โรคภูมิแพ้กับแม่ท้องรับมืออย่างไร? อันตรายต่อลูกในท้องหรือไม่?

โรคภูมิแพ้หากเป็นในช่วงก่อนท้องอาจดูเป็นโรคไม่ร้ายแรงอะไร เพียงแต่สร้างความหงุดหงิดรำคาญใจให้เราเท่านั้น แต่ถ้าหากเป็นช่วงท้องจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ไหม จะรับมืออย่างไร ส่งผลอันตรายต่อลูกในท้องหรือไม่ มาหาคำตอบไปพร้อมกัน

อาการของโรคภูมิแพ้ที่พบในแม่ท้องส่วนใหญ่

คุณแม่ที่มีอาการของโรคภูมิแพ้ตั้งแต่ก่อนตั้งท้องอาจกังวลว่าในช่วงตั้งท้องอยู่ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและฮอร์โมนจะส่งผลให้อาการภูมิแพ้แย่ลงได้หรือไม่ ในความเป็นจริงการตั้งท้องก็มีผลกับโรคภูมิแพ้ แต่อาการก็อาจไม่ได้แย่ลงเสมอไป ขึ้นอยู่กับอาการของโรคภูมิแพ้แต่ละชนิด

ซึ่งโรคภูมิแพ้ที่พบให้แม่ท้องส่วนใหญ่คือ โรคภูมิแพ้เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้อากาศ มีอาการแพ้หอบหืด คัดจมูก น้ำมูกใสๆไหลตลอดเวลา และโรคภูมิแพ้ผิวหนัง มีอาการคัน เป็นผื่นลมพิษขึ้นตามตัวและยังพบว่าคุณแม่ท้องอาจมีอาการจมูกอักเสบจากการไม่ได้เป็นภูมิแพ้ เพราะฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนที่เปลี่ยนแปลงไป กรณีนี้อาการจะหายไปเองประมาณ 2 สัปดาห์หลังคลอด

โรคภูมิแพ้ส่งผลต่อลูกในท้องอย่างไร

โรคภูมิแพ้เกิดจากปัจจัยหลักคือ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม หากแม่เป็นภูมิแพ้ตั้งแต่ก่อนตั้งท้องลูกก็อาจเป็นภูมิแพ้ได้เช่นกัน และตอนท้องหากแม่ไม่อาจควบคุมอาการได้ดีอาจทำให้ลูกในท้องเสี่ยงได้รับผลกระทบไปด้วยเช่น

แม่ท้องที่เป็นภูมิแพ้เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ อย่างหอบหืด แม่หายใจไม่สะดวก มีการไอ แน่นหน้าอกเหนื่อยง่าย หอบง่ายในรายที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน ส่งผลทำให้ลูกในท้องมีน้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด และอาจทำให้คุณแม่เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษได้

รับมือกับภูมิแพ้ตอนท้อง

1.ก่อนตั้งท้องหากรู้ว่าตัวเองเป็นโรคภูมิแพ้ควรเข้ารับการตรวจจากหมอผู้เชี่ยวชาญให้เรียบร้อยเพื่อใหได้้ผลที่แน่ชัดว่าแพ้อะไร จะได้วางมาตราการป้องกันการกำเริบของอาการภูมิแพ้ไม่ให้เกิด หรือควบคุมอาการไม่ให้มีความรุนแรงจนส่งผลถึงลูกในท้อง

2.พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการโดยหมั่นทำความสะอาดบ้าน ที่นอน เฟอร์นิเจอร์ให้สะอาดปราศจากฝุ่น ละอองซึ่งปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้ภูมิแพ้

3.จัดบ้านให้มีอากาศถ่ายเท แสงแดดส่องถึงเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคภูมิแพ้

4.ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ และแผ่นกรองเครื่องปรับอากาศเป็นประจำ เพื่อลดแหล่งสะสมเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค

5.กินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เลือกกินอาหารให้หลากหลายโดยเฉพาะผักและผลไม้

6.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

7.ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ ช่วยลดการสัมผัสสารกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ต่างๆ ลดการระคายเคืองจมูกโล่ง หายใจได้สะดวกขึ้น

หากมีการภูมิแพ้หอบหืดควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกวิธีและติดตามพัฒนาการของทารกในท้องอย่างใกล้ชิดห้ามซื้อยากินเอง หรือหยุดยาเอง ควรขอคำปรึกษาจากหมอและเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้หรือหยุดยา

 

แหล่งข้อมูล haijai

โรคภูมิแพ้ในแม่ท้อง เสี่ยงต่อความผิดปกติของลูกในครรภ์หรือไม่

 

 

 

บทความโดย

daawchonlada