ไม่ต้องเป็นจอมยุทธ ก็สามารถกดจุด ลูกหยุดร้องชะงัดได้เหมือนกัน

การนวดกดจุดเป็นศาสตร์โบราณจากประเทศจีน ที่ใช้ทั้งรักษาโรคและบรรเทาอาการมานานหลายศตวรรษ แต่รู้ไหมคะว่าเอามาใช้ให้ลูกผ่อนคลายและหยุดร้องไห้ได้ด้วยนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การ นวดกดจุด เป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้น เพราะมีศักยภาพในการรักษาอาการของหลายต่อหลายโรค และถือได้ว่าเป็นธรรมชาติบำบัดมากที่สุด เนื่องจากไม่ได้ใช้สารเคมีหรือเครื่องไม้เครื่องมือใดๆ ทั้งสิ้น ใช้เพื่อปลอบประโลมเด็กๆ จากการร้องไห้ หรือแม้แต่คลายความเครียด ความรู้สึกไม่สบายตัวได้เหมือนกันค่ะ

มาเริ่มนวดกดจุดลูกกันเถอะ

การ นวดกดจุด ให้เด็กๆ นั้น จะมีการตอบสนองที่มากกว่าผู้ใหญ่นะคะ ทั้งที่รู้สึกดีและไม่ดี หากลูกรู้สึกไม่ดีจากการกดจุด สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำก็คือการกอดเพื่อปลอบลูกเท่านั้นเองค่ะ ด้วยเหตุนี้การรักษาอาการต่างๆ ด้วยการกดจุดจึงเหมาะสมสำหรับเด็กๆ ยังไงละคะ

การนวดเด็กๆ ไม่จำเป็นต้องกดแรงเท่าการนวดในผู้ใหญ่ เพียงแต่ใช้ปลายนิ้วสัมผัสหนักกว่าการสัมผัสปกตินิดหน่อย บริเวณที่จะกดจุดก็จะเป็นบริเวณขาและเท้า เพราะเป็นศูนย์รวมของประสาทสัมผัสทั่วร่างกายค่ะ

นวดกดจุด_1

ศีรษะและฟัน

หากลูกมีอาการปวดหัวหรือปวดฟัน ฟันกำลังจะขึ้น ให้ถูปลายเท้าของลูก การนวดเบาๆ ที่นิ้วเท้าของลูกจะช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน และรู้สึกไม่สบายตัวของลูกได้ค่ะ

ไซนัส

ด้านฝ่าเท้าบริเวณตรงกลางของนิ้วเท้า จะเป็นบริเวณที่สามารถกดจุดเพื่อช่วยบรรเทาอาการในเด็กที่เป็นไซนัสได้ค่ะ นอกจากนี้จะช่วยบรรเทาอาการน้ำมูกไหล ปัญหาบริเวณทางเดินหายใจ และโรคหวัดได้ด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หน้าอก

ในงานวิจัยหลายชิ้นมีหลักฐานว่าการนวดกดจุดสามารถลดอาการบวมหรือคั่ง ของเลือดและสารคัดหลั่งที่เกิดขึ้นบริเวณหน้าอกได้ ให้นวดลูกบริเวณฝ่าเท้าด้านบนจะช่วยบรรเทาโรคหวัดหรืออาการไอที่เป็นเรื้อรังได้ค่ะ

นอกจากนี้ยังพบคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์อีกมากมาย เกี่ยวกับการใช้การนวดกดจุดสำหรับรักษาและบรรเทาโรคอีกมากมายหลายโรค รวมไปถึงช่วยให้การทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ไว้จะหามาให้คุณพ่อคุณแม่อ่านกันนะคะ

นวดกดจุด_2

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ศาสตร์การ กดจุด-จีน (Chinese Pressing Points)

            การกดจุดได้ถูกรวบรวมและพัฒนาขึ้น ด้วยการแพทย์ของจีนครั้งแรก ในสมัยราชวงศ์จิ้น ประมาณ พ.ศ. 243  จากนั้นการกดจุดจึงได้แพร่หลายเข้าไปสู่ในครัวเรือนของชาวจีนอย่างกว้างขวาง ในรูปแบบการปฐมพยาบาล การแก้โรคบางโรค โดยใช้การกดจุดรักษาร่วมกับการใช้ยาสมุนไพร  จนปัจจุบันได้มีการนำมาใช้ร่วมกับการรักษาและการใช้ยากับแนวทางแพทย์ตะวันตก

การกดจุดคืออะไร  ( Pressing Points)  

            กดจุด เป็นวิธีการบำบัดรักษา และบรรเทา หรือ แก้อาการ เจ็บป่วยภายในร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวจีนให้การยอมรับเชื่อถือ และปฏิษัติกันมาหลายพันปี และยังแพร่หลายไปทั่วโลก ทั้งในเอเชีย ยุโรปและอเมริกา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

            การกดจุดมีวิธีการง่ายๆ คือ “การนวดจุดและกดจุด” ต่างๆบนร่างกายโดยใช้นิ้วมือ หรืออุปกรณ์ต่างๆที่คิดค้นขึ้นมาช่วยในการกดจุด เช่นใช้การฝั่งเข็มปักลงไปตามจุดต่างๆ, การใช้ความร้อน, การใช้คลื่นอัลตราโซนิก และแสงเลเซอร์

นวดกดจุด_3

ประโยชน์ของการกดจุด

  1. ลดความรู้สึกไม่สบายทั้งหลายที่เกิดขึ้น จากความผิดปกติของอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ความผิดปกติของการทำงาน ของปอด ตับ ม้าม หัวใจ ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ รวมถึงข้อต่อกล้ามเนื้อ หรือการหมุนเวียนของระบบเลือดแดง ดำ และน้ำเหลือง เป็นต้น  การกดจุดที่ถูกต้องสามารถกระตุ้นการทำงานของระบบต่างๆเหล่านั้น ให้กลับมาทำงานได้ปกติหรือดีขึ้น ตามหน้าที่ของแต่ละอวัยวะ  และจะดีขึ้นยิ่งๆขึ้นไป หาก แต่ละอวัยวะนั้นๆ มีสารอาหารที่จำเป็นในการทำงาน ครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่ร่างกายต้องการอย่างเพียงพอ เช่น สารอาหารจาก ไขมัน โปรตีน คาร์โบรไฮเดรท วิตามินต่างๆ และเกลือแร่
  2. ลดความเจ็บปวดต่างๆของร่างกาย     เพราะเมื่อเกิดอาการเจ็บปวดขึ้น นั้นเป็นสัญญานเตือนให้ทราบว่ามีความ ผิดปกติของร่างกาย  เช่น เมื่อมีอาการปวดหัวนานๆ เป็นๆหายๆ ปวดหลังเรื้อรังมานาน นั้นอาจเป็นสัญญานของกระดูกสันหลังทับรากประสาทหรือ อาการปวดเข่า ซึ่งอาจมาจาก อาการไขข้ออักเสบ หรือ ข้อเข่าเสื่อม หรือ เส้นเอ็นเข่าตึง ฯลฯ
  3. การป้องกันโรค   - ในปัจจุบันการแพทย์มักจะเน้นไปที่การรักษาโรค ซึ่งทำให้เกิดความสิ้นเปลืองอย่างมาก และอาจส่งผลจากการรักษาต่อสุขภาพอย่างมาก  การกดจุด เน้นไปที่การป้องกันโรค ก่อนเกิดโรคเมื่อระบบต่างๆของร่างกายกลับเข้าสู่การทำงานปกติ ดังที่กล่าวไว้ในข้อ 1 ข้างต้น  โอกาสที่โรคภัยจะคุคาม ต่อสุขภาพของเราก็จะน้อยลงอย่างอัตโนมัติ
  4. การกดจุดช่วยให้ร่างกายกระฉับกระเฉง และเพิ่มสมรรถนะของนักกีฬาหรือผู้ที่ชอบการออกำลังกาย     โดยการกดจุดจะทำให้กล้ามเนื้อมีกำลังกล้าแกร่งขึ้น ทนต่อการออกกำลังหนักๆได้ อีกทั้งยังทำให้ข้อต่อของกระดูกและกล้ามเนื้อเกิดความคล่องตัวในการขยับ  ปัจจุบัน สมาคมการกีฬาของบางประเทศในยุโรป ได้นำการกดจุดไปใช้ให้กับนักกีฬา ก่อนการแข่งขัน ทำให้ได้ผลในการนำชัยชนะมาสู่สโมสรอย่างเห็นได้ชัด          ในด้านความกระฉับกระเฉงนั้นก็มาจากความคล่องตัวของกระดูกข้อต่อและกล้ามเนื้อ ของผู้เข้ารับการกดจุด อีกทั้ง ระบบการไหลเวียนของเลือดและลมมีการหมุนเวียนได้อย่างราบรื่น ร่างกายจะโปร่งเบา กระฉับกระเฉงอย่างแน่นอน
  5. การกดจุดสามารถใช้เป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้นของโรคบางอย่างได้อย่างดี  เช่น โรคลมชัก   เท้าแพลง  หอบหืด  ปวดไส้ติ่ง  โรคกระเพาะ อาการเจ็บหน้าอก ปวดฟัน อื่นๆ ก่อนที่จะพบแพทย์ ในกรณีที่ห่างไกลแพทย์หรือต้องรอแพทย์เป็นเวลานาน
  6. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค   เนื่องจาก การกดจุดแก้อาการ รักษาโรค นั้น สามารถใช้แทนการรักษาด้วยการฝั่งเข็ม ซึ่งจะฝั่งเข้าไปในเนื้อเฉพาะจุดเล็กๆ  และการนวดแผนไทยซึ่งต้องใช้ระยะเวลา  ฉะนั้น การกดจุด จึงสามารถเข้าถึงจุดของโรคได้อย่างแม่นยำมากกว่าในเวลาอันสั้น และไม่ต้องมีอะไรปักเข้าไปในเนื้อ ก็สามารถรักษาโรคที่เกี่ยวกับ การเจ็บปวด อักเสบ  เสื่อม พิการเรื้อรังของอวัยวะต่างๆของร่างกายได้ผลและปลอดภัยได้ผลเป็นอย่างดี

 

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

ที่มา Useful Beauty Tips

 

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

คนท้องไป "นวด" ได้ไหม?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา