ไวรัสลงกระเพาะในเด็ก กลุ่มเสี่ยง 3 เดือน ถึง 3 ขวบ แม่ประมาทลูกช็อกจนตายได้!

ไวรัสลงกระเพาะในเด็กอาการเหมือนไข้หวัด พ่อแม่อย่าประมาท!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แพทย์เตือน ไวรัสลงกระเพาะในเด็ก เสี่ยงเสียชีวิตได้

อาการเหมือนไข้หวัด แต่ไม่ใช่! แม่ต้องสังเกตให้ดี ถ้าลูกมีอาการแบบนี้เสี่ยง ไวรัสลงกระเพาะในเด็ก ถ้าประมาท ลูกอาจช็อก อาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย

 

กรมการแพทย์เตือน “ไวรัสลงกระเพาะในเด็ก”

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ระยะนี้ประเทศไทยมีอากาศหนาวเย็น และชื้นทำให้เชื้อโรคชนิดต่าง ๆ สามารถแพร่กระจายได้ง่ายกว่าปกติ โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่มีอายุระหว่าง 3 เดือน ถึง 3 ขวบ จะมีภูมิคุ้มกันร่างกายน้อยกว่าเด็กทั่วไป ส่งผลให้เจ็บป่วยได้ง่าย

 

โรคที่พบบ่อย คือ โรคไวรัสลงกระเพาะ หรือโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ

เชื้อไวรัสที่เป็นต้นเหตุของโรคมีหลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อยในเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี คือ เชื้อไวรัสโรตา (Rotavirus) ซึ่งมีอัตราที่พบในเด็กร้อยละ 16 ถึง 58 เชื้อโรคชนิดนี้สามารถอยู่ในสภาวะแวดล้อมทั่วไปได้นาน แฝงอยู่กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • จาน ชาม
  • บริเวณพื้นที่ไม่สะอาด
  • อาหารที่รับประทานเข้าไป
  • ได้รับเชื้อจากผู้ป่วยโดยตรง

 

โดยเฉพาะในเด็กที่ชอบหยิบสิ่งของเข้าปาก อมของเล่นที่มีเชื้อโรคเกาะอยู่ หลังจากได้รับเชื้อเด็กจะมีอาการเหมือนไข้หวัด คือ

  1. มีไข้ ตัวร้อน
  2. น้ำมูกไหล หรือไอร่วมด้วย
  3. อาการที่เด่นชัด คือ อาเจียน ตั้งแต่เล็กน้อยถึงขั้นรุนแรง
  4. อาจจะมีอาการท้องอืดร่วมด้วย
  5. เด็กจะไม่อยากรับประทานอาหารและมีอาการถ่ายเหลวถ่ายบ่อยตามมาในระยะ 1-2 วัน
  6. อาจพบอุจจาระเป็นมูกแต่ไม่มีเลือดปนประมาณ 5-7 วัน

 

การรักษาโรคไวรัสลงกระเพาะ

นายแพทย์สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) บอกถึงการรักษาโรคไวรัสลงกระเพาะในเด็กว่า ส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการและการรักษาแบบประคับประคอง ผู้ปกครองสามารถดูแลบุตรหลานได้โดย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. เมื่อมีไข้ ควรเช็ดตัว และให้ยาลดไข้
  2. ถ้าอาเจียน ถ่ายบ่อย อาจให้ดื่มผงน้ำตาลเกลือแร่ เพื่อรักษาและป้องกันภาวะขาดน้ำ
  3. ดื่มนมและรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย และที่สำคัญควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด

หากมีอาการผิดปกติ เช่น เด็กไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ปัสสาวะน้อยลงมีอาการซึม งอแง ถ่ายบ่อย อาเจียนบ่อยครั้ง ให้รีบพาไปพบแพทย์โดยเร็ว

เพราะหากให้น้ำเกลือไม่ทัน อาจจะรุนแรงจนทำให้ช็อกและเสียชีวิตได้

โดยเฉพาะเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่าเด็กโต เนื่องจากภูมิต้านทานน้อยกว่า

 

ปัจจุบันมีการผลิตวัคซีนที่ป้องกันโรคไวรัสลงกระเพาะจากเชื้อไวรัสโรตา สามารถลดการติดเชื้อ และลดความรุนแรงของอาการ แต่ยังมีราคาสูง ผู้ปกครองจึงควรมุ่งเน้นป้องกันด้วยการเลี้ยงดู เช่น

  • สร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แก่เด็กโดยการให้ดื่มนมแม่ เพราะในนมแม่มีสารต้านไวรัสและแบคทีเรียชนิดต่างๆ ช่วยเสริมภูมิต้านทานให้แก่เด็ก
  • รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ หรืออุ่นอาหารให้ร้อนก่อนรับประทาน
  • ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังขับถ่าย
  • จัดสุขลักษณะภายในบ้านให้สะอาด
  • หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในพื้นที่ที่มีคนหนาแน่น
  • ที่สำคัญหากมีเด็กป่วยโรคไวรัสลงกระเพาะอยู่ภายในบ้านหรืออยู่ห้องเรียนเดียวกัน ผู้ปกครองหรือครูผู้ดูแล ควรแยกเด็กป่วยและเด็กปกติออกจากกัน เพราะเชื้อโรคสามารถปนเปื้อนมากับน้ำมูก น้ำลาย การไอจามรดกัน และการใช้ของร่วมกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา : thaihealth

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ต่อมอดีนอยด์โต-ทอนซิลโต ปิดระบบทางเดินหายใจ จนลูกต้องผ่าตัดด่วน

ท้องเสีย โรต้าไวรัส เป็นเหตุ! แม่ต้องกำจัดผ้าอ้อมให้ถูกวิธี ทำความสะอาดห้องน้ำให้เอี่ยม

5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงดูทารก จากประสบการณ์กุมารแพทย์

 

บทความโดย

Tulya