่า

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • พ่อแม่ต้องรู้! เสริมพัฒนาการเด็ก 5 เดือน วิธีเสริมพัฒนาการวัย 5 เดือน

    พ่อแม่ต้องรู้! เสริมพัฒนาการเด็ก 5 เดือน วิธีเสริมพัฒนาการวัย 5 เดือน

  • ของเล่นเด็ก สีสดแบบนี้ดีไหม เสริมพัฒนาการหรือเปล่า

    ของเล่นเด็ก สีสดแบบนี้ดีไหม เสริมพัฒนาการหรือเปล่า

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ