โรคติดต่อที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

โรคติดต่อที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคติดต่อ ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง เพื่อไม่ให้ลูกป่วยหนัก วันนี้เราจึงรวม โรคติดต่อ ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง พร้อมวิธีการป้องกัน ไปดูกันเลยค่ะ

 

โรคติดต่อ ที่พ่อแม่ควรเฝ้าระวัง 

โรคติดต่อ

โรคมือ เท้า ปาก 

เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Enterovirus (EV) หรือ Coxackie ซึ่งแพร่เชื้อออกมาในน้ำลายและอุจจาระผู้ป่วย การรับเชื้อสามารถรับผ่านทางปากจากการปนเปื้อนเชื้อที่มือ ของเล่น น้ำ อาหาร โดยผู้ป่วยแพร่เชื้อได้ 2-3 วัน ก่อนมีอาการจนถึง 1-2 สัปดาห์ หลังมีอาการจะพบเชื้อในอุจจาระได้หลายสัปดาห์หรือเป็นเดือนและหลังได้รับเชื้อ 3-6 วันจะปรากฏอาการ ส่วนมากมักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการโรคมือ เท้า ปาก

มีไข้ ผื่นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ปาก ลิ้น เหงือก อาการจะหายไปเอง ภายใน 7-10 วัน ผู้ป่วยอาจมีอาการแทรกซ้อนซึ่งพบได้น้อยมาก เช่น สมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ดังนั้นหากเด็กมีอาการของโรคมือเท้าปากให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์

 

การป้องกัน

  • ไม่สัมผัสใกล้ชิดเด็กที่ป่วย
  • สอนเด็กล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
  • ป้องกันการแพร่เชื้อโดยไม่ใช้อุปกรณ์และภาชนะในการรับประทานและดื่มน้ำร่วมกับผู้อื่น
  • ควรแยกเด็กไม่ควรพาไปเที่ยว อาจจะแพร่เชื้อไปสู่เด็กอื่นได้
  • เด็กวัยเรียน ควรหยุดเรียน 1 สัปดาห์ ตั้งแต่เริ่มมีผื่น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคเฮอร์แปงไจนา (Herpangina)

โรคติดต่อได้จากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย สารคัดหลั่ง และอุจจาระ ของคนที่มีเชื้อ เพราะบางครั้งอาจสัมผัสแล้วนำมือเข้าปาก แล้วเผลอรับประทานเข้าไป สามารถทำให้ติดเชื้อได้ ทั้งนี้ผู้ป่วยจะมีอาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 3–14 วัน ซึ่งผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะแพร่เชื้อได้ตั้งแต่วันแรกที่ติดเชื้อไปจนกว่าจะหายจากโรค คือประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ นับจากติดเชื้อกลุ่มเสี่ยงของโรคนี้จะเป็นมากในเด็กที่อายุน้อยกว่า 10 ปี

 

อาการของโรคเฮอร์แปงไจนา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โดยทั่วไปอาการไม่รุนแรง แต่อาจมีไข้เฉียบพลัน ไข้อาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะ ปวดตามตัว อาจมีอาเจียน และอาการเด่นคือจะมีอาการเจ็บบริเวณเพดานปากและคอนำมาก่อน ต่อมา(ภายใน 1 วัน) จะมีจุดแดงๆ บริเวณเพดานอ่อน ลิ้นไก่ และอาจมีตุ่มแดงที่ทอนซิล หรือบริเวณในลำคอด้วยก็ได้ อาจเป็นแผลเล็กๆ ตรงกลางตุ่มน้ำนั้น หรืออาจมีการอักเสบรอบๆ แผลได้ จำนวน 5 – 10 ตุ่ม ไข้จะลดลงภายใน 2–4 วัน แต่แผลอาจคงอยู่ประมาณ 1 สัปดาห์

 

การป้องกัน

  • ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาด
  • ระวังการสัมผัสน้ำลาย น้ำมูก ข้าวของเครื่องใช้ของเด็กที่เป็นโรค ซึ่งรวมทั้งของเล่นต่างๆ ด้วย
  • หากเด็กป่วยให้งดไปโรงเรียน 7 วัน

 

โรคไข้เลือดออก

โรคติดต่อ

เป็นโรคภาวะติดเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue) โดยมี “ยุงลาย” เป็นพาหะนำโรค คือเมื่อยุงลายที่มีเชื้อไวรัสไข้เลือดออกกัดคน จะถ่ายทอดเชื้อให้คนทำให้เกิดอาการ ยุงลายนี้มักจะเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำนิ่งในบริเวณบ้าน เช่นตุ่มน้ำ โอ่งน้ำ หรือหลุมที่มีน้ำขัง เป็นต้น

 

อาการของโรคไข้เลือดออก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มีอาการไข้สูงลอยอย่างต่อเนื่อง 39-41 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 2-7 วัน หน้าแดง ปวดศีรษะ ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระบอกตา เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ หรือใต้ชายโครงขวา มีเลือดออก และในรายที่อาการรุนแรงอาจพบว่ามีอาการอาเจียนเป็นเลือดเกิดขึ้น หากมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันที

 

การป้องกัน

  • ป้องกันได้โดยไม่ให้ยุงกัด
  • ปิดภาชนะขังน้ำให้มิดชิด ป้องกันไม่ให้ยุงลายลงไปวางไข่
  • เปลี่ยนน้ำในแจกัน ถังเก็บน้ำ ทุก 7 วัน เพื่อตัดวงจรลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุง
  • ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะใส่น้ำถาวร เช่น ปลาหางนกยูง ปลากัด ปลากระดี่
  • ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ปลอดโปร่ง ลมพัดผ่าน และปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นนิสัย

 

โรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบ 

เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส

 

อาการโรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบ 

เมื่อเด็กติดเชื้ออาจมีอาการไข้สูง ซึม ชักเกร็ง แขนขาอ่อน พ่อแม่ต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดเพราะเด็กเล็กไม่สามารถบอกอาการได้ หากมีอาการดังกล่าวควรรีบมาพบแพทย์

 

การป้องกัน 

  • เนื่องจากเชื้อนิวโมคอคคัสเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ฉะนั้นจึงควรเลี่ยงพาเด็กไปในที่แออัด หรือหากเลี่ยงไม่ได้ควรใส่หน้ากากอนามัย
  • ฉีดวัคซีนเสริมภูมิต้านทาน โดยฉีดเมื่ออายุ 2, 4, และ 6 เดือน และกระตุ้นซ้ำเมื่ออายุ 12-15 เดือน
  • ถ้าเริ่มฉีดในเด็กอายุ 7-11 เดือน ให้ฉีด 2 ครั้งห่างกันสองเดือน และกระตุ้นซ้ำเมื่ออายุ 12-15 เดือน
  • ส่วนเด็กอายุ 1-5 ปีที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนนี้ให้ฉีดครั้งเดียว ยกเว้นในเด็กที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดรุนแรง โดยให้ฉีดสองครั้งห่างกันสองเดือน

 

โรคอีสุกอีใส

โรคติดต่อ

หลายครอบครัวคงคุ้นเคยกับโรคนี้กันดีเพราะเป็นโรคที่เกิดขึ้นบ่อยและเป็นกันบ่อย เมื่อเป็นแล้วมักจะติดกันเป็นทอด ๆ โดยเฉพาะการติดต่อจากเพื่อนที่โรงเรียน

 

อาการของโรคอีสุกอีใส 

ผู้ป่วยจะมีไข้ เป็นผื่นแดง และมีตุ่มน้ำใสเกิดขึ้นตามตัว โดยเริ่มจากบริเวณท้อง ลามไปตามต้นแขน ขา และใบหน้า หลังจากนั้นจะเกิดเป็นสะเก็ด และแผลเป็นขึ้นได้ มักหายได้เองประมาณ 2–3 สัปดาห์

 

การป้องกัน 

  • อย่าให้ลูกเข้าใกล้ผู้ป่วย ล้างมือบ่อย ๆ
  • ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ซึ่งมีประสิทธิภาพค่อนข้างดี เริ่มฉีดในเด็กตั้งแต่ 1 ขวบเป็นต้นไป และจะกระตุ้นอีกครั้งในตอน 4 ขวบ ซึ่งเป็นวัคซีนเสริม ยังไม่กำหนดเป็นมาตรฐานที่เด็กทุกคนจะต้องฉีด

 

โรคไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่ หรือ Influenza เป็นโรคที่พบบ่อยในคนทุกเพศทุกวัย พบได้เกือบทั้งปี เพราะไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น แต่จะเป็นมากในช่วงฤดูฝน ซึ่งบางปีอาจจะพบการระบาด ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ

 

อาการของโรคไข้หวัดใหญ่

  • เป็นไข้เฉียบพลัน
  • แพทย์มักจะให้การวินิจฉัยเด็กที่มีอาการตัวร้อนมา 2–3 วัน โดยไม่มีอาการอย่างอื่นชัดเจนว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ ซึ่งบางครั้งก็อาจพบการผิดพลาดได้

 

การป้องกัน 

  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ควรฉีดประมาณ 1–2 เดือนก่อนฤดูกาลระบาดของโลกในทุก ๆ ปี
  • สามารถฉีดได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป
  • คนป่วยพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปสู่คนอื่น รวมถึงใส่หน้ากากอนามัยและล้างมือ
  • ทานอาหารให้ถูกสุขอนามัย

 

ที่มา : (bangkokhospital),(phyathai)

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : 

เด็กป่วยหน้าฝน RSV ไข้หวัดใหญ่ เฮอร์แปงไจน่า โรคหน้าฝนที่ทารกเด็กเล็กต้องระวัง

วิธีป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่มากับฝน ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วย ต้องทำแบบนี้!

อาการมือเท้าปาก แผลร้อนใน ในเด็กโรคยอดฮิตของเด็กทุกวัยหน้าตาเป็นยังไง?

บทความโดย

Nanticha Phothatanapong