ไซซ์จุกนม 100 สิ่งแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 42 เลือกอย่างไรให้เหมาะกับลูก?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ขวดนมคืออุปกรณ์ที่ช่วยให้ลูกน้อยดื่มนมแม่ที่ปั๊มออกมาได้สะดวกมากขึ้น คุณแม่ก็จะได้สลับพักเต้าหลังจากปั๊มนมด้วย การเลือก ไซซ์จุกนม จึงต้องเลือกให้เหมาะกับลูกตัวน้อยทั้งขนาดและวัสดุ เพื่อให้ลูกน้อยรู้สึกถึงความคุ้นชินของเต้านมแม่ นอกจากนี้คุณแม่สามารถเลือกไซซ์จุกนมให้เหมาะกับอายุของลูกจะช่วยให้กินนมได้ต่อเนื่องและป้องกันการสำลักได้ค่ะ

 

การเลือกจุกนมให้เหมาะกับลูก

  • แบบที่นิยมใช้

    • จุกนมแบบยาง : ทำจากยางพารา เป็นสีน้ำตาลนิ่ม ๆ อายุการใช้งานประมาณ 3 เดือน ทนความร้อนได้เพียง 100 องศา ห้ามผ่านความร้อนสูงบ่อย ๆ
    • จุกนมแบบซิลิโคน : มีสีขาวใส เป็นที่นิยม เนื่องจากมีความทนทาน ทนความร้อนถึง 120 องศา อายุการใช้งานนานถึง 6 เดือน

 

  • รูปทรงของจุก

    • จุกนมปลายมน : เป็นจุกนมที่เห็นทั่วไป ที่มีปลายจุกกลมมน รูปทรงคล้ายระฆัง
    • จุกนมปลายแบนเรียบ : เป็นจุกนมที่มีฐานกว้าง โดยมีปลายจุกนมแบนราบ เป็นชนิดที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนให้เด็กดื่มนมผง หรือนมที่ปั๊มไว้ แทนนมจากอกแม่
    • จุกนมปลายแหลมแบน : ออกแบบรองรับกับเพดานปาก เหงือก และลิ้นของเด็ก โดยปลายที่แบนออกมาจะวางพอดีบนลิ้น ขณะที่เด็กดูดนม

 

  • ขนาด

จุกนมจะมีด้วยกัน 3 ไซซ์ S M L มีการระบุไซซ์ข้างกล่อง

    • Size S หรือ SS เหมาะกับเด็กแรกเกิด จนถึง 3 เดือน เนื่องจากเด็กเล็กจะดูดนมได้ช้า และปริมาณน้อย เนื่องจากกล้ามเนื้อช่องปากยังไม่แข็งแรง ถ้ารูจุกนมกว้างเกิน จะทำให้เด็กสำลักได้
    • Size M เหมาะสำหรับเด็ก อายุ 3-6 เดือน
    • Size L เหมาะสำหรับเด็ก อายุ 6 เดือนขึ้นไป
    • Size พิเศษ หรือ จุกนมขนาดพิเศษ ที่เหมาะกับเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ หรือสำหรับเด็กที่มีแรงดูดน้อยมี 2 ขนาด คือ ขนาดมาตรฐาน (R) และขนาดเล็ก (S) ลักษณะปลายจุกนมตัดเป็นรูปตัว Y ด้านที่มีรูอากาศจุกนมจะบางกว่าอีกด้านหนึ่ง เพื่อช่วยให้เด็กใช้ลิ้นและริมฝีปากดูดน้ำนมได้ดียิ่งขึ้น และยังมีวาล์วป้องกันการไหลย้อนกลับของน้ำนม ขณะที่ดูดอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : การเลือกขวดนม และจุกนมที่คุณแม่ควรรู้!! ขวดนมเด็กแรกเกิด เลือกยังไง?

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ถึงเวลาเปลี่ยนจุกนม

อายุที่อยู่บนกล่องผลิตภัณฑ์ หรือตัวผลิตภัณฑ์ เป็นข้อแนะนำ หรือเป็นการประมาณช่วงอายุที่ควรเปลี่ยนจุกนม เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีขนาดตัวไม่เท่ากัน แรงดูดก็อาจจะไม่เท่ากัน

คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกต ปริมาณการไหลของน้ำนมจากจุกว่ายังเพียงพอต่อความต้องการของลูกหรือไม่ เพราะถ้าหากจุกนมเล็กไปจนปริมาณน้ำนมที่ไหลไม่เพียงพอ ลูกน้อยก็จะส่งสัญญาณบอก การเปลี่ยนจุกนมใหม่ นอกจากจะดูที่ความต้องการของเด็กแล้ว ยังจะต้องหมั่นตรวจสอบคุณภาพของจุกนม ทุก ๆ 2 – 3 เดือน เพื่อในแน่ใจว่าจุกนมสำหรับลูกอันเป็นที่รักนั่นยังอยู่ในสภาพดี เนื่องจากอายุการใช้งานของจุกนมขึ้นอยู่กับชนิดและลักษณะการใช้งาน ควรเปลี่ยนจุกนมหากจุกนมมีลักษณะดังนี้

การเปลี่ยนจุกนม คุณพ่อคุณแม่ต้องพิจารณาอยู่ 2 ปัจจัยหลัก สำหรับการเปลี่ยนจุกนม

1. ความต้องการของลูกน้อยของคุณ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. การเสื่อมสภาพของจุกนม

 

จุกนมเสื่อมคุณภาพสังเกตจากอะไร

  • ปกติแล้วน้ำนมที่ไหลออกจากจุกนมจะต้องไหลออกมาเป็นหยด หากน้ำนมไหลออกมาเป็นสาย หรือไหลออกมาไม่สม่ำเสมอ ก็แสดงว่าจุกนมนั้นเริ่มเสื่อมคุณภาพแล้ว เพราะรูของจุกนมนั้นใหญ่เกินไป
  • จุกนมเมื่อใช้ไปนาน ๆ ผ่านการต้มฆ่าเชื้อโรคบ่อย ตัวเนื้อยางจะบางลง และเสียรูปทรง สามารถทดสอบได้โดยการดึงจุกนม ออกมาตรง ๆ แล้วปล่อย ถ้าจุกนมหดกลับสู่สภาพเดิมก็แสดงว่าจุกนมยังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ แต่ถ้าไม่กลับไปอยู่ในรูปเดิมก็แสดงว่า จุกนมเสื่อมสภาพ
  • สังเกตจากลักษณะของจุกนม หากจุกนมบวม เนื้อยางบวมนิ่ม เวลาที่ลูกดูดจุกนมจะแบนจนน้ำนมไม่ไหล แสดงว่าจุกนมเสื่อมสภาพแล้ว
  • หากจุกนมมียางแตกหรือขาด ต้องเลิกใช้ทันที เพราะอาจมีเศษยางหลุดปนเข้าไปในปากขณะที่ลูกดูดนม เศษยางอาจจะไปติดหลอดลม ทำให้เกิดอันตรายต่อเด็กได้
  • ตอนที่เด็กเริ่มออกแรงมากในการดูดนม หรือสังเกตง่าย ๆ ว่าเด็กจะออกแรงดูดจนแก้มบุ๋ม
  • เมื่อลูกน้อยดูดนมไปได้สักพักแล้วร้องงอแง เสียงร้องนั่นก็อาจเป็นการบอกคุณพ่อคุณแม่ว่าน้ำนมไหลไม่ทันใจลูกน้อย
  • ลูกน้อยดูดนมไปเพียงนิดเดียวก็หอบเหนื่อยและหลับไป โดยอีกไม่นานก็ตื่นอีกเพราะหิว หากมีสัญญาณจากลูกน้อยแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็ควรเปลี่ยนขนาดจุกนม เพื่อให้ปริมาณน้ำนมไหลปกติ เด็กก็จะอารมณ์ดีไม่ร้องบ่อย

 

ทำความสะอาดจุกนมอย่างไร

เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดกับลูกรัก ควรใส่ใจทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกชนิดที่ใช้กับทารกรวมทั้งจุกนม โดยมีวิธีล้างและเก็บรักษาจุกนม ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • หลังซื้อจุกนมมาใหม่ ๆ ให้ฆ่าเชื้อจุกนมโดยนำไปต้มทิ้งไว้ในหม้อประมาณ 5 นาที จากนั้นล้างจุกนมด้วยสบู่และน้ำอุ่นแล้วผึ่งทิ้งไว้ให้แห้ง
  • หลังการใช้งานให้ล้างจุกนมด้วยสบู่และน้ำอุ่นทันที โดยใช้แปรงล้างจุกนมเพื่อให้สามารถทำความสะอาดในบริเวณที่เข้าถึงได้ยาก และต้องระมัดระวังไม่ใช้แปรงนี้ทำความสะอาดผลิตภัณฑ์ชนิดอื่น
  • หลังล้างจุกนมแล้ว ให้ผึ่งจุกนมจนแห้งสนิทก่อนนำไปใช้งานอีกครั้ง
  • หากเป็นจุกนมชนิดที่สามารถล้างในเครื่องล้างจานได้ ให้วางจุกนมไว้ที่ชั้นบนสุดในเครื่องล้างจาน
  • ห้ามใช้จุกนมที่มีสภาพบุบสลายหรือปลายจุกมีรอยแตก โดยทิ้งจุกนมนั้นทันทีหากพบปัญหาดังกล่าว
  • เมื่อต้องนำจุกนมไปใช้งาน ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนหยิบจับจุกนมและขวดนม

บทความที่เกี่ยวข้อง : ขวดนมและจุกนมของลูกควรเปลี่ยนตอนไหน รู้ไหมว่า แค่ล้างแล้วใช้ยาว ๆ ไม่พอนะ

 

 

จุกหลอก คืออะไร

จุกหลอก คือ จุกนมที่ช่วยให้ทารกรู้สึกผ่อนคลาย ป้องกันเด็กดูดนิ้ว และช่วยเบี่ยงเบนความสนใจให้เด็กหยุดร้องไห้ โดยจุกหลอกที่วางขายในปัจจุบันมีให้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทั้งตามขนาดที่ขึ้นอยู่กับอายุของเด็ก และตามวัสดุที่ใช้ผลิตทั้งยางและซิลิโคน

 

  • เด็กควรเริ่มใช้เมื่อไร

หากเด็กยังดูดนมจากอกแม่ ควรรอให้เด็กมีอายุ 3-4 สัปดาห์ก่อน จึงค่อยเริ่มให้ใช้จุกหลอก เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับการดื่มนมจากอกแม่ แต่หากเด็กจำเป็นต้องดูดนมจากขวดนมตั้งแต่แรกก็สามารถเริ่มใช้จุกหลอกได้ทันที เนื่องจากจุกจากขวดนมและจุกหลอกนั้นมีลักษณะคล้ายกัน

 

  • เด็กควรหยุดใช้จุกหลอกเมื่อไร

พ่อแม่ควรให้เด็กเล็กเลิกใช้จุกหลอกตั้งแต่อายุ 6 เดือนจนถึง 1 ปี อย่างไรก็ตาม เด็กส่วนใหญ่มักเลิกใช้จุกหลอกไปเองในช่วงอายุ 2-4 ปี แต่หากเด็กติดดูดจุกหลอกจนไม่สามารถเลิกเองได้ พ่อแม่ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาวิธีช่วยให้เด็กเลิกติดจุกหลอก

 

เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว คุณแม่ก็สามารถเลือก ไซซ์จุกนม ให้ลูกได้อย่างเหมาะสมแล้วนะคะ เพราะฉะนั้นคุณแม่ก็สามารถดูข้อมูลแล้วไปเลือกซื้อกันได้เลย ทั้งนี้อย่าลืมเลือกจุกนมที่มีมาตรฐานและใช้วัสดุที่ปลอดภัยนะคะ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ลูกกินนมได้สะดวก แถมยังปลอดภัยต่อสุขภาพลูกอีกด้วยค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เลิกจุกนมได้เมื่อไหร่ เลือกจุกนมแบบไหน ให้ลูกดูด

10 จุกนมหลอกเด็ก จุกหลอกทารก ชวนเหล่าคุณพ่อคุณแม่ช้อปปิ้ง

จุกนมหลอก จุกนมปลอม เสี่ยงทำให้ลูกพูดช้า ฟันไม่สวย ฟันเก จริงไหม

ที่มา : 1, parentsone

บทความโดย

nantichaphothatanapongbow