7 อาการปกติของคนท้องแก่ เมื่อคุณแม่ท้องแก่คุณก็อาจจะเจอกับปัญหาเหล่านี้ได้ มีปัญหาอะไรบ้าง หรือวิธีแก้ยังไงถึงจะถูกต้อง มาดูกันเลย
7 อาการปกติที่แม่ท้องแก่ควรรู้
1. ปวดสะโพกร้าวลงขา
ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดบริเวณหลังเหนือสะโพก และร้าวลงมาที่ขาทั้งสองข้าง และอาจมีอาการปวดบริเวณเส้นประสาทที่ถูกกดทับ หรือตำแหน่งที่เจ้าตัวน้อยอยู่ วิธีที่จะช่วยคุณแม่บรรเทาอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ในท่านั่ง แนะนำให้คุณแม่นั่งในท่าขัดสมาธิ หรือใช้หมอนหนุนที่ด้านหลัง ส่วนท่านอนของแม่ท้อง แนะนำให้นอนในท่าตะแคงซ้ายจะช่วยให้เลือดไหลเวียนทั่วร่างกายได้ดีขึ้น และควรหลีกเลี่ยงการยกของหนัก
-
ปวดบริเวณเอวช่วงล่าง
เนื่องจากคุณแม่ต้องแอ่นหลังเพื่อรับน้ำหนักของเจ้าตัวน้อยในครรภ์ ทำให้กล้ามเนื้อหลัวถูกยึดตรึง เกิดการบีบตัวของกระดูกสันหลัง เอ็นละข้อต่อเชิงกรานหย่อน จึงเกิดอาการปวดบริเวณเอวช่วงล่าง การใช้ถุงน้ำร้อน หรือถุงน้ำแข็งประคบ เป็นการกระตุ้นประสาทส่วนปลายจะช่วยบรรเทาอาการได้ โดยความร้อนจะช่วยให้ทนต่อการปวดได้มากขึ้น ส่วนความเย็นจะทำให้การส่งกระแสประสาทช้า ทำให้อาการปวดลดลง
คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการนั่งหลังงอ ควรนอนบนที่นอนที่ค่อนข้างแข็ง โดยนอนตะแคงซ้าย และใช้หมอนหนุนระหว่างเข่า นอกจากนี้ คุณแม่ควรออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการยกของหนัก ไม่ใส่รองเท้าส้นสูง หากเป็นมากอาจใช้ผ้าพยุงหน้าท้อง แต่หากอาการได้ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์
-
ปวดถ่วงท้องน้อย
อาการปวดถ่วงที่ท้องน้อย เกิดจากเอ็นที่ยึดมดลูกยึดตัวจนทำให้ถูกรั้งตึง คุณแม่อาจปวดข้างเดียว หรือสองข้างก็ได้ และจะเป็น ๆ หาย ๆ แนะนำให้ใช้ผ้าพยุงหน้าท้อง หรือกายบริหารเพื่อให้กล้ามเนื้อส่วนล่างยืดขยาย และมีความยืดหยุ่น ทำได้โดยการนอนหงายลงกับพื้น ชันเข่า แยกขาออกจากกันเล็กน้อย วางแขนทั้งสองข้างชิดลำตัว สูดหายใจแล้วกลั้นไว้ พร้อมกับเกร็งกล้ามเนื้อสะโพก ต้นขา และหน้าท้อง แอ่นหลังขึ้น ให้ไหล่ และสะโพกแนบติดพื้น จากนั้นหายใจออกช้า ๆ พร้อมกับกดหลังให้ติดพื้นตามเดิม
-
แน่นหน้าอก
คุณแม่ที่ท้องแก่มาก ๆ มดลูกจะอยู่สูงจนไปเบียดกะบังลม ทำให้กะบังลมเคลื่อนขึ้นลงไม่สะดวก จึงอาจมีอาการแน่นหน้าอกเกิดขึ้น แนะนำให้คุณแม่นำหมอนมาหนุนที่ไหล่ให้สูง ๆ เวลานอน และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เหนื่อยก็จะช่วยบรรเทาอาการแน่นหน้าอกได้
-
บวมที่หลังเท้า
อาการบวมที่เท้าเกิดจากน้ำคั่งในเนื้อเยื่อ ของร่างกายจากอิทธิพลของฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์ และความดันของหลอดเลือดดำที่ขาเพิ่มขึ้น การบรรเทาอาการแนะนำให้ คุณแม่ยกเท้าสูงเวลานั่ง หรือนอน หากมีอาการบวมมาก หรือบวมที่แขน และหน้าควรรีบแพบแพทย์ ควรลดอาหารเค็ม และห้ามซื้อยาขับปัสสาวะมารับประทานเด็ดขาด
-
เส้นเลือดขอด
การเพิ่มของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดทำงานได้ไม่ดี มีผลให้การไหลเวียนเลือดส่วนล่างของร่างกายไม่ดี รวมทั้งขนาดของมดลูกที่โตขึ้น กดทับเส้นเลือดดำที่ผ่านจากอุ้งเชิงกรานมาสู่ช่องท้อง เมื่อถูกกดนาน ๆ ความดันในเส้นเลือดจะสูงขึ้น และดันให้เส้นเลือดเล็ก ๆ ป่งพอง ทำให้เลือดคั่งบริเวณขา และอวัยวะเพศ โดยจะหายไปเมื่อคลอดเจ้าตัวน้อยแล้ว
คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการนอน หรือยืนนานเกินไป หลีกเลี่ยงการใส่ถุงเท้าที่รัดแน่น ไม่นั่งไขว่ห้าง ควรยกเท้าสูงเวลานั่งและนอน ใช้ผ้ายืดพันขา โดยพันจากเท้ามาถึงใต้เข่า หรือโคนขา เคลื่อนไหวขา และข้อเท้า เพื่อให้กล้ามเนื้อทำงาน จะช่วยลดการคั่งของเลือดได้
-
ปวดปัสสาวะบ่อย
เนื่องจากขนาดของมดลูกโตขึ้น และลูกกลับหัวลงสู่เชิงกรานจึงไปกดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ความจุของกระเพาะปัสสาวะลดลง คุณแม่จึงรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย แต่ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ เพราะอาจเป็นสาเหตุให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบได้ หากสังเกตพบอาการต่อไปนี้เช่น ปัสสาวะแสบขัด มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหลัง ให้รีบไปพบแพทย์
อาการที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรไปพบแพทย์
1. อาการเลือดออก
มีสาเหตุได้หลาย ๆ อย่าง เช่น การติดเชื้อในช่องคลอด การติดเชื้อในปากมดลูก การมีภาวะรกเกาะต่ำ หรือมีภาวะการเจ็บครรภ์คลอด สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดภาวะเลือดออกทางช่องคลอดได้สิ่งสำคัญคือ เมื่อพบว่ามีเลือดออกทางช่องคลอดไม่ว่าอายุครรภ์จะเท่าไหร่ก็ตาม ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ เมื่อรู้สาเหตุก็จะรู้ถึงความสำคัญหรืออันตรายว่า จะมีอะไรเกิดขึ้นได้บ้าง
2. การดิ้นของลูกในครรภ์ผิดปกติ
ปกติทารกในครรภ์นั้น จะเริ่มดิ้นเมื่ออายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป และเมื่อถึง 28 สัปดาห์จะรู้สึกมากขึ้นบางรายอาจจะรู้สึกเป็นแรงเตะ แรงถีบ หรือแรงขยับของแขนขาการที่หมอให้นับจำนวนครั้งของการดิ้น เป็นการประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างหนึ่งซึ่งสามารถประเมินได้ด้วยตัวของคุณแม่เอง หากคุณแม่รู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลง หรือวันนี้ยังไม่ดิ้นเลย ก็เป็นอีกหนึ่งอาการที่ควรจะไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุว่าทารกในครรภ์มีความผิดปกติอะไร หรือเปล่า
3. อาการแพ้ท้อง
โดยปกติผู้หญิงทุกคน มีโอกาสเกิดอาการแพ้ท้องได้ เพราะการเปลี่ยนแปลง ของระดับฮอร์โมนอาการที่สังเกตได้ง่าย ๆ คือ คลื่นไส้ อาเจียน พะอืด พะอม เบื่ออาหาร หรือเหม็นอาหาร ทั้ง ๆ ที่ช่วงก่อนตั้งครรภ์ไม่มีอาการแบบนี้ ซึ่งถ้ามีอาการลักษณะนี้แต่ว่ายังรับประทานอาหารพอได้ ถือเป็นอาการที่ค่อนข้างปกติเมื่ออายุครรภ์มากขึ้นเกิน 14 สัปดาห์ ฮอร์โมนของการตั้งครรภ์ได้ระดับ อาการพวกนี้จะหายไปเองโดยธรรมชาติส่วนอาการที่ถือว่าผิดปกติคือ คลื่นไส้ อาเจียนมากจนกินอาหารไม่ได้ น้ำหนักลด มีอาการขาดสารอาหาร ขาดน้ำเช่น ใจสั่น ปัสสาวะออกน้อย พวกนี้ถือว่าผิดปกติ ต้องรีบมาตรวจที่โรงพยาบาลเพราะว่า อาจจะต้องได้รับสารทดแทนทางน้ำเกลือ หรือให้วิตามินเสริมทางน้ำเกลือ
4. อาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
โดยปกติหญิงใกล้คลอด ในช่วงปลายไตรมาสที่ 2 หรือในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ จะมีโอกาสเจ็บครรภ์การเจ็บครรภ์มี 2 แบบ แบบแรก คือ การเจ็บครรภ์เตือน จะรู้สึกว่ามีท้องแข็งเกิดขึ้น แต่ไม่สม่ำเสมอพวกนี้จะสัมพันธ์ กับการทำงาน เดินนาน ๆ ยืนนาน ๆ บางทีมันกระตุ้นให้มีการเจ็บครรภ์ได้บ้าง เมื่อเราพักก็จะหายไปเอง แต่แบบที่สองคือ ถ้าอาการเจ็บครรภ์นั้นสม่ำเสมอ ปวดมากขึ้น แรงมากขึ้นความถี่มากขึ้น อาการนี้จะทำให้เข้าสู่กระบวนการคลอดได้ มีการเปิดของปากมดลูกร่วมด้วย เพราะฉะนั้นในกรณีที่อายุครรภ์ยังไม่ครบกำหนด แล้วเข้าสู่กระบวนการคลอดถ้าเราปล่อยไว้ให้กระบวนการคลอดดำเนินไปเรื่อย ๆ ทารกก็จะคลอดออกมา มีปัญหาเรื่องการคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อย ฉะนั้น เมื่อไรก็ตามที่มีอาการเจ็บครรภ์คลอดเกิดขึ้น ไม่แน่ใจว่ามันถี่ขึ้นหรือเปล่า หรือรู้สึกว่าผิดปกติมากขึ้นต้องมาตรวจดูว่าการบีบตัวของมดลูกสม่ำเสมอมากน้อยขนาดไหน รวมถึงมีการตรวจภายในเพื่อประเมินดูการเปิดของปากมดลูกคำว่า ท้องแข็ง เป็นคำที่เราใช้อธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น เป็นการบีบตัวของมดลูกซึ่งเมื่อจะเข้าสู่ภาวะคลอดจะมีการแข็งตัวของมดลูกเกิดขึ้น ท้องจะมีอาการปวด บีบ ๆ เกร็ง ๆ ถ้าเอามือไปจับบริเวณมดลูกจะรู้สึกว่ามันแข็ง อาการนี้โดยทั่วไปจะเป็นอยู่ประมาณ 45 – 60 วินาที แล้วก็จะหายไป ถ้าเข้าสู่กระบวนการคลอดอาการนี้จะกลับมาทุก ๆ 5 – 10 นาที หรือถี่ขึ้นเป็น 2 – 3 นาที
5. การที่มีน้ำเดินหรือน้ำคร่ำแตก
น้ำเดินหมายถึง มีน้ำคร่ำไหลออกจากช่องคลอด คือมีการแตกของถุงน้ำคร่ำซึ่งโดยทั่วไปจะชักนำให้เข้าสู่กระบวนการคลอดได้เร็วขึ้น ถ้าอยู่ในช่วงที่อายุครรภ์ครบกำหนดแล้วพวกนี้จะแสดงว่าเริ่มที่จะเข้าสู่กระบวนการคลอด พร้อมที่จะคลอดได้ เมื่อไรก็ตามที่มีน้ำคร่ำเดินออกมา หรือมีน้ำใส ๆ ไหลออกจากช่องคลอดออกมา ต้องมาตรวจดูที่โรงพยาบาลเหมือนกันเพราะว่าเป็นสัญญาณอย่างหนึ่งที่บ่งชี้ว่าเราเข้าใกล้ที่จะเข้าสู่กระบวนการคลอดแล้ว
อาหารที่คุณแม่ท้องแก่ควรกิน
-
ผักและสมุนไพร
ผักสมุนไพรก็จะมีสรรพคุณที่ดีที่แตกต่างกันไปแต่ละชนิด ซึ่งชนิดที่เหมาะกับคุณแม่ที่กำลังตั้งท้องอยู่ก็มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น มะนาว ขิง มีสรรพคุณช่วยให้คุณสาวๆ ลดอาการคลื่นไส้ แพ้ท้อง หอมแดง มีสรรพคุณช่วยป้องไข้หวัด บรรเทาอาการคัดจมูก กระเทียม มีสรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือดและลดความดันโลหิตได้
-
ดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ
ผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำว่าคุณแม่ที่ตั้งท้องควรดื่มน้ำประมาณ 8 – 12 แก้ต่อวัน การดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ จะช่วยป้องกันอาหารต่าง ๆ ขณะตั้งครรภ์ อีกทั้งยังป้องกันภาวะขาดน้ำ ไปจนถึงความไม่สบายตัวที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์
-
โยเกิร์ตไขมันต่ำ
การกินโยเกิร์ตเป็นประจำทุกวันนั้นดีต่อสุขภาพของคุณสาว ๆ เนื่องจากในโยเกิร์ตนั้นมีสารอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ แคลเซียม และโปรตีน โยเกิร์ตเป็นอะไรที่กินแล้วย่อยง่าย ดีต่อระบบขับถ่าย ซึ่งสารอาหารที่มีอยู่ในโยเกิร์ตนั้น จะเข้าไปช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกาย ป้องกันการติดเชื้อ จึงเหมาะอย่างมากที่คุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ควรได้รับอย่างสม่ำเสมอ แต่ต้องเป็นโยเกิร์ตที่มีไขมันต่ำเท่านั้นนะจึงจะดี
ที่มา หนังสือ “เตรียมตัวก่อนคลอด” โดย พญ.ภักษร เมธากูล, หนังสือ “การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์” โดย โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก , https://www.rama.mahidol.ac.th
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
9 อาการบวม ที่มักเกิดขึ้นกับแม่ท้อง
เน้นชัด อาการเจ็บท้องเตือนก่อนคลอด แบบนี้คลอดชัวร์
เจ็บท้องหลอก ต่างจากเจ็บท้องจริงอย่างไร เจ็บแบบไหนใกล้คลอด