อย่าชะล่าใจ โรคจิตหลังคลอด ภาวะหนักกว่าโรคซึมเศร้าที่แม่ลูกอ่อนต้องระวัง!!

คุณแม่มือใหม่หลังคลอด อย่าชะล่าใจ!! อาการที่น่าเป็นห่วงที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว นอกจากภาวะซึมเศร้าที่เราอาจเคยได้ยินบ่อย ๆ แล้ว ยังมีอาการ “โรคจิตหลังคลอด” ที่อาจเกิดขึ้นได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคจิตหลังคลอด ภาวะหนักกว่าโรคซึมเศร้าที่แม่ลูกอ่อนต้องระวัง!!

โรคจิตหลังคลอด (Postpartum psychosis) สามารถเริ่มเกิดได้ตั้งแต่หลังคลอด 4 สัปดาห์ โดยจะมีอาการรุนแรงมากกว่าโรคซึมเศร้าหลังคลอดและอาจจะหนักถึงขั้นเป็นโรคจิต ทำให้คุณแม่มีอาการหงุดหงิด สับสน นอนไม่หลับ หรือถ้ามีใครขัดใจก็จะโกรธรุนแรง เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายคล้ายคลึงกับโรคไบโพล่า ในรายที่เป็นมาก ๆ อาจมีอาการได้ยินเสียงแว่วหรือภาพหลอนทางประสาท ซึ่งอาจทำร้ายลูกหรือทำร้ายตัวเองได้ แม้ว่าโรคนี้จะพบได้น้อยมากหรือประมาณ 1% ของแม่มือใหม่ โดยมีรายงานจากต่างประเทศว่า พบได้ประมาณ 1-2 รายจากการคลอด 1,000 รายเท่านั้น แต่หากพบว่าแม่มีอาการโรคจิตหลังคลอดนั้นควรรีบไปพบแพทย์ทันที ซึ่งแนวทางการรักษาจำเป็นต้องได้รับรักษาตัวในโรงพยาบาล เพื่อการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้วยการใช้ยาและจิตบำบัดร่วมด้วย

สาเหตุของโรคจิตหลังคลอดอาจจะแตกต่างกัน โดยมวลของอาการส่วนใหญ่พื้นฐานเกิดจาก

  • ความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่อง และอาจเกิดขึ้นได้ทันทีหลังคลอดหรือภายในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด
  • บางคนก็อาจมีภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรงร่วมกับอาการหลงผิดและภาพหลอน เห็นและได้ยินสิ่งที่ไม่มีตัวตน
  • มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ที่มาตามประเภทของโรคจิตเฉียบพลัน เช่น อาจจะเกิดความกลัวและหวาดระแวงมากขึ้น ไม่แน่ใจว่าสิ่งใดเป็นเรื่องจริงหรือไม่ใช่เรื่องจริง
  • มีความคิดว่าจะทำร้ายลูกหรือทำร้ายตนเองได้
  • มีความคิดว่าจะฆ่าตัวตายหรือทำฆาตกรรมได้

แนวโน้มของแม่ที่เสี่ยงเป็นโรคจิตหลังคลอดสูง อ่านหน้าถัดไป >>

แนวโน้มของแม่ยังสาวจะกลายเป็นเหยื่อของอาการโรคจิตหลังคลอดสูงหาก :

  • ในอดีตเคยเป็นโรคนี้มาก่อนหลังการมีลูกคนแรก
  • มีคนในครอบครัวที่มีอาการโรคจิตหลังคลอดมาก่อน
  • หากก่อนการตั้งครรภ์ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไบโพล่า
  • ในระหว่างการคลอดบุตรมีภาวะแทรกซ้อนหรือปัญหารุนแรงที่ส่งผลให้ทารกที่คลอดออกมาเสียชีวิต
  • มีการใช้ยาไม่ถูกประเภทหรือการใช้ยาบางชนิดที่มีผลระหว่างตั้งครรภ์

การวินิจฉัยและแนวทางการรักษาภาวะโรคจิตหลังคลอด

หากรู้ตัวว่าแม่หลังคลอดมีอาการประเภทนี้เร็ว การได้รับการรักษาเร็วก็จะมีประสิทธิภาพและฟื้นตัวได้เร็ว ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกรับการรักษาในโรงพยาบาลภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้วยวิธีการรักษาหลายทาง เช่น

  • การรักษาด้วยยา ซึ่งไม่แนะนำในการให้นมลูกใขณะนี้เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีของลูกน้อย
  • บำบัดอาการด้วยการปรับสภาพของแม่หลังคลอดเพื่อช่วยในการรับมือกับความรู้สึกผิดหรือความกลัวโดยนักจิตวิทยา
  • การให้ความรักและความสนใจของสามีและสมาชิกในครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้อาการของแม่หลังคลอดดีจากโรคนี้ขึ้น

อย่างไรก็ตาม สำหรับคุณแม่พร้อมมีทั้งจิตใจและร่างกายที่พร้อมสำหรับการคลอดลูกแล้ว โอกาสที่มีความเสี่ยงของการเกิดโรคจิตหลังคลอดนี้จะน้อยมาก ดังนั้นในขณะที่ตั้งท้องคุณแม่ควรทำจิตใจให้มีความสุข หรือหากิจกรรมที่ไม่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ เช่น การออกกำลังกาย ว่ายน้ำ โยคะสำหรับคนท้อง การเตรียมความพร้อมก่อนลูกน้อยเกิด ซึ่งเป็นการป้องกันวิธีง่าย ๆ เพื่อจะให้เกิดภาวะโรคจิตหลังคลอดของแม่ลูกอ่อนนี้ขึ้นได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อ้างอิง :

www.womens-education.com

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

www.coolmom.info

www.medthai.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

8 เหตุผลดีๆ ที่ช่วยแม่ “ไม่รู้สึกผิด” เมื่อต้องกลับไปทำงานหลังคลอด

6 ความรู้สึกผิดของแม่หลังคลอดที่เกิดขึ้นได้ในช่วง 3 เดือนแรก

บทความโดย

Napatsakorn .R