รับปีใหม่ 2564 พร้อมกับความเป็นสิริมงคล โดยการเริ่มทำบุญ แต่ในวันนี้ theAsiamParent Thailand จะไม่แค่พาไปทำบุญ วัดที่ 1 วัดพนัญเชิง รับปีใหม่ธรรมดา เพราะเราจะพาไป ทำบุญ 9 วัด และขอเพิ่มความขลัง ด้วยการเลือกวัดดังจากกรุงเก่า หรือจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะมีวัดไหนบ้าง เตรียมของใส่บาตรให้พร้อม สตาร์ทเครื่อง แล้วลุยเลย
เปิดซีรีย์ ที่วัดแรกเราจะพาไปคือ
วัดพนัญเชิง
1วัดพนัญเชิง
เป็นวัดที่เรียกได้ว่า วัดฮอตฮิตอีกที่ของอยุธยา เพราะคนส่วนใหญ่คนที่เลือกจะไปทำบุญเที่ยววัดอยุธยา วัดพนัญเชิงจะต้องอยู่ในตัวเลือกแรก ๆ แน่นอน
วัดพนัญเชิงวรวิหาร เป็นวัดที่มีประวัติอันยาวนาน สร้างก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา และไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง มีชื่อเสียงมากเรื่องหลวงพ่อโต พระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่สุดในพระนครศรีอยุธยา หน้าตักกว้าง 20 เมตรเศษ สูง 19 เมตร เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย
หลวงพ่อโต
เคยได้รับความเสียหายในสมัยเสียกรุง แต่ก็ได้รับการบูรณะซ่อมแซมมาโดยตลอด จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2497 ได้โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะใหม่หมดทั้งองค์ และพระราชทานนามใหม่ว่าพระพุทธไตรรัตนนายก หรือที่รู้จักกันในหมู่พุทธศาสนิกชนชาวไทยเชื้อสายจีนว่าหลวงพ่อซำปอกงหรือเจ้าพ่อซำปอกง
พุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทย และชาวจีนต่างให้ความเคารพนับถือมาช้านาน มาวัดนี้ไม่ต้องแปลกใจถ้าพบเจอผู้คนจำนวนมากที่ไหลเวียนมานมัสการหลวงพ่อโตกันอย่างเนืองแน่น
วัดพนัญเชิญมุมแม่น้ำ
คำว่า พแนงเชิง มีความหมายว่า นั่งขัดสมาธิ ฉะนั้น คำว่า วัดพนัญเชิง / วัดพระแนงเชิง หรือ / วัดพระเจ้าพแนงเชิง จึงหมายถึงวัดแห่งพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัยคือ หลวงพ่อโต หรือ พระพุทธไตรรัตนนายก นั้นเอง หรืออาจสืบเนื่องมาจากตำนานเรื่องพระนางสร้อยดอกหมาก คือ เมื่อพระนางสร้อยดอกหมากกลั้นใจตายนั้น พระนางคงนั่งขัดสมาธิ เพราะชาวจีนนิยมนั่งขัดสมาธิ มากกว่านั่งพับเพียบ จึงนำมาใช้เรียกเป็นชื่อวัด บางคนก็เรียกว่า วัดพระนางเอาเชิง ตามสาเหตุที่ทำให้พระนางถึงแก่ชีวิต
ฉะนั้น ถ้าเรียกนามวัด ตามความหมายของคำว่า วัดพนัญเชิง ก็ย่อมหมายความถึงวัดที่มีพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ คือหลวงพ่อโต (อ้างอิงจากประวัติวัดพนัญเชิงข้อมูลของทางวัดในปัจจุบัน )
ภายในวัดพนัญเชิง
ภายในวัด มีอาคารสำคัญ และแสดงอิทธิพลความเชื่อของคนไทยเชื้อสายจีนอีกด้วย คือพระอุโบสถ ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเรียงกัน 3 องค์ ได้แก่ พระเงิน พระทอง และพระนาก สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยปลายสุโขทัย
พระวิหารน้อย ภายในมีโต๊ะหมู่บูชาเทพเจ้าตามความเชื่อจีน และฝาพนังจิตรกรรมสมัยใหม่รูปโต๊ะหมู่บูชาแบบจีน เก๋งจีน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก อยู่ด้านหลังพระวิหารใหญ่ เป็นสถาปัตยกรรมจีนที่สร้างล้อมลานขนาดเล็ก ด้านหลังเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นบนมีองค์จำลองของเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก
ที่ตั้งของวัดพนัญเชิงวรวิหาร
สำหรับที่ตั้งของวัด จะตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งตั้งอยู่นอกเกาะ เมืองอยุธยา เช่นเดียวกับวัดใหญ่ชัยมงคล วัดพนัญเชิงวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร แบบมหานิกาย และยังเป็นหนึ่งใน 9 วัดสำคัญ ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ต้องมาไหว้พระกันอีกด้วย
แผนที่อยุธยา
ประวัติ ความเป็นมาของวัด
วัดพนัญเชิง ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง ตามหนังสือพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้งเป็นผู้สร้าง และพระราชทานนามว่า วัดเจ้าพระนางเชิง และพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ กล่าวไว้ว่า ได้สถาปนาพระพุทธรูปพุทธเจ้าพแนงเชิง เมื่อปี พ.ศ. 1867 ซึ่งก่อนพระเจ้าอู่ทองจะสถาปนากรุงศรีอยุธยาถึง 26 ปี
พระเจ้าสายน้ำผึ้งกับพระนางสร้อยกอกหมาก
เรื่องราวของพระเจ้าสายน้ำผึ้งกับพระนางสร้อยกอกหมาก เป็นเรื่องยากที่คนยุคนี้ จะเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง หลายคนคิดว่าเป็นนิยายรักปรัมปรา หรือเป็นนิทานจักร ๆ วงศ์ ๆ เรื่องหนึ่ง แต่เรื่องราวของพระเจ้าสายน้ำผึ้ง กับพระนางสร้อยดอกหมากก็มีบันทึกไว้ในพงศาวดาร ไม่ได้ปรากฏอยู่ในหนังสือนิทาน หรือเล่าถ่ายทอดกันมา และนักประวัติศาสตร์ยุคใหม่ยังค้นพบว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้งเป็นกษัตริย์ที่ครองกรุงอโยธยามาก่อนพระเจ้าอู่ทอง
โดยเรื่องราวของเจ้าชายสายน้ำผึ้งมีตำนานเล่าว่า สมัยหนึ่งไม่สามารถหากษัตริย์ที่จะปกครองเมืองได้ บรรดาเสนาอำมาตย์ทั้งหลาย ก็เลยปรึกษากัน เอาเรือล่องไปตามแม่น้ำ อธิษฐานว่า หากพบผู้มีบุญญาธิการ เหมาะแก่การเป็นกษัตริย์ปกครองเมือง ก็ขอให้เรือหยุด ณ ที่นั้น ปรากฏว่า เรือไปติดอยู่ที่ฝั่ง ๆ หนึ่ง แล้วไม่ยอมแล่นออกต่อไปอีก
เมื่อมองไปบนฝั่งก็มีแต่เพียงกลุ่มเด็กเลี้ยงวัวมุงรุมล้อมกันอยู่ บรรดาเสนาอำมาตย์ก็เลยตัดสินใจไปดูที่กลุ่มเด็กนั่น ปรากฏว่าพบเด็กชายคนหนึ่งท่าทางฉลาดเฉลียว พูดจาฉะฉาน ดูโหงวเฮ้งแล้ว น่าจะเป็นผู้มีบุญญาธิการ ก็เลยอัญเชิญไปปกครองเมือง
ส่วนที่มาของขื่อ เจ้าชายสายน้ำผึ้ง นั้นมีเรื่องเล่าตามพงศาวดารเหนือ ไว้ว่า
จุลศักราช ๓๙๕ ปีมะเมีย เบญจศก ครั้น ณ วันเดือน ๑๒ แรม ๑๑ ค่ำได้ศุภวารฤกษ์ดี จึงยกพยุหไปทางชลมารคพร้อมด้วยเสนาบดี เสด็จมาถึงแหลมวัดปากคลอง พอน้ำขึ้นจึงประทับเรือพระที่นั่งอยู่หน้าวัด ทอดพระเนตรเห็นผึ้งจับอยู่ที่อกไก่ใต้ช่อฟ้าหน้าบัน จึงทรงพระดำริว่า จะขอนมัสการพระพุทธปฏิมากร เดชะบุญญาภิสังขารของเรา เราจะได้ครองไพร่ฟ้าอาณาประชาราษฎร์ด้วยกันเสร็จ ขอให้น้ำผึ้งย้อยหยดลงมากลั้วเอาเรือรีบขึ้นไปประทับแทบกำแพงแก้วนั้นเถิด
พอตกพระโอษฐ์ลงดังนั้น น้ำผึ้งก็ย้อยลงมากลั้วเอาเรือพระที่นั่งรื้อขึ้นไปถึงที่ ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยเห็นประจักษ์แก่ตาแล้ว เสด็จนมัสการจึงเปลื้องเอาพระภูษาทรงสักการบูชาพระพุทธปฏิมากรนั้นเสร็จแล้ว เสด็จลงเรือพระที่นั่งถอยลงมาดังเดิม พระสงฆ์สมภารลงมาถวายชัยมงคลว่า มหาบพิตรพระราชสมภารจะสำเร็จความปรารถนา จะครองไพร่ฟ้าอยู่เย็นเป็นสุขทั่วทิศ จึงถวายนามว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้ง…
theAsianparent Thailand ขอแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทริปครอบครัว สถานที่ท่องเที่ยวสำหรับเด็ก คาเฟ่เด็ก ฟาร์ม กิจกรรม 1 เดย์ทริป กิจกรรมสำหรับครอบครัว ทั้งทะเล ภูเขา ที่พักหลากสไตล์ทั้งแบบแคมป์ แบบพูลวิลล่า ที่พักริมหาด ที่พักติดทะเล ที่พักอิงแอบแนบภูเขา ให้ลูกได้ออกไปเรียนรู้กับธรรมชาติ สายลม แสงแดดและหาดทราย เสริมสร้างการเรียนรู้และพัฒนาการได้สมวัย เสริมสร้างทักษะทางสังคมและสติปัญหา สามารถปรับตัวและเรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรมต่างถิ่น การใช้ชีวิตกับผู้อื่นและมารยาททางสังคม
ที่มา : bloggang.com , mgronline.com , khunnaiver.blogspot.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :
หยุดยาวนี้ พาครอบครัวไปทำบุญ ทอดกฐิน 2563 ที่วัดไหนดี
ไหว้พระขอลูก อยากมีลูกต้องขอที่ไหน ขออย่างไร วิธีขอลูกที่ถูกต้อง ลูกติดทันที!
ต้อนรับปีฉลู ด้วยความศิริมงคล กับ 15 จุดสวดมนต์ข้ามปีในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!