โรคลำไส้กลืนกัน ความเจ็บปวดที่ลูกบอกไม่ได้

ระวังลูกร้องกวน กระสับกระส่าย ความเจ็บปวดที่ลูกบอกไม่ได้ เพราะลำไส้กลืนกัน และด้วยความที่ลูกน้อยยังอยู่ในวัยที่พูดไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยสังเกตอาการของลูกน้อยอยู่เสมอนะครับ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคลำไส้กลืนกัน คืออะไร

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชณรังษี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ให้ความเห็นเกี่ยวกับ โรคลำไส้กลืนกัน เอาไว้ว่า โรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากส่วนหนึ่งของลำไส้ ซึ่งอยู่ต้นกว่า เคลื่อนตัวเข้าไปอยู่ในลำไส้อีกส่วนที่อยู่ปลายกว่า โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน โรคลำไส้กลืนกันนี้ พบได้บ่อยในเด็กที่มีช่วงอายุระหว่าง 4-12 เดือน พบได้จนถึง 2 ขวบ และสามารถเกิดขึ้นได้ในเด็กที่สมบูรณ์แข็งแรงดีมาตลอด

ข้อสังเกตของโรคลำไส้กลืนกัน

เนื่องจากเด็กยังพูดไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องสังเกตอาการต่าง ๆ ของลูกอยู่เสมอ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตว่าลูกมีภาวะลำไส้กลืนกันได้จาก

  • ร้องกวน กระสับกระส่ายเป็นระยะ
  • มีอาการปวดท้องเป็นพัก ๆ มือเท้าเกร็ง
  • มีอาเจียนร่วมด้วย อาจอาเจียนจนมีสีเขียวของน้ำดีปนออกมา
  • ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด เพราะมีส่วนของลำไส้ที่ตายจากการขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง
  • มีไข้ เริ่มซึมลง ซึ่งบ่งบอกว่าอาจมีอาการติดเชื้อแทรกซ้อน
  • หากเกิดโรคนี้ในเด็กอายุมากกว่า 2 ขวบ มักมีสาเหตุที่ทำให้ลำไส้กลืนกัน เช่น มีเนื้องอกในลำไส้

หากลูกมีอาการดังกล่าวข้างต้น คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอ ซึ่งคุณหมอจะถามประวัติเพิ่มเติม ตรวจร่างกาย เพื่อหาตำแหน่งของก้อนที่เกิดจากลำไส้กลืนกัน โดยจะคลำพบก้อนในช่องท้อง จากนั้นคุณหมอจะส่งตรวจทำอัลตราซาวนด์ และส่งตรวจสวนลำไส้ใหญ่ด้วยสารทึบรังสี เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค และรักษาต่อไป

อันตรายจากโรคลำไส้กลืนกัน

ลำไส้กลืนกัน เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อย  เป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เพราะเป็นโรคที่อันตรายถึงแก่ชีวิต เนื่องจากเมื่อลำไส้กลืนกันอยู่นาน ๆ ก็จะทำให้ลำไส้ขาดเลือด จนกระทั่งมีการเน่าตายของลำไส้  ลำไส้แตกทะลุ และเยื่อบุช่องท้องอักเสบ รวมทั้งติดเชื้อในกระแสเลือด จนอาจเสียชีวิตได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การรักษาโรคลำไส้กลืนกัน

การรักษาโรคลำไส้กลืนกัน สามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. การดันลำไส้ที่กลืนกันออก โดยไม่ต้องผ่าตัด ซึ่งคุณหมอจะใช้แรงดันผ่านทวารหนักดันลำไส้ที่กลืนกันออกโดยใช้สารทึบแสงทางเอ็กซเรย์ หรือใช้ลม
  2. การผ่าตัด หากมีลำไส้กลืนกันมาเป็นเวลานานจนมีการเน่าตายของลำไส้จากการขาดเลือด หรือใช้วิธีการรักษาโดยดันลำไส้แล้วไม่สำเร็จ คุณหมอจะทำการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด

ปัญหาที่มักจะพบได้อยู่บ่อย ๆ นั่นก็คือ พ่อแม่ หรือคนเลี้ยงดู ไม่รู้ว่าเด็กป่วยเป็นโรคนี้ พอเห็นว่าเด็กมีอาการปวดท้อง อาเจียน มีไข้ ก็มักจะไปซื้อยาเอง จนกระทั่งลำไส้เริ่มมีการขาดเลือด จนถ่ายออกมาเป็นเลือดปนมูกถึงได้มาพบคุณหมอ ทำให้ได้รับการรักษาที่ช้าเกินไป ดังนั้น หากพบว่าเด็กมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น ก็ควรรีบพาลูกมาพบคุณหมอเสียแต่เนิ่น ๆ นะครับ


รูปประกอบจาก nku.edu

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ลำไส้กลืนกัน อุทาหรณ์ป้อนกล้วยลูกหลานก่อนวัยอันควร

แม่โพสต์เล่า ลูกโดนป้อนน้ำจนลำไส้ติดเชื้อ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำคนเป็นแม่ใจจะขาด

คัมภีร์ดูแลทารก เด็กแรกเกิดต้องดูแลแบบนี้นะ

บทความโดย

P.Veerasedtakul